คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1312

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 153 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินหลังแบ่งแยกโฉนด สิทธิในการใช้ที่ดินส่วนรุกล้ำ และภาระจำยอม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายโดยอาศัยสัญญาเช่าเป็นหลักแห่งข้อหา โดยโจทก์อ้างว่าจำเลยไม่ชำระค่าเช่าอันเป็นการผิดข้อตกลงในสัญญาเช่า โจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปและให้ใช้ค่าเสียหาย เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 แล้วแม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายว่าที่พิพาท 5 ตารางวาตามสัญญาเช่าจะอยู่ตรงส่วนไหนของที่ดินโจทก์ก็ตาม แต่ต่อมาศาลชั้นต้นก็ได้สั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่วิวาทมาแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม การที่จำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งปลูกบ้านในที่ดินมรดกในฐานะเป็นเจ้าของรวมก่อนที่จะมีการแบ่งแยกนั้น เป็นการปลูกสร้างโดยสุจริตและมีสิทธิปลูกได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เหตุที่บ้านของจำเลยบางส่วนรุกล้ำที่ดินของโจทก์ 5 ตารางวาเนื่องจากการแบ่งแยกโฉนด ระหว่างทายาทในภายหลัง กรณีเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายมาตราใดบัญญัติไว้โดยตรง จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4บทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งที่จะปรับแก่คดีนี้คือ มาตรา 1312วรรคแรกซึ่งให้เจ้าของที่ดินได้ค่าใช้ที่ดินส่วนที่รุกล้ำโจทก์จะขอให้จำเลยรื้อบ้านส่วนรุกล้ำที่ดินของโจทก์ออกไปไม่ได้. (วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3680/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองโรงเรือนรุกล้ำตาม ป.พ.พ. มาตรา 1312 ต้องเป็นเจ้าของโรงเรือนและส่วนรุกล้ำต้องน้อยกว่าส่วนที่สร้างบนที่ดินของตน
บุคคลที่สร้างโรงเรือนรุกล้ำโดยสุจริตที่จะได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 จะต้องเป็นเจ้าของโรงเรือนที่สร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นและส่วนที่รุกล้ำนั้นจะต้องเป็นส่วนน้อย ส่วนที่อยู่ในที่ดินที่ตนมีสิทธิสร้างต้องเป็นส่วนใหญ่ มิฉะนั้นจะเรียกว่าสร้างโรงเรือนรุกล้ำไม่ได้ ตามฟ้องอ้างว่าโจทก์ปลูกสร้างโรงเรือนของผู้อื่นรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยที่ 1 และบรรยายฟ้องต่อไปว่าโรงเรือนส่วนที่รุกล้ำนั้นเนื้อที่ประมาณ 12 ตารางวา ประมาณครึ่งหนึ่งของโรงเรือนแสดงว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของโรงเรือนที่สร้างรุกล้ำ ทั้งส่วนที่รุกล้ำนั้นมิใช่ส่วนน้อยอันจะเรียกว่ารุกล้ำตามมาตรา 1312 ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1312

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดิน vs. การก่อสร้างรุกล้ำ: ศาลไม่ควรวินิจฉัยประเด็นที่จำเลยไม่ได้ยกขึ้น
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท โจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ได้ โจทก์จึงไม่ต้องกล่าวอ้างในคำฟ้องว่าจำเลยปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต
มาตรา 1312 วรรคแรก แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นบทบัญญัติที่จำกัดอำนาจกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของบุคคลไว้ว่าถ้าบุคคลภายนอกสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินอันเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นโดยสุจริต บุคคลภายนอกนั้นเป็นเจ้าของโรงเรือนที่สร้างขึ้น ดังนั้น ถ้าจำเลยประสงค์จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรานี้ก็เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องกล่าวอ้างความข้อนี้ขึ้นมาเมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้ปลูกสร้างโรงเรือนโดยสุจริตคดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยถึง
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทเพียงว่าจำเลยปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของโจทก์หรือไม่ การนำสืบของจำเลยว่าจำเลยได้ปลูกสร้างโรงเรือนโดยสุจริต จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็นและการที่ศาลยกเรื่องความสุจริตของจำเลยขึ้นวินิจฉัยก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นด้วย ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดินฟ้องขอคืนที่ดิน แม้จำเลยอ้างสร้างโดยสุจริต ศาลต้องวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่ได้ยกขึ้นมา
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท โจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ได้ โจทก์จึงไม่ต้องกล่าวอ้างในคำฟ้องว่าจำเลยปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต
มาตรา 1312 วรรคแรก แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นบทบัญญัติที่จำกัดอำนาจกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของบุคคลไว้ว่า ถ้าบุคคลภายนอกสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินอันเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นโดยสุจริต บุคคลภายนอกนั้นเป็นเจ้าของโรงเรือนที่สร้างขึ้น ดังนั้น ถ้าจำเลยประสงค์จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรานี้ ก็เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องกล่าวอ้างความข้อนี้ขึ้นมาเมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้ปลูกสร้างโรงเรือนโดยสุจริต คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยถึง
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทเพียงว่าจำเลยปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของโจทก์หรือไม่ การนำสืบของจำเลยว่าจำเลยได้ปลูกสร้างโรงเรือนโดยสุจริต จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็น และการที่ศาลยกเรื่องความสุจริตของจำเลยขึ้นวินิจฉัย ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นด้วย ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3469/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม ไม่รับฟ้องแย้งได้ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารพร้อมกับให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้เพื่อขอให้ยกฟ้อง และฟ้องแย้งว่า โรงงานของจำเลยปลูกรุกล้ำอยู่บนที่ดินของโจทก์โดยสุจริต จึงขอให้โจทก์จดทะเบียนสิทธิในที่ดินเป็นภารจำยอมแก่จำเลย ดังนี้ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นคนละเรื่องกับที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมจึงไม่รับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำที่ดินหลังแบ่งแยกกรรมสิทธิ์และสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 และมาตรา 1312เป็นบทบัญญัติเรื่องที่ผู้สร้างมิได้รู้ว่า ที่ดินที่สร้างโรงเรือนหรือสร้างรุกล้ำนั้นเป็นที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต จะนำมาใช้ในกรณีจำเลยสร้างโรงเรือนในที่ดินขณะยังเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์จำเลยและบุคคลอื่นอยู่ หลังจากรังวัดแบ่งแยกที่ดินแล้วปรากฏว่า เรือนจำเลยปลูกสร้างอยู่ในที่ดินของโจทก์ไม่ได้ จำเลยต้องรื้อเรือนออกไป และไม่มีสิทธิฟ้องร้องว่ากล่าวเกี่ยวกับค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นเพราะการสร้างโรงเรือนของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยการต่อเติมอาคาร การครอบครองโดยอาศัยสิทธิเจ้าของเดิม และสิทธิในที่ดิน
ตึกแถวของโจทก์และของจำเลยอยู่ติดกัน ที่ดินและตึกแถวทั้งสองห้องนี้เดิมเป็นของเจ้าของคนเดียวกันโจทก์จำเลยต่างก็เช่าตึกแถวจากเจ้าของเดิม ระหว่างที่เช่าอยู่นั้นจำเลยได้ต่อเติมห้องน้ำห้องครัวที่ด้านหลังของตึกแถว โดยเจ้าของที่ดินคนเดิมรู้เห็นยินยอมต่อมาโจทก์จำเลยต่างก็ซื้อที่ดินและตึกแถวมาเป็นกรรมสิทธิ์ ปรากฏว่าที่ดินส่วนที่จำเลยต่อเติมเป็นห้องน้ำห้องครัวนั้นอยู่ในโฉนดที่โจทก์ซื้อ จำเลยเพิ่งครอบครองที่ดินดังกล่าวของโจทก์มาเพียง 2 ปี จึงหามีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ โจทก์จึงมีสิทธิบังคับให้จำเลยรื้อถอนห้องน้ำห้องครัวออกจากที่ดินโจทก์ได้ เพราะการก่อสร้างต่อเติมห้องน้ำห้องครัวนั้นก็โดยอาศัยสิทธิของเจ้าของเดิมไม่ใช่เข้าไปก่อสร้างโดยไม่รู้ว่าที่ดินนั้นเป็นของเจ้าของเดิม อันจะถือได้ว่าเป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามมาตรา 1312 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินที่รุกล้ำ: การต่อเติมอาคารโดยอาศัยสิทธิเดิมไม่ใช่การรุกล้ำโดยสุจริต
