พบผลลัพธ์ทั้งหมด 105 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2823/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารและเบียดบังเงินของเจ้าพนักงาน การลงโทษความผิดหลายกรรม
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำเอกสารกรอกข้อความลงในเอกสาร ดูแลรักษาเอกสารเกี่ยวกับการเงินและบัญชี ควบคุมดูแลเงินและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเงินทุกประเภทของโรงเรียน พ. จำเลยได้กรอกข้อความและลงลายมือชื่อของข้าราชการหลายคนในสัญญารับรองการยืมเงินว่า บุคคลเหล่านั้นยืมเงินค่าวัสดุอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายในกิจการของโรงเรียนอันเป็นความเท็จ และปลอมลายมือชื่อของผู้อำนวยการ โรงเรียนกับพวกเป็นผู้อนุมัติให้ยืมเงิน อีกทั้งปลอมสัญญารับรองการยืมเงินของบุคคลดังกล่าวโดยเพิ่มเติมข้อความหรือแก้ไขตัวเลขให้สูงขึ้น แล้วเบียดบังเงินส่วนนั้นไปเป็นของตนโดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161 และ 147 แต่การที่จำเลยปลอมและใช้เอกสารปลอมก็โดยมีเจตนาที่จะใช้เป็นหลักฐานในการเบียดบังเงินเป็นของตนการที่จำเลยเบียดบังเงินแต่ละครั้งจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 147อันเป็นบทหนักที่สุดตามมาตรา 90 จำเลยกระทำความผิดรวม 36 กระทง เท่านั้นแต่การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าการกระทำ ของจำเลยในความผิดตามมาตรา 147 และมาตรา 161 เป็นความผิดหลายกรรมและพิพากษาลงโทษจำเลย ตามมาตรา 147 รวม 36 กระทงกับมาตรา 161 รวม 36 กระทงนั้นไม่ถูกต้อง เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7054/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารราชการและการใช้เอกสารปลอม: ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265
จำเลยได้เพิ่มชื่อ อ.ลงในทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านแล้วได้มอบสำเนาทะเบียนบ้านดังกล่าวคืนให้เจ้าของเก็บรักษาไว้ยังมิได้อ้างและใช้เอกสารดังกล่าวแก่ผู้ใด จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานใช้เอกสารปลอม ในขณะที่จำเลยกระทำผิด ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอยังไม่มีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้ช่วยนายทะเบียนอำเภอ และก่อนเกิดเหตุก็ไม่ปรากฎหลักฐานว่า นายอำเภอได้มอบหมายให้จำเลยเป็นผู้ช่วยนายทะเบียนอำเภอ จำเลยจึงยังไม่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่จึงไม่มีความผิดตามมาตรา 157,161 และ 162แต่จำเลยคงมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 265
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7054/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านและการแจ้งความเท็จ: ความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ
จำเลยได้เพิ่มชื่อ อ.ลงในทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านแล้วได้มอบสำเนาทะเบียนบ้านดังกล่าวคืนให้เจ้าของเก็บรักษาไว้ ยังมิได้อ้างและใช้เอกสารดังกล่าวแก่ผู้ใด จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานใช้เอกสารปลอม
ในขณะที่จำเลยกระทำผิด ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอยังไม่มีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้ช่วยนายทะเบียนอำเภอ และก่อนเกิดเหตุก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่า นายอำเภอได้มอบหมายให้จำเลยเป็นผู้ช่วยนายทะเบียนอำเภอ จำเลยจึงยังไม่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่จึงไม่มีความผิดตามมาตรา 157, 161 และ162 แต่จำเลยคงมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 265
ในขณะที่จำเลยกระทำผิด ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอยังไม่มีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้ช่วยนายทะเบียนอำเภอ และก่อนเกิดเหตุก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่า นายอำเภอได้มอบหมายให้จำเลยเป็นผู้ช่วยนายทะเบียนอำเภอ จำเลยจึงยังไม่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่จึงไม่มีความผิดตามมาตรา 157, 161 และ162 แต่จำเลยคงมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 265
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5360/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเรื่องการช่วยเหลือผู้อื่นกระทำผิดฐานปลอมเอกสารราชการ และการสนับสนุนความผิดทางอาญา
ฎีกาจำเลยที่ 2 เพียงแต่หยิบยกพยานหลักฐานบางส่วนในสำนวนขึ้นเป็นข้อฎีกา แต่ในการรับฟังพยานหลักฐานลงโทษจำเลยที่ 2ศาลอุทธรณ์ได้ใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานต่าง ๆ ในสำนวนประกอบการรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วจึงวินิจฉัยความผิดของจำเลยที่ 2 และในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ก็หาได้นอกเหนือหรือคลาดเคลื่อนไปจากพยานหลักฐานในสำนวนแต่อย่างใดไม่ จึงมิใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218วรรคแรก
แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมลงมือกระทำความผิดปลอมเอกสารราชการกับจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการรับแจ้งย้ายทะเบียนบ้านของ ก.ให้มีชื่อเข้าอยู่ในทะเบียนบ้าน และเพิ่มชื่อ ส.เข้าอยู่ในทะเบียนบ้าน พร้อมทั้งปลอมใบรับคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ ก. และ ส. แต่การที่จำเลยที่ 2 ได้มอบซองเอกสารเกี่ยวกับการแจ้งย้ายภูมิลำเนาเท็จของผู้ที่อ้างชื่อ ก. และ ส. ให้จ่าสิบเอก อ. ไปมอบให้จำเลยที่ 1 เพื่อดำเนินการปลอมเอกสารราชการดังกล่าวย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 1 กระทำผิดแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานสนับสนุนให้จำเลยที่ 1กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157, 161, 165 ประกอบมาตรา 86
เอกสารที่จำเลยที่ 1 ทำปลอมขึ้นในการปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นเพียงสำเนาทะเบียนบ้านและใบรับคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการ มิใช่เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ
เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดตามประมวล-กฎหมายอาญา มาตรา 265 แล้ว กรณีไม่จำต้องปรับบทด้วยประมวลกฎหมาย-อาญา มาตรา 264 อีก
แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมลงมือกระทำความผิดปลอมเอกสารราชการกับจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการรับแจ้งย้ายทะเบียนบ้านของ ก.ให้มีชื่อเข้าอยู่ในทะเบียนบ้าน และเพิ่มชื่อ ส.เข้าอยู่ในทะเบียนบ้าน พร้อมทั้งปลอมใบรับคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ ก. และ ส. แต่การที่จำเลยที่ 2 ได้มอบซองเอกสารเกี่ยวกับการแจ้งย้ายภูมิลำเนาเท็จของผู้ที่อ้างชื่อ ก. และ ส. ให้จ่าสิบเอก อ. ไปมอบให้จำเลยที่ 1 เพื่อดำเนินการปลอมเอกสารราชการดังกล่าวย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 1 กระทำผิดแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานสนับสนุนให้จำเลยที่ 1กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157, 161, 165 ประกอบมาตรา 86
เอกสารที่จำเลยที่ 1 ทำปลอมขึ้นในการปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นเพียงสำเนาทะเบียนบ้านและใบรับคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการ มิใช่เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ
เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดตามประมวล-กฎหมายอาญา มาตรา 265 แล้ว กรณีไม่จำต้องปรับบทด้วยประมวลกฎหมาย-อาญา มาตรา 264 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5360/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาจำกัดสิทธิการฎีกาในข้อเท็จจริงและดุลพินิจศาลอุทธรณ์ พร้อมแก้ไขโทษทางอาญา
ฎีกาจำเลยที่ 2 เพียงแต่หยิบยกพยานหลักฐานบางส่วนในสำนวนขึ้นเป็นข้อฎีกา แต่ในการรับฟังพยานหลักฐานลงโทษจำเลยที่ 2ศาลอุทธรณ์ได้ใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานต่าง ๆ ในสำนวนประกอบการรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วจึงวินิจฉัยความผิดของจำเลยที่ 2 และในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ก็หาได้นอกเหนือหรือคลาดเคลื่อนไปจากพยานหลักฐานในสำนวนแต่อย่างใดไม่ จึงมิใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมลงมือกระทำความผิดปลอมเอกสารราชการกับจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการรับแจ้งการย้ายทะเบียนบ้านของ ก.ให้มีชื่อเข้าอยู่ในทะเบียนบ้าน และเพิ่มชื่อ ส. เข้าอยู่ในทะเบียนบ้าน พร้อมทั้งปลอมใบรับคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ก. และ ส. แต่การที่จำเลยที่ 2 ได้มอบซองเอกสารเกี่ยวกับการแจ้งย้ายภูมิลำเนาเท็จของผู้ที่อ้างชื่อ ก. และ ส. ให้จ่าสิบเอก อ. ไปมอบให้จำเลยที่ 1 เพื่อดำเนินการปลอมเอกสารราชการดังกล่าวย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 1 กระทำผิดแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานสนับสนุนให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157,161,165 ประกอบมาตรา 86 เอกสารที่จำเลยที่ 1 ทำปลอมขึ้นในการปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นเพียงสำเนาทะเบียนบ้านและใบรับคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการ มิใช่เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 265 แล้ว กรณีไม่จำต้องปรับบทด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1797/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าพนักงานเติมข้อความในบันทึกจับกุม และเบิกความเท็จ ส่งผลต่อการดำเนินคดีอาญา
เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่ทำการจับกุมโจทก์มีหน้าที่ทำและกรอกข้อความในบันทึกการจับกุมได้ทำและกรอกข้อความลงในบันทึกการจับกุมนั้น โดยลงลายมือชื่อ จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำบันทึก พร้อมทั้งให้โจทก์ในฐานะผู้ต้องหา ลงลายมือชื่อจนเป็นเอกสารที่ครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ไปเขียนเติมข้อความอีกว่าสอบถามผู้ต้องหาแล้วให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ซึ่งไม่เป็นความจริงจึงเป็นการเติมข้อความในเอกสารที่แท้จริง น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์อันเป็นการทำเอกสารปลอมขึ้น บางส่วนโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้นแล้ว การกระทำ ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161 จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการจับกุมผู้กระทำความผิดได้จับกุมโจทก์ในข้อหาปลอมเอกสาร แต่กรอกข้อความเพิ่มเติมลงในบันทึกจับกุม ว่า สอบถามโจทก์แล้วให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ทั้งที่ทราบว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริงจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เพราะบันทึกการจับกุมดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งที่ศาลอาจฟังลงโทษโจทก์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เบิกความว่า"ข้าพเจ้าเข้าไปแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานและขอจับกุมโดยแสดงหมายจับให้จำเลยที่ 1 ดูด้วยข้าพเจ้าแจ้งข้อหาว่าจำเลยฐานปลอมเอกสารตามข้อความในหมายจับ จำเลยให้การรับสารภาพ" ซึ่งเป็นความจริงและเป็นข้อสำคัญในคดีโจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เบิกความเท็จเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร ฟ้องโจทก์จึงขาดการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดเท่าที่จะทำให้จำเลยที่ 1เข้าใจข้อหาได้ดี ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158,18(5) ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในข้อหานี้ได้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์มิได้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขออนุญาตซักค้านพยานอันเป็นการโต้แย้งในปัญหาข้อเท็จจริงโจทก์เพิ่งกล่าวอ้างขึ้นมาในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรกประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1797/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าพนักงานตำรวจ การทำเอกสารปลอม และการเบิกความเท็จในชั้นศาล
เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่ทำการจับกุมโจทก์มีหน้าที่ทำและกรอกข้อความในบันทึกการจับกุมได้ทำและกรอกข้อความลงในบันทึกการจับกุมนั้น โดยลงลายมือชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำบันทึก พร้อมทั้งให้โจทก์ในฐานะผู้ต้องหาลงลายมือชื่อจนเป็นเอกสารที่ครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ไปเขียนเติมข้อความอีกว่าสอบถามผู้ต้องหาแล้วให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ซึ่งไม่เป็นความจริงจึงเป็นการเติมข้อความในเอกสารที่แท้จริง น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์อันเป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นบางส่วนโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้นแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 161
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการจับกุมผู้กระทำความผิดได้จับกุมโจทก์ในข้อหาปลอมเอกสาร แต่กรอกข้อความเพิ่มเติมลงในบันทึกจับกุมว่า สอบถามโจทก์แล้วให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหาทั้งที่ทราบว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เพราะบันทึกการจับกุมดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งที่ศาลอาจฟังลงโทษโจทก์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เบิกความว่า "ข้าพเจ้าเข้าไปแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานและขอจับกุมโดยแสดงหมายจับให้จำเลยที่ 1 ดูด้วยข้าพเจ้าแจ้งข้อหาจำเลยฐานปลอมเอกสารตามข้อความในหมายจับ จำเลยให้การรับสารภาพ" ซึ่งเป็นความจริงและเป็นข้อสำคัญในคดี โจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เบิกความเท็จเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร ฟ้องโจทก์จึงขาดการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดเท่าที่จะทำให้จำเลยที่ 1 เข้าใจข้อหาได้ดี ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 18 (5) ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1ในข้อหานี้ได้
เมื่อศาลชั้นตันมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์มิได้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขออนุญาตซักค้านพยานอันเป็นการโต้แย้งในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์เพิ่งกล่าวอ้างขึ้นมาในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคแรก ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการจับกุมผู้กระทำความผิดได้จับกุมโจทก์ในข้อหาปลอมเอกสาร แต่กรอกข้อความเพิ่มเติมลงในบันทึกจับกุมว่า สอบถามโจทก์แล้วให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหาทั้งที่ทราบว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เพราะบันทึกการจับกุมดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งที่ศาลอาจฟังลงโทษโจทก์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เบิกความว่า "ข้าพเจ้าเข้าไปแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานและขอจับกุมโดยแสดงหมายจับให้จำเลยที่ 1 ดูด้วยข้าพเจ้าแจ้งข้อหาจำเลยฐานปลอมเอกสารตามข้อความในหมายจับ จำเลยให้การรับสารภาพ" ซึ่งเป็นความจริงและเป็นข้อสำคัญในคดี โจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เบิกความเท็จเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร ฟ้องโจทก์จึงขาดการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดเท่าที่จะทำให้จำเลยที่ 1 เข้าใจข้อหาได้ดี ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 18 (5) ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1ในข้อหานี้ได้
