พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2499/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโฆษณาประกาศจับผู้ถูกออกหมายจับ แม้เป็นความจริง แต่เป็นการหมิ่นประมาทหากไม่จำเป็นและใส่ความในเรื่องส่วนตัว
จำเลยนำข้อความไปลงในหนังสือพิมพ์รายวันว่า 'ประกาศจับ ส. (โจทก์)ในข้อหาหรือฐานความผิดยักยอกทรัพย์ ผู้ใดพบเห็นหรือชี้แนะได้ให้นำส่งสถานีตำรวจ ช. (ผู้เสียหาย)' และลงรูปโจทก์ไว้ข้างข้อความดังกล่าวโดยปรากฏว่าขณะจำเลยนำข้อความตามฟ้องและรูปโจทก์ไปลงโฆษณานั้น จำเลย ก็ทราบว่าโจทก์รับราชการมีที่อยู่ที่แน่นอน ซึ่งจำเลย อาจนำเจ้าพนักงานไปจับกุมโจทก์ตามหมายจับได้โดยง่ายไม่มีความจำเป็นต้องลงโฆษณาประกาศจับทางหนังสือพิมพ์และข้อความที่ลงโฆษณาย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นคนทุจริต การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง เรื่องที่จำเลยลงโฆษณาก็เป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว ไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน แม้พนักงานสอบสวนจะออกหมายจับโจทก์จริง การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 370/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นความผิดหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การกล่าวโดยสุจริต, พิสูจน์ได้, และไม่เป็นเรื่องส่วนตัว
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 เป็นเรื่องกล่าวโดยสุจริตตามข้อ 1 ถึง 4 ไม่เป็นความผิด มาตรา 330 เป็นเรื่องพิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริง และมิใช่ในเรื่องส่วนตัวซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน เป็นความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ เมื่อยกเว้นโทษตาม มาตรา 330 แล้วก็ไม่ต้องวินิจฉัยว่าไม่มีความผิดตาม มาตรา 329
หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่ามีผู้แจ้งต่อตำรวจว่าโจทก์ซึ่งสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร ทำผิดอาญา ตำรวจสอบสวนสั่งจับ แต่ได้สอบถามโจทก์ โจทก์ชี้แจงว่าไม่จริงดังนี้ไม่ใช่จำเลยยืนยันข้อเท็จจริงตามข่าวที่ลงในหนังสือพิมพ์ จำเลยนำสืบความจริงได้ว่า มีการแจ้งความต่อตำรวจจริงจำเลยไม่ต้องรับโทษ ไม่ต้องสืบให้ได้ว่าการทำผิดอาญา ตามที่ลงในข่าวนั้นโจทก์ได้ทำผิดจริง
หนังสือพิมพ์ลงข่าวด้วยข้อความสุภาพ ไม่ใช่ดูถูกเหยียดหยามหรือสบประมาท ไม่เป็นความผิด มาตรา 393
หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่ามีผู้แจ้งต่อตำรวจว่าโจทก์ซึ่งสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร ทำผิดอาญา ตำรวจสอบสวนสั่งจับ แต่ได้สอบถามโจทก์ โจทก์ชี้แจงว่าไม่จริงดังนี้ไม่ใช่จำเลยยืนยันข้อเท็จจริงตามข่าวที่ลงในหนังสือพิมพ์ จำเลยนำสืบความจริงได้ว่า มีการแจ้งความต่อตำรวจจริงจำเลยไม่ต้องรับโทษ ไม่ต้องสืบให้ได้ว่าการทำผิดอาญา ตามที่ลงในข่าวนั้นโจทก์ได้ทำผิดจริง
หนังสือพิมพ์ลงข่าวด้วยข้อความสุภาพ ไม่ใช่ดูถูกเหยียดหยามหรือสบประมาท ไม่เป็นความผิด มาตรา 393
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1362/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทเจ้าพนักงาน: พิสูจน์ความจริงเพื่อยกเว้นความผิดได้ หากเป็นการติชมเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ข้อความที่จำเลยโฆษณาว่า "จ่าสิบตำรวจอารมย์ ประทุมศรีหัวหน้าตำรวจจราจรและพลตำรวจพิชัย จิตรหาญ ฟังทางนี้ การปฏิบัติหน้าที่ของท่านจงอย่าเห็นแก่เล็กแก่น้อย ฯลฯ " นั้นไม่ใช่เป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว เพราะผู้เสียหายเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการจราจร การที่ผู้เสียหายเรียกหรือรับสินบนจากผู้กระทำผิดจราจรนั้น ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบถ้าเป็นความจริงดังที่จำเลยโฆษณา ก็ย่อมเป็นประโยชน์ต่อประชาชน จำเลยจึงขอพิสูจน์ความจริงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1362/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทเจ้าพนักงาน: จำเลยมีสิทธิพิสูจน์ความจริงเพื่อยกเว้นความผิดได้ หากการกระทำเป็นการตักเตือนเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ข้อความที่จำเลยโฆษณาว่า "จ่าสิบตำรวจอารมย์ ประทุมศรี หัวหน้าตำรวจจราจรและพลตำรวจพิชัย จิตรหาญ ฟังทางนี้ การปฏิบัติหน้าที่ของท่านจงอย่าเห็นแก่เล็กแก่น้อย ฯลฯ" นั้นไม่ใช่เป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว เพราะผู้เสียหายเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการจราจร การที่ผู้เสียหายเรียกหรือรับสินบนจากผู้กระทำผิดจราจรนั้น ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบถ้าเป็นความจริงดังที่จำเลยโฆษณา ก็ย่อมเป็นประโยชน์ต่อประชาชนจำเลยจึงขอพิสูจน์ความจริงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1320/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: ศาลต้องรับฟังพยานทั้งสองฝ่ายก่อนตัดสินว่าจำเลยกระทำผิดหรือไม่
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยหมิ่นประมาทโจทก์ด้วยการใส่ความทำหนังสือร้องเรียนกล่าวหาโจทก์ แล้วส่งไปโฆษณาตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ จำเลยให้การว่า จำเลยได้ร้องเรียนจริง โดยส่งคำร้องเรียนไปลงหนังสือพิมพ์ด้วยความสุจริต เพื่อความชอบธรรม ป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับจำเลยตามคลองธรรมและเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน ข้อความที่ร้องเรียนเป็นความจริง ขอพิสูจน์ความจริง ดังนี้เท่ากับจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิด และเพื่อมิให้จำเลยต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 329 (1) และมาตรา 330 แห่งประมวลกฎหมายอาญา เป็นคำให้การปฏิเสธ
เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธความผิด ศาลจะต้องฟังข้อเท็จจริงจากการนำสืบของโจทก์จำเลยเสียก่อนจึงจะวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้ การที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานของโจทก์จำลยแล้ววินิจฉัยชี้ขาดว่าจำเลยกระทำความผิดไปทีเดียว จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา
เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธความผิด ศาลจะต้องฟังข้อเท็จจริงจากการนำสืบของโจทก์จำเลยเสียก่อนจึงจะวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้ การที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานของโจทก์จำลยแล้ววินิจฉัยชี้ขาดว่าจำเลยกระทำความผิดไปทีเดียว จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1320/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: ศาลต้องรับฟังพยานทั้งโจทก์จำเลยก่อนชี้ขาดความผิด
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยหมิ่นประมาทโจทก์ด้วยการใส่ความทำหนังสือร้องเรียนกล่าวหาโจทก์ แล้วส่งไปโฆษณาตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์จำเลยให้การว่า จำเลยได้ร้องเรียนจริงโดยส่งคำร้องเรียนไปลงหนังสือพิมพ์ด้วยความสุจริตเพื่อความชอบธรรมป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับจำเลยตามคลองธรรมและเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน ข้อความที่ร้องเรียนเป็นความจริงขอพิสูจน์ความจริง ดังนี้เท่ากับจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิด และเพื่อมิให้จำเลยต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 329(1) และมาตรา 330 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเป็นคำให้การปฏิเสธ
เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธความผิด ศาลจะต้องฟังข้อเท็จจริงจากการนำสืบของโจทก์ จำเลยเสียก่อนจึงจะวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้การที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานของโจทก์จำเลยแล้ววินิจฉัยชี้ขาดว่าจำเลยกระทำความผิดไปทีเดียว จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา
เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธความผิด ศาลจะต้องฟังข้อเท็จจริงจากการนำสืบของโจทก์ จำเลยเสียก่อนจึงจะวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้การที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานของโจทก์จำเลยแล้ววินิจฉัยชี้ขาดว่าจำเลยกระทำความผิดไปทีเดียว จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องเรียนทุจริตและการหมิ่นประมาท: สิทธิในการร้องเรียน vs. การใส่ความเท็จ
