พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16527/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่สมบูรณ์หากไม่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนา ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหรือเรียกค่าเช่า
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 546 บัญญัติว่า "ผู้ให้เช่าจำต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่านั้นในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้ว" บทบัญญัติดังกล่าวเป็นการยืนยันหน้าที่ของผู้ให้เช่าในอันที่จะต้องให้ผู้เช่าได้ใช้สอยหรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่า โจทก์ในฐานะผู้ให้เช่าจึงมีหน้าที่ต้องส่งมอบที่ดินที่เช่าในสภาพที่พร้อมจะให้ผู้เช่าทำการปลูกสร้างอาคารเพื่อดำเนินธุรกิจได้มีกำหนด 30 ปีตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่าโจทก์เพียงแจ้งให้จำเลยเข้าปลูกสร้างอาคารโดยโจทก์ยังมิได้ขอความเห็นชอบต่อกรมการศาสนาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ข้อ 4 ที่ระบุว่า "การให้เช่าที่ธรณีสงฆ์ ที่กัลปนาหรือที่วัดที่กันไว้เป็นที่จัดประโยชน์ที่มีกำหนดระยะเวลาการเช่าเกินสามปี จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนา" สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยจึงยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย และยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบทรัพย์ที่เช่าตรงตามวัตถุประสงค์แห่งสัญญาเช่าแล้ว โจทก์จึงไม่อาจนำเงื่อนเวลาการก่อสร้างอาคารให้แล้วเสร็จภายใน 10 เดือน นับแต่วันทำสัญญามาบังคับแก่จำเลยได้ จำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย และตราบใดที่ยังไม่มีการจดทะเบียนสิทธิการเช่า จำเลยผู้เช่ายังไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์ผู้ให้เช่า โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่กรณีโอนสิทธิเช่า: ผู้โอนมีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์สินและมีอำนาจฟ้องร่วมกับผู้รับโอน
วัดผู้ให้เช่าเป็นเจ้าของตึกแถวพิพาท แต่การครอบครองตึกแถวพิพาทยังเป็นของโจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้เช่า เมื่อโจทก์ที่ 2 ได้โอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2ในฐานะผู้โอนมีหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 546 ที่จะต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่าแก่โจทก์ที่ 1 และสัญญาเช่าระหว่างโจทก์ที่ 2 กับวัดยังมีผลบังคับอยู่ เมื่อจำเลยพักอาศัยอยู่ในตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าช่วงที่ทำไว้กับโจทก์ที่ 2 การที่โจทก์ที่ 2 ได้บอกเลิกสัญญาเช่าช่วงและให้จำเลยออกไปแล้วจำเลยไม่ยอมออกไป โจทก์ที่ 2 ย่อมมีอำนาจฟ้องหรือร่วมกับโจทก์ที่ 1 ฟ้องขับไล่จำเลยได้ การที่โจทก์ที่ 1 ต้องทำสัญญาเช่ากับวัดโดยตรงเป็นเพียงต้องการตัดปัญหาเกี่ยวกับสัญญาเช่าอันจะเกิดขึ้นในภายหน้าเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ของผู้เช่าช่วงและการส่งมอบทรัพย์สินที่ซ่อมแซมดีแล้วเมื่อมีการโอนสิทธิเช่า
การที่วัด ป. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตึกแถวพิพาท แต่การครอบครองตึกแถวพิพาทยังเป็นของโจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้เช่า เมื่อโจทก์ที่ 2 ได้โอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้โอนย่อมมีหน้าที่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 546 ที่จะต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่านั้นในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้วแก่โจทก์ที่ 1 เพราะสัญญาเช่าระหว่างโจทก์ที่ 2 กับวัด ป. ยังมีผลบังคับอยู่ เมื่อจำเลยพักอาศัยอยู่ในตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าช่วงที่ทำไว้กับโจทก์ที่ 2 การที่โจทก์ที่ 2 ได้บอกเลิกสัญญาเช่าช่วงและให้จำเลยพร้อมบริวารออกไปจากตึกแถวพิพาทแล้วจำเลยไม่ยอมออกไป โจทก์ที่ 2 ย่อมมีอำนาจฟ้องหรือร่วมกับโจทก์ที่ 1 ฟ้องขับไล่จำเลยได้
