คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1312

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 153 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 904/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและสร้างสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริต การได้มาซึ่งภารจำยอมตามอำนาจปรปักษ์
ที่ดินและอาคารของโจทก์และของจำเลยร่วมอยู่ติดกันโดยต่างรับซื้อมาจากบุคคลอื่นกันสาดของอาคารที่จำเลยร่วมซื้อได้รุกล้ำที่ดินที่โจทก์ซื้ออยู่ก่อนแล้ว ต่อมาจำเลยร่วมได้สร้างห้องน้ำบนกันสาดนั้น อันเป็นการใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์เฉพาะที่กันสาดรุกล้ำเข้าไปนั้นสืบต่อจากเจ้าของเดิม โดยจำเลยร่วมมิได้ขออนุญาตต่อผู้ใด ถือได้ว่าจำเลยร่วมได้สร้างห้องน้ำขึ้นโดยสุจริตย่อมได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 และข้อเท็จจริงก็ฟังได้ว่าจำเลยร่วมใช้สิทธิโดยอำนาจปรปักษ์เกินกว่า 10 ปีแล้ว กันสาดและห้องน้ำเหนือที่ดินของโจทก์ย่อมตกอยู่ในภารจำยอม โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้จำเลยรื้อห้องน้ำบนกันสาดนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 904/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและสร้างสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริต ครอบครองปรปักษ์เกิน 10 ปี ทำให้เกิดภารจำยอม
ที่ดินและอาคารของโจทก์และของจำเลยร่วมอยู่ติดกันโดยต่างรับซื้อมาจากบุคคลอื่นกันสาดของอาคารที่จำเลยร่วมซื้อได้รุกล้ำที่ดินที่โจทก์ซื้ออยู่ก่อนแล้ว ต่อมาจำเลยร่วมได้สร้างห้องน้ำบนกันสาดนั้น อันเป็นการใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์เฉพาะที่กันสาดรุกล้ำเข้าไปนั้นสืบต่อจากเจ้าของเดิมโดยจำเลยร่วมมิได้ขออนุญาตต่อผู้ใด ถือได้ว่าจำเลยร่วมได้สร้างห้องน้ำขึ้นโดยสุจริตย่อมได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 และข้อเท็จจริงก็ฟังได้ว่าจำเลยร่วมใช้สิทธิโดยอำนาจปรปักษ์เกินกว่า 10 ปีแล้วกันสาดและห้องน้ำเหนือที่ดินของโจทก์ย่อมตกอยู่ในภารจำยอมโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้จำเลยรื้อห้องน้ำบนกันสาดนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 351/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยไม่สุจริตและสิทธิในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
การที่บุคคลใดสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตหรือไม่สุจริตตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1312 วรรคแรก และวรรค 2 นั้น หมายถึงการที่สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยเข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนหรือเป็นที่ดินของผู้อื่นที่ตนมีสิทธิสร้างโรงเรือนได้หรือไม่ หากสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยเข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนหรือเป็นของผู้อื่นที่ตนมีสิทธิสร้างโรงเรือนได้ ก็เป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต แต่ถ้าสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปโดยทราบอยู่แล้วว่าที่ดินที่ตนสร้างรุกล้ำเข้าไปนั้นไม่ใช่ของตนหรือของผู้อื่นที่ตนมีสิทธิสร้างโรงเรือนได้แล้วก็เป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริต
ข้อเท็จจริงได้ความว่า เมื่อจำเลยปลูกสร้างตึกของจำเลยสุดเขตที่ดินของจำเลยแล้วยังมีที่ว่างระหว่างตึกของจำเลยกับตึกของโจทก์ประมาณ 3 เซนติเมตร และจำเลยทราบแล้วว่าที่ว่างดังกล่าวเป็นที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยก็ยังฉาบปูนผนังตึกของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์จนจดผนังตึกของโจทก์ ดังนี้ ย่อมถือว่าจำเลยสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 วรรค 2 โจทก์มีสิทธิฟ้องให้จำเลยรื้อถอนตึกของจำเลยส่วนที่รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ออกจากที่ดินของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 351/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยไม่สุจริตและสิทธิในการรื้อถอน
