พบผลลัพธ์ทั้งหมด 153 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมจากสิ่งปลูกสร้างล้ำที่ดิน: สุจริต-จดทะเบียน-ชดใช้ค่าตอบแทน
เจ้าของรวมปลูกเรือนในที่ดินในกรรมสิทธิ์รวม ต่อมาแบ่งแยกที่ดินปรากฏว่าเรือนนั้นล้ำอยู่ในที่ดินของผู้อื่นบางส่วน เป็นการปลูกเรือนโดยสุจริต จดทะเบียนเป็นภารจำยอมได้โดยเสียค่าตอบแทนการใช้ที่ดินนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1790/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตตามมาตรา 1312 ผู้สร้างเข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนไม่ต้องรื้อ
การสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินผู้อื่นโดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 นั้น หมายความว่าผู้สร้างโรงเรือนต้องรู้ในขณะสร้างว่าที่ดินตรงนั้นเป็นของคนอื่น จึงจะเรียกได้ว่าไม่สุจริต ถ้าผู้สร้างเข้าใจว่าที่ดินตรงนั้นเป็นของตนจึงสร้างโรงเรือนรุกล้ำไปครั้นต่อมาจึงทราบว่าที่ตรงรุกล้ำนั้นไม่ใช่ของตนต้องถือว่าเป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต
ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์อ้างว่าจำเลยได้ปลูกสร้างตึกแถวเข้ามาในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต อ้างเพียงว่าที่ดินที่จำเลยปลูกตึกรุกล้ำเข้ามาเป็นที่ดินของโจทก์ เมื่อโจทก์มิได้อ้างถึงความไม่สุจริตของจำเลย จำเลยก็ไม่จำต้องให้การต่อสู้ถึงความไม่สุจริตได้ แต่ที่จำเลยให้การว่าที่ดินที่โจทก์หาจำเลยรุกล้ำปลูกตึกเป็นที่ดินของจำเลยนั้น ข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวก็เป็นการแสดงว่าจำเลยได้ทำการปลูกสร้างตึกแถวโดยสุจริต และที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นนำสืบไว้ว่า "จำเลยปลูกสร้างตึกรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์หรือไม่ จะต้องรื้อส่วนที่รุกล้ำหรือไม่" นั้น ก็มีข้อเท็จจริงอยู่ในตัวของประเด็นที่ตั้งไว้นั้นที่จะต้องพิจารณาถึงด้วยว่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินที่จำเลยปลูกสร้างตึกรุกล้ำเข้าไปนั้นเป็นที่ดินของโจทก์แล้ว จำเลยจะต้องรื้อส่วนที่รุกล้ำหรือไม่ และการจะให้จำเลยรื้อตึกแถวนั้นหรือไม่ก็ต้องอาศัยข้อเท็จจริงถึงความสุจริตของจำเลยว่าจำเลยได้สร้างตึกแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยสุจริตหรือไม่ เมื่อฟังได้ว่าจำเลยได้สร้างรุกล้ำเข้าไปโดยสุจริตก็จำต้องยก มาตรา 1312 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาพิจารณาปรับบทให้ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ยกเหตุจำเลยปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยสุจริต จึงมิใช่เป็นเรื่องนอกประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้
ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์อ้างว่าจำเลยได้ปลูกสร้างตึกแถวเข้ามาในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต อ้างเพียงว่าที่ดินที่จำเลยปลูกตึกรุกล้ำเข้ามาเป็นที่ดินของโจทก์ เมื่อโจทก์มิได้อ้างถึงความไม่สุจริตของจำเลย จำเลยก็ไม่จำต้องให้การต่อสู้ถึงความไม่สุจริตได้ แต่ที่จำเลยให้การว่าที่ดินที่โจทก์หาจำเลยรุกล้ำปลูกตึกเป็นที่ดินของจำเลยนั้น ข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวก็เป็นการแสดงว่าจำเลยได้ทำการปลูกสร้างตึกแถวโดยสุจริต และที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นนำสืบไว้ว่า "จำเลยปลูกสร้างตึกรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์หรือไม่ จะต้องรื้อส่วนที่รุกล้ำหรือไม่" นั้น ก็มีข้อเท็จจริงอยู่ในตัวของประเด็นที่ตั้งไว้นั้นที่จะต้องพิจารณาถึงด้วยว่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินที่จำเลยปลูกสร้างตึกรุกล้ำเข้าไปนั้นเป็นที่ดินของโจทก์แล้ว จำเลยจะต้องรื้อส่วนที่รุกล้ำหรือไม่ และการจะให้จำเลยรื้อตึกแถวนั้นหรือไม่ก็ต้องอาศัยข้อเท็จจริงถึงความสุจริตของจำเลยว่าจำเลยได้สร้างตึกแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยสุจริตหรือไม่ เมื่อฟังได้ว่าจำเลยได้สร้างรุกล้ำเข้าไปโดยสุจริตก็จำต้องยก มาตรา 1312 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาพิจารณาปรับบทให้ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ยกเหตุจำเลยปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยสุจริต จึงมิใช่เป็นเรื่องนอกประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1790/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1312 ผู้สร้างเข้าใจว่าเป็นที่ดินของตน
การสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินผู้อื่นโดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 นั้น หมายความว่าผู้สร้างโรงเรือนต้องรู้ในขณะสร้างว่าที่ดินตรงนั้นเป็นของคนอื่น จึงจะเรียกได้ว่าไม่สุจริต ถ้าผู้สร้างเข้าใจว่าที่ดินตรงนั้นเป็นของตนจึงสร้างโรงเรือนรุกล้ำไป ครั้นต่อมาจึงทราบว่าที่ตรงรุกล้ำนั้นไม่ใช่ของตน ต้องถือว่าเป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต
ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์อ้างว่าจำเลยได้ปลูกสร้างตึกแถวเข้ามาในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต อ้างเพียงว่าที่ดินที่จำเลยปลูกตึกรุกล้ำเข้ามาเป็นที่ดินของโจทก์ เมื่อโจทก์มิได้อ้างถึงความไม่สุจริตของจำเลย จำเลยก็ไม่จำต้องให้การต่อสู้ถึงความไม่สุจริตได้ แต่ที่จำเลยให้การว่าที่ดินที่โจทก์หาจำเลยรุกล้ำปลูกตึกเป็นที่ดินของจำเลยนั้น ข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวก็เป็นการแสดงว่าจำเลยได้ทำการปลูกสร้างตึกแถวโดยสุจริต และที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นนำสืบไว้ว่า "จำเลยปลูกสร้างตึกรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์หรือไม่ จะต้องรื้อส่วนที่รุกล้ำหรือไม่" นั้น ก็มีข้อเท็จจริงอยู่ในตัวของประเด็นที่ตั้งไว้นั้นจะต้องพิจารณาถึงด้วยว่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินที่จำเลยปลูกสร้างตึกรุกล้ำเข้าไปนั้นเป็นที่ดินของโจทก์แล้ว จำเลยจะต้องรื้อสวนที่รุกล้ำหรือไม่ และการจะให้จำเลยรื้อตึกแถวนั้นหรือไม่ก็ต้องอาศัยข้อเท็จจริงถึงความสุจริตของจำเลยว่าจำเลยได้สร้างตึกแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยสุจริตหรือไม่ เมื่อฟังได้ว่าจำเลยได้สร้างรุกล้ำเข้าไปโดยสุจริตก็จำต้องยกมาตรา 1312 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาพิจารณาปรับบทให้ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ยกเหตุจำเลยปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยสุจริต จึงมิใช่เป็นเรื่องนอกประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้
ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์อ้างว่าจำเลยได้ปลูกสร้างตึกแถวเข้ามาในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต อ้างเพียงว่าที่ดินที่จำเลยปลูกตึกรุกล้ำเข้ามาเป็นที่ดินของโจทก์ เมื่อโจทก์มิได้อ้างถึงความไม่สุจริตของจำเลย จำเลยก็ไม่จำต้องให้การต่อสู้ถึงความไม่สุจริตได้ แต่ที่จำเลยให้การว่าที่ดินที่โจทก์หาจำเลยรุกล้ำปลูกตึกเป็นที่ดินของจำเลยนั้น ข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวก็เป็นการแสดงว่าจำเลยได้ทำการปลูกสร้างตึกแถวโดยสุจริต และที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นนำสืบไว้ว่า "จำเลยปลูกสร้างตึกรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์หรือไม่ จะต้องรื้อส่วนที่รุกล้ำหรือไม่" นั้น ก็มีข้อเท็จจริงอยู่ในตัวของประเด็นที่ตั้งไว้นั้นจะต้องพิจารณาถึงด้วยว่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินที่จำเลยปลูกสร้างตึกรุกล้ำเข้าไปนั้นเป็นที่ดินของโจทก์แล้ว จำเลยจะต้องรื้อสวนที่รุกล้ำหรือไม่ และการจะให้จำเลยรื้อตึกแถวนั้นหรือไม่ก็ต้องอาศัยข้อเท็จจริงถึงความสุจริตของจำเลยว่าจำเลยได้สร้างตึกแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยสุจริตหรือไม่ เมื่อฟังได้ว่าจำเลยได้สร้างรุกล้ำเข้าไปโดยสุจริตก็จำต้องยกมาตรา 1312 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาพิจารณาปรับบทให้ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ยกเหตุจำเลยปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยสุจริต จึงมิใช่เป็นเรื่องนอกประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1450/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างรั้วรุกล้ำที่ดิน: สิทธิเจ้าของที่ดิน vs. การยินยอมโดยปริยาย และการใช้ประโยชน์ที่ดิน
เดิมที่ดินแปลงใหญ่ทั้งโฉนดเป็นของจำเลยร่วม จำเลยร่วมให้ผู้รับเหมาก่อสร้างตึกแถว 10 ห้อง พร้อม ๆ สร้างห้องแถวในที่ดินดังกล่าวผู้รับเหมาได้ทำรั้วกำแพงก่ออิฐถือปูนกว้าง 1 เมตร ยาว 3.50 เมตร แทนรั้วสังกะสีเดิมติดด้านหลังตึกแถวทุกห้อง จำเลยร่วมไม่ได้ทักท้วงห้ามปรามอย่างใด แสดงว่าจำเลยร่วมยินยอมให้ผู้รับเหมาทำรั้วกำแพงได้ ฉะนั้น การที่ผู้รับเหมาก่อสร้างกำแพงหลังตึกดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยสุจริตไม่เป็นการละเมิด ต่อมาจำเลยร่วมแบ่งแยกโฉนดโอนขายที่ดินนอกเขตที่สร้างตัวตึกแถวให้ โจทก์ขายตึกแถวเฉพาะที่ดินที่สร้างตึกแถวให้บุคคลอื่นและ ส. ส.ขายตึกแถวห้องเลขที่ 464/2 พร้อมทั้งที่ดินให้จำเลยที่ 1 หลังจากโจทก์ขอให้เจ้าพนักงานกรมที่ดินมารังวัดสอบเขตแล้วความจึงปรากฏว่า รั้วกำแพงด้านหลังตึกแถวทุกห้องรวมทั้งห้องของจำเลยที่ 1 ด้วย ก่อสร้างในที่ดินของโจทก์ ในกรณีเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายมาตราใดที่จะยกขึ้นมาปรับคดีได้โดยตรง ในการวินิจฉัยคดีจึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายใกล้เคียงตามมาตรา 4 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และบทกกฎหมายใกล้เคียงที่จะปรับกับข้อเท็จจริงคดีนี้คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 ประกอบด้วยมาตรา 1314 ซึ่งบัญญัติให้โจทก์เจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของสิ่งก่อสร้างคือรั้วกำแพง แต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างรั้วกำแพงนั้นให้แก่จำเลย ดังนี้ โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนรั้วกำแพงและเรียกค่าเสียหายไม่ได้ ทั้งจะให้จำเลยชำระเงินค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ก็ไม่ได้เพราะรั้วกำแพงไม่ใช่โรงเรือน กรณีไม่เข้ามาตรา 1312 จำเลยไม่มีสิทธิใช้ที่ดินที่ก่อสร้างและภายในเขตรั้วกำแพงซึ่งเป็นที่พิพาทเพราะเป็นของโจทก์ และคดีนี้จะบังคับให้โจทก์ใช้ค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างรั้วกำแพงนั้นให้แก่จำเลยก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะจำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งและไม่มีประเด็นดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1450/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างรุกล้ำที่ดิน การยินยอมโดยปริยาย และสิทธิในที่ดินของเจ้าของเดิม
