พบผลลัพธ์ทั้งหมด 153 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โรงเรือนรุกล้ำที่ดิน: ภารจำยอมเฉพาะตัวโรงเรือน, รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างอื่น, ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครไม่ผูกพันเจ้าของที่ดิน
การสร้างโรงเรือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1312 หมายถึงการสร้างบ้านสำหรับอยู่อาศัย ดังนั้นโรงรถ ท่อน้ำประปา ปั๊มน้ำ และแท็งก์น้ำจึงมิใช่โรงเรือนตามความหมายของบทบัญญัติมาตรานี้ และไม่ถือว่าเป็น ส่วนหนึ่งส่วนใดของโรงเรือนด้วย แม้จำเลยจะสร้างหรือทำ โดยสุจริต ก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง จำเลยต้องรื้อถอน ออกจากที่ดินของโจทก์ทั้งสอง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้โจทก์ทั้งสองไปจดทะเบียนภารจำยอมให้จำเลยเฉพาะส่วนที่โรงเรือนของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในแนวเขตที่ดินของโจทก์ทั้งสอง โดยให้วัดเป็นแนวดิ่ง ตามแนวชายคาหรือส่วนใดส่วนหนึ่งที่ยื่นล้ำออกจากตัวโรงเรือน ตั้งฉากกับที่ดินของโจทก์ทั้งสองยาวตลอดแนวที่ปลูกสร้างรุกล้ำ นั้นเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การจดทะเบียนภารจำยอมไว้ ชัดแจ้งแล้ว ไม่ก่อให้เกิดข้อโต้แย้งระหว่างโจทก์ทั้งสอง กับจำเลยซึ่งจะต้องตกลงกันอีกแต่อย่างใด และตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 นั้น ย่อมหมายถึง ให้จดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมเฉพาะตัวโรงเรือนที่ รุกล้ำเท่านั้น ไม่มีผลให้บุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำ เข้าไปในที่ดินของผู้อื่นได้สิทธิภารจำยอมในที่ดินของ ผู้อื่นอีก 2 เมตร โดยวัดจากตัวโรงเรือนส่วนที่รุกล้ำเข้าไป แม้จะมีข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 74 กำหนดให้อาคารที่ปลูกในที่ดินเอกชน ให้ผนังด้านที่มีหน้าต่างประตูหรือช่องระบายอากาศ อยู่ห่างเขตที่ดินได้สำหรับชั้นสองลงมาระยะไม่น้อยกว่า 2 เมตร ก็ตามก็เป็นคนละกรณีกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริต: สิทธิภารจำยอมเฉพาะโรงเรือน, การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างอื่น, และขอบเขตการชดใช้ค่าที่ดิน
เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า สร้างโรงเรือน ย่อมหมายถึงสร้างบ้านสำหรับอยู่อาศัยเท่านั้น โรงรถ ท่อน้ำประปา ปั๊มน้ำ และแท็งก์น้ำ จึงมิใช่โรงเรือนตามความหมายของ บทบัญญัติมาตรานี้ และไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งส่วนใด ของโรงเรือนด้วย ดังนี้แม้จำเลยจะสร้างหรือ ทำรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์โดยสุจริต จำเลยก็ไม่ได้รับ ความคุ้มครองตามมาตรา 1312 ดังกล่าว จำเลยต้องรื้อถอน ออกจากที่ดินของโจทก์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 บัญญัติให้จดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมเฉพาะตัวโรงเรือนที่รุกล้ำเท่านั้นจึงไม่มีผลให้บุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นได้สิทธิภารจำยอมในที่ดินของผู้อื่นอีก แม้จะมีข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 กำหนดให้อาคารที่ปลูกในที่ดินเอกชน ให้ผนังด้านที่มีหน้าต่าง ประตูหรือช่องระบายอากาศอยู่ห่างเขตที่ดินได้สำหรับชั้นสองลงมาระยะไม่น้อยกว่า 2 เมตรก็เป็นกรณีที่ผู้ปลูกสร้างอาคารจะต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเท่านั้น แต่กรณีของจำเลยเป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวไม่มีผลให้โจทก์ต้องผูกพันในการกระทำ ของจำเลย โจทก์จึงไม่ต้องจดทะเบียนภารจำยอมที่ดินของ โจทก์ทั้งสองให้แก่จำเลยเพิ่มขึ้นตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคสองบัญญัติว่า ถ้ามิได้ระบุค่าฤชาธรรมเนียมชนิดใดไว้โดยเฉพาะค่าฤชาธรรมเนียมนั้นให้รวมถึงค่าป่วยการพยาน ค่าทนายความค่าธรรมเนียมในการส่งเอกสารและบังคับคดี และค่าฤชาธรรมเนียมหรือค่าธรรมเนียมอื่น ๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับให้เสียดังนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาว่าค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ โดยมิได้สั่งค่าทนายความ จึงรวมถึงค่าทนายความทั้งสองศาลให้เป็นพับด้วยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินและสิทธิภารจำยอม: การชดใช้ค่าที่ดินและขอบเขตสิทธิเฉพาะส่วนโรงเรือน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าสร้างโรงเรือนย่อมหมายถึงสร้างบ้าน สำหรับอยู่อาศัยเท่านั้น ดังนั้น โรงรถ ท่อน้ำประปา ปั๊มน้ำ และแท็งก์น้ำจึงมิใช่โรงเรือนตามความหมายของบทบัญญัติ มาตรานี้ และไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของโรงเรือนด้วย แม้จำเลยจะสร้างหรือทำรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์โดยสุจริต ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1312 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 บัญญัติให้ จดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมเฉพาะตัวโรงเรือนที่รุกล้ำเท่านั้น จึงไม่มีผลให้บุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดิน ของผู้อื่นได้สิทธิภารจำยอมในที่ดินของผู้อื่นอีก 2 เมตร แม้จะมีข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร กำหนดให้อาคารที่ปลูกใน ที่ดินเอกชนให้ผนังด้านที่มีหน้าต่าง ประตูหรือช่องระบายอากาศ อยู่ห่างเขตที่ดินได้สำหรับชั้นสองลงมาระยะไม่น้อยกว่า 2 เมตร ก็เป็นกรณีที่ผู้ปลูกสร้างอาคารจะต้องปฏิบัติตาม ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเท่านั้น แต่กรณีของจำเลยเป็นการ สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ข้อบัญญัติดังกล่าว ไม่มีผลให้โจทก์ต้องผูกพันในการกระทำของจำเลย โจทก์จึง ไม่ต้องจดทะเบียนภารจำยอมที่ดินของโจทก์ให้แก่จำเลย เพิ่มขึ้นตามข้อบัญญัติดังกล่าวอีก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคสองบัญญัติว่า ถ้ามิได้ระบุค่าฤชาธรรมเนียมชนิดใดไว้โดยเฉพาะค่าฤชาธรรมเนียมนั้นให้รวมถึงค่าป่วยการพยาน ค่าทนายความค่าธรรมเนียมในการส่งเอกสารและบังคับคดี และค่าฤชาธรรมเนียมหรือค่าธรรมเนียมอื่น ๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับให้เสียดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองให้เป็นพับโดยมิได้สั่งค่าทนายความจึงหมายความรวมถึงค่าทนายความทั้งสองศาลให้เป็นพับด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4044/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริต ต้องพิจารณาเจตนาของผู้รุก หากเข้าใจผิดว่าที่ดินเป็นของตน ถือว่าสุจริต
จำเลยสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินโจทก์โดยสุจริตหรือไม่ต้องดูเจตนาของจำเลย ถ้าขณะสร้างอาคารจำเลยเข้าใจว่า เป็นที่ดินของตนเองย่อมถือว่าจำเลยสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินโจทก์ โดยสุจริต พฤติการณ์ที่จำเลยได้สร้างอาคารอยู่ในรั้วคอนกรีตที่ได้ ครอบครองกันมาหลายปี ย่อมถือได้ว่าจำเลยไม่รู้ว่าตรงบริเวณ ที่จำเลยสร้างอาคารนั้นเป็นที่ดินของโจทก์ แม้ในขณะจำเลย สร้างอาคาร จำเลยยังมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และได้สร้างความกว้างของหน้าอาคารมากกว่าที่ขอไว้ตาม แบบแปลนและก่อนสร้างจำเลยจะมิได้ทำการรังวัดตรวจสอบ เขตที่ดินเมื่อไปพบหลักเขตก็ตาม ก็ยังไม่ถือว่าจำเลยกระทำ โดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงซึ่งเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3372/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริต: สิทธิเจ้าของอาคาร, ค่าใช้ที่ดิน, และภาระจำยอม
จำเลยประกาศเรียกประกวดราคาซื้อที่ดินโดยมีเงื่อนไขว่า ผู้ขายต้องถมที่ดินและล้อมรั้วด้วยเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก รอบที่ดินในเนื้อที่ 1 ไร่ อันเป็นส่วนที่จะใช้ก่อสร้างอาคาร ป. ซึ่งเป็นตัวแทนขายที่ดินแก่จำเลยได้ทำรั้วตามแนวโฉนดด้วยความระมัดระวังตามแนวที่เจ้าของที่ดินชี้ และจำเลย ได้ปลูกสร้างอาคารในเขตรั้วนั้น โดยไม่มีคำคัดค้านจาก ป. เจ้าของที่ดินข้างเคียง ส่วนโจทก์ซื้อที่ดินจาก บ. ในระหว่างที่จำเลยกำลังปลูกสร้างอาคาร แต่โจทก์ก็มิได้ โต้แย้งคัดค้านแนวเขตแม้จำเลยมิได้รังวัดสอบเขตก่อนลงมือ ปลูกสร้างอาคาร แต่พฤติการณ์มีเหตุให้จำเลยเชื่อและถือเอาตาม แนวเขตหรือแนวรั้วที่ครอบครอง และจำเลยปลูกสร้างอาคารในเขตรั้วที่ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ขายทำไว้โดยไม่อาจคาดคิดว่าจะรุกล้ำ ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อ แต่เป็นกรณี ที่จำเลยสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตมาตั้งแต่ แรกแล้ว กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1312 วรรคหนึ่ง คือ จำเลยเป็นเจ้าของอาคารส่วนที่รุกล้ำโดยไม่ต้องรื้อถอน แต่ต้องชำระค่าใช้ที่ดินให้โจทก์และโจทก์ต้องจดทะเบียนภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่อาคารของ จำเลยตามฟ้องแย้ง และหากอาคารส่วนที่รุกล้ำสลายไปหรือ รื้อถอนก็ให้โจทก์จดทะเบียนเพิกถอนภาระจำยอม และจำเลยไม่ต้อง ชำระค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ทั้งสองอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3372/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริต: การบังคับใช้ภาระจำยอมและการชำระค่าใช้ที่ดิน
จำเลยประกาศเรียกประกวดราคาซื้อที่ดินโดยมีเงื่อนไขว่าผู้ขายต้องถมที่ดินและล้อมรั้วด้วยเสาคอนกรีตเสริมเหล็กรอบที่ดินในเนื้อที่ 1 ไร่ อันเป็นส่วนที่จะใช้ก่อสร้างอาคาร ป.ซึ่งเป็นตัวแทนขายที่ดินแก่จำเลยได้ทำรั้วตามแนวโฉนดด้วยความระมัดระวังตามแนวที่เจ้าของที่ดินชี้ และจำเลยได้ปลูกสร้างอาคารในเขตรั้วนั้น โดยไม่มีคำคัดค้านจาก บ.เจ้าของที่ดินข้างเคียง ส่วนโจทก์ซื้อที่ดินจาก บ.ในระหว่างที่จำเลยกำลังปลูกสร้างอาคาร แต่โจทก์ก็มิได้โต้แย้งคัดค้านแนวเขตแม้จำเลยมิได้รังวัดสอบเขตก่อนลงมือปลูกสร้างอาคาร แต่พฤติการณ์มีเหตุให้จำเลยเชื่อและถือเอาตามแนวเขตหรือแนวรั้วที่ครอบครอง และจำเลยปลูกสร้างอาคารในเขตรั้วที่ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ขายทำไว้โดยไม่อาจคาดคิดว่าจะรุกล้ำ ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อ แต่เป็นกรณีที่จำเลยสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตมาตั้งแต่แรกแล้ว