คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.ที่ดิน ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3393/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินช่วงห้ามโอนเป็นโมฆะ แม้ต่อมามีการแก้ไขกฎหมายแล้ว
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 มีเจตนารมณ์จะปกป้องราษฎรให้มีที่ดินไว้ทำกินเป็นเวลาอย่างน้อยสิบปี ดังนั้น การที่โจทก์กับผู้มีสิทธิ ในที่ดินทำสัญญาอันมีผลเป็นการโอนสิทธิในที่ดินโดยส่งมอบ การครอบครองให้แก่กันภายในกำหนดระยะเวลาห้ามโอน แม้จะเรียกว่าสัญญาจะซื้อขายและระบุในสัญญาว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์เมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนแล้ว ก็เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้าม ชัดแจ้งโดยกฎหมาย สัญญานี้จึงเป็นโมฆะ และถึงแม้ต่อมา จะมีการยกเลิกความในมาตรา 31 มิให้ใช้บังคับกับที่ดินในคดีนี้ ก็ตามก็ไม่ทำให้นิติกรรมที่เป็นโมฆะแล้วนั้นกลับสมบูรณ์ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 318-329/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินไม่มีโฉนด การครอบครองก่อน/หลัง พ.ร.บ.ที่ดิน และการแย่งการครอบครองที่ดินของรัฐ
ที่พิพาทเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์โจทก์และจำเลยจึงอาจมีได้แต่สิทธิครอบครองที่ดินเมื่อโจทก์ได้เข้าครอบครองที่พิพาทภายหลังประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับแล้ว จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ส่วนจำเลยแม้จะครอบครองที่พิพาทมาก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ แต่ จำเลยก็หาได้แจ้งการครอบครองภายในกำหนดเวลาตามที่พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน ฯ มาตรา 5 บัญญัติไว้ไม่ โจทก์และจำเลยจึงต่างไม่มีกรรมสิทธิ์และ สิทธิครอบครองในที่พิพาทโดยชอบดังนั้น แม้โจทก์จะแย่ง การครอบครองที่พิพาทจากจำเลยเกินกว่าหนึ่งปีแล้ว ก็ เป็นการเข้ายึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิได้รับ อนุญาต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินเป็นของโจทก์ คงมีอำนาจฟ้องขอให้ปลดเปลื้องการรบกวนเท่านั้น
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาทจำเลยต่อสู้ว่ารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งให้ออกหลักฐานสิทธิครอบครองที่พิพาทแก่จำเลย หาก ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยต่อสู้ จำเลยอาจมี สิทธิครอบครองที่พิพาทดีกว่าโจทก์โดยการที่รัฐจัดที่ดิน ให้แก่จำเลยตามกฎหมาย จึงชอบที่จะฟังข้อเท็จจริงไป ก่อนหาควรด่วนงดสืบพยานไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 318-329/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินไม่มีโฉนด: การครอบครองก่อน/หลัง พ.ร.บ.ที่ดิน และผลของการยึดถือที่ดินของรัฐ
ที่พิพาทเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ โจทก์และจำเลยจึงอาจมีได้แต่สิทธิครอบครองที่ดิน เมื่อโจทก์ได้เข้าครอบครองที่พิพาทภายหลังประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับแล้วจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ส่วนจำเลยแม้จะครอบครองที่พิพาทมาก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ แต่จำเลยก็หาได้แจ้งการครอบครองภายในกำหนดเวลาตามที่พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน ฯ มาตรา 5 บัญญัติไว้ไม่ โจทก์และจำเลยจึงต่างไม่มีกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในที่พิพาทโดยชอบดังนั้น แม้โจทก์จะแย่งการครอบครองที่พิพาทจากจำเลยเกินกว่าหนึ่งปีแล้ว ก็เป็นการเข้ายึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิได้รับอนุญาต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินเป็นของโจทก์ คงมีอำนาจฟ้องขอให้ปลดเปลื้องการรบกวนเท่านั้น