การที่บุคคลใดสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตหรือไม่สุจริตตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1312 วรรคแรก และวรรค 2 นั้น หมายถึงการที่สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยเข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนหรือเป็นที่ดินของผู้อื่นที่ตนมีสิทธิสร้างโรงเรือนได้หรือไม่ หากสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยเข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนหรือเป็นของผู้อื่นที่ตนมีสิทธิสร้างโรงเรือนได้ ก็เป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต แต่ถ้าสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปโดยทราบอยู่แล้วว่าที่ดินที่ตนสร้างรุกล้ำเข้าไปนั้นไม่ใช่ของตนหรือของผู้อื่นที่ตนมีสิทธิสร้างโรงเรือนได้แล้วก็เป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริต
ข้อเท็จจริงได้ความว่า เมื่อจำเลยปลูกสร้างตึกของจำเลยสุดเขตที่ดินของจำเลยแล้วยังมีที่ว่างระหว่างตึกของจำเลยกับตึกของโจทก์ประมาณ 3 เซนติเมตร และจำเลยทราบแล้วว่าที่ว่างดังกล่าวเป็นที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยก็ยังฉาบปูนผนังตึกของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์จนจดผนังตึกของโจทก์ ดังนี้ ย่อมถือว่าจำเลยสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 วรรค 2 โจทก์มีสิทธิฟ้องให้จำเลยรื้อถอนตึกของจำเลยส่วนที่รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ออกจากที่ดินของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินให้เป็นการตอบแทนสละสิทธิ และการปลูกสร้างบนที่ดินที่ได้รับยกให้ โดยไม่ถือว่าเป็นการรุกล้ำ
หนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินเพิ่มเติมซึ่งทำภายหลังจากได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับเดิม มีข้อความตกลงว่าผู้แทนโจทก์กับเจ้าของร่วมคนอื่นยินยอมยกที่ดินในโฉนดที่ 3878ให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลย เพื่อเป็นการตอบแทนที่จำเลยสละสิทธิ์ที่จะไม่ขอทำทางเท้าให้กว้างขึ้นเป็นถนนจากที่ดินโฉนดที่ 7386ผ่านที่ดินโฉนดที่ 3878 ไปสู่ถนนใหญ่ อันเป็นสิทธิที่จำเลยพึงเรียกร้องได้ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับแรกที่ทำไว้แต่เดิม ข้อตกลงเช่นนี้แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็มีผลผูกพันบังคับระหว่างคู่สัญญากันได้ ไม่ใช่สัญญาให้โดยเสน่หาและไม่ใช่สัญญาจะซื้อขายจึงไม่อยู่ใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 456, 525ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำเลยปลูกเรือนในที่ดินของจำเลยล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนดอื่น อันเป็นส่วนที่จำเลยได้รับยกให้ตามสัญญาจะซื้อขายเพิ่มเติมดังกล่าวโดยโจทก์รู้เห็น และมิได้ทักท้วงเท่ากับโจทก์รับว่าจำเลยปลูกเรือนในที่ดินพิพาทได้โจทก์ ไม่มีสิทธิให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนหลังนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายเพิ่มเติมที่ดิน แม้ไม่ได้จดทะเบียนก็มีผลผูกพันได้ หากโจทก์รู้เห็นยินยอมการเข้าใช้ประโยชน์ของจำเลย ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้รื้อถอน
หนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินเพิ่มเติมซึ่งทำภายหลังจากได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับเดิม มีข้อความตกลงว่าผู้แทนโจทก์กับเจ้าของร่วมคนอื่นยินยอมยกที่ดินในโฉนดที่3878 ให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลย เพื่อเป็นการตอบแทนที่จำเลยสละสิทธิ์ที่จะไม่ขอทำทางเท้าให้กว้างขึ้นเป็นถนนจากที่ดินโฉนดที่ 7386 ผ่านที่ดินโฉนดที่ 3878 ไปสู่ถนนใหญ่ อันเป็นสิทธิที่จำเลยพึงเรียกร้องได้ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับแรกที่ทำไว้แต่เดิม ข้อตกลงเช่นนี้แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็มีผลผูกพันบังคับระหว่างคู่สัญญากันได้ ไม่ใช่สัญญาให้โดยเสน่หาและไม่ใช่สัญญาจะซื้อขายจึงไม่อยู่ใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 456,525 