พบผลลัพธ์ทั้งหมด 342 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9326/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินที่ได้รับใบจองก่อนบังคับใช้ประมวลกฎหมายที่ดินเป็นโมฆะ และการครอบครองภายหลังจึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิ
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 1 ให้คำนิยามคำว่า "ใบจอง"ว่าหมายถึง หนังสือแสดงการยอมให้เข้าครอบครองที่ดินชั่วคราว จากคำนิยามดังกล่าวถือได้ว่าทางราชการยังไม่ได้ให้สิทธิครอบครองอย่างเด็ดขาดแก่จำเลย จำเลยมีเพียงแต่สิทธิเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท โดยต้องปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับข้อกำหนด รวมทั้งเงื่อนไขที่ทางราชการกำหนด แต่ในระหว่างที่จำเลยได้รับอนุญาตให้จับจองที่ดินพิพาท จำเลยจะต้องอยู่ภายในบังคับของพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 8 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า ที่ดินที่ได้รับใบอนุญาตให้จับจอง...ผู้ได้รับอนุญาตจะโอนไม่ได้ เว้นแต่จะตกทอดโดยมรดก เมื่อการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างนาย ค. กับจำเลยยังอยู่ในระหว่างระยะเวลาห้ามโอนดังกล่าวนิติกรรมการซื้อขายและส่งมอบที่ดินพิพาทเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมายจึงเป็นโมฆะกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นแม้โจทก์ทั้งสองผู้เป็นทายาทจะครอบครองที่ดินพิพาทสืบต่อจากนาย ค. มานานเพียงใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง ที่ดินพิพาทยังเป็นของรัฐอันบุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน แต่โจทก์ทั้งสองเข้าครอบครองภายหลังจากประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับในปี 2497 แล้ว จึงมิใช่ผู้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ทั้งการยึดถือครอบครองของโจทก์ทั้งสองก็ไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการต้องห้ามตามประมวล-กฎหมายที่ดิน มาตรา 9 ย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่โจทก์ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9326/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินจากการซื้อขายที่ขัดต่อกฎหมาย และการครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 1 ให้คำนิยามคำว่า"ใบจอง" ว่าหมายถึง หนังสือแสดงการยอมให้เข้าครอบครองที่ดินชั่วคราว จากคำนิยามดังกล่าวถือได้ว่าทางราชการยังไม่ได้ให้สิทธิครอบครองอย่างเด็ดขาดแก่จำเลย จำเลยมีเพียงแต่สิทธิเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท โดยต้องปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด รวมทั้งเงื่อนไขที่ทางราชการกำหนด แต่ในระหว่างที่จำเลยได้รับอนุญาตให้จับจองที่ดินพิพาท จำเลยจะต้องอยู่ภายในบังคับของพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497มาตรา 8 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า ที่ดินที่ได้รับใบอนุญาตให้จับจอง ผู้ได้รับอนุญาตจะโอนไม่ได้ เว้นแต่จะตกทอดโดยมรดก เมื่อการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างนายค.กับจำเลยยังอยู่ในระหว่างระยะเวลาห้ามโอนดังกล่าวนิติกรรมการซื้อขายและส่งมอบที่ดินพิพาทเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมายจึงเป็นโมฆะกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นแม้โจทก์ทั้งสองผู้เป็นทายาทจะครอบครองที่ดินพิพาทสืบต่อจากนาย ค. มานานเพียงใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง ที่ดินพิพาทยังเป็นของรัฐอันบุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง>ตามประมวลกฎหมายที่ดิน แต่โจทก์ทั้งสองเข้าครอบครองภายหลังจากประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับในปี 2497 แล้ว จึงมิใช่ผู้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับทั้งการยึดถือครอบครองของโจทก์ทั้งสองก็ไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 ย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆแก่โจทก์ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1088/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้อมรั้วที่ดินสาธารณประโยชน์โดยเจตนาถือครอง ยึดถือที่ดินของรัฐ
จำเลยล้อมรั้วที่ดินแปลงพิพาทด้านติดถนนสาธารณะและด้านซึ่งติดกับที่ดินของ ม.และ พ.ตลอดแนว เมื่อ พ.กล่าวหาว่าจำเลยรุกล้ำที่ดินของ พ.ปลัดอำเภอ ที่ดินอำเภอ และคณะกรรมการหมู่บ้านได้ตรวจสอบแล้วว่าจำเลยไม่ได้รุกล้ำที่ดินของ พ. แต่ที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินของ ส. แม่ยายจำเลย หากแต่เป็นที่สาธารณประโยชน์ เมื่อปลัดอำเภอได้แจ้งให้จำเลยทราบ จำเลยรับปากว่าจะรื้อรั้วออกไป ครั้นครบกำหนดจำเลยยังมิได้ดำเนินการ จึงเป็นกรณีที่จำเลยเจตนาล้อมรั้วเพื่อแสดงขอบเขตหวงกันไม่ให้บุคคลอื่นเข้าไปใช้สอยถือครอง การกระทำของจำเลยเป็นการเข้าไปยึดถือที่ดินของรัฐ จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.ที่ดินมาตรา 9, 108 ทวิ วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1088/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้อมรั้วที่ดินสาธารณประโยชน์โดยเจตนาแสดงความเป็นเจ้าของ ถือเป็นการยึดถือที่ดินของรัฐ มีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน
จำเลยล้อมรั้วที่ดินแปลงพิพาทด้านติดถนนสาธารณะและด้านและด้านซึ่งติดกับที่ดินของม. และพ.ตลอดแนวเมื่อพ.กล่าวหาว่าจำเลยรุกล้ำที่ดินของพ. ปลัดอำเภอที่ดินอำเภอและคณะกรรมการหมู่บ้านได้ตรวจสอบแล้วว่าจำเลยไม่ได้รุกล้ำที่ดินของพ. แต่ที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินของส. แม่ยายจำเลยหากแต่เป็นที่สาธารณประโยชน์เมื่อปลัดอำเภอได้แจ้งให้จำเลยทราบจำเลยรับปากว่าจะรื้อรั้วออกไปครั้นครบกำหนดจำเลยยังมิได้ดำเนินการจึงเป็นกรณีที่จำเลยเจตนาล้อมรั้วเพื่อแสดงขอบเขตหวงกันไม่ให้บุคคลอื่นเข้าไปใช้สอยถือครองการกระทำของจำเลยเป็นการเข้าไปยึดถือที่ดินของรัฐจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา9,108ทวิวรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1088/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้อมรั้วที่ดินสาธารณประโยชน์โดยเจตนาเพื่อหวงกันถือครอง เป็นการยึดถือที่ดินของรัฐ มีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน
จำเลยล้อมรั้วที่ดินแปลงพิพาทด้านติดถนนสาธารณะและด้านซึ่งติดกับที่ดินของม.และพ. ตลอดแนวเมื่อพ. กล่าวหาว่าจำเลยรุกล้ำที่ดินของพ.ปลัดอำเภอที่ดินอำเภอและคณะกรรมการหมู่บ้านได้ตรวจสอบแล้วว่าจำเลยไม่ได้รุกล้ำที่ดินของพ. แต่ที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินของส. แม่ยายจำเลยหากแต่เป็นที่สาธารณประโยชน์เมื่อปลัดอำเภอได้แจ้งให้จำเลยทราบจำเลยรับปากว่าจะรื้อรั้วออกไปครั้นครบกำหนดจำเลยยังมิได้ดำเนินการจึงเป็นกรณีที่จำเลยเจตนาล้อมรั้วเพื่อแสดงขอบเขตหวงกันไม่ให้บุคคลอื่นเข้าไปใช้สอยถือครองการกระทำของจำเลยเป็นการเข้าไปยึดที่ดินของรัฐจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา9,108ทวิวรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1088/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้อมรั้วที่ดินสาธารณประโยชน์โดยเจตนาถือครองเข้าข่ายยึดครองที่ดินของรัฐ
จำเลยล้อมรั้วที่ดินแปลงพิพาทด้านติดถนนสาธารณะและด้านซึ่งติดกับที่ดินของม.และพ.ตลอดแนวเมื่อพ. กล่าวหาว่าจำเลยรุกล้ำที่ดินของ พ.ปลัดอำเภอ ที่ดินอำเภอ และคณะกรรมการหมู่บ้านได้ตรวจสอบแล้วว่าจำเลยไม่ได้รุกล้ำที่ดินของ พ.แต่ที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินของส. แม่ยายจำเลยหากแต่เป็นที่สาธารณประโยชน์ เมื่อปลัดอำเภอได้แจ้งให้จำเลยทราบ จำเลยรับปากว่าจะรื้อรั้วออกไป ครั้นครบกำหนดจำเลยยังมิได้ดำเนินการ จึงเป็นกรณีที่จำเลยเจตนาล้อมรั้วเพื่อแสดงขอบเขตหวงกันไม่ให้บุคคลอื่นเข้าไปใช้สอยถือครอง การกระทำของจำเลยเป็นการเข้าไปยึดที่ดินของรัฐ จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิ วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6670/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่า (ส.ค.1) โดยการสละการยึดถือครอบครอง สมบูรณ์ตามกฎหมาย
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าที่มีเพียงแบบแจ้งการครอบครองที่ดินหรือ ส.ค.1 การให้ซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจึงมิอาจจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน และการให้ในลักษณะนี้สมบูรณ์โดยการส่งมอบการครอบครองที่ดินให้ จึงมิได้ตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 การโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ของ ห. ตามนิติกรรมการให้ในบันทึกถ้อยคำเอกสารหมาย ล.2 เป็นเรื่องที่ ห.ผู้ให้แสดงเจตนาสละการยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทที่ ห.ยึดถือครอบครองอยู่เดิมให้แก่จำเลยที่ 1 การครอบครองของ ห.ย่อมสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377 วรรคแรกจำเลยที่ 1 จึงได้ซึ่งสิทธิครอบครองตามบันทึกถ้อยคำดังกล่าวกรณีมิใช่เป็นการโอนสิทธิครอบครองตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคสอง หรือมาตรา 9 แต่อย่างใด การสละการยึดถือครอบครองในลักษณะเช่นนี้ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย การให้ที่ดินพิพาทของห. แก่จำเลยที่ 1 จึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1378