จำเลยเป็นสมาชิกเทศบาล ทำหนังสือร้องเรียนต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเกี่ยวกับเรื่องที่ภริยาของโจทก์ (โจทก์เป็นปลัดเทศบาล) ตั้งเบิกจ่ายค่าพาหนะเดินทางย้ายว่า'การเบิกจ่ายที่ผ่านไปได้ทั้งๆ ที่ไม่เป็นความจริง หรือการทุจริตนี้วิญญูชนก็ต้องเข้าใจว่าคงกระทำไปด้วยความแนะนำรู้เห็นเป็นใจของโจทก์ผู้เป็นสามีอย่างแน่นอน เพราะต่างก็ทำงานร่วมกันและอยู่ในบ้านพักเดียวกันการกระทำดังกล่าวนี้เป็นการผิดกฎหมายและวินัยของราชการอย่างร้ายแรง' และ'แทนที่โจทก์จะปฏิบัติหน้าที่และวางตนให้สมกับตำแหน่งโจทก์กลับจะกลายมาเป็นผู้แสวงหาประโยชน์จากเทศบาลโดยวิธีที่ไม่ชอบทั้งมีความประพฤติส่วนตัวที่ไม่สมควรมากมายหลายอย่าง จนพนักงานเทศบาลและประชาชนขาดความเคารพนับถือสำหรับความประพฤติส่วนตัวที่เลวร้ายของโจทก์นั้น จำเลยจะยังไม่ขอกล่าวในโอกาสนี้' ดังนี้ข้อความที่กล่าวว่าโจทก์มีความประพฤติเลวร้ายแต่มิได้กล่าวว่าเลวร้ายอย่างใดนั้นก็น่าจะเข้าใจได้ว่า การกระทำที่เป็นทุจริตอย่างจำเลยกล่าวหาโจทก์เป็นความประพฤติที่เลวร้ายได้และเมื่อปรากฏว่าคำร้องเรียนของจำเลยเป็นความจริงจำเลยก็ไม่ต้องรับโทษเพราะได้รับความยกเว้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 330
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องเรียนเท็จและการยกเว้นโทษอาญาตามมาตรา 330 เมื่อข้อร้องเรียนเป็นความจริง
จำเลยเป็นสมาชิกเทศบาล ทำหนังสือร้องเรียนต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเกี่ยวกับเรื่องที่ภริยาของโจกท์ (โจทก์ เป็นปลัดเทศบาล) ตั้งเบิกจ่ายค่าพาหนะเดินทางย้ายว่า "การเบิกจ่ายที่ผ่านไปได้ทั้ง ๆ ที่ไม่เป็นความจริงหรือการทุจริตนี้วิญญูชนก็ต้องเข้าใจว่า คงกระทำไปด้วยความแนะนำรู้เห็นเป็นใจของโจทก์ผู้สามีอย่างแน่นอน เพราะต่างก็ทำงานร่วมกันและอยู่ในบ้านพักเดียวกัน การกระทำดังกล่าวนี้เป็นการผิดกฎหมายและวินัยของราชการอย่างร้ายแรง" และ "แทนที่โจทก์จะปฏิบัติหน้าที่และวางตนให้สมกับตำแหน่ง โจทก์กลับจะกลายมาเป็นผู้แสวงหาประโยชน์จากเทศบาลโดยวิธีที่ไม่ชอบ ทั้งมีความประพฤติส่วนตัวที่ไม่สมควรมากมายหลายอย่าง จนพนักงานเทศบาลและประชาชนขาดความเคารพนับถือ สำหรับความประพฤติส่วนตัวที่เลวร้ายของโจทก์นั้นจำเลยจะยังไม่ขอกล่าวในโอกาสนี้" ดังนี้ ข้อความที่กล่าวว่าโจทก์มีความประพฤติเลวร้ายแต่มิได้กล่าวว่าเลวร้ายอย่างใดนั้น ก็น่าจะเข้าใจได้ว่า การกระทำที่เป็นทุจริตอย่างจำเลยกล่าวหาโจทก์ เป็นความประพฤติที่เลวร้ายได้ และเมื่อปรากฏว่าคำร้องเรียนของจำเลยเป็นความจริง จำเลยก็ไม่ต้องรับโทษเพราะได้รับความยกเว้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 330.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1072/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความจริงในคดีหมิ่นประมาท: ประโยชน์ต่อประชาชนและความบริสุทธิ์ของพุทธศาสนา
โจทก์เป็นเจ้าคณะอำเภอ ฟ้องหาว่าจำเลยกล่าวคำหมิ่นประมาทใส่ความว่าโจทก์เข้าหานางชีที่ห้องวิปัสสนา เป็นเหตุให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง นั้น จำเลยขอพิสูจน์ความจริงได้ เพราะการพิสูจน์ความจริงของจำเลยย่อมเป็นประโยชน์แก่ประชาชน เนื่องจากประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ผู้เป็นศาสนิกชนย่อมหวงแหนที่จะมิให้ผู้ใดมาทำลายหรือทำความมัวหมองให้แก่พุทธศาสนาที่ตนนับถือ ยิ่งเมื่อจำเลยมาพิสูจน์ความจริงให้ประจักษ์ต่อศาลได้ ก็เป็นประโยชน์แก่คนทั่วไปที่จะได้ไม่มัวหลงเคารพเลื่อมใสโจทก์ต่อไป(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1072/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความจริงในคดีหมิ่นประมาทที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับความประพฤติของพระสงฆ์
โจทก์เป็นเจ้าคณะอำเภอ ฟ้องหาว่าจำเลยกล่าวคำหมิ่นประมาทใส่ความว่าโจทก์เข้าหานางชีที่ห้องวิปัสสนา เป็นเหตุให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชังนั้น จำเลยขอพิสูจน์ความจริงได้ เพราะการพิสูจน์ความจริงของจำเลยย่อมเป็นประโยชน์แก่ประชาชน เนื่องจากประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ผู้เป็นศาสนิกชนย่อมหวงแหนที่จะมิให้ผู้ใดมาทำลายหรือทำความมัวหมองให้แก่พุทธศาสนาที่ตนนับถือ ยิ่งเมื่อจำเลยมาพิสูจน์ความจริงให้ประจักษ์ต่อศาลได้ ก็เป็นประโยชน์แก่ผู้คนทั่วไปที่จะได้ไม่มัวหลงเคารพเลิ่อมใสโจทก์ต่อไป
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2507)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2507)