พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15144/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับชำระหนี้จากเงินมัดจำหลังผิดสัญญาเช่าพื้นที่: ศาลล้มละลายพิจารณาได้แม้มีการยกเลิกการล้มละลาย
เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานต่อศาลให้มีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายเนื่องจากมีเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ 2 ราย แล้วเจ้าหนี้รายที่ 1 ขอถอนคำขอรับชำระหนี้ไป ส่วนลูกหนี้ขอวางเงินชำระหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 2 พร้อมค่าธรรมเนียม แต่ขอโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ ศาลล้มละลายกลางจึงมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ตาม มาตรา 135 (3) ต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีความเห็นเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ต่อศาลล้มละลายกลางและศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ แม้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 135 (3) ซึ่งทำให้ลูกหนี้กลับมีอำนาจในการจัดกิจการและทรัพย์สินของตนเองได้ แต่ผลของการยกเลิกการล้มละลายเพราะหนี้สินของลูกหนี้ได้ชำระเต็มจำนวนแล้ว ตามมาตรา 135 (3) ย่อมทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินทั้งหมดที่อาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายไปตามนัยแห่งมาตรา 136 เมื่อคดียังมีปัญหาเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้ซึ่งลูกหนี้โต้แย้งอยู่ตามมาตรา 104 และมาตรา 135 (3) วรรคสอง อันจะมีผลต่อสิทธิในการได้รับชำระหนี้ของเจ้าหนี้หรือไม่ เพียงใด ดังนี้ ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาและสั่งคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ได้ ศาลฎีกาจึงต้องพิจารณาอุทธรณ์ของเจ้าหนี้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18006/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกการล้มละลายต้องพิจารณาจากกระบวนการชำระหนี้ในคดีล้มละลาย หากไม่มีเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ อาจยกเลิกได้ตามมาตรา 135(2)
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 135 บัญญัติว่า "เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอ ศาลมีอำนาจสั่งยกเลิกการล้มละลายได้ ถ้าปรากฏเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้... (3) หนี้สินของบุคคลล้มละลายได้ชำระเต็มจำนวนแล้ว..." นั้น หมายความถึง การดำเนินการชำระหนี้จนเต็มจำนวนภายใต้กระบวนพิจารณาและวิธีการในคดีล้มละลายที่มีการตรวจสอบได้ทั้งจากผู้มีส่วนได้เสีย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และศาล เนื่องจากหากมีการยกเลิกการล้มละลายตามอนุมาตรานี้ จำเลยจะหลุดพ้นจากหนี้สินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 136 ดังนั้น จำเลยที่จะได้รับประโยชน์เช่นนี้จึงเป็นจำเลยที่ดำเนินการอยู่ภายใต้กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายและการตรวจสอบตามกฎหมาย
คดีนี้มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ต่อมาเจ้าหนี้ยื่นคำร้องเพื่อขอถอนคำขอรับชำระหนี้ จนไม่มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เหลืออยู่ จึงไม่มีการดำเนินการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทุกรายเต็มจำนวนโดยตรงภายใต้กระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย แต่เป็นกรณีที่ไม่มีเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายจึงมีเหตุที่ลูกหนี้ไม่ควรถูกพิพากษาให้ล้มละลาย ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจรายงานศาลเพื่อสั่งยกเลิกการล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 135 (2) ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งแก้ไขคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยโดยให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 135 (3) จึงไม่ถูกต้อง
คดีนี้มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ต่อมาเจ้าหนี้ยื่นคำร้องเพื่อขอถอนคำขอรับชำระหนี้ จนไม่มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เหลืออยู่ จึงไม่มีการดำเนินการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทุกรายเต็มจำนวนโดยตรงภายใต้กระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย แต่เป็นกรณีที่ไม่มีเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายจึงมีเหตุที่ลูกหนี้ไม่ควรถูกพิพากษาให้ล้มละลาย ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจรายงานศาลเพื่อสั่งยกเลิกการล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 135 (2) ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งแก้ไขคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยโดยให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 135 (3) จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกการล้มละลายทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินทั้งหมด แม้มีหนี้ภาษีเกิดขึ้นก่อนศาลสั่งยกเลิก
ตามประมวลรัษฎากรอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่โจทก์ขณะเกิดมูลกรณีนี้ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในเดือนมีนาคมทุกๆปีและต้องยื่นแบบรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินภายในกำหนดดังกล่าวด้วยส่วนผู้ประกอบการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับของตนทุกเดือนภาษีและต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกเดือนภายในวันที่15ของเดือนถัดไปดังนี้แสดงว่ามูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของแต่ละปีได้เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมของปีถัดไปส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าก็ได้เกิดขึ้นแล้วทุกเดือนภาษีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์สำหรับปี2521และปี2522จึงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม2522และเดือนมีนาคม2523ตามลำดับส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าของโจทก์สำหรับเดือนกันยายนและตุลาคม2521ก็เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่15ของเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน2521ตามลำดับการที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่1ได้เรียกตรวจสอบไต่สวนแล้วทำการประเมินตามแบบแจ้งการประเมินเอกสารหมายล.1ถึงล.3และแจ้งไปยังโจทก์ในภายหลังซึ่งโจทก์ได้อุทธรณ์การประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์เป็นเรื่องให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้องครบถ้วนหาใช่มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าดังกล่าวเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยหรือเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมิน แม้พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา136จะมิได้บัญญัติถึงผลของการยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา135(3)และ(4)เอาไว้แต่เมื่อพิจารณาถ้อยคำในมาตรา135(3)และ(4)ก็เห็นได้ว่าเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายด้วยเหตุตามอนุมาตราดังกล่าวแล้วลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นหนี้สินไปทั้งหมดกรณีจึงไม่อาจนำมาตรา77ซึ่งเป็นบทบัญญัติเรื่องผลของการปลดจากการล้มละลายมาใช้บังคับได้ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีพฤติการณ์ฉ้อฉลภาษีหรือไม่อีกต่อไป เมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายมาตรา135(3)โจทก์จึงหลุดพ้นจากหนี้สินทั้งหมดซึ่งรวมทั้งหนี้ภาษีอากรตามฟ้องจำเลยที่2ไม่มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์นำเงินมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5449/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการชำระหนี้เพื่อยกเลิกการล้มละลายของผู้มีส่วนได้เสีย
แม้คำร้องที่ผู้ร้องขอให้ยกเลิกการล้มละลายของจำเลยอ้างว่าจำเลยมีทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้อายัดไว้มากกว่าหนี้ของเจ้าหนี้ที่เหลือหลายเท่าตัวผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ที่จะต้องถูกเพิกถอนการขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งทำให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโอนกลับคืนเข้าไปเป็นกองทรัพย์สินของจำเลย ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ยกเลิกการล้มละลายของจำเลยได้ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ผู้ร้องได้ขอวางเงินในจำนวนที่เพียงพอแก่การชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้รวมทั้งค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สิน และศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอนุญาตแล้ว การที่ผู้ร้องซึ่งต้องเสียสิทธิในที่ดินที่ได้รับซื้อฝากเพราะศาลฎีกาได้พิพากษาให้เพิกถอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 116 ให้กลับคืนสู่ฐานะเดิม ก็เพื่อให้ที่ดินเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยเพื่อจัดการแบ่งในระหว่างเจ้าหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา124 หากเจ้าหนี้ทั้งหลายได้รับชำระหนี้โดยครบถ้วนแล้ว ผู้คัดค้านที่ 1 ก็ไม่มีความจำเป็นต้องรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยต่อไป ตลอดจนไม่ต้องเก็บรวบรวมที่ดินของผู้ร้องที่ถูกเพิกถอนนั้น ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียด้วยในการชำระหนี้จึงชอบที่จะเข้าชำระหนี้นั้นได้แม้จะเป็นการเข้าชำระหนี้โดยขืนใจจำเลยก็ตามตาม ป.