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3521/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: เทศบาลมีหน้าที่ดูแลรักษาพื้นที่สาธารณะ แต่ไม่ถือเป็นผู้เสียหายโดยตรง
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 229,360พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 มาตรา 117,118,119,120 ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิ เป็นความผิดที่กระทำต่อรัฐเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะฟ้องขอให้ลงโทษผู้กระทำผิดดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 28(1) และพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(1)เอกชนจะฟ้องได้ต่อเมื่อได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ แม้โจทก์เป็นเทศบาลเมืองมีหน้าที่ต้องจัดให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 50(2),53 และกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้โจทก์มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่อยู่ในเขตเทศบาล ทั้งอธิบดีกรมเจ้าท่าได้มอบอำนาจเจ้าท่าตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 ให้โจทก์ดูแลรักษาลำน้ำในเขตเทศบาล ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดดังกล่าว โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3521/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาต่อรัฐ: เทศบาลไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 229,360 พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 มาตรา 117,118,120 และประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิ เป็นความผิดที่กระทำต่อรัฐเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะฟ้องร้องขอให้ลงโทษผู้กระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(1)และพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(1) เอกชนจะฟ้องได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ แม้โจทก์จะเป็นเทศบาลและมีหน้าที่บำรุงทางบกทางน้ำ ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496มาตรา 50(2),53 มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษา คุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่อยู่ในเขตเทศบาลตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย และดูแลรักษาลำน้ำในเขตเทศบาลตามที่อธิบดีกรมเจ้าท่ามอบหมาย ตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2366/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบพระราชกฤษฎีกาต่อความผิดบุกรุกที่ดินสาธารณะ และการพิจารณาโทษตามกฎหมายที่ใช้บังคับ
ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแต่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลได้มีพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินพิพาทดังนั้น ที่ดินพิพาทย่อมไม่เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับแต่ที่ดินพิพาทยังคงมีสภาพเป็นที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินหาได้เปลี่ยนแปลงตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่จำเลยทั้งหกบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินพิพาท จึงยังมีความผิดอยู่ แต่เมื่อที่ดินพิพาทมิได้มีสภาพเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน จึงเป็นกรณีกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าทางใดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 จำเลยทั้งหกจึงไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสอง แต่ต้องรับโทษตามมาตรา 108 ทวิ วรรคหนึ่ง ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่า พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวหาได้บัญญัติให้การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดไม่จึงไม่มีผลให้จำเลยทั้งหกพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 การที่นายอำเภอซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ดูแลที่ดินพิพาทดังกล่าวตามกฎหมายมีหนังสือสั่งให้จำเลยที่ 4 และที่ 6 ออกไปจากที่ดินพิพาทภายในกำหนดจำเลยที่ 4 และที่ 6 ทราบแล้วเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามโดยไม่มีเหตุและข้อแก้ตัวอันสมควรการกระทำของจำเลยที่ 4 และที่ 6 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา368 วรรคหนึ่ง ความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยที่ 4และที่ 6 คนละ 400 บาท จึงเป็นคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 แต่เมื่อจำเลยที่ 4 และที่ 5อุทธรณ์รวมมากับความผิดฐานอื่นที่ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานนี้ซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาในความผิดฐานนี้ได้