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำเลยปลูกเรือนในที่ดินของจำเลยล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนดอื่น อันเป็นส่วนที่จำเลยได้รับยกให้ตามสัญญาจะซื้อขายเพิ่มเติมดังกล่าวโดยโจทก์รู้เห็น และมิได้ทักท้วง เท่ากับโจทก์รับว่าจำเลยปลูกเรือนในที่ดินพิพาทได้โจทก์ ไม่มีสิทธิให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนหลังนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 634/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริต: เจ้าของที่ดินฟ้องรื้อถอนมิได้ แต่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายเฉพาะส่วนรุกล้ำ
การสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริต หมายความว่า ผู้สร้างต้องรู้ในขณะสร้างว่าที่ดินตรงนั้นเป็นของผู้อื่น หากเข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนและสร้างโรงเรือนรุกล้ำไปครั้นภายหลังจึงทราบความจริง ถือว่าเป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต
ครัวเป็นส่วนหนึ่งของอาคารโรงเรือน การสร้างครัวรุกล้ำที่ดินของผู้อื่น ย่อมเป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นตามกฎหมาย การสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต ผู้สร้างย่อมเป็นเจ้าของโรงเรือนนั้นตามกฎหมาย เจ้าของที่ดินที่ถูกรุกล้ำไม่อาจฟ้องบังคับให้ผู้สร้างรื้อถอนโรงเรือนได้ แม้ผู้สร้างจะมิได้ฟ้องแย้งขอให้บังคับเจ้าของที่ดินนั้นให้จดทะเบียนภารจำยอมก็ตาม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 เฉพาะโรงเรือนที่สร้างรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นเท่านั้นที่ได้รับความคุ้มครองสิ่งอื่น ๆ ที่มิใช่โรงเรือน หาได้รับความคุ้มครองด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2097-2098/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่า, การปรับปรุงที่ดิน, กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้าง, สิทธิภารจำยอม, ฟ้องขับไล่
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้เช่าที่ดินของโจทก์จนหมดอายุสัญญาเช่าแล้วได้บอกกล่าวให้จำเลยออกไป จำเลยและบริวารไม่ยอมออก เป็นการละเมิดขอให้ขับไล่ เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ไม่จำต้องบรรยายไปถึงว่าจำเลยได้ทำสัญญาเช่าเป็นหนังสือหรือไม่
สัญญาเช่าบ้านมีข้อความว่า ส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมหรือปลูกสร้างขึ้นนั้นให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทั้งสิ้น ย่อมมีความหมายว่า บริเวณที่จำเลยก่อสร้างโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดนั้นอยู่ในขอบเขตของสัญญาทั้งสิ้น ดังนี้ โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ที่จำเลยก่อสร้างขึ้นจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าตั้งแต่เวลาก่อสร้างขึ้น กรณีไม่เข้าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310, 1312

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2097-2098/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่า, การดัดแปลงที่ดิน, กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้าง, สิทธิภารจำยอม, การรื้อถอน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้เช่าที่ดินของโจทก์จนหมดอายุสัญญาเช่าแล้วได้บอกกล่าวให้จำเลยออกไป จำเลยและบริวารไม่ยอมออก เป็นการละเมิดขอให้ขับไล่ เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ไม่จำต้องบรรยายไปถึงว่าจำเลยได้ทำสัญญาเช่าเป็นหนังสือหรือไม่
สัญญาเช่าบ้านมีข้อความว่า ส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมหรือปลูกสร้างขึ้นนั้นให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทั้งสิ้น ย่อมมีความหมายว่า บริเวณที่จำเลยก่อสร้างโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดนั้นอยู่ในขอบเขตของสัญญาทั้งสิ้น ดังนี้ โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ที่จำเลยก่อสร้างขึ้นจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าตั้งแต่เวลาก่อสร้างขึ้น กรณีไม่เข้าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310, 1312