เมื่อศาลชั้นตันมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์มิได้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขออนุญาตซักค้านพยานอันเป็นการโต้แย้งในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์เพิ่งกล่าวอ้างขึ้นมาในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคแรก ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1797/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานตำรวจเติมข้อความเท็จในบันทึกจับกุมและเบิกความเท็จ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 161
เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่ทำการจับกุมโจทก์มีหน้าที่ทำและกรอกข้อความในบันทึกการจับกุม ได้ทำและกรอกข้อความลงในบันทึกการจับกุมนั้น โดยลงลายมือชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำบันทึกพร้อมทั้งให้โจทก์ในฐานะผู้ต้องหาลงลายมือชื่อจนเป็นเอกสารที่ครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ไปเขียนเติมข้อความอีกว่าสอบถามผู้ต้องหาแล้วให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ซึ่งไม่เป็นความจริงจึงเป็นการเติมข้อความในเอกสารที่แท้จริง น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์อันเป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นบางส่วนโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้นแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161 จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการจับกุมผู้กระทำความผิดได้จับกุมโจทก์ในข้อหาปลอมเอกสาร แต่กรอกข้อความเพิ่มเติมลงในบันทึกจับกุมว่า สอบถามโจทก์แล้วให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ทั้งที่ทราบว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เพราะบันทึกการจับกุมดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งที่ศาลอาจฟังลงโทษโจทก์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เบิกความว่า "ข้าพเจ้าเข้าไปแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานและขอจับกุมโดยแสดงหมายจับให้จำเลยที่ 1ดูด้วย ข้าพเจ้าแจ้งข้อหาจำเลยฐานปลอมเอกสารตามข้อความในหมายจับจำเลยให้การรับสารภาพ" ซึ่งเป็นความเท็จและเป็นข้อสำคัญในคดี โจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าข้อที่จำเลยที่ 1 เบิกความเท็จเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร ฟ้องโจทก์จึงขาดการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดเท่าที่จะทำให้จำเลยที่ 1 เข้าใจข้อหาได้ดี ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในข้อหานี้ได้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์มิได้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขออนุญาตซักค้านพยานอันเป็นการโต้แย้งในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์เพิ่งกล่าวอ้างขึ้นมาในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา249 วรรคแรก ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเอกสารรับเงินในหน้าที่ เจ้าพนักงาน ไม่ถือเป็นเอกสารปลอม แต่เป็นเอกสารเท็จ
จำเลยมีหน้าที่รับเงินและออกใบเสร็จรับเงิน การที่จำเลยรับเงินและออกใบเสร็จรับเงินให้ ส. แล้วต่อมาได้แก้ไขสำเนาเป็นออกให้ อ. เป็นการกระทำในอำนาจหน้าที่ของจำเลย และลงลายมือชื่อตนเองเป็นผู้ทำและผู้แก้ไขเอกสารนั้น จึงเป็นเอกสารที่แท้จริงที่จำเลยทำขึ้น แม้ข้อความในต้นฉบับและสำเนาจะไม่ตรงกัน ก็เป็นแต่เพียงเอกสารเท็จ ไม่ทำให้เอกสารนั้นเป็นเอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161,265
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3680/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบหมายงานโดยไม่ชอบ และความผิดฐานยักยอกทรัพย์เจ้าพนักงาน
คำสั่งของบุคคลซึ่งมิได้เป็นผู้บังคับบัญชาที่ได้มอบหมายงานให้จำเลยปฏิบัติ เป็นคำสั่งที่ออกโดยไม่มีอำนาจ จำเลยจึงไม่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจกระทำการตามคำสั่งนั้น การที่จำเลยรับเงินค่าดูดสิ่งปฏิกูลของเทศบาลซึ่งมิใช่หน้าที่ของจำเลยแล้วเบียดบังไว้ จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147, 157, และ 161 แต่เป็นความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ แม้ต่อมาจำเลยจะได้นำเงินจำนวนที่ยักยอกไปดังกล่าวมาชดใช้คืนแก่เทศบาลก็ตาม ก็เป็นเพียงการกระทำเพื่อบรรเทาความเสียหายเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าเทศบาลซึ่งเป็นผู้เสียหายตกลงให้ระงับข้อพิพาทหรือสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญากับจำเลยเช่นนี้ ย่อมถือไม่ได้ว่า เป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายที่จะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2)