กรณีต้องบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 1312 วรรคหนึ่งคือ จำเลยเป็นเจ้าของอาคารส่วนที่รุกล้ำโดยไม่ต้องรื้อถอน แต่ต้องชำระค่าใช้ที่ดินให้โจทก์ และโจทก์ต้องจดทะเบียนภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่อาคารของจำเลยตามฟ้องแย้ง และหากอาคารส่วนที่รุกล้ำสลายไปหรือรื้อถอนก็ให้โจทก์จดทะเบียนเพิกถอนภาระจำยอม และจำเลยไม่ต้องชำระค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ทั้งสองอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2743/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินด้วยสิ่งปลูกสร้างสาธารณูปโภค สิทธิเรียกร้องค่าที่ดินและการชดใช้
จำเลยที่ 1 ทำการปรับปรุง ถนนบนที่ดิน ที่ ส. อุทิศเป็นสาธารณประโยชน์โดยก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และการก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ตลอดแนวเขตเป็นเนื้อที่ประมาณ 15 ตารางวา และจำเลยที่ 3 ได้ปักเสาพาดสายไฟฟ้ารุกล้ำที่ดินของโจทก์ตามแนวขอบถนนจำนวน 4 ต้น โดยมีส.เจ้าของที่ดินชี้แนวเขตในการสร้างถนน และโจทก์รู้เห็นการก่อสร้างทั้งโจทก์และส.ก็ยังเข้าใจว่าไม่ได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงมิได้กระทำโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่อ ไม่เป็นการละเมิด แต่เป็นการก่อสร้างรุกล้ำในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต โจทก์ย่อมไม่อาจขอให้รื้อถอนถนนและเสาไฟฟ้ากับเรียกค่าเสียหายจากจำเลย ที่ 1และที่ 3 ได้ โจทก์ตั้งหัวเรื่องในคำฟ้องว่า ละเมิด เรียกค่าเสียหายแต่ใจความในคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องว่า หากการรื้อถอนถนนและเสาไฟฟ้าไม่อาจกระทำได้ไม่ว่าด้วยประการใด ๆให้จำเลยร่วมกันหรือแทนกันใช้ค่าที่ดินให้แก่โจทก์คำฟ้องของโจทก์จึงมีความหมายรวมทั้งการปลูกสร้างรุกล้ำอันเป็นการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ด้วยศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ใช้ค่าที่ดินแก่โจทก์ได้ สิ่งที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ปลูกสร้างในที่ดินของโจทก์มิใช่โรงเรือน แต่เป็นถนนและเสาไฟฟ้าอันเป็นสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันแม้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ปลูกสร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต กรณีก็ไม่อาจนำมาตรา 1312 ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้บังคับได้ เมื่อเป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติไว้โดยตรง จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1314 ซึ่งกำหนดให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 1310 บังคับตลอดถึงการก่อสร้างใด ๆ ซึ่งติดที่ดินด้วย และเมื่อสิ่งปลุกสร้างคดีนี้ เป็นสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันซึ่งโจทก์ไม่อาจเป็นเจ้าของได้ โจทก์จึงคงมีสิทธิเพียงเรียกให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ซื้อที่ดินนั้นตามราคาตลาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 วรรคสอง โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336ย่อมไม่มีกำหนดอายุความ เว้นแต่ผู้ที่ยึดถือจะได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2743/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตและสิทธิในการใช้ประโยชน์จากสิ่งปลูกสร้างสาธารณูปโภค
