พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16897/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอนสิทธิในที่ดินจากการล้มละลาย ผู้ซื้อต้องรู้เหตุรอนสิทธิก่อนซื้อ ผู้ขายไม่ต้องรับผิด
โจทก์เสียสิทธิในที่ดินทั้งสองแปลงไปเพราะถูกศาลพิพากษาเพิกถอนการโอนขายเพื่อให้กลับสู่กองทรัพย์สินของพันจ่าอากาศเอกหญิง น. ในคดีล้มละลายเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทุกคนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 (เดิม) ไม่ใช่กรณีที่โจทก์เพียงถูกก่อการรบกวนขัดสิทธิในอันที่จะครองทรัพย์สินที่ซื้อมาโดยปกติสุขตาม ป.พ.พ. มาตรา 475 และ 476 แต่เป็นกรณีที่ที่ดินทั้งสองแปลงหลุดไปจากโจทก์ทั้งหมดเพราะการรอนสิทธิตามมาตรา 479 ซึ่งบัญญัติว่า "ถ้าทรัพย์สินซึ่งซื้อขายกันหลุดไปจากผู้ซื้อทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเพราะเหตุการรอนสิทธิ... และซึ่งผู้ซื้อหาได้รู้ในเวลาซื้อขายไม่ก็ดี ท่านว่าผู้ขายต้องรับผิด" ดังนั้น จำเลยที่ 1 หรือจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ข้อเท็จจริงต้องปรากฏว่าในเวลาที่ทำสัญญาซื้อขายโจทก์รู้หรือไม่ว่าเหตุรอนสิทธินั้นมีอยู่แล้ว จากพยานหลักฐานน่าเชื่อว่า โจทก์โดยกรรมการของโจทก์ ก็ได้รับรู้ข่าวเกี่ยวกับแชร์น้ำมันของพันจ่าอากาศเอกหญิง น. ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้แจ้งข้อเท็จจริงในขณะซื้อขายว่าที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 รับโอนมาโดยไม่ชอบและอาจถูกเพิกถอนได้ แต่โจทก์ก็สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงจนรู้ได้เองอยู่แล้ว การที่จำเลยที่ 1 นิ่งเสียเช่นนั้นไม่ใช่กรณีที่จะถือว่าเป็นกลฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 162 จำเลยที่ 1 หรือจำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 479
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 63/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลฉ้อฉลในการซื้อขายอาคารเวนคืน สัญญาเป็นโมฆียะ
จำเลยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์เสนอขายอาคาร 5 ชั้นพร้อมที่จอดรถใต้ดิน แต่ไปยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร 4 ชั้นต่อสำนักงานเขตประเวศ ต่อมาจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาทกับโจทก์ระบุว่าอาคารพิพาทเป็นอาคาร 5 ชั้นพร้อมรายการประกอบแบบโดยทั่วไป ซึ่งผิดไปจากแบบที่จำเลยยื่นขออนุญาตไว้ การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการปิดบังมิให้โจทก์ทราบความจริงว่าจำเลยขออนุญาตก่อสร้างอาคารพิพาทไว้เพียง 4 ชั้น นอกจากนี้ จำเลยได้ทำบันทึกการขออนุญาตก่อสร้างอาคารพิพาทฯ รับทราบว่าอาคารพิพาทที่จำเลยยื่นขออนุญาตก่อสร้างอยู่ในบริเวณที่ดินที่จะสำรวจเพื่อเวนคืน แต่จำเลยยังมีความประสงค์จะก่อสร้างโดยจะไม่เรียกร้องหรือฟ้องร้องเอาเงินค่าทดแทนหรือค่าเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนี้ ที่ดินและอาคารพิพาทมีราคาสูงถึง 15,000,000 บาท หากโจทก์ทราบหรือแม้แต่เพียงสงสัยว่าจะมีการเวนคืน โจทก์ย่อมจะไม่ยอมทำสัญญาจะซื้อขายกับจำเลยอย่างแน่นอน เพราะเงินค่าทดแทนที่จะได้รับจากการถูกเวนคืนนั้นไม่คุ้มกับจำนวนเงินที่จะต้องชำระให้แก่จำเลย การที่จำเลยปิดบังข้อเท็จจริงเรื่องการเวนคืนที่ดินและขออนุญาตก่อสร้างอาคารเพียง 4 ชั้นล้วนแต่เป็นกลฉ้อฉลของจำเลยซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่า หากจำเลยไม่ใช้กลฉ้อฉลดังกล่าว โจทก์ก็คงจะไม่แสดงเจตนาทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาทกับจำเลย การแสดงเจตนาของโจทก์จึงตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 159 ประกอบด้วยมาตรา 162 เมื่อโจทก์บอกล้างโมฆียะกรรมดังกล่าวแล้วสัญญาจะซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาทย่อมตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6188/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลฉ้อฉลในการซื้อขายที่ดิน สัญญาเป็นโมฆียะ ผู้ขายต้องคืนเงินมัดจำ
