คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 332

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2137/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: ศาลฎีกายืนโทษ แต่แก้คำพิพากษาเรื่องการโฆษณาคำขออภัย
ป.อ. มาตรา 332 (2) ให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณาคำพิพากษาเท่านั้น มิได้มีกฎหมายให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณาคำขออภัยด้วย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 โฆษณาคำขออภัยโจทก์จึงเป็นการลงโทษจำเลยที่ 2 นอกเหนือจากโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ต้องห้ามตาม ป.อ มาตรา 2 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 785/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การพาดหัวข่าวที่เป็นเท็จสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียง
ในทางพิจารณาของโจทก์และจำเลยไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยถูกจับกุมสอบสวนหรือดำเนินคดี ฉะนั้น การพาดหัวข่าวทางหนังสือพิมพ์ ด. รายสัปดาห์ ในหน้าแรกพร้อมภาพใบหน้าของโจทก์มีข้อความว่า "ลับ ชี้สำนวนความผิดจับ "ธ"(ซึ่งหมายถึงโจทก์)" ย่อมทำให้ผู้อ่านโดยทั่วไปเข้าใจว่าโจทก์ถูกจับกุมสอบสวนดำเนินคดีซึ่งมิใช่ข้อความจริง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชังได้
โจทก์ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและเป็นประธานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเวลาที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์มีมติให้กล่าวโทษดำเนินคดีแก่ ส. กับพวก ซึ่งในวันที่มีมติโจทก์ก็เข้าร่วมประชุมในฐานะประธานด้วย ดังนั้น โจทก์ย่อมไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบว่ามติดังกล่าวเป็นเรื่องของคณะกรรมการไม่เกี่ยวกับโจทก์ได้ แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์กับ ส. ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกัน และฝ่ายตรวจสอบของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้ติดตามตรวจสอบการปั่นหุ้นของกลุ่มอื่น ๆ นอกเหนือจากกลุ่มของ ส.ด้วยไม่ใช่เลือกปฏิบัติเฉพาะกลุ่มของส. เพียงกลุ่มเดียวแสดงว่าการกล่าวโทษร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่ ส. มิใช่การกระทำที่ลำเอียงหรือเลือกปฏิบัติ ฉะนั้น การที่จำเลยเสนอข่าวว่าโจทก์ให้ดำเนินคดีจับ ส.พร้อมยัดข้อหาเป็นการใช้อำนาจทำเพื่อเพื่อน ซึ่งเป็นการปฏิบัติโดยลำเอียง ย่อมทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตและไม่มีคุณธรรมเลือกปฏิบัติมุ่งช่วยเหลือพวกพ้อง ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง การกระทำของจำเลยมิใช่การติชมด้วยความเป็นธรรมหรือเป็นการแสดงข้อความโดยสุจริต
จำเลยต้องรับผิดในฐานะบรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณาหนังสือพิมพ์ ด. รายสัปดาห์ โดยที่จำเลยมิได้เป็นผู้ประพันธ์ข้อความ หนังสือพิมพ์ดังกล่าวมักเสนอข่าวใหญ่เกี่ยวกับธุรกิจและออกเป็นรายสัปดาห์ซึ่งมีผู้อ่านเฉพาะกลุ่ม การให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาทั้งในหนังสือพิมพ์ประเภททั่วไปและธุรกิจ ทั้งรายวันและรายสัปดาห์ย่อมไม่เหมาะสมกับพฤติการณ์แห่งการกระทำผิดของจำเลย สมควรให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ ด.รายสัปดาห์และหนังสือพิมพ์ ผ. รายสัปดาห์ เพียง 2 ฉบับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การติชมด้วยความสุจริต vs. ใส่ความทำลายชื่อเสียง และขอบเขตการโฆษณาคำพิพากษา
ข้อความที่จำเลยที่ 1 ลงพิมพ์โฆษณาว่าโจทก์เรียกเงิน 5 ล้าน ในการถ่ายภาพนู้ด นั้น จำเลยที่ 1 มิได้อ้างถึงข้อความ จริงอันใดเลยในการแสดงความคิดเห็นเช่นนั้น ทั้งไม่มีข้อความ ที่แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 1 ที่จะปกป้องโจทก์ แต่กลับ เป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1 มุ่งประสงค์ใส่ความ เพื่อทำลายชื่อเสียงของโจทก์ ทำให้ผู้ที่ไม่ทราบความจริง เข้าใจผิด ดูหมิ่น เกลียดชังโจทก์ อันส่งผลกระทบต่อเกียรติยศและสถานะในทางสังคมของโจทก์หาใช่เป็นการติ ชมด้วยความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำไม่ จึงเป็นการใส่ความ หมิ่นประมาทโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่ได้รับการยกเว้นความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 การที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 332 กำหนดให้คดี หมิ่นประมาทซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ศาลอาจสั่ง (2) ให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมด หรือแต่บางส่วนในหนังสือพิมพ์ หนึ่งฉบับหรือหลายฉบับ ครั้งเดียวหรือหลายครั้ง โดยให้จำเลย เป็นผู้ชำระค่าโฆษณานั้นเป็นการให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณา คำพิพากษาเท่านั้น มิได้มีกฎหมายให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณา คำขออภัยด้วย ฉะนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำขออภัยด้วย จึงเป็นการลงโทษจำเลยที่ 1 นอกเหนือจากโทษ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคหนึ่ง ทั้งการที่สั่งให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำพิพากษา ของศาลทั้งหมดนั้นก็เกินความจำเป็น สมควรให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำพิพากษาของศาลโดยย่อพอได้ใจความ โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่า บริษัท ข.จำเลยที่ 2 เป็นผู้ใส่ความโจทก์หรือมีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำ ความผิดหรือรู้ว่าข้อความที่ตีพิมพ์เป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ ดังนั้น ลำพังแต่เพียงได้ความว่า จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของและ จำหน่ายหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวให้แก่ประชาชนทั่วไป จึงไม่พอรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การติชมด้วยความเป็นธรรม vs. ใส่ความเพื่อทำลายชื่อเสียง และขอบเขตการลงโทษ
จำเลยที่ 1 เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา หนังสือพิมพ์รายวัน ข. จำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคล ประเภทบริษัทจำกัด เป็นเจ้าของและผู้จำหน่าย หนังสือพิมพ์รายวัน ข. แก่ประชาชนทั่วไป จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันพิมพ์และโฆษณาข้อความลงในหนังสือพิมพ์ ข. ในคอลัมน์ บันเทิงว่า "จิกจักรวาล!หึ่งปุ๋ยโอเค.นู้ด!5 ล้าน.!" มีใจความในเนื้อข่าวว่า "กระแสคลั่งนู้ดโหมหนักไม่เว้นกระทั่งนางงามจักรวาล"ปุ๋ย" ภ.ปุ๋ยยกตำแหน่งหรูการันตีขูดค่าแก้ผ้า 5 ล้านทางนิตยสาร "มิส"นู้ดอัลบัมได้ส่งตัวแทนไปทาบทาม "ปุ๋ย" ภ.นางสาวไทยและนางงามจักรวาล ปี 2531เพื่อมาถ่ายอัลบัม ด้วย แต่ปรากฏว่าทางปุ๋ย เรียกค่าตัวเพื่อการนี้สูงถึง 5,000,000 บาท จึงจะยอมถ่ายอย่างตอนนี้มิสไปติดต่อปุ๋ยใช่ไหมปุ๋ยโอเค. แต่เงินไม่ถึงก็คอยดูต่อไปแล้วกัน เดี๋ยว เล่มอื่นก็เอาไปถ่ายจนได้เงินแค่ 5,000,000 บาท ถ้าจะทำกันจริง ๆ ต้องมีคนกล้าเสี่ยงแน่นอน" โดยข้อความที่จำเลยที่ 1 ลงพิมพ์โฆษณา จำเลยที่ 1 มิได้อ้างถึงข้อความจริงอันใด เลยในการแสดงความคิดเห็นเช่นนั้น ทั้งไม่ได้มีข้อความที่แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 1 ที่จะปกป้องโจทก์แต่กลับเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1มุ่งประสงค์ใส่ความเพื่อทำลายชื่อเสียงของโจทก์ทำให้ผู้ที่ไม่ทราบความจริงเกิดเข้าใจผิด ดูหมิ่นเกลียดชัง โจทก์อันส่งผลกระทบต่อเกียรติ และสถานะในทางสังคมของโจทก์หาใช่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอัน เป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำไม่จึงเป็นการใส่ความ หมิ่นประมาทโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ได้รับการยกเว้น ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 332(2) บัญญัติว่าในคดีหมิ่นประมาทซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดศาลอาจสั่งให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมด หรือแต่ บางส่วนในหนังสือพิมพ์หนึ่งฉบับหรือหลายฉบับ ครั้งเดียว หรือหลายครั้ง โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา เห็นได้ว่า ให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณาคำพิพากษาเท่านั้น