พ.พ. มาตรา 314 วรรคสอง เมื่อผู้ร้องเป็นผู้เข้าชำระหนี้ของจำเลยแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย รวมทั้งค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สิน ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในอันที่จะขอให้ศาลยกเลิกการล้มละลายของจำเลยเพราะเหตุที่หนี้สินของบุคคลล้มละลายได้ชำระเต็มจำนวนแล้ว ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 135 (3) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5449/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการชำระหนี้แทนบุคคลล้มละลายและการยกเลิกการล้มละลายเมื่อหนี้สินได้รับการชำระเต็มจำนวน
แม้คำร้องที่ผู้ร้องขอให้ยกเลิกการล้มละลายของจำเลยอ้างว่าจำเลยมีทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านที่1ได้อายัดไว้มากกว่าหนี้ของเจ้าหนี้ที่เหลือหลายเท่าตัวผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ที่จะต้องถูกเพิกถอนการขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งทำให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโอนกลับคืนเข้าไปเป็นกองทรัพย์สินของจำเลยผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ยกเลิกการล้มละลายของจำเลยได้ก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นผู้ร้องได้ขอวางเงินในจำนวนที่เพียงพอแก่การชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้รวมทั้งค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอนุญาตแล้วการที่ผู้ร้องซึ่งต้องเสียสิทธิในที่ดินที่ได้รับซื้อฝากเพราะศาลฎีกาได้พิพากษาให้เพิกถอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา116ให้กลับคืนสู่ฐานะเดิมก็เพื่อให้ที่ดินเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยเพื่อจัดการแบ่งในระหว่าง>เจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา124หากเจ้าหนี้ทั้งหลายได้รับชำระหนี้โดยครบถ้วนแล้วผู้คัดค้านที่1ก็ไม่มีความจำเป็นต้องรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยต่อไปตลอดจนไม่ต้องเก็บรวบรวมที่ดินของผู้ร้องที่ถูกเพิกถอนนั้นถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียด้วยในการชำระหนี้จึงชอบที่จะเข้าชำระหนี้นั้นได้แม้จะเป็นการเข้าชำระหนี้โดยขืนใจจำเลยก็ตามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา314วรรคสองเมื่อผู้ร้องเป็นผู้เข้าชำระหนี้ของจำเลยแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายรวมทั้งค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในอันที่จะขอให้ศาลยกเลิกการล้มละลายของจำเลยเพราะเหตุที่หนี้สินของบุคคลล้มละลายได้ชำระเต็มจำนวนแล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา135(3)ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 806/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามกำหนด หากไม่ยื่นสิทธิในการฟ้องบังคับชำระหนี้จะระงับ
เจ้าหนี้ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา27,91เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จนกระทั่งศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายเพราะหนี้สินของจำเลยได้ชำระเต็มจำนวนแล้วตามมาตรา135(3)ซึ่งเป็นผลให้จำเลยหลุดพ้นจากบรรดาหนี้สินทั้งปวงแม้โจทก์จะไม่ทราบว่าจำเลยถูกฟ้องคดีล้มละลายมาก่อนแต่การฟ้องคดีล้มละลายกระทำโดยเปิดเผยและมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483โจทก์จะอ้างว่าไม่ทราบว่าจำเลยถูกฟ้องไม่ได้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในหนี้ดังกล่าวอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ภาษีอากรหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และผลต่อการยกเลิกการล้มละลาย