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาท จำเลยต่อสู้ว่ารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งให้ออกหลักฐานสิทธิครอบครองที่พิพาทแก่จำเลย หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยต่อสู้ จำเลยอาจมีสิทธิครอบครองที่พิพาทดีกว่าโจทก์โดยการที่รัฐจัดที่ดิน ให้แก่จำเลยตามกฎหมาย จึงชอบที่จะฟังข้อเท็จจริงไปก่อนหาควรด่วนงดสืบพยานไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1343/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินหลัง พ.ร.บ.ประมวลกฎหมายที่ดิน: การแจ้งสิทธิครอบครองและการซื้อขายที่ถูกต้อง
บุคคลผู้จะได้มาซึ่งที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งทำไว้ก่อนพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ต้องจดแจ้งสัญญานั้นไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 120 วัน นับแต่วันพระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ เมื่อได้มีการซื้อขายไปตามสัญญานั้นแล้วจึงจะถือว่าผู้ซื้อมีสิทธิในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ มิฉะนั้นจะมีผลให้ที่ดินตกเป็นของรัฐ ซึ่งผู้ยึดถือครอบครองอาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน เว้นแต่บุคคลนั้นจะอ้างความคุ้มครองจากสิทธิครอบครองของผู้โอนที่ดินนั้นแก่ตนในฐานะผู้รับโอน (เทียบฎีกาที่ 1748/2505)
ในกรณีผู้โอนดังกล่าวได้มาซึ่งที่ดินโดยได้รับอนุญาตให้จับจองตามพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2479 แต่ยังมิได้รับคำรับรองว่าได้ทำประโยชน์แล้ว ก่อนวันที่พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ใช้บังคับนั้น ผู้โอนต้องขอคำรับรองภายใน 180 วันนับจากวันสิ้นสุดแห่งการจับจองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว หรือหากระยะเวลาดังกล่าวได้สิ้นสุดลงก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ก็ให้ยื่นคำขอต่อนายอำเภอภายใน 180 วันนับแต่วันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ มิฉะนั้นจะถือว่าที่ดินนั้นเป็นอันปลอดจากการจับจองและตกเป็นของรัฐ อันมีผลให้ถือว่า ผู้นั้นเข้าครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต ฉะนั้น การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้โอนกับจำเลยเมื่อปี 2501 โดยผู้โอนมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวจึงใช้ยันกันได้ระหว่างกันเท่านั้น จะใช้ยันต่อรัฐไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่อาจอ้างความคุ้มครองจากสิทธิของผู้โอนที่พิพาทแก่ตนดังกล่าวจำเลยจึงต้องมีความผิดฐานยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 (เทียบฎีกาที่ 1061/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1343/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินหลังประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ: การแจ้งสิทธิครอบครองและผลกระทบต่อการซื้อขาย
บุคคลผู้จะได้มาซึ่งที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งทำไว้ก่อนพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ต้องจดแจ้งสัญญานั้นไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 120 วัน นับแต่วันพระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ เมื่อได้มีการซื้อขายไปตามสัญญานั้นแล้วจึงจะถือว่าผู้ซื้อมีสิทธิในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ มิฉะนั้นจะมีผลให้ที่ดินตกเป็นของรัฐ ซึ่งผู้ยึดถือครอบครองอาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน เว้นแต่บุคคลนั้นจะอ้างความคุ้มครองจากสิทธิครอบครองของผู้โอนที่ดินนั้นแก่ตนในฐานะผู้รับโอน (เทียบฎีกาที่ 1748/2505)
