คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 320

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18196/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบุริมสิทธิของผู้จัดการมรดกเหนือทรัพย์สินที่ถูกยึดบังคับคดี การใช้สิทธิก่อนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ก. ซึ่งออกเงินค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกันของกองมรดก จึงเป็นผู้มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของกองมรดกที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้เพื่อขายทอดตลาด การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินดังกล่าวย่อมไม่อาจกระทบถึงสิทธิของผู้ร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 แต่ผู้ร้องจะใช้สิทธิได้ต่อเมื่อมีการบังคับคดีโดยนำทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ผู้รับจำนองก่อน ทั้งบุริมสิทธิของผู้ร้องไม่ปรากฏทางทะเบียน ดังนี้ ผู้ร้องย่อมสามารถร้องขอให้บังคับตามสิทธิของตนได้ก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 318 ถึง 321

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5378/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักส่วนได้ใช้แทนในบังคับคดีและการคำนวณดอกเบี้ยที่ถูกต้อง
โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินของจำเลยได้จากการขายทอดตลาด และโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทั้งเป็นเจ้าหนี้จำนองที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ด้วย การที่โจทก์ขอหักส่วนได้ใช้แทน หมายถึงการที่โจทก์มีหน้าที่ต้องวางเงินชำระ ราคาค่าซื้อที่ดินในฐานะผู้ซื้อ และโจทก์มีสิทธิรับเงินจากการขายทอดตลาดที่โจทก์นำมาวางชำระค่าที่ดินในฐานะ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อโจทก์ขอหักส่วนได้ใช้แทนราคาที่ต้องชำระ และศาลอนุญาต โจทก์จึงไม่ต้องนำเงินค่าที่ดินที่ต้องชำระมาวางและโจทก์ก็ไม่ต้องรับเงินจากการขายทอดตลาดไป แต่ถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ซื้อและได้ใช้สิทธิในฐานะเจ้าหนี้รับเงินไปแล้วนับแต่วันที่ศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์หักส่วนได้ใช้แทน แม้จำเลยจะร้องคัดค้านการขายทอดตลาด โจทก์ก็ไม่ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินดังกล่าวหลังจากวันที่โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้วไม่ได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินก็เพื่อจะได้แบ่งเงินให้เจ้าหนี้แต่ละคน ได้รับตามส่วนโดยถูกต้อง บทบัญญัติในมาตรา 318 ถึง 322 แห่ง ป.วิ.พ. เป็นแต่เพียงวิธีการที่กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการในการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้เท่านั้น ซึ่งเมื่อจ่ายเงินไปครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าว ก็ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง
โจทก์นำยึดที่ดินของจำเลยเพิ่ม เนื่องจากบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน ของเจ้าพนักงานบังคับคดีคำนวณ ไม่ถูกต้อง ส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลย เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้จ่ายให้โจทก์รับไปตามหนี้จำนองที่โจทก์มีอยู่เหนือที่ดินที่ขายทอดตลาดดังกล่าวครบถ้วนตามหนี้จำนองและเงินส่วนที่เหลือได้คืนให้จำเลย รับไปแล้ว เมื่อกรณียังไม่เป็นการแน่ชัดว่า เมื่อขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ยังมีหนี้เหลือ ที่โจทก์จะได้รับชำระอีกหรือไม่ เพียงใด ศาลฎีกาเห็นควรให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินใหม่ทั้งหมดและคำนวณดอกเบี้ยใหม่ให้ถูกต้อง หากปรากฏว่ามีหนี้เหลือที่โจทก์จะได้รับชำระอีกก็ให้โจทก์บังคับคดีจากที่ดินของจำเลยที่ยึดไว้เท่าที่พอจะชำระหนี้ต่อไป แต่ถ้าการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยพอชำระหนี้โจทก์พร้อม ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีแล้ว ก็ให้จ่ายเงินให้โจทก์และจำเลยตามสิทธิของแต่ละฝ่าย และเพิกถอนการยึดที่ดินของจำเลยที่โจทก์นำยึดเพิ่มต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2939/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเสร็จสิ้นแล้ว แม้มีการปรับปรุงบัญชีรายรับ-จ่ายจากข้อคัดค้านดอกเบี้ย จำเลยไม่มีสิทธิเพิกถอน
เมื่อผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดได้ชำระราคาครบถ้วนและศาลมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนระงับการจำนอง - โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ซื้อ ทั้งโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ได้รับชำระหนี้จากเงินสุทธิที่ได้รับจากการขายทอดตลาดไปแล้ว ดังนี้ ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้วจำเลยจึงไม่มีสิทธิ ร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีที่เสร็จแล้วได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเพื่อปรับปรุงฉบับเดิมขึ้นใหม่ก็เพราะจำเลยยื่นคำแถลงคัดค้านการคิดคำนวณดอกเบี้ยของเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีคิดคำนวณดอกเบี้ยใหม่ แม้จะทำให้ตัวเลขทางบัญชีไม่ตรงกับบัญชีแสดงการรับจ่ายเดิมเพราะการคิดคำนวณดอกเบี้ยผิดพลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเอง หาใช่เป็นเรื่องที่ทำให้การบังคับคดียังไม่เสร็จลงไม่ เพราะไม่มีการกระทำอย่างใดในการที่จะบังคับเกี่ยวกับที่ดินของจำเลยต่อไปอีก