จำเลยที่ 1 ทำการปรับปรุงถนนบนที่ดินที่ ส.อุทิศเป็นสาธารณประโยชน์โดยก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และการก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ตลอดแนวเขตเป็นเนื้อที่ประมาณ 15 ตารางวา และจำเลยที่ 3 ได้ปักเสาพาดสายไฟฟ้ารุกล้ำที่ดินของโจทก์ตามแนวขอบถนนจำนวน4 ต้น โดยมี ส.เจ้าของที่ดินชี้แนวเขตในการสร้างถนน และโจทก์รู้เห็นการก่อสร้างทั้งโจทก์และ ส.ก็ยังเข้าใจว่าไม่ได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 1และที่ 3 จึงมิได้กระทำโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่อ ไม่เป็นการละเมิด แต่เป็นการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต โจทก์ย่อมไม่อาจขอให้รื้อถอนถนนและเสาไฟฟ้ากับเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้
โจทก์ตั้งหัวเรื่องในคำฟ้องว่า ละเมิด เรียกค่าเสียหาย แต่ใจความในคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องว่า หากการรื้อถอนถนนและเสาไฟฟ้าไม่อาจกระทำได้ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ ให้จำเลยร่วมกันหรือแทนกันใช้ค่าที่ดินให้แก่โจทก์คำฟ้องของโจทก์จึงมีความหมายรวมทั้งการปลูกสร้างรุกล้ำอันเป็นการละเมิดตามป.พ.พ.มาตรา 420 และในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ด้วยศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ใช้ค่าที่ดินแก่โจทก์ได้
สิ่งที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ปลูกสร้างในที่ดินของโจทก์มิใช่โรงเรือน แต่เป็นถนนและเสาไฟฟ้าอันเป็นสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันแม้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ปลูกสร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต กรณีก็ไม่อาจนำมาตรา 1312 ตาม ป.พ.พ.มาใช้บังคับได้ เมื่อเป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติไว้โดยตรง จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือ ป.พ.พ.มาตรา1314 ซึ่งกำหนดให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 1310 บังคับตลอดถึงการก่อสร้างใด ๆซึ่งติดที่ดินด้วย และเมื่อสิ่งปลูกสร้างคดีนี้เป็นสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันซึ่งโจทก์ไม่อาจเป็นเจ้าของได้ โจทก์จึงคงมีสิทธิเพียงเรียกให้จำเลยที่ 1 และที่ 3ซื้อที่ดินนั้นตามราคาตลาดตาม ป.พ.พ.มาตรา 1310 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ย่อมไม่มีกำหนดอายุความ เว้นแต่ผู้ที่ยึดถือจะได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์
โจทก์ตั้งหัวเรื่องในคำฟ้องว่า ละเมิด เรียกค่าเสียหาย แต่ใจความในคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องว่า หากการรื้อถอนถนนและเสาไฟฟ้าไม่อาจกระทำได้ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ ให้จำเลยร่วมกันหรือแทนกันใช้ค่าที่ดินให้แก่โจทก์คำฟ้องของโจทก์จึงมีความหมายรวมทั้งการปลูกสร้างรุกล้ำอันเป็นการละเมิดตามป.พ.พ.มาตรา 420 และในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ด้วยศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ใช้ค่าที่ดินแก่โจทก์ได้