การที่จำเลยยอมรับว่า โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 เช่าตึกแถวพิพาทจากวัด ป. และจำเลยได้ทำสัญญาเช่าช่วงตึกแถวพิพาทจากโจทก์ที่ 2 แล้ว โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีภาระต้องพิสูจน์และส่งเอกสารสัญญาเช่านั้นเป็นพยานหลักฐาน ดังนั้น แม้สัญญาเช่าที่โจทก์ทั้งสองอ้างจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ตามคำรับของจำเลย จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ที่ 2 บอกเลิกสัญญาเช่าช่วงแก่จำเลยโดยไม่ชอบนั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยยอมรับว่า โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 เช่าตึกแถวพิพาทจากวัด ป. และจำเลยได้ทำสัญญาเช่าช่วงตึกแถวพิพาทจากโจทก์ที่ 2 แล้ว โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีภาระต้องพิสูจน์และส่งเอกสารสัญญาเช่านั้นเป็นพยานหลักฐาน ดังนั้น แม้สัญญาเช่าที่โจทก์ทั้งสองอ้างจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ตามคำรับของจำเลย จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ที่ 2 บอกเลิกสัญญาเช่าช่วงแก่จำเลยโดยไม่ชอบนั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่จากสัญญาเช่าช่วงและการรับฟังพยานหลักฐานจากคำรับของจำเลย
การที่วัด ป. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตึกแถวพิพาท แต่การครอบครองตึกแถวพิพาทยังเป็นของโจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้เช่า เมื่อโจทก์ที่ 2 ได้โอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2ในฐานะผู้โอนย่อมมีหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 546 ที่จะต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่านั้นในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้วแก่โจทก์ที่ 1 เพราะสัญญาเช่าระหว่างโจทก์ที่ 2 กับวัด ป. ยังมีผลบังคับอยู่ เมื่อจำเลยพักอาศัยอยู่ในตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าช่วงที่ทำไว้กับโจทก์ที่ 2 การที่โจทก์ที่ 2 ได้บอกเลิกสัญญาเช่าช่วงและจำเลยพร้อมบริวารออกไปจากตึกแถวพิพาทแล้วจำเลยไม่ยอมออกไปโจทก์ที่ 2 ย่อมมีอำนาจฟ้องหรือร่วมกับโจทก์ที่ 1 ฟ้องขับไล่จำเลยได้
การที่จำเลยยอมรับว่า โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 เช่าตึกแถวพิพาทจากวัด ป. และจำเลยได้ทำสัญญาเช่าช่วงตึกแถวพิพาทจากโจทก์ที่ 2 แล้ว โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีภาระต้องพิสูจน์และส่งเอกสารสัญญาเช่านั้นเป็นพยานหลักฐาน ดังนั้น แม้สัญญาเช่าที่โจทก์ทั้งสองอ้างจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ตามคำรับของจำเลย จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ที่ 2 บอกเลิกสัญญาเช่าช่วงแก่จำเลยโดยไม่ชอบนั้นจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยยอมรับว่า โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 เช่าตึกแถวพิพาทจากวัด ป. และจำเลยได้ทำสัญญาเช่าช่วงตึกแถวพิพาทจากโจทก์ที่ 2 แล้ว โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีภาระต้องพิสูจน์และส่งเอกสารสัญญาเช่านั้นเป็นพยานหลักฐาน ดังนั้น แม้สัญญาเช่าที่โจทก์ทั้งสองอ้างจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ตามคำรับของจำเลย จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ที่ 2 บอกเลิกสัญญาเช่าช่วงแก่จำเลยโดยไม่ชอบนั้นจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8530/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาไม่สมบูรณ์หากยังไม่มีการส่งมอบทรัพย์สิน แม้ในสัญญาจะระบุว่ามีการส่งมอบแล้ว
แม้ข้อความในสัญญาที่จำเลยให้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์แก่โจทก์จะระบุว่าจำเลยตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องวิทยุคมนาคมให้แก่โจทก์ผู้รับนับแต่วันทำสัญญา และโจทก์ได้รับมอบเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์ดังกล่าวแล้ว แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าในวันทำสัญญานั้นจำเลยไม่ได้ส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ ดังนั้น สัญญาให้ดังกล่าวจึงขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 523 ซึ่งบัญญัติว่า การให้ย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ สัญญาให้จึงไม่สมบูรณ์ เช่นเดียวกับสัญญาเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ระหว่างจำเลยกับโจทก์ที่ทำในวันเดียวกันนั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าให้จำเลยนำไปใช้ แม้ในสัญญาจะมีข้อความว่าจำเลยตกลงนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ไปติดตั้ง ณ หน่วยงานของจำเลย สัญญาเช่าก็ไม่สมบูรณ์เนื่องจากขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 546 ซึ่งกำหนดว่า ผู้ให้เช่าต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่านั้นในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่า ค่าเสียหายและบังคับให้จำเลยคืนวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8530/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาไม่สมบูรณ์หากไม่มีการส่งมอบทรัพย์สิน แม้จะระบุในสัญญาแล้วก็ตาม