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 316 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดหน้าที่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องจัดทำบัญชีในการปฏิบัติงานบังคับคดี และมาตรา 320 ก็เป็นเรื่องที่กำหนดให้เฉพาะเจ้าหนี้เท่านั้นที่จะยื่นคำแถลงคัดค้านบัญชีส่วนเฉลี่ยต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้บทบัญญัติสองมาตราดังกล่าวหาใช่เป็นเรื่องที่จะทำให้จำเลยมีสิทธิร้องขอเพิกถอนการบังคับคดีซึ่งการบังคับคดีเสร็จลงแล้วได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2939/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเสร็จสิ้นแล้ว แม้มีการปรับปรุงบัญชีดอกเบี้ย จำเลยไม่มีสิทธิเพิกถอนได้
เมื่อผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดได้ชำระราคาครบถ้วนและศาลมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนระงับการจำนอง - โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ซื้อ ทั้งโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ได้รับชำระหนี้จากเงินสุทธิที่ได้รับจากการขายทอดตลาดไปแล้ว ดังนี้ ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้วจำเลยจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีที่เสร็จแล้วได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา296 วรรคสอง
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่าย เพื่อปรับปรุงฉบับเดิมขึ้นใหม่ก็เพราะจำเลยยื่นคำแถลงคัดค้านการคิดคำนวณดอกเบี้ยของเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีคิดคำนวณดอกเบี้ยใหม่ แม้จะทำให้ตัวเลขทางบัญชีไม่ตรงกับบัญชีแสดงการรับจ่ายเดิมเพราะการคิดคำนวณดอกเบี้ยผิดพลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเอง หาใช่เป็นเรื่องที่ทำให้การบังคับคดียังไม่เสร็จลงไม่ เพราะไม่มีการกระทำอย่างใดในการที่จะบังคับเกี่ยวกับที่ดินของจำเลยต่อไปอีก
ป.วิ.พ.มาตรา 316 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดหน้าที่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องจัดทำบัญชีในการปฏิบัติงานบังคับคดี และมาตรา 320 ก็เป็นเรื่องที่กำหนดให้เฉพาะเจ้าหนี้เท่านั้นที่จะยื่นคำแถลงคัดค้านบัญชีส่วนเฉลี่ยต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้บทบัญญัติสองมาตราดังกล่าวหาใช่เป็นเรื่องที่จะทำให้จำเลยมีสิทธิร้องขอเพิกถอนการบังคับคดีซึ่งการบังคับคดีเสร็จลงแล้วได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5625/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการขายทอดตลาด: การแจ้งการขาย การคัดค้าน และความชอบด้วยกฎหมาย
ในการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรายนี้ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ซื้อและชำระเงินค่าซื้อทรัพย์แล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือถึงศาลชั้นต้น ขอให้แจ้งเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนระงับการจำนองแล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2535 ในวันเดียวกันศาลชั้นต้นมีหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินให้ดำเนินการตามหนังสือของเจ้าพนักงานบังคับคดี และเจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนระงับการจำนองพร้อมกับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์เรียบร้อยเมื่อวันที่11 พฤษภาคม 2535 แต่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้นำเงินที่ได้จากขายทอดตลาดชำระหนี้ให้โจทก์ก่อนจำเลยยื่นคำร้องคัดค้าน ดังนั้นขณะที่จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดจึงยังถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้ว และเมื่อจำเลยทราบว่าการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2535 จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านเมื่อวันที่21 พฤษภาคม 2535 ยังอยู่ในระยะเวลาแปดวัน จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง ในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลย โจทก์แถลงว่า ไม่สามารถสืบหาที่อยู่ของจำเลยในสำเนาทะเบียนบ้านตามที่ จำเลยให้ไว้แก่โจทก์ จึงขออนุญาตศาลส่งโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ซึ่งศาลอนุญาตและในการนัดสืบพยานโจทก์ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน จำเลยก็ไม่ได้คัดค้าน ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งการขายทอดตลาดให้จำเลยทราบด้วยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 79 แล้ว ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามไม่ให้โจทก์หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับโจทก์ ทำการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด และเมื่อราคาทรัพย์ที่ผู้ซื้อทรัพย์ซื้อได้สูงกว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินพอสมควร ทั้งไม่ปรากฏว่าการบังคับคดีไม่สุจริตอย่างไร การขายทอดตลาดจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5625/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการขายทอดตลาดและการแจ้งการขายโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ชอบด้วยกฎหมาย
ในการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรายนี้ ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ซื้อได้และชำระเงินค่าซื้อทรัพย์แล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือถึงศาลชั้นต้นขอให้แจ้งเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนระงับการจำนองแล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2535 ในวันเดียวกันศาลชั้นต้นมีหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินให้ดำเนินการตามหนังสือของเจ้าพนักงานบังคับคดี และเจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนระงับการจำนองพร้อมกับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์เรียบร้อยเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2535 แต่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้นำเงินที่ได้จากขายทอดตลาดชำระหนี้ให้โจทก์ก่อนจำเลยยื่นคำร้องคัดค้าน ดังนั้นขณะที่จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดจึงยังถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้ว และเมื่อจำเลยทราบว่าการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2535 จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2535 ยังอยู่ในระยะเวลาแปดวัน จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องนี้ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง
ในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลย โจทก์แถลงว่าไม่สามารถสืบหาที่อยู่ของจำเลยในสำเนาทะเบียนบ้านตามที่จำเลยให้ไว้แก่โจทก์ จึงขออนุญาตศาลส่งโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ซึ่งศาลอนุญาตและในการนัดสืบพยานโจทก์ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน จำเลยก็ไม่ได้คัดค้าน ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งการขายทอดตลาดให้จำเลยทราบด้วยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์จึงชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 79 แล้ว
ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามไม่ให้โจทก์หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับโจทก์ ทำการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด และเมื่อราคาทรัพย์ที่ผู้ซื้อทรัพย์ซื้อได้สูงกว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินพอสมควร ทั้งไม่ปรากฏว่าการบังคับคดีไม่สุจริตอย่างไร การขายทอดตลาดจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3332/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดติดจำนอง: สิทธิของผู้ซื้อและภาระการตรวจสอบหนี้จำนอง
เมื่อมีการบังคับคดีขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ซึ่งติดจำนองไม่มีบทบัญญัติบังคับผู้รับจำนองให้จำต้องแสดงหลักฐานการเป็นหนี้หรือยอดหนี้ของผู้จำนองต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือต่อศาล เมื่อผู้รับจำนองไม่ประสงค์จะใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 ซึ่งให้สิทธิแก่ผู้รับจำนองที่จะยื่นคำร้องขอก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดในกรณีที่จะขอให้เอาเงินจากการขายทอดตลาดชำระ แก่ผู้รับจำนองก่อนหรือจะเอาทรัพย์จำนองหลุด สิทธิของผู้รับจำนองหาได้ระงับไปไม่ เพราะสัญญาจำนองจะระงับสิ้น ไป ก็เฉพาะกรณีที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744เท่านั้น จำนองเป็นทรัพย์สิทธิติดไปกับตัวทรัพย์เสมอ แม้ประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีจะระบุว่าไม่มียอดหนี้จำนองก็ หมายความเพียงเจ้าหนี้จำนองมิได้แจ้งยอดหนี้มาให้ทราบมิใช่เป็นการปลอดหนี้จำนอง เมื่อประกาศขายทอดตลาดของ เจ้าพนักงานบังคับคดีมีเงื่อนไขในการขายว่าไม่รับรองและ ไม่รับผิดในการรอนสิทธิ จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ผู้ซื้อจะต้องระวังและสอบสวนถึงจำนวนหนี้จำนอง การละเลยจึงเป็น การเสี่ยงต่อความเสียหายของโจทก์เอง โจทก์ผู้รับโอนที่ดินซึ่งติดจำนองอยู่กับจำเลย ย่อมมีสิทธิที่จะปลดเปลื้องภาระจำนองโดยการไถ่ถอนจำนองตามบทบัญญัติ ลักษณะ 12 หมวด 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3332/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อที่ดินจากการบังคับคดีติดจำนอง: ผู้ซื้อต้องตรวจสอบหนี้จำนองเอง และมีสิทธิไถ่ถอนได้
