คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1312

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 153 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 831/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดิน: เจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิเรียกคืน แม้ผู้รุกล้ำไม่ได้เป็นผู้สร้างสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปลูกบ้านและรั้วรุกล้ำที่ดินพิพาทของโจทก์จำเลยให้การว่าได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์มิได้ให้การว่าเป็นกรณีปลูกบ้านรุกล้ำที่ดินพิพาทของโจทก์โดยสุจริตคดีจึงไม่มีประเด็นให้ต้องวินิจฉัยว่า จำเลยมีสิทธิใช้ที่ดินพิพาทของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1312 หรือไม่ แม้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของบ้านและรั้วที่รุกล้ำที่พิพาทไม่ได้ เป็นผู้ปลูก บ้านและรั้วก็ตาม โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทก็มีสิทธิที่จะเรียกเอาที่พิพาทคืนจากจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1336 โดยให้จำเลยรื้อถอนบ้านและรั้วออกไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283-284/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในเรือนพิพาทแยกจากกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จำเลยไม่มีสิทธิภารจำยอมเมื่อซื้อเฉพาะเรือน
ที่ดินของโจทก์ทั้งสองเดิมเป็นของนาง ส.นางส.เป็นผู้ปลูกเรือนพิพาทขึ้นบนที่ดิน. ต่อมานาง ส.ขายเฉพาะตัวเรือนพิพาทให้จำเลย จากนั้นจึงแบ่งแยกที่ดินแปลงใหญ่ออกเป็นแปลงเล็กหลายแปลง และนางส.ได้แบ่งขายที่ดินให้โจทก์ทั้งสองคนละแปลง ที่ดินที่แบ่งขายให้โจทก์ทั้งสองนี้มีเรือนพิพาทปลูกรุกล้ำคร่อมอยู่ โดยจำเลยไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ติดต่อกับโจทก์ทั้งสองเลย ดังนี้ เป็นเรื่องจำเลยซื้อเรือนพิพาทซึ่งเจ้าของที่ดินเดิมปลูกไว้ แม้การซื้อขายจะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ถูกต้อง จำเลยก็ได้กรรมสิทธิ์เฉพาะตัวเรือนพิพาทเท่านั้น ไม่มีสิทธิในที่ดินปลูกเรือน จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของเรือนพิพาทจึงไม่มีสิทธิฟ้องให้โจทก์จดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอม เมื่อเจ้าของเดิมขายที่ดินซึ่งปลูกเรือนพิพาทให้โจทก์ทั้งสอง และโจทก์ทั้งสองไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่อาศัยต่อไป จำเลยก็ไม่มีสิทธิเหนือพื้นดินที่จะอยู่ต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2435/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตหรือไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 พิจารณาจากเจตนาและข้อเท็จจริง
การที่บุคคลใดสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตหรือไม่สุจริตตามความหมายแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1312 วรรคแรกและวรรคสองนั้นถ้าสร้างโดยเข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนหรือที่ดินของผู้อื่นที่ตนมีสิทธิสร้างได้ก็เป็นโดยสุจริตแต่ถ้าทราบอยู่แล้วว่าไม่ใช่ที่ดินของตนหรือที่ดินของผู้อื่นที่ตนมีสิทธิสร้างได้แล้วก็เป็นโดยไม่สุจริต
จำเลยเช่าที่ดินโจทก์กว้าง 3 วา 2 ศอก แล้วปลูกบ้านเต็มความกว้างดังกล่าว หลังคาบ้านจำเลยบางส่วนรุกล้ำที่ดินโจทก์ต่อมาจำเลยซื้อที่ดินที่เช่านั้นจำเลยจะอ้างว่าได้สร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตไม่ได้กรณีต้องบังคับตาม มาตรา1312 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1719/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินตามข้อตกลงก่อนการโอนสิทธิ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
จำเลยปลูกตึกของจำเลยตามข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ ส. แม้จะมีส่วนรุกล้ำอยู่บ้าง ก็ไม่เป็นการทำละเมิดต่อ ส. เมื่อโจทก์รับโอนที่ดินของ ส. มาในสภาพที่มีการรุกล้ำอยู่ก่อนแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเกี่ยวกับการรุกล้ำนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและสิทธิภารจำยอม: การใช้บทกฎหมายใกล้เคียงเมื่อมีลักษณะของการรุกล้ำต่อเนื่อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกที่ดินต่อเติมชายคารุกล้ำที่ดินขอให้ ศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอน จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์รื้อกันสาด ที่สร้างใหม่รื้อชายคาส่วนที่สร้างรุกล้ำรื้อท่อน้ำประปากับเครื่องสูบน้ำ ออกไปจากที่พิพาทฟ้องแย้งส่วนนี้เกี่ยวกับฟ้องเดิมแต่ที่ขอให้โจทก์ใช้ ค่าเสียหายเพราะโจทก์ก่อสร้างทำให้กำแพงตึกของจำเลยแตกร้าวกระเบื้อง หน้าตึกแถว เสียหายลูกจ้างของโจทก์ตัดโครงเหล็กเครื่องปรับอากาศของ จำเลยนั้นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมจึงฟ้องแย้งไม่ได้ ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่