สัญญาที่จำเลยให้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์แก่โจทก์ มีข้อความระบุว่า จำเลยตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องวิทยุคมนาคมตามบัญชีต่อท้ายสัญญานี้ให้แก่โจทก์ผู้รับนับแต่วันทำสัญญาและโจทก์ได้รับมอบเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์ดังกล่าวแล้ว แต่ในวันที่จำเลยทำสัญญา จำเลยไม่ได้ส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ สัญญาที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์จึงขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 523 ย่อมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลบังคับจำเลยตามสัญญา
สัญญามีข้อความว่า ผู้เช่าตกลงนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมไปติดตั้ง ณ หน่วยงานของจำเลย แต่ในวันที่จำเลยทำสัญญาโจทก์ไม่ได้ส่งมอบทรัพย์ที่เช่าคือวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ให้แก่จำเลยได้นำไปใช้ตามข้อตกลงในสัญญาจึงขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 546 สัญญาย่อมไม่สมบูรณ์ ไม่มีผลบังคับจำเลยตามสัญญาเช่นกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่า ค่าเสียหาย และบังคับให้จำเลยคืนเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์แก่โจทก์
สัญญามีข้อความว่า ผู้เช่าตกลงนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมไปติดตั้ง ณ หน่วยงานของจำเลย แต่ในวันที่จำเลยทำสัญญาโจทก์ไม่ได้ส่งมอบทรัพย์ที่เช่าคือวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ให้แก่จำเลยได้นำไปใช้ตามข้อตกลงในสัญญาจึงขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 546 สัญญาย่อมไม่สมบูรณ์ ไม่มีผลบังคับจำเลยตามสัญญาเช่นกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่า ค่าเสียหาย และบังคับให้จำเลยคืนเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7379/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งมอบรถยนต์เช่าซื้อเป็นสาระสำคัญของสัญญา หากยังไม่ได้ส่งมอบ ผู้ให้เช่าซื้อไม่อาจฟ้องบังคับคดีได้ และต้องคืนค่าซ่อม
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 537 และมาตรา 546 กำหนดให้โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อรถยนต์พิพาทมีหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อที่จะต้องส่งมอบรถยนต์พิพาทแก่จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อ เพื่อให้จำเลยที่ 1 ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในรถยนต์พิพาทตามวัตถุประสงค์ของสัญญาเช่าซื้อ เมื่อฟังได้ว่า ฉ. ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อและรับมอบรถยนต์พิพาทไปจากโจทก์นำจำเลยทั้งสองมาทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทและสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ หลังจากโจทก์ยื่นฟ้อง ฉ. กับพวกว่าผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาท ให้ร่วมกันส่งมอบรถยนต์พิพาทคืนโจทก์ ขณะโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อนั้นสภาพรถยนต์พิพาทจอดซ่อมอยู่ในอู่ซ่อมรถโดยไม่มีกระบะท้ายต้องซ่อมเครื่องยนต์และใส่กระบะท้ายใหม่ จำเลยที่ 1 จึงยังไม่ได้รับรถยนต์พิพาทไปใช้ประโยชน์ตามสัญญาเช่าซื้อ กรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์จึงไม่อาจอ้างสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มาฟ้องร้องบังคับเอาแก่จำเลยทั้งสองได้
เมื่อโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อมิได้ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้จำเลยที่ 1 ได้ใช้หรือรับประโยชน์ตามสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ไม่อาจอ้างสัญญาเช่าซื้อมาฟ้องร้องบังคับคดีเอาแก่จำเลยที่ 1 ได้ โจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่สถานะเดิม โจทก์ยึดรถยนต์พิพาทคืนไปในสภาพที่จำเลยที่ 1 จ่ายเงินค่าซ่อมไปแล้ว เป็นการได้ประโยชน์ในค่าซ่อมรถยนต์พิพาทโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้จำเลยที่ 1 เสียเปรียบ จำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกคืนค่าซ่อมรถยนต์พิพาทจากโจทก์ในฐานลาภมิควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
เมื่อโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อมิได้ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้จำเลยที่ 1 ได้ใช้หรือรับประโยชน์ตามสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ไม่อาจอ้างสัญญาเช่าซื้อมาฟ้องร้องบังคับคดีเอาแก่จำเลยที่ 1 ได้ โจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่สถานะเดิม โจทก์ยึดรถยนต์พิพาทคืนไปในสภาพที่จำเลยที่ 1 จ่ายเงินค่าซ่อมไปแล้ว เป็นการได้ประโยชน์ในค่าซ่อมรถยนต์พิพาทโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้จำเลยที่ 1 เสียเปรียบ จำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกคืนค่าซ่อมรถยนต์พิพาทจากโจทก์ในฐานลาภมิควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนข้อบัญญัติควบคุมอาคาร ศาลมีอำนาจสั่งรื้อถอนได้
จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีโดยมิได้ยกประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยมาให้ จึงเป็นเรื่องนอกประเด็น ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์
ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้นเมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้ให้การชัดแจ้งว่า คำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมตรงไหนอย่างไร จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าคำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท แล้วศาลล่างทั้งสองยอมรับวินิจฉัยให้ ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยร่วมก่อสร้างอาคารพิพาทตามหนังสืออนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร ซึ่งเป็นการขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร 16 ชั้น 1 หลัง เพื่อใช้พักอาศัยแต่อาคารพิพาทที่จำเลยร่วมก่อสร้างเป็นอาคารชั้นเดียว 2 หลังติดกัน อาคารพิพาทมีลักษณะเป็นโกดัง มิใช่อาคารประเภทเดียวกับที่ขออนุญาต ทั้งจำเลยร่วมสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้อาศัยฐานรากของอาคาร 16 ชั้น และจำเลยร่วมยังก่อสร้างอาคารพิพาทหลังจากหนังสืออนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารขาดอายุแล้ว ดังนี้จึงเป็นการที่จำเลยร่วมก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาต
เมื่อการก่อสร้างอาคารพิพาทไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และจำเลยปลูกสร้างอาคารโดยมิได้เว้นที่ว่างอันปราศจากหลังคาปกคลุมโดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า 10 เมตร ทุกด้าน เป็นการฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้าง พ.ศ.2522 ข้อ 80 ที่บัญญัติให้อาคารพิพาทต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 10 เมตร ทุกด้าน ซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยทั้งสี่และจำเลยร่วมรื้อถอนอาคารพิพาทได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42
จำเลยร่วมเช่าที่ดินจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดิน แล้วปลูกสร้างอาคารพิพาท ซึ่งตามสัญญาเช่าที่ดินระบุว่า ให้อาคารพิพาทที่สร้างขึ้นตกเป็นสิทธิของผู้ให้เช่า กรณีถือได้ว่าจำเลยร่วมปลูกสร้างอาคารพิพาทในที่ดินนั้นโดยอาศัยสิทธิของจำเลย เมื่อจำเลยต้องมีหน้าที่รื้อถอนอาคารพิพาทดังกล่าว และโจทก์แจ้งคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างและรื้อถอนอาคารพิพาท จำเลยรับทราบคำสั่งดังกล่าว กรณีถือได้ว่าจำเลยร่วมทราบคำสั่งนั้นด้วยแล้ว
ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้นเมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้ให้การชัดแจ้งว่า คำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมตรงไหนอย่างไร จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าคำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท แล้วศาลล่างทั้งสองยอมรับวินิจฉัยให้ ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยร่วมก่อสร้างอาคารพิพาทตามหนังสืออนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร ซึ่งเป็นการขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร 16 ชั้น 1 หลัง เพื่อใช้พักอาศัยแต่อาคารพิพาทที่จำเลยร่วมก่อสร้างเป็นอาคารชั้นเดียว 2 หลังติดกัน อาคารพิพาทมีลักษณะเป็นโกดัง มิใช่อาคารประเภทเดียวกับที่ขออนุญาต ทั้งจำเลยร่วมสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้อาศัยฐานรากของอาคาร 16 ชั้น และจำเลยร่วมยังก่อสร้างอาคารพิพาทหลังจากหนังสืออนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารขาดอายุแล้ว ดังนี้จึงเป็นการที่จำเลยร่วมก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาต
เมื่อการก่อสร้างอาคารพิพาทไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และจำเลยปลูกสร้างอาคารโดยมิได้เว้นที่ว่างอันปราศจากหลังคาปกคลุมโดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า 10 เมตร ทุกด้าน เป็นการฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้าง พ.ศ.2522 ข้อ 80 ที่บัญญัติให้อาคารพิพาทต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 10 เมตร ทุกด้าน ซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยทั้งสี่และจำเลยร่วมรื้อถอนอาคารพิพาทได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42