มิได้มีกฎหมายให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณาคำขออภัยด้วย การที่ศาลล่างทั้งสองสั่งให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำขออภัย ต่อโจทก์ด้วย จึงเป็นการลงโทษจำเลยที่ 1 นอกเหนือ จากโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคหนึ่ง จึงไม่ชอบ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของและผู้จำหน่ายหนังสือพิมพ์รายวัน ข. ที่จำเลยที่เป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์โฆษณา เป็นผู้ใส่ความ โจทก์หรือมีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิด หรือรู้ว่าข้อความที่ตีพิมพ์เป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ ลำพังแต่เพียงได้ความว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของ และผู้จำหน่ายหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวให้แก่ประชาชนทั่วไป ไม่เพียงพอรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 จำคุก 3 เดือนและปรับ 50,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษ ไว้มีกำหนด 2 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในส่วนนี้ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ขอให้ลงโทษสถานเบาเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกา ของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: ศาลจำกัดอำนาจการสั่งให้ขอโทษ และวินิจฉัยความรับผิดของเจ้าของหนังสือพิมพ์
จำเลยที่ 1 เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์รายวันข. จำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด เป็นเจ้าของและผู้จำหน่ายหนังสือพิมพ์รายวัน ข.แก่ประชาชนทั่วไป จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันพิมพ์และโฆษณาข้อความลงในหนังสือพิมพ์ ข. ในคอลัมน์บันเทิงว่า "จิกจักรวาล! หึ่ง ปุ๋ย โอเค.นู้ด! 5 ล้าน.!"มีใจความในเนื้อข่าวว่า "กระแสคลั่งนู้ดโหมหนัก ไม่เว้นกระทั่งนางงามจักรวาล"ปุ๋ย" ภ.... ปุ๋ยยกตำแหน่งหรูการันตีขูดค่าแก้ผ้า 5 ล้าน ทางนิตยสาร "มิส"นู้ดอัลบัมได้ส่งตัวแทนไปทาบทาม "ปุ๋ย" ภ.นางสาวไทยและนางงามจักรวาลปี 2531เพื่อมาถ่ายอัลบัมด้วย แต่ปรากฎว่าทางปุ๋ยเรียกค่าตัวเพื่อการนี้สูงถึง 5,000,000บาท จึงจะยอมถ่าย... อย่างตอนนี้มิสไปติดต่อปุ๋ยใช่ไหม ปุ๋ยโอเค. แต่เงินไม่ถึงก็คอยดูต่อไปแล้วกัน เดี๋ยวเล่มอื่นก็เอาไปถ่ายจนได้ เงินแค่ 5,000,000 บาทถ้าจะทำกันจริง ๆ ต้องมีคนกล้าเสี่ยงแน่นอน" โดยข้อความที่จำเลยที่ 1 ลงพิมพ์โฆษณา จำเลยที่ 1 มิได้อ้างถึงข้อความจริงอันใดเลยในการแสดงความคิดเห็นเช่นนั้น ทั้งไม่ได้มีข้อความที่แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 1 ที่จะปกป้องโจทก์แต่กลับเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1 มุ่งประสงค์ใส่ความเพื่อทำลายชื่อเสียงของโจทก์ ทำให้ผู้ที่ไม่ทราบความจริงเกิดเข้าใจผิด ดูหมิ่นเกลียดชังโจทก์อันส่งผลกระทบต่อเกียรติและสถานะในทางสังคมของโจทก์หาใช่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำไม่จึงเป็นการใส่ความหมิ่นประมาทโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ได้รับการยกเว้นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 329
ตาม ป.อ.มาตรา 332 (2) บัญญัติว่า ในคดีหมิ่นประมาทซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ศาลอาจสั่งให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมด หรือแต่บางส่วนในหนังสือพิมพ์หนึ่งฉบับหรือหลายฉบับ ครั้งเดียวหรือหลายครั้ง โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา เห็นได้ว่าให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณาคำพิพากษาเท่านั้น มิได้มีกฎหมายให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณาคำขออภัยด้วย การที่ศาลล่างทั้งสองสั่งให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำขออภัยต่อโจทก์ด้วย จึงเป็นการลงโทษจำเลยที่ 1 นอกเหนือจากโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายต้องห้ามตาม ป.อ.มาตรา 2 วรรคหนึ่ง จึงไม่ชอบ
เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของและผู้จำหน่ายหนังสือพิมพ์รายวัน ข. ที่จำเลยที่เป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์โฆษณา เป็นผู้ใส่ความโจทก์หรือมีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดหรือรู้ว่าข้อความที่ตีพิมพ์เป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ ลำพังแต่เพียงได้ความว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของและผู้จำหน่ายหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวให้แก่ประชาชนทั่วไป ไม่เพียงพอรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 จำคุก 3 เดือน และปรับ 50,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในส่วนนี้ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ขอให้ลงโทษสถานเบา เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1ในข้อนี้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2694/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการโฆษณาคำพิพากษาในคดีหมิ่นประมาท ศาลอนุญาตให้โฆษณาบางส่วนได้หากไม่ได้ระบุให้โฆษณาฉบับเต็ม
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 332 ศาลจะให้ โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษามิได้ระบุให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งฉบับในหนังสือพิมพ์การที่จำเลยโฆษณาคำพิพากษาแต่บางส่วนในหนังสือพิมพ์โดยมีข้อความว่า จำเลยหมิ่นประมาทโจทก์ทั้งสองและคดีถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง จึงเป็นการโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ตรงตามคำพิพากษาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาททางธุรกิจ: การใส่ความให้เสียชื่อเสียงจากการกล่าวหาผิดสัญญาต่อสมาชิกสมาคม
จำเลยทั้งสองมีจดหมายแจ้งไปถึงเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนฮังการี เพื่อขอความร่วมมือจากสมาชิกคนหนึ่งในสมาคมจำเลยที่ 1 ให้ยกเลิกการสั่งจองห้องพักที่ทำไว้กับโจทก์ที่ 1มีข้อความว่า "...เมื่อเร็ว ๆ นี้ทางสมาคมของเรา ได้ดำเนินคดีต่อผู้บริหารกิจการโรงแรมเพรสิเดนท์คือบริษัทรีเจนท์ไทยแลนด์จำกัด เรา หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านคงจะไม่ต้องมีประสบการณ์กับความกลับกลอกดัง ที่เรา ได้ประสบติดต่อกันมา...เจ้าของโรงแรมได้ฟ้องร้องดำเนินคดีต่อบริษัทรีเจนท์ไทยแลนด์ จำกัด เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหากเมื่อปีที่แล้วนี้ ด้วยเหตุที่บริษัทผิดนัดไม่จดทะเบียนการเช่า ภายในระยะเวลาที่กำหนด..." คำว่ากลับกลอกมีความหมายในทางกล่าวหาว่าโจทก์ที่ 1 ไม่น่าเชื่อถือไว้วางใจเป็นผู้ประพฤติผิดสัญญาทั้งโจทก์ที่ 1 ยังถูกฟ้องฐานผิดสัญญา ทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกขาดความเชื่อ มั่นในการรักษาคำมั่นสัญญาของโจทก์ที่ 1เป็นการทำให้โจทก์ที่ 1 ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจการค้าได้รับความเสื่อมเสียในชื่อ เสียงและเกียรติคุณ หาใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต เพื่อป้องกันตน หรือส่วนได้เสียตามคลองธรรมแต่อย่างใดไม่ การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการใส่ความให้โจทก์ที่ 1เสื่อมเสียชื่อ เสียงทางการประกอบกิจการค้า แต่การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นลักษณะแจ้งหรือไขข่าวไปยังสมาชิกของสมาคมเท่านั้นไม่ถึงกับกระจายข่าวไปสู่สาธารณชนทั่วไป ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2กระทำผิดมาก่อน จึงควรลงโทษสถานเบา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาททางธุรกิจ: การใส่ความให้เสียชื่อเสียงจากการแจ้งข้อมูลไปยังสมาชิกสมาคม
จำเลยทั้งสองมีจดหมายแจ้งไปถึงเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนฮังการี เพื่อขอความร่วมมือจากสมาชิกคนหนึ่งในสมาคมจำเลยที่ 1 ให้ยกเลิกการสั่งจองห้องพักที่ทำไว้กับโจทก์ที่ 1 มีข้อความว่า '..