จำเลยทราบดีว่าที่ดินที่จำเลยเสนอขายที่ดินให้แก่โจทก์ที่ระบุว่าที่ดินมีเนื้อที่ 10 ไร่ 2 งาน 37 ตารางวาความจริงที่ดินมีเนื้อที่เพียง 4 ไร่ 3 งาน 72 ตารางวาเท่านั้น จึงเป็นกรณีที่จำเลยใช้กลฉ้อฉล ลวงโจทก์ให้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลยเพื่อนำไปขายต่อให้บุคคลอื่น ดังนี้จำนวนเนื้อที่ของที่ดินย่อมเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญา การที่จำเลยทราบจำนวนเนื้อที่ดินในขณะทำสัญญาว่าขาดจำนวนไปกว่าครึ่งหนึ่งของเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญาแต่กลับนิ่งเฉย เสีย ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ กรณีถือได้ว่าเป็นกลฉ้อฉลที่ถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าวสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยคงจะมิได้กระทำขึ้นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญา สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลย ดังกล่าวจึงเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินมัดจำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6188/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลฉ้อฉลในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ทำให้สัญญามีโมฆียะ ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกคืนเงินมัดจำ
จำเลยทราบดีว่าที่ดินที่จำเลยเสนอขายที่ดินให้แก่โจทก์ที่ระบุว่าที่ดินมีเนื้อที่ 10 ไร่ 2 งาน 37 ตารางวา ความจริงที่ดินมีเนื้อที่เพียง 4 ไร่ 3 งาน72 ตารางวา เท่านั้น จึงเป็นกรณีที่จำเลยใช้กลฉ้อฉลลวงโจทก์ให้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลยเพื่อนำไปขายต่อให้บุคคลอื่นดังนี้ จำนวนเนื้อที่ของที่ดินย่อมเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญา การที่จำเลยทราบจำนวนเนื้อที่ดินในขณะทำสัญญาว่าขาดจำนวนไปกว่าครึ่งหนึ่งของเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญา แต่กลับนิ่งเฉยเสีย ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ กรณีถือได้ว่าเป็นกลฉ้อฉลที่ถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าวสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยคงจะมิได้กระทำขึ้น สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวจึงเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกคู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินมัดจำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย, การแปลงหนี้, และการรับสภาพหนี้: ความรับผิดของลูกหนี้เดิม
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้าราชการบำนาญขอซื้อไม้จากโจทก์โดยมิได้แจ้งว่าเป็นตัวแทนผู้ใด โจทก์เข้าใจว่าจำเลยที่ 1 ซื้อเองจึงลดราคาไม้ให้ สัญญานี้จึงเป็นสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 โดยตรง ผู้อื่นจะแสดงว่าเป็นตัวการเพื่อเข้ารับสัญญานี้หาทำให้จำเลยต้องหลุดพ้นจากสัญญาไป
การแปลงหนี้ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้น จะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าหนี้ด้วยและจะต้องมีสัญญาเป็นสามฝ่าย คือ ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้เดิม ว่าเจ้าหนี้ยอมรับเอาลูกหนี้ใหม่โดยระงับหนี้ทั้งหมดที่มีอยู่ต่อลูกหนี้เดิม กับมีสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ใหม่ว่า ลูกหนี้ใหม่จะเข้ารับชำระหนี้แทนลูกหนี้เก่าด้วย
ถึงแม้อายุความในเรื่องสิทธิเรียกร้องของโจทก์จะเริ่มนับแล้วก็ตาม ถ้าจำเลยตอบรับใบทวงหนี้ของโจทก์ว่าเป็นหนี้โจทก์และไม่ปฏิเสธที่จะชำระหนี้รายนั้น เช่นนี้ ย่อมเป็นการรับสภาพหนี้ มีผลให้อายุความสดุดหยุดลง
การแปลงหนี้ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้น จะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าหนี้ด้วยและจะต้องมีสัญญาเป็นสามฝ่าย คือ ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้เดิม ว่าเจ้าหนี้ยอมรับเอาลูกหนี้ใหม่โดยระงับหนี้ทั้งหมดที่มีอยู่ต่อลูกหนี้เดิม กับมีสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ใหม่ว่า ลูกหนี้ใหม่จะเข้ารับชำระหนี้แทนลูกหนี้เก่าด้วย
ถึงแม้อายุความในเรื่องสิทธิเรียกร้องของโจทก์จะเริ่มนับแล้วก็ตาม ถ้าจำเลยตอบรับใบทวงหนี้ของโจทก์ว่าเป็นหนี้โจทก์และไม่ปฏิเสธที่จะชำระหนี้รายนั้น เช่นนี้ ย่อมเป็นการรับสภาพหนี้ มีผลให้อายุความสดุดหยุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903-906/2484
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดก, การจัดการทรัพย์สินของเด็ก, และอายุความในการฟ้องร้องคดีมรดก
ผู้รับมฤดกคนหนึ่งได้เข้าเป็นผู้ปกครองเด็กตามพินัยกรรม์ของผู้ตายแล้ว จะยกอายุความมรฤกยันเด็กไม่ได้ เจตนาจะให้ที่ดินที่ลูกหนี้ตีใช้หนี้แก่เด็กจึงให้หลงชื่อเด็กเป็นผู้รับโอนในโฉนดดังนี้ ที่ดินนั้นยอมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเด็กตั้งแต่วันโอน
เจตนาจะยกที่ให้แก่เด็ก แต่จดทะเบียนเป็นโอนขายแก่เด็กเด็กก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์
ตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกัน ฝ่ายหนึ่งโอนทะเบียนให้ อีกฝ่ายหนึ่งทำหนังสือขายให้แก่คนภายนอกโดยผู้รับแลกเปลี่ยนเป็นผู้รับเงินราคาที่ขายได้นั้น อีกฝ่ายหนึ่งจะฟ้องเรียกเงินที่ขายได้นั้นไม่ได้
เงินค่าเช่าที่ดินและโรงเรือนย่อมเป็นของเจ้าของที่ดิน
เด็กอายุ 17 ปี ตายในขณะที่อยู่ในความปกครองของธิดา ส่วนมารดาตายไปก่อนแล้ว มฤดกตกได้แก่บิดาผู้เดียว พี่น้อง ร่วมบิดามารดาไม่มีสิทธิได้รับมฤดก อ้างฎีกาที่ 567/2456
รับเงินของผู้อื่นไว้รักษาและหาผลประโยชน์ เดิมฝากธนาคารไว้ ภายหลังไม่ปรากฎว่าได้ถอนไปหรือได้นำไปหาผลประโยชน์อย่างไร ศาลคิดค่าผลประโยชน์ให้ในอัตราขั้นต่ำที่ฝากธนาคาร เงินรายได้ที่เก็บได้จากทรัพย์ของเด็กนั้น ถ้าเด็กนำสืบไม่ได้ว่าผู้ปกครองใดได้เท่าใดแล้ว ศาลไม่คิดค่าผลประโยชน์ให้
เจตนาจะยกที่ให้แก่เด็ก แต่จดทะเบียนเป็นโอนขายแก่เด็กเด็กก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์
ตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกัน ฝ่ายหนึ่งโอนทะเบียนให้ อีกฝ่ายหนึ่งทำหนังสือขายให้แก่คนภายนอกโดยผู้รับแลกเปลี่ยนเป็นผู้รับเงินราคาที่ขายได้นั้น อีกฝ่ายหนึ่งจะฟ้องเรียกเงินที่ขายได้นั้นไม่ได้
เงินค่าเช่าที่ดินและโรงเรือนย่อมเป็นของเจ้าของที่ดิน
เด็กอายุ 17 ปี ตายในขณะที่อยู่ในความปกครองของธิดา ส่วนมารดาตายไปก่อนแล้ว มฤดกตกได้แก่บิดาผู้เดียว พี่น้อง ร่วมบิดามารดาไม่มีสิทธิได้รับมฤดก อ้างฎีกาที่ 567/2456
รับเงินของผู้อื่นไว้รักษาและหาผลประโยชน์ เดิมฝากธนาคารไว้ ภายหลังไม่ปรากฎว่าได้ถอนไปหรือได้นำไปหาผลประโยชน์อย่างไร ศาลคิดค่าผลประโยชน์ให้ในอัตราขั้นต่ำที่ฝากธนาคาร เงินรายได้ที่เก็บได้จากทรัพย์ของเด็กนั้น ถ้าเด็กนำสืบไม่ได้ว่าผู้ปกครองใดได้เท่าใดแล้ว ศาลไม่คิดค่าผลประโยชน์ให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 791-793/2483
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความอุทธรณ์และการยื่นฟ้องนอกเวลาทำการ: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการรับฟ้องหลังเวลาทำการยังถือว่าไม่ขาดอายุความ
ประกาศเรื่องกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2482 จำเลยต้องขังอยู่ในเรืองจำได้นำฟ้อง อุทธรณ์ไปยื่นต่อ+เรือนจำในวันสุดท้าย++อายุความอุทธรณ์ซึ่งเป็นวันเสาร์เวลา 15.00 น.+เรือนจำรับฟ้อง อุทธรณ์ขั้นส่งต่อศาลดังนี้ ถือว่าฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 170/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดและความรับผิดชอบของศาลต่อการรับคำฟ้องนอกเวลาทำการ
ป.พ.พ.ม.162 คำสั่งกระทรวงยุติธรรมลงวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2468
กำหนดเวลาทำงานตามปกติของศาลในระหว่างเดือนเมษายน พ.ศ. 2478 นั้นตั้งต้นแต่ 11ถึง13 นาฬิกา ผู้จะมาทำการติดต่อกับศาลต้องมาภายในกำหนดข้างบนนั้น
วิธีกำหนดให้คู่ความเสียค่าธรรมเนียม
กำหนดเวลาทำงานตามปกติของศาลในระหว่างเดือนเมษายน พ.ศ. 2478 นั้นตั้งต้นแต่ 11ถึง13 นาฬิกา ผู้จะมาทำการติดต่อกับศาลต้องมาภายในกำหนดข้างบนนั้น
วิธีกำหนดให้คู่ความเสียค่าธรรมเนียม