ตึกแถวของโจทก์และของจำเลยอยู่ติดกัน ที่ดินและตึกแถวทั้งสองห้องนี้เดิมเป็นของเจ้าของคนเดียวกันโจทก์จำเลยต่างก็เช่าตึกแถวจากเจ้าของเดิม ระหว่างที่เช่าอยู่นั้นจำเลยได้ต่อเติมห้องน้ำห้องครัวที่ด้านหลังของตึกแถวโดยเจ้าของที่ดินคนเดิมรู้เห็นยินยอม ต่อมาโจทก์จำเลยต่างก็ซื้อที่ดินและตึกแถวมาเป็นกรรมสิทธิ์ ปรากฏว่าที่ดินส่วนที่จำเลยต่อเติมเป็นห้องน้ำห้องครัวนั้นอยู่ในโฉนดที่โจทก์ซื้อจำเลยเพิ่งครอบครองที่ดินดังกล่าวของโจทก์มาเพียง2 ปี จึงหามีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ โจทก์จึงมีสิทธิบังคับให้จำเลยรื้อถอนห้องน้ำห้องครัวออกจากที่ดินโจทก์ได้เพราะการก่อสร้างต่อเติมห้องน้ำห้องครัวนั้นก็โดยอาศัยสิทธิของเจ้าของเดิมไม่ใช่เข้าไปก่อสร้างโดยไม่รู้ว่าที่ดินนั้นเป็นของเจ้าของเดิมอันจะถือได้ว่าเป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามมาตรา 1312 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1612/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริต โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องรื้อถอน แต่มีสิทธิเรียกค่าที่ดิน
เจ้าของเดิมได้ปลูกสร้างตึกแถวเลขที่ 40,41 และ 42ลงบนที่ดิน2 แปลงของตนคือที่ดินโฉนดที่ 811 และที่237ปรากฏว่าตึกแถวเลขที่ 41 ได้ปลูกล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนดที่ 811ต่อมาที่ดินโฉนดที่ 811 พร้อมตึกแถวได้ตกเป็นของโจทก์ส่วนที่ดินโฉนดที่ 237 พร้อมทั้งตึกแถวได้ตกเป็นของจำเลยกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะต้องนำบทกฎหมายที่ใกล้เคียงมาใช้บังคับคือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1312การที่ตึกแถวเลขที่41 ปลูกล้ำเข้าไปในโฉนดที่ 811 ของโจทก์นั้นเจ้าของเดิมเป็นผู้ปลูกหาใช่จำเลยไม่โจทก์จำเลยต่างรับโอนที่ดินและตึกแถวมาอีกทอดหนึ่งถือได้ว่าการรุกล้ำดังกล่าวเป็นมาโดยสุจริตจะให้จำเลยรื้อถอนไปหาชอบด้วยความยุติธรรมไม่และจะนำมาตรา1310 มาปรับกับกรณีนี้ก็ไม่ได้ เพราะมาตรา 1310 เป็นบทบัญญัติกรณีที่ปลูกสร้างโรงเรือนลงในที่ดินผู้อื่นทั้งหลัง มิใช่ปลูกสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินผู้อื่นเพียงบางส่วนเช่นกรณีนี้โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอนฝาห้องเลขที่ 41 ออกไปจากที่ดินโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1612/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตของผู้รับโอน สิทธิเรียกร้องค่าที่ดิน มิใช่การรื้อถอน
เจ้าของเดิมได้ปลูกสร้างตึกแถวเลขที่ 40, 41 และ 42 ลงบนที่ดิน 2 แปลงของตนคือที่ดินโฉนดที่ 811 และ ที่ 237 ปรากฏว่าตึกแถวเลขที่ 41 ได้ปลูกล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนดที่ 811 ต่อมาที่ดินโฉนดที่ 811 พร้อมตึกแถวได้ตกเป็นของโจทก์ส่วนที่ดินโฉนดที่ 237 พร้อมทั้งตึกแถวได้ตกเป็นของจำเลยกรณีนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะต้องนำบทกฎหมายที่ใกล้เคียงมาใช้บังคับคือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 การที่ตึกแถวเลขที่ 41 ปลูกล้ำเข้าไปในโฉนดที่ 811 ของโจทก์นั้น เจ้าของเดิมเป็นผู้ปลูกหาใช่จำเลยไม่โจทก์จำเลยต่างรับโอนที่ดินและตึกแถวมาอีกทอดหนึ่งถือได้ว่าการรุกล้ำดังกล่าวเป็นมาโดยสุจริต จะให้จำเลยรื้อถอนไปหาชอบด้วยความยุติธรรมไม่และจะนำมาตรา 1310 มาปรับกับกรณีนี้ก็ไม่ได้ เพราะมาตรา 1310 เป็นบทบัญญัติกรณีที่ปลูกสร้างโรงเรือนลงในที่ดินผู้อื่นทั้งหลัง มิใช่ปลูกสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินผู้อื่นเพียงบางส่วนเช่นกรณีนี้โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอนฝาห้องเลขที่ 41 ออกไปจากที่ดินโจทก์
of 16