พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14975/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน: การพิจารณาตามกฎกระทรวงฯ ห้ามตัดสิทธิเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
การพิจารณาว่าโจทก์มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานหรือไม่ต้องพิจารณาไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 78 มาตรา 79 และกฎกระทรวงที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 79 เป็นสำคัญ ซึ่งตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน พ.ศ.2547 ซึ่งออกตามความในมาตรา 79 ข้อ 2 กำหนดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามมาตรา 78 ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามข้อ 1 ตั้งแต่วันที่แปดนับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย เว้นแต่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนผู้ใดไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันว่างงาน ให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานนับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนนั้นได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐ และข้อ 3 กำหนดเงื่อนไขให้สำนักงานประกันสังคมงดจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานแก่ผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไว้เพียง 3 กรณี ตาม (1) ถึง (3) เท่านั้น
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน พ.ศ.2547 ข้อ 2 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน กรณีลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันว่างงานไว้ว่า ให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานนับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนผู้นั้นได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐ ทั้งการไปขึ้นทะเบียนหางานเกินระยะเวลาที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนก็ไม่เป็นเหตุตัดสิทธิหรืองดจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามที่บัญญัติไว้ในกฎกระทรวงดังกล่าว การที่สำนักงานประกันสังคมออกประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2547 ในข้อ 3.2 (2) กำหนดให้ผู้ประกันตนที่ขึ้นทะเบียนหางานหลัง 90 วัน หรือหลัง 180 วัน นับแต่วันที่แปดของการว่างงานในกรณีลาออกหรือถูกเลิกจ้างแล้ว แต่กรณีไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน อันเป็นการตัดสิทธิประโยชน์ของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกันตนเกินไปกว่าที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน พ.ศ.2547 ประกาศดังกล่าวจึงไม่อาจนำมาใช้บังคับเพื่อตัดสิทธิโจทก์ได้
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน พ.ศ.2547 ข้อ 2 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน กรณีลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันว่างงานไว้ว่า ให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานนับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนผู้นั้นได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐ ทั้งการไปขึ้นทะเบียนหางานเกินระยะเวลาที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนก็ไม่เป็นเหตุตัดสิทธิหรืองดจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามที่บัญญัติไว้ในกฎกระทรวงดังกล่าว การที่สำนักงานประกันสังคมออกประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2547 ในข้อ 3.2 (2) กำหนดให้ผู้ประกันตนที่ขึ้นทะเบียนหางานหลัง 90 วัน หรือหลัง 180 วัน นับแต่วันที่แปดของการว่างงานในกรณีลาออกหรือถูกเลิกจ้างแล้ว แต่กรณีไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน อันเป็นการตัดสิทธิประโยชน์ของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกันตนเกินไปกว่าที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน พ.ศ.2547 ประกาศดังกล่าวจึงไม่อาจนำมาใช้บังคับเพื่อตัดสิทธิโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16249/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน: ผลผูกพันข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาศาลแรงงานต่อสำนักงานประกันสังคม
จำเลยที่ 1 อ้างเหตุที่โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างเนื่องจากทำให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหาย ฝ่าฝืนระเบียบและกระทำความผิดร้ายแรงอันเป็นเหตุตามมาตรา 78 (2) แห่ง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 เมื่อศาลแรงงานภาค 8 วินิจฉัยแล้วว่า จำเลยที่ 2 เลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำความผิดซึ่งจำเลยที่ 1 ก็มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยส่วนนี้ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามมาตรา 78 ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 ที่ว่าจำเลยที่ 1 มีคำสั่งไปตามข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ตรวจสอบได้ มิใช่เหตุตามกฎหมายที่ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน จำเลยที่ 1 เป็นคู่ความในคดีนี้ ข้อเท็จจริงที่ได้ความจากการพิจารณาของศาลแรงงานภาค 8 แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ต่อสู้คดีก็ย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 1
ตามคำฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 จ่ายเงินทดแทนในกรณีว่างงานตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 และตามคำขอท้ายฟ้องขอให้มีคำสั่งให้โจทก์ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ไว้ด้วย แต่ศาลแรงงานภาค 8 ไม่ได้มีคำสั่งในส่วนนี้อันเป็นการไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นแก้ไขเสียให้ถูกต้องโดยมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 จ่ายประโยชน์ทดแทนเป็นเงินทดแทนในกรณีว่างงานตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 78 ประกอบกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน พ.ศ.2547 ข้อ 1 (1) แก่โจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 เมื่อมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 จ่ายเงินทดแทนในกรณีว่างงานให้แก่โจทก์แล้ว ทั้งตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์ที่ขอให้จำเลยที่ 2 เปลี่ยนแปลงคำสั่งจากการเลิกจ้างโดยกระทำความผิดร้ายแรงเป็นการเลิกจ้างโดยที่โจทก์ไม่ได้กระทำความผิดก็เพื่อไปขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานคดีนี้ กรณีจึงไม่มีเหตุบังคับให้จำเลยที่ 2 เปลี่ยนแปลงคำสั่งเลิกจ้างเพื่อการดังกล่าวตามคำขอให้โจทก์อีกต่อไป
ตามคำฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 จ่ายเงินทดแทนในกรณีว่างงานตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 และตามคำขอท้ายฟ้องขอให้มีคำสั่งให้โจทก์ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ไว้ด้วย แต่ศาลแรงงานภาค 8 ไม่ได้มีคำสั่งในส่วนนี้อันเป็นการไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นแก้ไขเสียให้ถูกต้องโดยมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 จ่ายประโยชน์ทดแทนเป็นเงินทดแทนในกรณีว่างงานตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 78 ประกอบกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน พ.ศ.2547 ข้อ 1 (1) แก่โจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 เมื่อมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 จ่ายเงินทดแทนในกรณีว่างงานให้แก่โจทก์แล้ว ทั้งตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์ที่ขอให้จำเลยที่ 2 เปลี่ยนแปลงคำสั่งจากการเลิกจ้างโดยกระทำความผิดร้ายแรงเป็นการเลิกจ้างโดยที่โจทก์ไม่ได้กระทำความผิดก็เพื่อไปขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานคดีนี้ กรณีจึงไม่มีเหตุบังคับให้จำเลยที่ 2 เปลี่ยนแปลงคำสั่งเลิกจ้างเพื่อการดังกล่าวตามคำขอให้โจทก์อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4706/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานถูกตัดสิทธิเมื่อได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพแล้ว ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม
ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 78 ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานต่อเมื่อผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือนและต้องอยู่ภายในระยะเวลาสิบห้าเดือนก่อนการว่างงานและจะต้องเป็นผู้ที่อยู่ในเงื่อนไข (1) ถึง (3) โดย (3) ระบุไว้ชัดเจนว่า ต้องมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพตามหมวด 7 ในลักษณะนี้ซึ่งก็คือหมวดที่ว่าด้วยประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพนั่นเอง ฟ้องโจทก์ระบุว่าโจทก์ยื่นแบบขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพต่อสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 2 และสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 2 มีคำสั่งจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพให้ผู้ประกันตน แสดงว่าโจทก์และสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 2 ยอมรับกันว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพตามหมวด 7 ดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานนับแต่โจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพตามความในมาตรา 78 (3) ต่อไปอีก