ตึกแถวปลูกสร้างตั้งแต่เจ้าของเดิมคนเดียวกันยังไม่แยกโฉนดเมื่อ แยกโฉนดปั้นลมและชายคาจึงรุกล้ำในที่ดินของโจทก์ตั้งแต่เจ้าของเดิม จำเลยรับโอนตึกแถวมากว่า 10 ปี ต้องใช้บทใกล้เคียงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 คือใช้ มาตรา 1312 จำเลย มีสิทธิใช้ที่ดินของโจทก์เฉพาะส่วนที่รุกล้ำโจทก์บังคับให้รื้อถอนไม่ได้ แต่จำเลยต้องเสียค่าใช้ที่ดินส่วนนั้นโดยจดทะเบียนเป็นภารจำยอมส่วน ท่อน้ำทิ้งและเครื่องปรับอากาศซึ่งจำเลยติดตั้งไม่เกิน 10 ปีไม่มีภารจำยอมและไม่อยู่ใน มาตรา 1312 วรรคแรก จำเลยต้องรื้อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2316/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินด้วยสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ใช่โรงเรือน ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ม.1312
ถังส้วมซิเมนต์ของโรงเรือนของจำเลยรุกล้ำเข้าไปฝังอยู่ในที่ดินของโจทก์โดยสุจริต ถังส้วมมิใช่โรงเรือนและอยู่นอกโรงเรือน ไม่เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรือน ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม มาตรา 1312

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 798/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าใช้ที่ดินต่างจากราคาที่ดิน การพิจารณาค่าเสียหายต้องพิจารณาพฤติการณ์เพื่อความเป็นธรรม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 คำว่า "ค่าใช้ที่ดิน" แตกต่างกับคำว่า "ราคาที่ดิน " การกำหนดค่าใช้ที่ดินจะอาศัยราคาที่ดินเป็นประมาณมิได้ เพราะมิใช่เป็นการซื้อขายที่ดินกัน หากแต่จะต้องพิจารณาพฤติการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
จำเลยปลูกตึกแถวสูง 5 - 6 ชั้นลงในที่ดินจำเลย แม้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์เพียง 3/10 ตารางวา แต่เป็นอาคารที่มีความมั่นคงถาวรมากและตั้งอยู่ในย่านการค้า ศาลกำหนดค่าใช้ที่ดินให้ 100,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 798/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าใช้ที่ดินต่างจากราคาที่ดิน การพิจารณาค่าเสียหายต้องพิจารณาพฤติการณ์เพื่อความเป็นธรรม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 คำว่า'ค่าใช้ที่ดิน' แตกต่างกับคำว่า 'ราคาที่ดิน' การกำหนดค่าใช้ที่ดินจะอาศัยราคาที่ดินเป็นประมาณมิได้เพราะมิใช่เป็นกรณีซื้อขายที่ดินกัน หากแต่จะต้องพิจารณาพฤติการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
จำเลยปลูกตึกแถวสูง 5-6 ชั้นลงในที่ดินจำเลย แม้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์เพียง 3/10 ตารางวา แต่เป็นอาคารที่มีความมั่นคงถาวรมากและตั้งอยู่ในย่านการค้าศาลกำหนดค่าใช้ที่ดินให้ 100,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 561/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตตามโฉนดที่ดิน และขอบเขตการบังคับใช้คำพิพากษาเรื่องค่าเสียหาย
การที่จำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทโดยถือหลักเขตตามโฉนดที่ดินที่เจ้าพนักงานออกให้ โดยไม่ทราบว่าหลักเขตที่ปักนั้นคลาดเคลื่อน ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต จำเลยไม่ต้องรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำออกจากที่ดินของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1312
การเรียกร้องค่าเสียหายเป็นสิทธิหน้าที่หรือความรับผิดของบุคคลอันเป็นกฎหมายสารบัญญัติ ส่วนวิธีการที่จะยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามกฎหมายจะต้องดำเนินการตามกฎหมายวิธีบัญญัติ กล่าวคือ ถ้าเป็นคดีแพ่งก็ต้องดำเนินการตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์เพียงแต่ขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินโจทก์ มิได้มีคำขอเกี่ยวกับเรื่องค่าเสียหาย ศาลจะพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ไม่ได้ เป็นการเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 561/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตและขอบเขตคำฟ้อง: จำเลยไม่ต้องรื้อถอนหากเชื่อโดยสุจริต ศาลไม่สามารถพิพากษาค่าเสียหายเกินคำฟ้อง
การที่จำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทโดยถือหลักเขตตามโฉนดที่ดินที่เจ้าพนักงานออกให้โดยไม่ทราบว่าหลักเขตที่ปักนั้นคลาดเคลื่อน ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต จำเลยไม่ต้องรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำออกจากที่ดินของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312
การเรียกร้องค่าเสียหายเป็นสิทธิหน้าที่หรือความรับผิดของบุคคลอันเป็นกฎหมายสารบัญญัติ ส่วนวิธีการที่จะยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามกฎหมายจะต้องดำเนินการตามกฎหมายวิธีสบัญญัติ กล่าวคือถ้าเป็นคดีแพ่งก็ต้องดำเนินการตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์เพียงแต่ขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินโจทก์ มิได้มีคำขอเกี่ยวกับเรื่องค่าเสียหาย ศาลจะพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ไม่ได้ เป็นการเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142
of 16