แถลงการณ์กระทรวงการคลังระบุว่า "ฯลฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตาม มาตรา 3 อัฏฐ แห่งประมวลรัษฎากร จึงขยายเวลาชำระและนำส่งภาษีอากร เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิได้เสียภาษีอากร ฯลฯ ได้ยื่นชำระภาษีอากร ฯลฯ ถูกต้องครบถ้วน โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ ฯลฯ ทั้งนี้ตามเงื่อนไข ฯลฯ ข้อ 4 ในกรณีผู้มีหน้าที่เสีย ฯลฯ ภาษีอากร ฯลฯ รับแจ้งการประเมินฯลฯ ก่อนวันที่ที่ลงในแถลงการณ์นี้ แต่ยังมิได้ชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา ฯลฯ ในแบบแจ้งการประเมิน ฯลฯ นั้น และพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว หากได้นำภาษีอากรที่ค้างชำระอยู่นั้นไปชำระภายในระยะเวลาตามข้อ 7 แล้ว ผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ สำหรับภาษีอากรส่วนที่ชำระนั้น ถ้าภาษีอากรค้างนั้น ค้างอยู่ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือต่อศาลผู้เสียภาษีอากรต้องขอถอนอุทธรณ์หรือถอนฟ้องนั้น และได้ รับอนุมัติเสียก่อน ฯลฯ" ดังนั้น กรณีผู้เสียภาษีอากรอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งของศาลที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีที่ผู้เสียภาษีอากรถูกฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายก็ดี หรือกรณีลูกหนี้ถูกแจ้งการประเมินภาษีและมิได้อุทธรณ์การประเมินนั้นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือต่อศาลในเรื่องการประเมินก็ดี ทั้งสองกรณีไม่อยู่ในเงื่อนไขของแถลงการณ์กระทรวงการคลังดังกล่าว ดังนั้น เมื่อลูกหนี้ชำระค่าภาษีอากรค้างให้โจทก์ครบถ้วนและภายในเวลาที่กำหนด ลูกหนี้ย่อมได้รับยกเว้นเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตาม แถลงการณ์กระทรวงการคลัง โดยไม่ต้องขอถอนฟ้องก่อน
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายที่จะได้ รับชำระหนี้โดยเสมอภาค
คดีที่ลูกหนี้ถูก ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด มีเจ้าหนี้เพียงรายเดียวคือโจทก์ ลูกหนี้ชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงได้ ไม่ก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น การชำระหนี้ของลูกหนี้จึงเท่ากับเป็นการชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้เต็มจำนวน เหตุที่จะให้ลูกหนี้เป็นคนล้มละลายหมดไป จึงต้องยกเลิกการล้มละลาย
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายที่จะได้ รับชำระหนี้โดยเสมอภาค
คดีที่ลูกหนี้ถูก ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด มีเจ้าหนี้เพียงรายเดียวคือโจทก์ ลูกหนี้ชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงได้ ไม่ก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น การชำระหนี้ของลูกหนี้จึงเท่ากับเป็นการชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้เต็มจำนวน เหตุที่จะให้ลูกหนี้เป็นคนล้มละลายหมดไป จึงต้องยกเลิกการล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ภาษีอากรหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และผลต่อการยกเลิกการล้มละลาย
แถลงการณ์กระทรวงการคลังระบุว่า "ฯลฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตาม มาตรา 3 อัฏฐ แห่งประมวลรัษฎากรจึงขยายเวลาชำระและนำส่งภาษีอากร เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิได้เสียภาษีอากร ฯลฯ ได้ ยื่นชำระภาษีอากร ฯลฯ ถูกต้อง ครบถ้วน โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ ฯลฯ ทั้งนี้ตาม เงื่อนไข ฯลฯข้อ 4 ในกรณีผู้มีหน้าที่เสีย ฯลฯ ภาษีอากร ฯลฯ รับแจ้งการประเมินฯลฯ ก่อนวันที่ที่ลงในแถลงการณ์นี้ แต่ ยังมิได้ชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนตาม กำหนดเวลา ฯลฯ ในแบบแจ้งการประเมิน ฯลฯ นั้นและพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว หากได้ นำภาษีอากรที่ค้างชำระอยู่นั้นไปชำระภายในระยะเวลาตาม ข้อ 7 แล้ว ผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ สำหรับภาษีอากรส่วนที่ชำระนั้น ถ้า ภาษีอากรค้างนั้น ค้างอยู่ในชั้น อุทธรณ์ต่อ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือต่อ ศาลผู้เสียภาษีอากรต้อง ขอถอน อุทธรณ์หรือถอน ฟ้องนั้น และได้ รับอนุมัติเสียก่อน ฯลฯ" ดังนั้น กรณีผู้เสียภาษีอากรอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งของศาลที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ด ขาดในคดีที่ผู้เสียภาษีอากรถูก ฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายก็ดี หรือกรณีลูกหนี้ถูก แจ้งการประเมินภาษีและมิได้อุทธรณ์การประเมินนั้นต่อ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือต่อ ศาลในเรื่องการประเมินก็ดี ทั้งสองกรณีไม่อยู่ในเงื่อนไขของแถลงการณ์กระทรวงการคลังดังกล่าว ดังนั้น เมื่อลูกหนี้ชำระค่าภาษีอากรค้างให้โจทก์ครบถ้วนและภายในเวลาที่กำหนด ลูกหนี้ย่อมได้ รับยกเว้นเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตาม แถลงการณ์กระทรวงการคลังโดย ไม่ต้องขอถอน ฟ้องก่อน เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ต่อ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ ผู้เดียว ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายที่จะได้ รับชำระหนี้โดย เสมอภาค คดีที่ลูกหนี้ถูก ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด มีเจ้าหนี้เพียงรายเดียว คือโจทก์ ลูกหนี้ชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงได้ ไม่ก่อให้เกิดการได้ เปรียบเสียเปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น การชำระหนี้ของลูกหนี้จึงเท่ากับเป็นการชำระหนี้ต่อ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้เต็มจำนวน เหตุที่จะให้ลูกหนี้เป็นคนล้มละลายหมดไป จึงต้อง ยกเลิกการล้มละลาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีอากรหลังแจ้งการประเมินและการขยายเวลาชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายได้
ตามแถลงการณ์ของกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตามมาตรา 3 อัฎฐ แห่งประมวลรัษฎากรได้ขยายเวลาชำระและนำส่งภาษีอากรเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิได้เสียภาษีอากรได้ยื่นชำระภาษีอากรให้ถูกต้องครบถ้วน โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ ทั้งนี้มีเงื่อนไขในข้อ 4 ว่าในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร รับแจ้งการประเมินก่อนวันที่ที่ลงในแถลงการณ์ แต่ยังมิได้ชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลาในแบบแจ้งการประเมิน และพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว หากได้นำภาษีอากรที่ค้างชำระอยู่นั้นไปชำระภายในระยะเวลาตามข้อ 7 แล้วผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ สำหรับภาษีอากรส่วนที่ชำระนั้น ถ้าภาษีอากรค้างนั้น ค้างอยู่ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือต่อศาล ผู้เสียภาษีอากรต้องขอถอนอุทธรณ์หรือถอนฟ้องนั้นและได้รับอนุมัติเสียก่อน การที่ลูกหนี้ผู้เสียภาษีอากรซึ่งถูกฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งของศาลที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น มิใช่กรณีลูกหนี้ซึ่งถูกแจ้งการประเมินภาษีอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือต่อศาล จึงไม่อยู่ในเงื่อนไขของแถลงการณ์กระทรวงการคลังดังกล่าวดังนั้น เมื่อลูกหนี้ชำระค่าภาษีอากรค้างให้โจทก์ครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนด ลูกหนี้ย่อมได้รับยกเว้นเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามแถลงการณ์กระทรวงการคลังโดยไม่ต้องขอถอนฟ้องก่อน ลูกหนี้ซึ่งถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีเจ้าหนี้เพียงรายเดียวคือโจทก์ การที่ลูกหนี้ชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรง ย่อมไม่ก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น การชำระหนี้ของลูกหนี้จึงเท่ากับเป็นการชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 เมื่อหนี้สินของลูกหนี้ได้ชำระเต็มจำนวนแล้วเหตุที่จะให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายย่อมหมดไป จึงต้องยกเลิกการล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: ชำระหนี้ภาษีอากรครบถ้วนหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ถือเป็นการชำระหนี้โดยสมบูรณ์ ทำให้พ้นจากภาวะล้มละลาย
กรณีผู้เสียภาษีอากรอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งของศาลที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีที่ผู้เสียภาษีอากรถูกฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายก็ดี หรือกรณีลูกหนี้ถูกแจ้งการประเมินภาษีและมิได้อุทธรณ์การประเมินนั้นต่อคณะกรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือต่อศาลในเรื่องการประเมินก็ดี ทั้งสองกรณีไม่อยู่ในเงื่อนไขของแถลงการณ์กระทรวงการคลัง ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2525 ดังนั้น เมื่อลูกหนี้ชำระค่าภาษีอากรค้างให้โจทก์ครบถ้วน และภายในเวลาที่กำหนดลูกหนี้ย่อมได้รับยกเว้นเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามแถลงการณ์กระทรวงการคลังดังกล่าว โดยไม่ต้องขอถอนฟ้องก่อน เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายที่จะได้รับชำระหนี้โดยเสมอภาคแต่คดีที่ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด มีเจ้าหนี้เพียงรายเดียวคือโจทก์ ลูกหนี้ชำระหนี้แก่โจทก์ได้โดยตรงได้ ไม่ก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น การชำระหนี้ของลูกหนี้จึงเท่ากับเป็นการชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้เต็ม จำนวน เหตุที่จะให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายหมดไป จึงต้องยกเลิกการล้มละลาย.