ในกรณีผู้โอนดังกล่าวได้มาซึ่งที่ดินโดยได้รับอนุญาตให้จับจองตามพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2479 แต่ยังมิได้รับคำรับรองว่าได้ทำประโยชน์แล้ว ก่อนวันที่พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ใช้บังคับนั้น ผู้โอนต้องขอคำรับรองภายใน 180 วันนับจากวันสิ้นสุดแห่งการจับจองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว หรือหากระยะเวลาดังกล่าวได้สิ้นสุดลงก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ก็ให้ยื่นคำขอต่อนายอำเภอภายใน 180 วันนับแต่วันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ มิฉะนั้นจะถือว่าที่ดินนั้นเป็นอันปลอดจากการจับจองและตกเป็นของรัฐ อันมีผลให้ถือว่า ผู้นั้นเข้าครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต ฉะนั้น การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้โอนกับจำเลยเมื่อปี 2501 โดยผู้โอนมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวจึงใช้ยันกันได้ระหว่างกันเท่านั้น จะใช้ยันต่อรัฐไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่อาจอ้างความคุ้มครองจากสิทธิของผู้โอนที่พิพาทแก่ตนดังกล่าวจำเลยจึงต้องมีความผิดฐานยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 (เทียบฎีกาที่ 1061/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสงวนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การออกโฉนด/ใบเหยียบย่ำต้องเป็นไปตามกฤษฎีกา สิทธิทำประโยชน์ก่อน พ.ร.บ.ที่ดิน ไม่ทำให้สิทธิสมบูรณ์
ที่ดินรกร้างว่างเปล่าซึ่งนายอำเภอประกาศสงวนเมื่อวันที่30 ตุลาคม 2478 สำหรับใช้ดำเนินการเป็นทัณฑ์นิคมของกรมราชทัณฑ์นั้น. แม้ในประกาศสงวนจะมีความว่าห้ามราษฎรบุกรุกถากถางจับจอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน.แต่เมื่อต่อมามีพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.2478 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2479แล้ว. การถอนการหวงห้ามที่สงวนตามประกาศสงวนของนายอำเภอดังกล่าวจะทำได้ก็แต่โดยพระราชกฤษฎีกา.
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา.
โจทก์เข้าก่นสร้างที่พิพาทซึ่งเป็นที่สงวนเมื่อ พ.ศ.2483. ขอจับจองและได้รับใบเหยียบย่ำเมื่อ พ.ศ.2494. ครอบครองทำประโยชน์และได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์เมื่อ พ.ศ.2501. ไม่ทำให้โจทก์อ้างสิทธิขึ้นเป็นข้อต่อสู้แผ่นดินได้. ที่พิพาทยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่นั่นเอง. เจ้าพนักงานจะออกใบเหยียบย่ำหรือโฉนดบนที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินชนิดนี้ให้เอกชนไม่ได้.(อ้างฎีกาที่ 214/2480).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน: การสงวนที่ดินและการโอนสิทธิ การครอบครองโดยไม่ชอบ
ที่ดินรกร้างว่างเปล่าซึ่งนายอำเภอประกาศสงวนเมื่อวันที่30 ตุลาคม 2478 สำหรับใช้ดำเนินการเป็นทัณฑ์นิคมของกรมราชทัณฑ์นั้น แม้ในประกาศสงวนจะมีความว่าห้ามราษฎรบุกรุกถากถางจับจอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน แต่เมื่อต่อมามีพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.2478 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2479แล้ว การถอนการหวงห้ามที่สงวนตามประกาศสงวนของนายอำเภอดังกล่าวจะทำได้ก็แต่โดยพระราชกฤษฎีกา
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา
โจทก์เข้าก่นสร้างที่พิพาทซึ่งเป็นที่สงวนเมื่อ พ.ศ.2483 ขอจับจองและได้รับใบเหยียบย่ำเมื่อ พ.ศ.2494 ครอบครองทำประโยชน์และได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์เมื่อ พ.ศ.2501 ไม่ทำให้โจทก์อ้างสิทธิขึ้นเป็นข้อต่อสู้แผ่นดินได้ ที่พิพาทยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่นั่นเอง เจ้าพนักงานจะออกใบเหยียบย่ำหรือโฉนดบนที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินชนิดนี้ให้เอกชนไม่ได้
(อ้างฎีกาที่ 214/2480)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณสมบัติ: การสงวนที่ดินและการได้มาซึ่งสิทธิโดยชอบธรรม การออกเอกสารสิทธิบนที่ดินสาธารณสมบัติ