เดิมที่ดินแปลงใหญ่ทั้งโฉนดเป็นของจำเลยร่วม จำเลยร่วมให้ผู้รับเหมาก่อสร้างตึกแถว 10 ห้อง พร้อม ๆ สร้างห้องแถวในที่ดินดังกล่าวผู้รับเหมาได้ทำรั้วกำแพงก่ออิฐถือปูนกว้าง 1 เมตร ยาว 3.50 เมตร แทนรั้วสังกะสีเดิมติดด้านหลังตึกแถวทุกห้อง จำเลยร่วมไม่ได้ทักท้วงห้ามปรามอย่างใด แสดงว่าจำเลยร่วมยินยอมให้ผู้รับเหมาทำรั้วกำแพงได้ ฉะนั้น การที่ผู้รับเหมาก่อสร้างกำแพงหลังตึกดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยสุจริตไม่เป็นการละเมิด ต่อมาจำเลยร่วมแบ่งแยกโฉนดโอนขายที่ดินนอกเขตที่สร้างตัวตึกแถวให้โจทก์ ขายตึกแถวเฉพาะที่ดินที่สร้างตึกแถวให้บุคคลอื่นและ ส.ส.ขายตึกแถวห้องเลขที่ 464/2 พร้อมทั้งที่ดินให้จำเลยที่ 1 หลังจากโจทก์ขอให้เจ้าพนักงานกรมที่ดินมารังวัดสอบเขตแล้วความจึงปรากฏว่า รั้วกำแพงด้านหลังตึกแถวทุกห้องรวมทั้งห้องของจำเลยที่ 1 ด้วยก่อสร้างในที่ดินของโจทก์ ในกรณีเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายมาตราใดที่จะยกขึ้นมาปรับคดีได้โดยตรง ในการวินิจฉัยคดีจึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายใกล้เคียงตามมาตรา 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และบทกฎหมายใกล้เคียงที่จะปรับกับข้อเท็จจริงคดีนี้คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 ประกอบด้วยมาตรา 1314 ซึ่งบัญญัติให้โจทก์เจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของสิ่งก่อสร้างคือรั้วกำแพง แต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างรั้วกำแพงนั้นให้แก่จำเลย ดังนี้โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนรั้วกำแพงและเรียกค่าเสียหายไม่ได้ ทั้งจะให้จำเลยชำระเงินค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ก็ไม่ได้ เพราะรั้วกำแพงไม่ใช่โรงเรือน กรณีไม่เข้ามาตรา 1312 จำเลยไม่มีสิทธิใช้ที่ดินที่ก่อสร้างและภายในเขตรั้วกำแพงซึ่งเป็นที่พิพาทเพราะเป็นของโจทก์และคดีนี้จะบังคับให้โจทก์ใช้ค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้น เพราะสร้างรั้วกำแพงนั้นให้แก่จำเลยก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะจำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งและไม่มีประเด็นดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 553/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลูกสร้างรุกล้ำที่ดินผู้อื่น: สุจริตไม่ได้ช่วยหากไม่รู้ว่าที่ดินเป็นของผู้อื่น ต้องรื้อถอน
สุจริตตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 หมายความว่าไม่รู้ว่าที่ดินที่ปลูกสร้างโรงเรือนนั้นเป็นของผู้อื่น มิใช่เพราะเจ้าหน้าที่อนุญาตให้ปลูก ปลูกตึกรากฐานรุกล้ำ ต้องรื้อถอนเสา ผนังตึก กันสาดและบาทวิถีที่รุกล้ำ และทำที่ดินให้อยู่ในสภาพเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1801/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลูกสร้างรุกล้ำที่ดินข้างเคียงโดยประมาทเลินเล่อต้องรื้อถอนและชดใช้ค่าเสียหาย