สิ่งที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ปลูกสร้างในที่ดินของโจทก์มิใช่โรงเรือน แต่เป็นถนนและเสาไฟฟ้าอันเป็นสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันแม้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ปลูกสร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต กรณีก็ไม่อาจนำมาตรา 1312 ตาม ป.พ.พ.มาใช้บังคับได้ เมื่อเป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติไว้โดยตรง จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือ ป.พ.พ.มาตรา1314 ซึ่งกำหนดให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 1310 บังคับตลอดถึงการก่อสร้างใด ๆซึ่งติดที่ดินด้วย และเมื่อสิ่งปลูกสร้างคดีนี้เป็นสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันซึ่งโจทก์ไม่อาจเป็นเจ้าของได้ โจทก์จึงคงมีสิทธิเพียงเรียกให้จำเลยที่ 1 และที่ 3ซื้อที่ดินนั้นตามราคาตลาดตาม ป.พ.พ.มาตรา 1310 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ย่อมไม่มีกำหนดอายุความ เว้นแต่ผู้ที่ยึดถือจะได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1820/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยรั้ว การใช้สิทธิโดยสุจริตของส่วนราชการ และความรับผิดของผู้เช่า
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 นำชี้ให้จำเลยที่ 3ก่อสร้างรั้วรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์เนื้อที่ประมาณ16 ตารางวา เมื่อรั้วที่จำเลยที่ 3 ก่อสร้างตามที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 นำชี้รุกล้ำที่ดินของโจทก์อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2จะอ้างว่าเป็นการกระทำเฉพาะตัวของจำเลยที่ 3 ไม่ได้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 3 ก่อสร้างรั้วรุกล้ำที่ดินของโจทก์กรมธนารักษ์จำเลยที่ 2 ผู้ให้เช่าจึงมีคำสั่งให้ ว. ไปรังวัด พบว่าจำเลยที่ 3 ก่อสร้างรั้วเกินเขตที่เช่าไปประมาณ 1.80 เมตร จึงให้จำเลยที่ 3 รื้อรั้วออกไปแล้วก่อสร้างใหม่ให้อยู่ในแนวเขตที่เช่า แต่โจทก์อ้างว่ารั้วที่ก่อสร้างใหม่ยังคงรุกล้ำที่ดินของโจทก์อยู่อีกจำเลยที่ 2 ได้ให้ ว. ไปตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งและได้มีหนังสือนัดให้ทนายโจทก์และจำเลยที่ 3 ไปร่วมตรวจสอบ ก็ไม่ปรากฏว่ารั้วรุกล้ำที่ดินของโจทก์แต่อย่างใด มาปรากฏว่ารั้วรุกล้ำเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินไปตรวจสอบ การที่โจทก์กล่าวหาว่าก่อสร้างรั้วรุกล้ำแนวเขตที่ดินสืบเนื่องมาจากโฉนดที่ดินที่พิพาทเป็นโฉนดที่ดินแบบเก่า การโต้แย้งของกระทรวงการคลังจำเลยที่ 1 และกรมธนารักษ์จำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ที่ดินของรัฐ มิได้มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหายโดยตรง จำเลยที่ 1 และที่ 2จึงไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3ในฐานะผู้เช่าจะต้องยึดถือตามแนวเขตที่จำเลยที่ 2 นำชี้หาใช่เป็นการกระทำโดยพลการไม่การก่อสร้างรั้วก็กระทำตามที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ยืนยันแนวเขตที่เช่า ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 กระทำการโดยสุจริต ไม่เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันจะเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1820/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินและอำนาจฟ้อง: การกระทำของจำเลยที่ 3 และความรับผิดของจำเลยที่ 1 และ 2
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 นำชี้ให้จำเลยที่ 3 ก่อสร้างรั้วรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์เนื้อที่ประมาณ 16 ตารางวา เมื่อรั้วที่จำเลยที่ 3ก่อสร้างตามที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 นำชี้รุกล้ำที่ดินของโจทก์อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จะอ้างว่าเป็นการกระทำเฉพาะตัวของจำเลยที่ 3 ไม่ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย
โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 3 ก่อสร้างรั้วรุกล้ำที่ดินของโจทก์กรมธนารักษ์จำเลยที่ 2 ผู้ให้เช่าจึงมีคำสั่งให้ ว.ไปรังวัด พบว่าจำเลยที่ 3ก่อสร้างรั้วเกินเขตที่เช่าไปประมาณ 1.80 เมตร จึงให้จำเลยที่ 3 รื้อรั้วออกไปแล้วก่อสร้างใหม่ให้อยู่ในแนวเขตที่เช่า แต่โจทก์อ้างว่ารั้วที่ก่อสร้างใหม่ยังคงรุกล้ำที่ดินของโจทก์อยู่อีก จำเลยที่ 2 ได้ให้ ว.ไปตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งและได้มีหนังสือนัดให้ทนายโจทก์และจำเลยที่ 3 ไปร่วมตรวจสอบ ก็ไม่ปรากฏว่า รั้วรุกล้ำที่ดินของโจทก์แต่อย่างใด มาปรากฏว่ารั้วรุกล้ำเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินไปตรวจสอบ การที่โจทก์กล่าวหาว่าก่อสร้างรั้วรุกล้ำแนวเขตที่ดินสืบเนื่องมาจากโฉนดที่ดินที่พิพาทเป็นโฉนดที่ดินแบบเก่า การโต้แย้งของกระทรวงการคลังจำเลยที่ 1 และกรมธนารักษ์จำเลยที่ 2 ดังกล่าว จึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ที่ดินของรัฐ มิได้มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหายโดยตรง จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้เช่าจะต้องยึดถือตามแนวเขตที่จำเลยที่ 2 นำชี้ หาใช่เป็นการกระทำโดยพลการไม่การก่อสร้างรั้วก็กระทำตามที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ยืนยันแนวเขตที่เช่า ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 กระทำการโดยสุจริต ไม่เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันจะเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เช่นกัน
โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 3 ก่อสร้างรั้วรุกล้ำที่ดินของโจทก์กรมธนารักษ์จำเลยที่ 2 ผู้ให้เช่าจึงมีคำสั่งให้ ว.ไปรังวัด พบว่าจำเลยที่ 3ก่อสร้างรั้วเกินเขตที่เช่าไปประมาณ 1.80 เมตร จึงให้จำเลยที่ 3 รื้อรั้วออกไปแล้วก่อสร้างใหม่ให้อยู่ในแนวเขตที่เช่า แต่โจทก์อ้างว่ารั้วที่ก่อสร้างใหม่ยังคงรุกล้ำที่ดินของโจทก์อยู่อีก จำเลยที่ 2 ได้ให้ ว.ไปตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งและได้มีหนังสือนัดให้ทนายโจทก์และจำเลยที่ 3 ไปร่วมตรวจสอบ ก็ไม่ปรากฏว่า รั้วรุกล้ำที่ดินของโจทก์แต่อย่างใด มาปรากฏว่ารั้วรุกล้ำเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินไปตรวจสอบ การที่โจทก์กล่าวหาว่าก่อสร้างรั้วรุกล้ำแนวเขตที่ดินสืบเนื่องมาจากโฉนดที่ดินที่พิพาทเป็นโฉนดที่ดินแบบเก่า การโต้แย้งของกระทรวงการคลังจำเลยที่ 1 และกรมธนารักษ์จำเลยที่ 2 ดังกล่าว จึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ที่ดินของรัฐ มิได้มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหายโดยตรง จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้เช่าจะต้องยึดถือตามแนวเขตที่จำเลยที่ 2 นำชี้ หาใช่เป็นการกระทำโดยพลการไม่การก่อสร้างรั้วก็กระทำตามที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ยืนยันแนวเขตที่เช่า ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 กระทำการโดยสุจริต ไม่เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันจะเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เช่นกัน