เมื่อเร็ว ๆ นี้ทางสมาคมของเราได้ดำเนินคดีต่อผู้บริหารกิจการโรงแรมเพรสิเดนท์คือบริษัทรีเจนท์ไทยแลนด์จำกัดเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านคงจะไม่ต้องมีประสบการณ์กับความกลับกลอกดังที่เราได้ประสบติดต่อกันมา... เจ้าของโรงแรมได้ฟ้องร้องดำเนินคดีต่อบริษัทรีเจนท์ไทยแลนด์ จำกัดเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหากเมื่อปีที่แล้วนี้ด้วยเหตุที่บริษัทผิดนัดไม่จดทะเบียนการเช่าภายในระยะเวลาที่กำหนด ' คำว่ากลับกลอกมีความหมายในทางกล่าวหาว่าโจทก์ที่ 1 ไม่น่าเชื่อถือไว้วางใจเป็นผู้ประพฤติผิดสัญญาทั้งโจทก์ที่ 1 ยังถูกฟ้องฐานผิดสัญญา ทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกขาดความเชื่อมั่นในการรักษาคำมั่นสัญญาของโจทก์ที่ 1 เป็นการทำให้โจทก์ที่ 1 ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจการค้าได้รับความเสื่อมเสียในชื่อเสียงและเกียรติคุณหาใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต เพื่อป้องกันตนหรือส่วนได้เสียตามคลองธรรมแต่อย่างใดไม่ การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการใส่ความให้โจทก์ที่ 1 เสื่อมเสียชื่อเสียงทางการประกอบกิจการค้า แต่การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นลักษณะแจ้งหรือไขข่าวไปยังสมาชิกของสมาคมเท่านั้น ไม่ถึงกับกระจายข่าวไปสู่สาธารณชนทั่วไป ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 กระทำผิดมาก่อน จึงควรลงโทษสถานเบา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2972-2973/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดร่วมกันในการหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: โจทก์ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้กระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 4 จึงลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 220 ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการหนังสือพิมพ์ อ. โดยจำเลยที่ 3 เป็นที่ปรึกษา จึงเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่า จำเลยที่ 2 มีหน้าที่เป็นผู้จัดการเกี่ยวกับการจัดพิมพ์และจำหน่ายเพื่อโฆษณาเผยแพร่หนังสือพิมพ์นั้น ซึ่งต้องได้อ่านข้อความในหนังสือพิมพ์ด้วย หากไม่เหมาะสมจำเลยที่ 2 ก็ไม่ต้องเผยแพร่ สำหรับจำเลยที่ 3 เป็นที่ปรึกษาย่อมมีหน้าที่กลั่นกรองข้อความที่ออกพิมพ์โฆษณา ให้ข้อเสนอและข้อคิดเห็น จึงเป็นที่แน่นอนว่าจำเลยที่ 3 ต้องได้อ่านและรู้ข้อความก่อนพิมพ์ออกจำหน่าย โจทก์ไม่ต้องนำสืบก็รับฟังได้ หากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ร่วมมือกับจำเลยที่ 1 และที่ 4 แล้ว ข้อความในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวก็ไม่มีทางโฆษณาแพร่หลาย จึงเป็นผู้กระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 4 โดยแบ่งหน้าที่กันทำ เช่นนี้ เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์เท่านั้น จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2972-2973/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดร่วมกันในการพิมพ์และเผยแพร่ข้อความหมิ่นประมาท การพิสูจน์เจตนาและบทบาทของผู้เกี่ยวข้อง
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยที่2และที่3โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าจำเลยที่2และที่3ได้กระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่1และที่4จึงลงโทษจำเลยที่2และที่3ไม่ได้โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา220ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่2เป็นผู้จัดการหนังสือพิมพ์อ.โดยจำเลยที่ 3เป็นที่ปรึกษาจึงเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่าจำเลยที่2มีหน้าที่เป็นผู้จัดการเกี่ยวกับการจัดพิมพ์และจำหน่ายเพื่อโฆษณาเผยแพร่หนังสือพิมพ์นั้นซึ่งต้องได้อ่านข้อความในหนังสือพิมพ์ด้วยหากไม่เหมาะสมจำเลยที่2ก็ไม่ต้องเผยแพร่สำหรับจำเลยที่3เป็นที่ปรึกษาย่อมมีหน้าที่กลั่นกรองข้อความที่ออกพิมพ์โฆษณาให้ข้อเสนอและข้อคิดเห็นจึงเป็นที่แน่นอนว่าจำเลยที่3ต้องได้อ่านและรู้ข้อความก่อนพิมพ์ออกจำหน่ายโจทก์ไม่ต้องนำสืบก็รับฟังได้หากจำเลยที่2และที่3ไม่ร่วมมือกับจำเลยที่1และที่4แล้วข้อความในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวก็ไม่มีทางโฆษณาแพร่หลายจึงเป็นผู้กระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่1และที่4โดยแบ่งหน้าที่กันทำเช่นนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์เท่านั้นจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
of 4