ปลูกตึกแถวรุกล้ำที่ข้างเคียงโดยไม่ได้ให้เจ้าของชี้เขตและรังวัดสอบเขตก่อน เป็นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่สุจริต ต้องรื้อส่วนที่รุกล้ำ ทำให้เป็นไปตามสภาพเดิม และใช้ค่าเสียหายด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินให้วัด และการสละสิทธิในที่ดิน ทำให้ไม่เกิดการรุกล้ำ
โจทก์ฟ้องว่า วัดจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้รุกล้ำเข้าไปปลูกสร้างวัดและกำแพงเขตของวัดจำเลยที่ 1 ในที่ดินมีโฉนดของโจทก์กับญาติโดยไม่สุจริต ขอให้ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยกับบริวารให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปและคืนที่ดินให้โจทก์ ทางพิจารณาฟังได้ว่า โจทก์ได้อุทิศที่พิพาทให้แก่วัดจำเลยที่ 1 ตั้งแต่ก่อนวัดจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ลงมือสร้างวัดจำเลยที่ 1 ขึ้นใหม่ดังนี้ กรณีไม่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ดังฎีกาของโจทก์ และเมื่อวัดจำเลยที่ 1 วางศิลาฤกษ์ สร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ อาคารถาวร โจทก์ทราบและไม่คัดค้าน แสดงว่าโจทก์ยินยอมให้วัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 กระทำเช่นนั้น ฟังได้ว่าโจทก์ได้สละที่พิพาทให้แก่วัดจำเลยที่ 1 แล้ว ยังฟังไม่ได้ว่าวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ได้รุกล้ำเข้าไปปลูกสร้างวัดและกำแพงเขตวัดจำเลยที่ 1 ในที่ดินของโจทก์กับญาติโดยไม่สุจริต รูปคดีกลับเชื่อว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิฟ้องจำเลยโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินให้วัดและการสละสิทธิในที่ดินโดยปริยาย
โจทก์ฟ้องว่า วัดจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้รุกล้ำเข้าไปปลูกสร้างวัดและกำแพงเขตของวัดจำเลยที่ 1 ในที่ดินมีโฉนดของโจทก์กับญาติโดยไม่สุจริต ขอให้ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยกับบริวารให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปและคืนที่ดินให้โจทก์ ทางพิจารณาฟังได้ว่าโจทก์ได้อุทิศที่พิพาทให้แก่วัดจำเลยที่ 1 ตั้งแต่ก่อนวัดจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ลงมือสร้างวัดจำเลยที่ 1 ขึ้นใหม่ดังนี้ กรณีไม่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 525 ดังฎีกาของโจทก์ และเมื่อวัดจำเลยที่ 1 วางศิลาฤกษ์ สร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญอาคารถาวรโจทก์ทราบและไม่คัดค้าน แสดงว่าโจทก์ยินยอมให้วัดจำเลยที่ 1 จำเลย ที่ 2 กระทำเช่นนั้น ฟังได้ว่าโจทก์ได้สละที่พิพาทให้แก่วัดจำเลยที่ 1 แล้ว ยังฟังไม่ได้ว่าวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ได้รุกล้ำเข้าไปปลูกสร้างวัดและกำแพงเขตวัดจำเลยที่ 1 ในที่ดินของโจทก์กับญาติโดยไม่สุจริต รูปคดีกลับเชื่อว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิฟ้องจำเลยโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินจากสิ่งปลูกสร้าง เจ้าของเดิมไม่ต้องรื้อถอน แต่ต้องชดใช้ค่าที่ดิน
เจ้าของรวมปลูกเรือนลงในที่ดิน ต่อมาได้แบ่งแยกที่ดินแล้วโอนขายต่อๆ มาทั้ง 2 แปลงเมื่อได้รังวัดสอบเขตจึงปรากฏว่าเรือนรุกล้ำอยู่ในเขตที่ดินที่แบ่งออกเป็นอีกแปลงหนึ่ง 16 ถึง 60 เซ็นติเมตรดังนี้เจ้าของเดิมปลูกเรือนโดยสุจริตตามที่มีสิทธิปลูกได้ตามกฎหมายแม้ผู้รับโอนทราบก่อนรับโอนว่าเรือนรุกล้ำ ก็ไม่อาจถูกบังคับให้รื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำได้ต้องใช้มาตรา 4 วินิจฉัยเทียบมาตรา 1312 ซึ่งเป็นบทใกล้เคียงให้เจ้าของได้รับค่าใช้ที่ดินที่รุกล้ำเท่านั้น