ที่ดินรกร้างว่างเปล่าซึ่งนายอำเภอประกาศสงวนเมื่อวันที่30 ตุลาคม 2478 สำหรับใช้ดำเนินการเป็นทัณฑ์นิคมของกรมราชทัณฑ์นั้นแม้ในประกาศสงวนจะมีความว่าห้ามราษฎรบุกรุกถากถางจับจอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานแต่เมื่อต่อมามีพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินพ.ศ.2478 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2479 แล้ว การถอนการหวงห้ามที่สงวนตามประกาศสงวนของนายอำเภอดังกล่าวจะทำได้ก็แต่โดยพระราชกฤษฎีกา
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา
โจทก์เข้าก่นสร้างที่พิพาทซึ่งเป็นที่สงวนเมื่อ พ.ศ.2483 ขอจับจองและได้รับใบเหยียบย่ำเมื่อ พ.ศ.2494 ครอบครองทำประโยชน์และได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์เมื่อ พ.ศ. 2501 ไม่ทำให้โจทก์อ้างสิทธิขึ้นเป็นข้อต่อสู้แผ่นดินได้ ที่พิพาทยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่นั่นเองเจ้าพนักงานจะออกใบเหยียบย่ำหรือโฉนดบนที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินชนิดนี้ให้เอกชนไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 214/2480)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินสาธารณะ: การครอบครองหลัง พ.ร.บ.ที่ดินใช้บังคับ, สิทธิรัฐเหนือกว่า, การบังคับคดี
ผู้ที่มิได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ. แม้จะแจ้งการครอบครองตามแบบ ส.ค.1 ไว้ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด.
เมื่อผู้แจ้งการครอบครองไม่มีสิทธิครอบครองที่ดิน. ย่อมจะมีการรับโอนหรือแย่งการครอบครองมิได้.
ผู้มีสิทธิในที่ดิน หากทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ หรือปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด. ที่ดินย่อมตกเป็นของรัฐ และเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน.
ผู้ที่ไม่มีสิทธิครอบครอง หากเข้ายึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมมีความผิดทางอาญา.
ราษฎรต่อราษฎรอาจพิพาทกันเองในเรื่องการครอบครองสาธารณสมบัติของแผ่นดินได้. แต่จะอ้างผลแห่งคำพิพากษาที่ตนชนะคดีนั้น หรือการครอบครองที่ผิดกฎหมายขึ้นใช้ยันรัฐหาได้ไม่.
ที่ดินของรัฐหรือแผ่นดินประเภทที่รกร้างว่างเปล่า.เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่มีสิทธินำยึดเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา. หากมีการยึด จังหวัดโดยผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจร้องขัดทรัพย์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินสาธารณะ: การครอบครองหลัง พ.ร.บ.ที่ดินใช้บังคับ และผลกระทบต่อการบังคับคดี
ผู้ที่มิได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ แม้จะแจ้งการครอบครองตามแบบส.ค.1 ไว้ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด
เมื่อผู้แจ้งการครอบครองไม่มีสิทธิครอบครองที่ดิน ย่อมจะมีการรับโอนหรือแย่งการครอบครองมิได้
ผู้มีสิทธิในที่ดิน หากทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ หรือปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด ที่ดินย่อมตกเป็นของรัฐ และเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ผู้ที่ไม่มีสิทธิครอบครอง หากเข้ายึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมมีความผิดทางอาญา
ราษฎรต่อราษฎรอาจพิพาทกันเองในเรื่องการครอบครองสาธารณสมบัติของแผ่นดินได้ แต่จะอ้างผลแห่งคำพิพากษาที่ตนชนะคดีนั้น หรือการครอบครองที่ผิดกฎหมายขึ้นใช้ยันรัฐหาได้ไม่
ที่ดินของรัฐหรือแผ่นดินประเภทที่รกร้างว่างเปล่า เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่มีสิทธินำยึดเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา หากมีการยึด จังหวัดโดยผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจร้องขัดทรัพย์ได้
of 8