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดิน: กรณีเจ้าของที่ดินเดิมสร้างก่อนแบ่งแยกที่ดิน ไม่ถือเป็นการรุกล้ำตามมาตรา 1312
แม้โจทก์จะอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย แต่คดีนี้ไม่ห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์จึงไม่จำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมา เพราะมิใช่คดีที่อุทธรณ์ได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียใหม่ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 เป็นบทบัญญัติเรื่องผู้ไม่มีสิทธิในที่ดินสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น
โจทก์และสามีจำเลยต่างซื้อที่ดินจากเจ้าของเดิมซึ่งตัดแบ่งขายเป็นแปลง ๆ จำเลยรับมรดกสามี โจทก์จำเลยจึงมีที่ดินติดต่อกัน โจทก์ซื้อที่ดินของโจทก์ภายหลังสามีจำเลยซื้อที่ดินของจำเลย โดยที่ดินของโจทก์อยู่ในสภาพที่มีกันสาดตึกของจำเลยรุกล้ำที่ดินของโจทก์อยู่ก่อน ดังนี้ โจทก์จึงมิใช่เป็นผู้สร้างตึกพร้อมทั้งกันสาดที่พิพาท หากแต่เจ้าของที่ดินเป็นผู้สร้างในที่ดินของตนเองในขณะยังไม่ได้แบ่งออกเป็นสองแปลง ซึ่งเจ้าของที่ดินมีสิทธิสร้างได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แล้วต่อมาเจ้าของที่ดินนั้นแบ่งที่ดินออกเป็นสองแปลง จึงทำให้กันสาดของโรงเรือนที่สร้างไว้ในที่ดินแปลงหนึ่งรุกล้ำเข้าไปในที่ดินที่แบ่งแยกอีกแปลงหนึ่ง กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 เพราะการรุกล้ำมิได้เกิดจากจำเลยเป็นผู้สร้าง
มาตรา 1312 เป็นบทยกเว้นเรื่องส่วนควบและแดนแห่งกรรมสิทธิ์ โดยบุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต มีสิทธิใช้ที่ดินของผู้อื่นในส่วนที่รุกล้ำนั้นได้ แต่ต้องเสียเงินให้แก่เจ้าของที่ดินเป็นค่าใช้ที่ดิน และจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 วรรคแรก ผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำโดยสุจริต ย่อมมีสิทธิในที่ดินที่ถูกรุกล้ำนั้นได้ โดยเจ้าของที่ดินที่ถูกรุกล้ำไม่มีสิทธิบังคับให้รื้อ
จำเลยมิได้เป็นผู้สร้างตึกพร้อมกันสาดที่พิพาท หากแต่เจ้าของที่ดินเป็นผู้สร้างในที่ดินของตนเองโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะขณะสร้างยังมิได้แบ่งแยกที่ดินออกเป็นสองแปลง ดังนั้น ถ้าจะบังคับให้รื้อ ก็มีผลเท่ากับจำเลยเป็นผู้สร้าง ตามมาตรา 1312 วรรค 2 ย่อมไม่เป็นธรรม เพราะแม้จำเลยเป็นผู้สร้างรุกล้ำเอง ถ้าโดยสุจริต กฎหมายยังยอมให้จำเลยมีสิทธิใช้ที่ดินส่วนที่รุกล้ำได้ แล้วไฉนถ้าจำเลยมิได้เป็นผู้สร้างรุกล้ำเอง แต่การที่สร้างนั้นเป็นการสร้างโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งยิ่งกว่าเป็นการสร้างโดยสุจริตเสียอีก แล้วกลับจะถูกบังคับให้รื้อถอน เพราะไม่มีสิทธิจะใช้ กรณีดังกล่าวไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ เมื่อเป็นช่องว่างแห่งกฎหมาย ดังนี้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 มาใช้ สำหรับกรณีนี้ไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นที่จะยกมาปรับคดีได้ จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง บทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งก็คือ มาตรา 1312 วรรคแรก คือ จำเลยมีสิทธิใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์เฉพาะที่กันสุดรุกล้ำเข้าไปนั้นได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อ แต่มีสิทธิที่จะเรียกเงินเป็นค่าที่จำเลยใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์ต่อไป ตลอดจนการที่จะดำเนินการจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอม
เครื่องทำความเย็นซึ่งผู้เช่าตึกจำเลยเป็นผู้ติดตั้ง ไม่ใช่เป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น และจำเลยไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการติดตั้งนี้ด้วย อีกทั้งผู้เช่าตึกของจำเลยไม่ใช่บริวารของจำเลยในกรณีเช่นนี้ โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้ย้ายเครื่องทำความเย็นของผู้อื่นไม่ได้
(นอกจากวรรค 1 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30/2502)
of 16