คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1312

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 153 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5637/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างบ้านรุกล้ำที่ดิน: สิทธิการรื้อถอนและการชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ปลูกบ้านในที่ดินของโจทก์ประมาณร้อยละ70 ส่วนอีกร้อยละ 30 ปลูกอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 เมื่อปรากฏว่าโรงเรือนส่วนใหญ่อยู่ในที่ดินของโจทก์ จึงเป็นกรณีปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่น ตามป.พ.พ. มาตรา 1310, 1311 หาใช่เป็นกรณีปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำตามมาตรา 1312 ไม่
การที่จำเลยทั้งสี่ปลูกสร้างบ้านลงในที่ดินของโจทก์ โดยรู้ว่าไม่มีสิทธิเช่นนั้น จึงเป็นการปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต ตามมาตรา 1311 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนบ้านส่วนนที่อยู่ในที่ดินของโจทก์ออกไป และจำเลยต้องทำที่ดินให้เป็นตามเดิมแล้วส่งคืนแก่โจทก์โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย
ในคดีส่วนอาญาศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่มีเจตนากระทำความผิดอาญา หาใช่การกระทำโดยมีเจตนา-สุจริตตามความหมายในคดีส่วนแพ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5637/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างบ้านรุกล้ำที่ดินผู้อื่น: พิจารณาเจตนาสุจริตและสิทธิการรื้อถอน
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ปลูกบ้านในที่ดินของโจทก์ประมาณร้อยละ 70ส่วนอีกร้อยละ 30 ปลูกอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 เมื่อปรากฏว่าโรงเรือนส่วนใหญ่อยู่ในที่ดินของโจทก์ จึงเป็นกรณีปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310,1311หาใช่เป็นกรณีปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำตามมาตรา 1312 ไม่ การที่จำเลยทั้งสี่ปลูกสร้างบ้านลงในที่ดินของโจทก์ โดยรู้ว่าไม่มีสิทธิเช่นนั้น จึงเป็นการปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต ตามมาตรา 1311 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนบ้านส่วนที่อยู่ในที่ดินของโจทก์ออกไป และจำเลยต้องทำที่ดินให้เป็นตามเดิมแล้วส่งคืนแก่โจทก์โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ในคดีส่วนอาญาศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่มีเจตนากระทำความผิดอาญา หาใช่การกระทำโดยมีเจตนาสุจริตตามความหมายในคดีส่วนแพ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2484/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตจากเจ้าของเดิม โจทก์มีสิทธิแค่เรียกค่าใช้ที่ดิน
ที่ดินพิพาทเดิมเป็นของมารดาโจทก์และบิดาจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน มีบ้านปลูกอยู่ 6 หลัง รวมทั้งบ้านโจทก์และบ้านจำเลยต่อมาโจทก์ได้ฟ้องผู้จัดการมรดกของบิดาจำเลยขอแบ่งแยกที่ดินแปลงดังกล่าว แล้วตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยแบ่งที่ดินกันฝ่ายละครึ่ง เมื่อมีการรังวัดที่ดินเพื่อแบ่งแยกโฉนดปรากฏว่าบ้านของจำเลยที่ปลูกสร้างมากว่า 50 ปีแล้ว อยู่ในเขตที่ดินโจทก์ประมาณ 18 ตารางวา เช่นนี้ กรณีไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 มาใช้บังคับ โดยอาศัยเทียบกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งคือมาตรา 1312วรรคหนึ่ง เมื่อบ้านของจำเลยปลูกล้ำอยู่ในที่ดินของโจทก์ โดยเจ้าของเดิมเป็นผู้ปลูกสร้าง มิใช่จำเลยปลูกสร้าง ทั้งโจทก์และจำเลยต่างรับโอนที่ดินและบ้านอีกทอดหนึ่ง ถือได้ว่าการรุกล้ำเป็นมาโดยสุจริต โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยรื้อถอนบ้านรุกล้ำ คงมีสิทธิเรียกค่าใช้ที่ดินเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1512/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารรุกล้ำที่ดินโดยสุจริต เจ้าของอาคารไม่ต้องรื้อถอน มีสิทธิใช้ที่ดินและชดใช้ค่าเสียหาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยร่วมปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต ให้ยกฟ้อง แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องจำเลยร่วมเรียกค่าใช้ที่ดิน ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยร่วมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่รุกล้ำ ทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า อาคารที่รุกล้ำเป็นของจำเลยร่วม ไม่ใช่ของจำเลย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้กระทบกระเทือนต่อสิทธิของจำเลย จึงไม่มีปัญหาข้อใดที่จำเลยต้องโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยจึงฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ได้ ที่ดินพร้อมตึกแถวของโจทก์ทั้งสองกับที่ดินพร้อมตึกแถวของจำเลยร่วม อยู่ติดกันใช้ตงและคานร่วมกัน เดิมจำเลยได้ตกลงทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและอาคารแล้วชำระเงินในชื่อของจำเลยร่วมเป็นงวด ๆ เมื่อตกลงซื้อแล้วจะให้จำเลยร่วมโอนกรรมสิทธิ์ไป พฤติการณ์ถือได้ว่า จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายแทนจำเลยร่วมระหว่างการซื้อขายได้มีการจ้างช่างมาต่อเติมอาคาร โดยโจทก์ทั้งสองกับมารดาร่วมกับจำเลยและผู้อยู่ในตึกแถวรายอื่น ๆ โดยนาง อ.ผู้จัดการมรดกของผู้ขายให้ความยินยอมแล้ว เมื่อจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายแทนจำเลยร่วมจึงถือว่าจำเลยเป็นผู้จ้างต่อเติมอาคารแทนจำเลยร่วมด้วย ดังนั้นการจ้างช่างมาต่อเติมอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์กระทำหลังจากที่จำเลยร่วมเป็นผู้จะซื้อที่ดินและอาคารแล้วโดยจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินที่ปลูกสร้างเป็นผู้จ้างช่างมาสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์เอง มิใช่ผู้อื่นเป็นผู้สร้างอาคารที่รุกล้ำแล้วโอนให้จำเลยร่วม การปลูกสร้างโจทก์ทั้งสองกับมารดาและจำเลยร่วมดำเนินการปลูกสร้างด้วยกัน ไม่ปรากฏว่าจำเลยร่วมรู้ว่าได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินโจทก์ทั้งสองจึงต้องถือว่าจำเลยร่วมสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งสองโดยสุจริต กรณีจึงอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1312 วรรคหนึ่ง จำเลยร่วมจึงเป็นเจ้าของโรงเรือนคือผนังตึกที่สร้างขึ้นนั้น โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจให้รื้อถอนคงมีสิทธิที่จะเรียกเงินเป็นค่าที่จำเลยร่วมใช้ที่ดินของโจทก์ทั้งสอง แต่โจทก์ทั้งสองมิได้ฟ้องขอบังคับ ศาลจึงไม่อาจบังคับให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1512/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารรุกล้ำที่ดินโดยสุจริต เจ้าของโรงเรือนมีสิทธิใช้ที่ดินนั้นได้
จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทแทนจำเลยร่วมและเป็นผู้ว่าจ้างต่อเติมผนังตึกแถวพิพาทแทนจำเลยร่วมด้วย ดังนั้นการจ้างช่างมาต่อเติมอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์จึงกระทำโดยจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในที่ดิน มิใช่ผู้อื่นเป็นผู้สร้าง แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยร่วมได้รู้ว่าได้สร้างอาคารรุกล้ำที่ดินโจทก์จึงต้องถือว่า จำเลยร่วมสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 วรรคหนึ่งโจทก์ไม่มีอำนาจให้จำเลยร่วมรื้อถอนผนังตึก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3707/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องภาระจำยอมหลังคดีเช่าถึงที่สุด ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เหตุต่างกันในมูลฐาน
เดิมโจทก์และนาง ล. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน ต่อมาได้แบ่งแยกเป็นสองโฉนด มีอาคารและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ล้ำเข้าไปในที่ดินของนาง ล. ต่อมานาง ล.ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้นาย ฮ. นาย ฮ.ได้ฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินที่รุกล้ำ โจทก์ยอมรับว่าที่ดินเป็นของนาย ฮ. ตกลงเช่าที่ดินพิพาทเป็นเวลา 5 ปี แต่ไม่จดทะเบียนการเช่า เมื่อนาย ฮ.ตายที่ดินพิพาทตกเป็นของจำเลยโดยทางมรดก จำเลยฟ้องขับไล่โจทก์อ้างว่าสัญญาเช่าไม่จดทะเบียนมีผลเพียง 3 ปี ในคดีดังกล่าวโจทก์อุทธรณ์ฎีกาคัดค้านเฉพาะประเด็นที่ว่าสัญญาเช่าบังคับกันได้ 3 ปีหรือ 5 ปี คดีถึงที่สุดแล้วโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาเช่าบังคับได้ 3 ปี พ้นกำหนดแล้ว ให้โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทโจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าได้ปลูกสร้างอาคารโดยสุจริต และได้ครอบครองโดยสงบเปิดเผยตลอดมา ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนภาระจำยอม ข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับของโจทก์คดีนี้มุ่งไปที่เรื่องปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตและได้ภาระจำยอมโดยโจทก์เป็นเจ้าของโรงเรือนและมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทจึงเป็นคนละเหตุกับคดีก่อนซึ่งเป็นเรื่องเช่าทรัพย์ และกรณีนี้มิใช่เรื่องที่เนื่องมาจากมูลฐานเดียวกันหรือติดต่อกันจากเรื่องเช่าทรัพย์ซึ่งโจทก์ต้องยกขึ้นอ้างหรือต่อสู้เสียในคดีก่อน การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิสภาพที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเดิมก่อนรุกล้ำ ไม่ถือเป็นการละเมิด
เดิม ส.เป็นเจ้าของที่ดินของจำเลยและของโจทก์ส.ได้ปลูกสร้างตึกแถวในที่ดินเพื่อจัดสรรขาย จำเลยรับโอนที่ดินพร้อมตึกแถวจาก ส. โดยมีกันสาดและสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นรุกล้ำที่ดินของโจทก์ จำเลยจึงมิได้ก่อสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์และไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิให้จำเลยรื้อถอนและเรียกค่าเสียหายจากจำเลย จำเลยถูกฟ้องในข้อหาต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตหลังจากที่จำเลยเข้าอยู่อาศัยในตึกแถวพิพาทแล้ว การที่จำเลยให้การรับสารภาพไม่ได้แสดงว่าจำเลยเป็นผู้ต่อเติมอาคารเองเพราะจำเลยเพิ่งรับโอนอาคารหลังจากก่อสร้างเสร็จแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ยกข้อเท็จจริงว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตมาวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้และมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6331/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินด้วยสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ใช่โรงเรือน แม้สุจริตก็ต้องรื้อถอน
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1312 เฉพาะตัวโรงเรือนที่สร้างรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่ได้รับความคุ้มครอง สิ่งอื่น ๆ ที่มิใช่โรงเรือนแม้จะสร้างขึ้นโดยสุจริตก็หาได้รับ ความคุ้มครองด้วยไม่ จำเลยจึงต้องรื้อถอนรั้วพิพาทส่วนที่รุกล้ำ ออก ไปจากที่ดินของโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6331/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดิน: คุ้มครองเฉพาะโรงเรือนที่สร้างโดยสุจริต สิ่งปลูกสร้างอื่นต้องรื้อ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1312 เฉพาะตัวโรงเรือนที่สร้างรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่ได้รับความคุ้มครอง สิ่งอื่น ๆ ที่มิใช่โรงเรือนแม้จะสร้างขึ้นโดยสุจริตก็หาได้รับความคุ้มครองด้วยไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3713/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและสิทธิของผู้ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเดิม สิทธิเรียกร้องจำกัดเฉพาะค่าใช้ที่ดินและภาระจำยอม
โจทก์จะบังคับให้จำเลยทั้งสามรื้อถอนระเบียงพิพาทได้ก็ต่อเมื่อจำเลยทั้งสามก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต ตามป.พ.พ. มาตรา 1312 วรรคสอง แต่เมื่อจำเลยทั้งสามซื้อ ตึกแถว พร้อมระเบียงพิพาทที่รุกล้ำที่ดินของโจทก์อยู่ก่อนแล้ว โดย ไม่ปรากฏ ว่า ระเบียงได้สร้างรุกล้ำโดยไม่สุจริต ต้องถือว่า จำเลย เป็น ผู้สืบสิทธิ ของ ผู้สร้างระเบียงพิพาทรุกล้ำที่ดินของโจทก์ โดยสุจริต โจทก์จึงมีสิทธิ เพียงแต่ จะ ได้ค่าใช้ที่ดินและยังมีหน้าที่ จดทะเบียนภาระจำยอมให้จำเลยทั้งสาม ด้วยทั้งนี้ โดยนัย ป.พ.พ. มาตรา 1312 วรรคแรก แต่โจทก์มิได้ขอให้บังคับจำเลยใช้เงิน เป็นค่าใช้ที่ดินของโจทก์ ศาลจึงไม่อาจบังคับให้จำเลยใช้เงินดังกล่าวได้.
of 16