คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1312

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 153 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5542/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินด้วยรั้วกำแพง แม้ไม่ใช่โรงเรือนก็ต้องรื้อถอน หากจำเลยต่อสู้เรื่องลักษณะโรงเรือนต้องยกขึ้นว่ากันตั้งแต่ศาลชั้นต้น
การที่จำเลยสร้างรั้วกำแพงรุกล้ำที่ดินของโจทก์นั้น มิใช่เป็นการปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1312 จำเลยต้องรื้อถอนออกไป ที่จำเลยฎีกาว่า สิ่งปลูกสร้างคดีนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับโรงเรือนเพราะปลูกสร้างแน่นหนามั่นคงติดกับที่ดิน และพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง พ.ศ. 2497 ให้ถือว่ากำแพงเป็นอาคารด้วยนั้นจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นข้อนี้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินด้วยกันสาด: สิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินของผู้อื่นเมื่อเจ้าของเดิมเป็นผู้สร้าง
เจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้สร้างตึกพร้อม กันสาด แล้วได้แบ่งแยกเป็นแปลง ๆ ขาย ทำให้กันสาดที่สร้างในที่ดินแปลงหนึ่งรุกล้ำเข้าไปในที่ดินที่แบ่งแยกอีกแปลงหนึ่ง จำเลยซื้อตึกซึ่งมีกันสาดอยู่แล้วส่วนโจทก์ซื้อที่ดินในสภาพที่มีกันสาดดังกล่าวรุกล้ำ ดังนี้กันสาดที่รุกล้ำมิได้เกิดจากจำเลยเป็นผู้สร้าง จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 ซึ่งเป็นบทยกเว้นเรื่องส่วนควบและแดนกรรมสิทธิ์ โดยบุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตมีสิทธิใช้ที่ดินของผู้อื่นในส่วนที่รุกล้ำนั้น แต่ต้องเสียค่าใช้ที่ดินแก่เจ้าของที่ดินเมื่อจำเลยมิได้เป็นผู้สร้าง จึงไม่มีกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 มาใช้บังคับคืออาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งซึ่งได้แก่มาตรา1312 วรรคแรก ฉะนั้นจำเลยย่อมมีสิทธิใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์เฉพาะกันสาดที่รุกล้ำเข้าไปได้ ส่วนโจทก์ไม่มีสิทธิให้จำเลยรื้อกันสาด คงมีสิทธิเรียกเงินเป็นค่าที่จำเลยใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดิน แต่โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับในส่วนนี้ ศาลจึงไม่อาจบังคับให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินด้วยกันสาด: สิทธิใช้ที่ดินของผู้อื่นโดยอาศัยหลักเทียบบทกฎหมาย
เจ้าของที่ดินเดิม เป็นผู้สร้างตึก พร้อม กันสาด แล้วได้ แบ่งแยกเป็นแปลง ๆ ขาย ทำให้กันสาดที่สร้างในที่ดินแปลงหนึ่งรุกล้ำเข้าไปในที่ดินที่แบ่งแยกอีกแปลงหนึ่ง จำเลยซื้อ ตึก ซึ่ง มีกันสาดอยู่แล้ว ส่วนโจทก์ซื้อ ที่ดินในสภาพที่มีกันสาดดังกล่าวรุกล้ำดังนี้กันสาดที่รุกล้ำมิได้เกิดจากจำเลยเป็นผู้สร้าง จึงไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1312 ซึ่ง เป็นบทยกเว้นเรื่องส่วนควบและแดนกรรมสิทธิ์โดย บุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดย สุจริตมีสิทธิใช้ ที่ดินของผู้อื่นในส่วนที่รุกล้ำนั้นแต่ ต้อง เสียค่าใช้ ที่ดินแก่เจ้าของที่ดิน เมื่อจำเลยมิได้เป็นผู้สร้าง จึงไม่มีกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ ต้อง นำ ป.พ.พ.มาตรา 4 มาใช้ บังคับคืออาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งซึ่ง ได้แก่มาตรา 1312 วรรคแรก ฉะนั้น จำเลยย่อมมีสิทธิใช้ ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิที่ดินของโจทก์เฉพาะ ที่กันสาดรุกล้ำเข้าไปได้ส่วนโจทก์ไม่มีสิทธิให้จำเลยรื้อกันสาด คงมีสิทธิเรียกเงินเป็นค่าที่จำเลยใช้ ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิที่ดิน แต่ โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับในส่วนนี้ ศาลจึงไม่อาจบังคับให้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิในที่ดินเมื่อมีการรุกล้ำจากโครงสร้างเดิม การตีความมาตรา 1312 และหลักการเทียบเคียงบทกฎหมาย
เจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้สร้างตึกพร้อมทั้งกันสาดในที่ดินของตนเอง ต่อมาได้แบ่งแยกที่ดินเป็นแปลง ๆ ทำให้กันสาดของตึกที่สร้างในที่ดินแปลงหนึ่งรุกล้ำเข้าไปในที่ดินที่แบ่งแยกอีกแปลงหนึ่ง กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1312 เพราะการรุกล้ำมิได้เกิดจากจำเลยเป็นผู้สร้าง มาตรา 1312 เป็นบทยกเว้นเรื่องส่วนควบและแดนกรรมสิทธิ์ โดยบุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต มีสิทธิใช้ที่ดินของผู้อื่นในส่วนที่รุกล้ำนั้นได้ แต่ต้องเสียเงินให้แก่เจ้าของที่ดินเป็นค่าใช้ที่ดิน และจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอม คดีนี้จำเลยมิได้เป็นผู้สร้าง หากแต่เจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้สร้างในที่ดินของตนเองโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งไม่มีกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ จึงต้องนำป.พ.พ. มาตรา 4 มาใช้บังคับ คืออาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ได้แก่มาตรา 1312 วรรคแรก คือจำเลยมีสิทธิใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์เฉพาะที่กันสาดรุกล้ำเข้าไปนั้นได้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อกันสาด แต่มีสิทธิที่จะเรียกเงินเป็นค่าที่จำเลยใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์ต่อไปแต่โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับเช่นนั้น คงฟ้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย จึงไม่อาจบังคับให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินจากโครงสร้างเดิม: สิทธิใช้ประโยชน์และขอบเขตอำนาจฟ้อง
เจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้สร้างตึกพร้อมทั้งกันสาดในที่ดินของตนเอง ต่อมาได้แบ่งแยกที่ดินเป็นแปลง ๆ ทำให้กันสาดของตึกที่สร้างในที่ดินแปลงหนึ่งรุกล้ำเข้าไปในที่ดินที่แบ่งแยกอีกแปลงหนึ่ง กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1312เพราะการรุกล้ำมิได้เกิดจากจำเลยเป็นผู้สร้าง มาตรา 1312 เป็นบทยกเว้นเรื่องส่วนควบและแดนกรรมสิทธิ์ โดยบุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต มีสิทธิใช้ที่ดินของผู้อื่นในส่วนที่รุกล้ำนั้นได้ แต่ต้องเสียเงินให้แก่เจ้าของที่ดินเป็นค่าใช้ที่ดิน และจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอม คดีนี้จำเลยมิได้เป็นผู้สร้าง หากแต่เจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้สร้างในที่ดินของตนเองโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งไม่มีกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ จึงต้องนำป.พ.พ. มาตรา 4 มาใช้บังคับ คืออาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ได้แก่มาตรา 1312 วรรคแรก คือจำเลยมีสิทธิใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์เฉพาะที่กันสาดรุกล้ำเข้าไปนั้นได้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อกันสาด แต่มีสิทธิที่จะเรียกเงินเป็นค่าที่จำเลยใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์ต่อไปแต่โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับเช่นนั้น คงฟ้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย จึงไม่อาจบังคับให้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2615/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริต โจทก์ไม่สามารถบังคับรื้อถอนได้ แต่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้ที่ดินตามกฎหมาย
ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำที่ดินโจทก์และให้ชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารในที่ดินของจำเลยเอง หากรุกล้ำที่ดินของโจทก์ก็เป็นการปลูกสร้างโดยสุจริต และต่อสู้ในเรื่องค่าเสียหาย เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินโจทก์โดยสุจริต โจทก์ย่อมไม่อาจบังคับจำเลยให้รื้อถอนอาคารที่รุกล้ำที่ดินโจทก์ได้และเนื่องจากคดีไม่มีประเด็นในเรื่องจำนวนเงินค่าใช้ที่ดิน และเรื่องการจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 ศาลจึงไม่อาจพิจารณาพิพากษาให้โจทก์ไปจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมเฉพาะที่ดินส่วนที่อาคารของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์ และให้จำเลยชำระค่าใช้ที่ดินให้แก่โจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2615/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริต เจ้าของอาคารมีสิทธิในส่วนที่รุกล้ำ โจทก์ไม่สามารถบังคับรื้อถอนได้
ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำที่ดินโจทก์ และให้ชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารในที่ดินของจำเลยเอง หากรุกล้ำที่ดินของโจทก์ก็เป็นการปลูกสร้างโดยสุจริต และต่อสู้ในเรื่องค่าเสียหาย เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินโจทก์โดยสุจริต โจทก์ย่อมไม่อาจบังคับจำเลยให้รื้อถอนอาคารที่รุกล้ำที่ดินโจทก์ได้ และเนื่องจากคดีไม่มีประเด็นในเรื่องจำนวนเงินค่าใช้ที่ดิน และเรื่องการจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1312 ศาลจึงไม่อาจพิจารณาพิพากษาให้โจทก์ไปจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมเฉพาะที่ดินส่วนที่อาคารของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์ และให้จำเลยชำระค่าใช้ที่ดินให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2615/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตและสิทธิในการใช้ประโยชน์ที่ดิน: ศาลไม่อาจบังคับรื้อถอน แต่ให้ชำระค่าใช้ที่ดิน
ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำที่ดินโจทก์และให้ชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารในที่ดินของจำเลยเองหากรุกล้ำที่ดินของโจทก์ก็เป็นการปลูกสร้างโดยสุจริตและต่อสู้ในเรื่องค่าเสียหาย เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินโจทก์โดยสุจริต โจทก์ย่อมไม่อาจบังคับจำเลยให้รื้อถอนอาคารที่รุกล้ำที่ดินโจทก์ได้และเนื่องจากคดีไม่มีประเด็นในเรื่องจำนวนเงินค่าใช้ที่ดิน และเรื่องการจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมตามป.พ.พ. มาตรา 1312 ศาลจึงไม่อาจพิจารณา พิพากษาให้โจทก์ไปจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมเฉพาะที่ดินส่วนที่อาคารของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์ และให้จำเลยชำระค่าใช้ที่ดินให้แก่โจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3668/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภาระจำยอมโดยการใช้สิทธิปรปักษ์ และการไม่ถือว่าเป็นการละเมิดเมื่อกระทำโดยสุจริตก่อนซื้อที่ดิน
แม้ชายคา หน้าต่างหากมีการเปิด และทางระบายน้ำของห้องแถวจำเลยซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของ ว. จะได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ก็ตาม เมื่อจำเลยได้กระทำด้วยความสุจริตเพื่อการใช้ชายคา หน้าต่างกับทางระบายน้ำดังกล่าวมาก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินของโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ ทั้งจำเลยได้ใช้สิทธินั้นด้วยอำนาจปรปักษ์มาเป็นเวลาเกิน 10 ปี จึงได้สิทธิภาระจำยอมเกี่ยวกับชายคา หน้าต่างกับทางระบายน้ำนั้นในที่ดินโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตและภาระจำยอม: ศาลพิจารณาค่าใช้ที่ดินแทนการรื้อถอน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่เช่าและเรียกค่าเสียหายโดยอาศัยสัญญาเช่าเป็นหลักแห่งข้อหา และอ้างว่าจำเลยไม่ชำระค่าเช่าอันเป็นการผิดข้อตกลงในสัญญาเช่า โจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายว่าที่พิพาท 5 ตารางวาตามสัญญาเช่าอยู่ตรงส่วนไหนของที่ดินโจทก์ก็ตาม แต่ต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นคู่ความทั้งสองฝ่ายก็ได้ขอให้ศาลสั่งเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครออกไปทำแผนที่พิพาทแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ทายาทในฐานะเจ้าของรวม ปลูกบ้านในที่ดินมรดกซึ่งครอบครองร่วมกันอยู่โดยสุจริต ต่อมามีการแบ่งแยกโฉนดระหว่างทายาทปรากฏว่าบ้านที่ทายาทคนหนึ่งปลูกบางส่วนรุกล้ำที่ดินของทายาทอื่น กรณีเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายมาตราใดบัญญัติไว้โดยตรง ต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามที่มาตรา 4แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนดไว้ บทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งก็คือมาตรา 1312 วรรคแรก ซึ่งให้เจ้าของที่ดินได้ค่าใช้ที่ดินส่วนรุกล้ำและจดทะเบียนสิทธิเป็นภาระจำยอม (วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่1/2530).
of 16