เมื่อมีการบังคับคดีขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ซึ่งติดจำนอง ไม่มีบทบัญญัติบังคับผู้รับจำนองให้จำต้องแสดงหลักฐานการเป็นหนี้หรือยอดหนี้ของผู้จำนองต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือต่อศาล เมื่อผู้รับจำนองไม่ประสงค์จะใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 ซึ่งให้สิทธิแก่ผู้รับจำนองที่จะยื่นคำร้องขอก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดในกรณีที่จะขอให้เอาเงินจากการขายทอดตลาดชำระ แก่ผู้รับจำนองก่อนหรือจะเอาทรัพย์จำนองหลุด สิทธิของผู้รับจำนองหาได้ระงับไปไม่ เพราะสัญญาจำนองจะระงับสิ้น ไปก็เฉพาะกรณีที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 เท่านั้น
จำนองเป็นทรัพย์สิทธิติดไปกับตัวทรัพย์เสมอ แม้ประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีจะระบุว่าไม่มียอดหนี้จำนอง ก็หมายความเพียงเจ้าหนี้จำนองมิได้แจ้งยอดหนี้มาให้ทราบ มิใช่เป็นการปลอดหนี้จำนอง เมื่อประกาศขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีมีเงื่อนไขในการขายว่าไม่รับรองและไม่รับผิดในการรอนสิทธิ จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ผู้ซื้อจะต้องระวังและสอบสวนถึงจำนวนหนี้จำนอง การละเลยจึงเป็นการเสี่ยงต่อความเสียหายของโจทก์เอง
โจทก์ผู้รับโอนที่ดินซึ่งติดจำนองอยู่กับจำเลย ย่อมมีสิทธิที่จะปลดเปลื้องภาระจำนองโดยการไถ่ถอนจำนองตามบทบัญญัติลักษณะ 12 หมวด 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีร่วมกันของลูกหนี้ร่วม และสิทธิในการร้องคัดค้านการแบ่งส่วนเฉลี่ยหนี้
โจทก์และธนาคาร ก. ต่างเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา มีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินซึ่งจำเลยที่ 2 และ ผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินเพื่อเอาเงินแบ่งส่วนเฉลี่ยให้โจทก์และธนาคารเจ้าหนี้ เมื่อโจทก์เห็นว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีคิดส่วนเฉลี่ยแบ่งให้โจทก์ไม่ถูกต้อง โจทก์ย่อมมีสิทธิร้องคัดค้านการแบ่งส่วนเฉลี่ยนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 320 เพราะโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงจากการแบ่งส่วนเฉลี่ยของเจ้าพนักงานบังคับคดี
ผู้ร้องมีกรรมสิทธิในที่ดินที่ขายทอดตลาดร่วมกับจำเลยที่ 2 อยู่ 1 ใน 3 ส่วนและจำเลยที่ 2 มี 2 ใน 3 ส่วน แต่ผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ร่วมกันทำสัญญาค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของบุคคลอื่นต่อธนาคาร โดยมิได้แบ่งส่วนความรับผิดไว้ ต่อมาได้จำนองที่ดินที่ขายทอดตลาดนั้นให้เป็นประกันแก่ธนาคารด้วย เมื่อธนาคารฟ้องผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ยังได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมร่วมกันชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีให้แก่ธนาคาร จึงถือได้ว่าผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ร่วมกันซึ่งจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้เท่า ๆ กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 296 เจ้าพนักงานบังคับคดีจะคิดส่วนเฉลี่ยให้ผู้ร้องรับผิดเพียง 1 ใน 3 ตามส่วนแห่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมกันต้องรับผิดชอบหนี้เท่าเทียมกัน แม้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินไม่เท่ากัน
โจทก์และธนาคาร ก. ต่างเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา มีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินซึ่งจำเลยที่ 2 และ ผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินเพื่อเอาเงินแบ่งส่วนเฉลี่ยให้โจทก์และธนาคารเจ้าหนี้ เมื่อโจทก์เห็นว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีคิดส่วนเฉลี่ยแบ่งให้โจทก์ไม่ถูกต้อง โจทก์ย่อมมีสิทธิร้องคัดค้านการแบ่งส่วนเฉลี่ยนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 320เพราะโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงจากการแบ่งส่วนเฉลี่ยของเจ้าพนักงานบังคับคดี
ผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ขายทอดตลาดร่วมกับจำเลยที่ 2อยู่ 1 ใน 3 ส่วน และจำเลยที่ 2 มี 2 ใน 3 ส่วน แต่ผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ร่วมกันทำสัญญาค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของบุคคลอื่นต่อธนาคาร โดยมิได้แบ่งส่วนความรับผิดไว้ ต่อมาได้จำนองที่ดินที่ขายทอดตลาดนั้นให้เป็นประกันแก่ธนาคารด้วย เมื่อธนาคารฟ้องผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ยังได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมร่วมกันชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีให้แก่ธนาคาร จึงถือได้ว่าผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ร่วมกันซึ่งจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้เท่า ๆ กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 296 เจ้าพนักงานบังคับคดีจะคิดส่วนเฉลี่ยให้ผู้ร้องรับผิดเพียง 1 ใน 3 ตามส่วนแห่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินหาได้ไม่
of 2