จำเลยร่วมเช่าที่ดินจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดิน แล้วปลูกสร้างอาคารพิพาท ซึ่งตามสัญญาเช่าที่ดินระบุว่า ให้อาคารพิพาทที่สร้างขึ้นตกเป็นสิทธิของผู้ให้เช่า กรณีถือได้ว่าจำเลยร่วมปลูกสร้างอาคารพิพาทในที่ดินนั้นโดยอาศัยสิทธิของจำเลย เมื่อจำเลยต้องมีหน้าที่รื้อถอนอาคารพิพาทดังกล่าว และโจทก์แจ้งคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างและรื้อถอนอาคารพิพาท จำเลยรับทราบคำสั่งดังกล่าว กรณีถือได้ว่าจำเลยร่วมทราบคำสั่งนั้นด้วยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนข้อบัญญัติควบคุมอาคาร ศาลฎีกายืนคำพิพากษาให้รื้อถอน
จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีโดยมิได้ยกประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยมาให้ จึงเป็นเรื่องนอกประเด็น ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้นเมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้ให้การชัดแจ้งว่าคำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมตรงไหนอย่างไร จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าคำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่การที่ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทแล้วศาลล่างทั้งสองยอมรับวินิจฉัยให้ ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ จำเลยร่วมก่อสร้างอาคารพิพาทตามหนังสืออนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร ซึ่งเป็นการขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร16 ชั้น 1 หลัง เพื่อใช้พักอาศัยแต่อาคารพิพาทที่ จำเลยร่วมก่อสร้างเป็นอาคารชั้นเดียว 2 หลังติดกัน อาคารพิพาทมีลักษณะเป็นโกดัง มิใช่อาคารประเภทเดียวกับที่ขออนุญาตทั้งจำเลยร่วมสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้อาศัยฐานรากของอาคาร 16 ชั้น และจำเลยร่วมยังก่อสร้างอาคารพิพาทหลังจากหนังสืออนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารขาดอายุแล้วดังนี้จึงเป็นการที่จำเลยร่วมก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อการก่อสร้างอาคารพิพาทไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน ท้องถิ่น และจำเลยปลูกสร้างอาคารโดยมิได้เว้นที่ว่าง อันปราศจากหลังคาปกคลุมโดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า10 เมตร ทุกด้านเป็นการฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้าง พ.ศ. 2522 ข้อ 80 ที่บัญญัติให้อาคารพิพาทต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 10 เมตร ทุกด้านซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยทั้งสี่และจำเลยร่วมรื้อถอนอาคารพิพาทได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 จำเลยร่วมเช่าที่ดินจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินแล้วปลูกสร้างอาคารพิพาท ซึ่งตามสัญญาเช่าที่ดินระบุว่าให้อาคารพิพาทที่สร้างขึ้นตกเป็นสิทธิของผู้ให้เช่ากรณีถือได้ว่าจำเลยร่วมปลูกสร้างอาคารพิพาทในที่ดินนั้นโดยอาศัยสิทธิของจำเลย เมื่อจำเลยต้องมีหน้าที่รื้อถอนอาคารพิพาทดังกล่าว และโจทก์แจ้งคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างและรื้อถอนอาคารพิพาทจำเลยรับทราบคำสั่งดังกล่าว กรณีถือได้ว่าจำเลยร่วมทราบคำสั่งนั้นด้วยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ผู้ให้เช่าซื้อในการจดทะเบียนแก้ไขหมายเลขเครื่องยนต์ เพื่อให้ผู้เช่าซื้อใช้รถยนต์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ผู้เป็นเจ้าของรถยนต์และเป็นผู้ให้เช่าซื้อรถยนต์ย่อมมีหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อที่จะต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่จำเลยผู้เช่าซื้อเพื่อให้จำเลยได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อ รวมทั้งให้จำเลยสามารถขับรถยนต์นั้นได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย อันเป็นการให้จำเลยผู้เช่าซื้อได้ใช้ประโยชน์จากรถยนต์ที่เช่าซื้อตามวัตถุประสงค์ของสัญญาเช่าซื้อ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 537 และ 546 โจทก์จึงมีหน้าที่ในการจัดการจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงหมายเลขเครื่องยนต์ของรถยนต์ที่ตนเป็นเจ้าของอยู่ให้ถูกต้อง เพื่อให้จำเลยสามารถใช้รถยนต์ที่เช่าซื้อได้โดยไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายด้วย เมื่อจำเลยแจ้งให้โจทก์จัดการทะเบียนแก้ไขหมายเลขเครื่องยนต์แล้ว แต่โจทก์เพิกเฉย จำเลยจึงไม่ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ตั้งแต่นั้นจำเลยย่อมมิใช่ฝ่ายผิดสัญญาโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหาย