คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15239/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานการค้าประเวณี-พรากผู้เยาว์: การกระทำชำเราในบังกะโลที่ใช้ติดต่อค้าประเวณีเป็นความผิดตามกฎหมาย
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 4 บัญญัตินิยามคำว่า "สถานการค้าประเวณี" หมายความว่า สถานที่ที่จัดไว้เพื่อการค้าประเวณีหรือยอมให้มีการค้าประเวณีและให้หมายความรวมถึงสถานที่ที่ใช้ในการติดต่อหรือจัดหาบุคคลอื่นเพื่อการกระทำการค้าประเวณีด้วย ซึ่งเมื่อพิจารณาคำว่า สถานการค้าประเวณีตามบทบัญญัติดังกล่าวอาจไม่มีอยู่จริงตามกฎหมาย เนื่องจากไม่ได้หมายความเพียงแต่สถานที่อันมีไว้เพื่อค้าประเวณีโดยเฉพาะเช่น ซ่องโสเภณี แต่ยังให้หมายรวมถึงสถานที่ทั่วไปที่ยอมให้มีการค้าประเวณีหรือใช้ในการติดต่อจัดหาบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์ในการค้าประเวณีอีกด้วย เช่น ในโรงแรม ร้านทำผม ร้านอาหาร และสถานที่อื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกทั่วไปไม่รู้ว่ามีการค้าประเวณีแอบแฝง คงรู้แต่เฉพาะกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เป็นต้น การที่จำเลยที่ 1 พา น. ไปขายบริการทางเพศให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่บังกะโล ซึ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่างรู้กันว่า บังกะโลนี้เป็นสถานที่ติดต่อสำหรับค้าประเวณีได้ แม้เจ้าของหรือผู้ควบคุมบังกะโลจะรู้เห็นยินยอมหรือไม่ก็ตาม สถานที่ดังกล่าวก็เข้าองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำชำเรา น. ในสถานการค้าประเวณีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2993/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำรงชีพจากรายได้หญิงค้าประเวณี: จำเลยมีปัจจัยอื่นเพียงพอ จึงไม่ถือว่าดำรงชีพจากรายได้ดังกล่าว
จำเลยเป็นเจ้าของสถานค้าประเวณีโดยเปิดเป็นร้านอาหารอยู่ด้วย มีสุรา อาหารและเครื่องดื่มบริการขายแก่ลูกค้า และมีหญิงค้าประเวณีกินอยู่หลับนอนกับจำเลยในสถานที่ดังกล่าว แม้พึงคาดหมายได้ว่าจำเลยจะต้องได้รับเงินจากการค้าประเวณีซึ่งมีหญิงโสเภณีเป็นองค์ประกอบในการดำเนินกิจการของจำเลย รายได้ของจำเลยจึงได้จากลูกค้าที่มาเที่ยวมิใช่ได้จากหญิงที่ค้าประเวณีโดยตรง ประกอบกับจำเลยเป็นหญิงมีสามี สามีจำเลยประกอบกิจการขนส่งมีรถยนต์บรรทุกสิบล้อใช้ในกิจการถึง 3 คัน ซึ่งแม้จำเลยจะไม่มีรายได้จากกิจการค้าประเวณี ก็สามารถดำรงชีพอยู่ได้ด้วยการอาศัยสามี กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยไม่มีปัจจัยอื่นหรือไม่มีปัจจัยอันเพียงพอสำหรับดำรงชีพ การกระทำของจำเลยจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยดำรงชีพแม้เพียงบางส่วนจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณี