พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2972-2973/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดร่วมกันในการหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: โจทก์ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้กระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 4 จึงลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 220 ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการหนังสือพิมพ์ อ. โดยจำเลยที่ 3 เป็นที่ปรึกษา จึงเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่า จำเลยที่ 2 มีหน้าที่เป็นผู้จัดการเกี่ยวกับการจัดพิมพ์และจำหน่ายเพื่อโฆษณาเผยแพร่หนังสือพิมพ์นั้น ซึ่งต้องได้อ่านข้อความในหนังสือพิมพ์ด้วย หากไม่เหมาะสมจำเลยที่ 2 ก็ไม่ต้องเผยแพร่ สำหรับจำเลยที่ 3 เป็นที่ปรึกษาย่อมมีหน้าที่กลั่นกรองข้อความที่ออกพิมพ์โฆษณา ให้ข้อเสนอและข้อคิดเห็น จึงเป็นที่แน่นอนว่าจำเลยที่ 3 ต้องได้อ่านและรู้ข้อความก่อนพิมพ์ออกจำหน่าย โจทก์ไม่ต้องนำสืบก็รับฟังได้ หากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ร่วมมือกับจำเลยที่ 1 และที่ 4 แล้ว ข้อความในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวก็ไม่มีทางโฆษณาแพร่หลาย จึงเป็นผู้กระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 4 โดยแบ่งหน้าที่กันทำ เช่นนี้ เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์เท่านั้น จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การพาดหัวข่าวที่เป็นความเท็จ และการแก้ข่าวที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขกฎหมาย
การที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐพาดหัวข่าวว่า 'เมีย ผวจ. เต้นก๋าขู่ประธานสภา บุกโรงพัก จวกแหลก โมโหสารภาพ' เป็นข้อความแสดงให้เห็นภาพพจน์ของโจทก์แสดงกิริยากระโดดฝ่าขึ้นไปบนสถานีตำรวจทั้งที่มีข้อห้ามโดยไม่เคารพกฎเกณฑ์ข้อบังคับ และแสดงอำนาจไม่เกรงกลัวบุคคลใดเข้าไปพูดกับประธานสภาด้วยกิริยาวาจาที่แสดงอาการโมโหในลักษณะตวาดหรือคำรามด้วยถ้อยคำที่ทำให้ประธานสภากลัวว่าจะต้องได้รับอันตรายแก่กายอันเป็นกิริยาวาจาที่สุภาพชนไม่พึงทำ ทั้งยังเป็นการแสดงอำนาจฝ่าฝืนข้อห้ามข้อบังคับของทางราชการ บุกรุกขึ้นไปบนสถานที่ราชการโดยไม่มีสิทธิกระทำโดยชอบ ซึ่งข่าวนี้ไม่เป็นความจริงและเป็นการใส่ความโจทก์จึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์
การแก้ข่าวอันจะทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดและสิทธิการฟ้องคดีของโจทก์ระงับไปตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41, 43 นั้น นอกจากจะต้องลงพิมพ์ในฉบับที่จะออกโฆษณาถัดไปหรือต่อจากเวลาที่ได้รับคำขอให้แก้ข่าวแล้วข้อความที่แก้นั้นจะต้องอยู่ในหน้าเดียวกับเรื่องอันเป็นเหตุให้แก้โดยมีขนาดแนว (คอลัมน์) และตัวอักษรในเนื้อเรื่องเช่นเดียวกัน คดีนี้ปรากฏว่าข้อความที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐลงพิมพ์โฆษณาหมิ่นประมาทโจทก์ ลงพาดหัวข่าวในหน้า 1 ด้วยขนาดอักษรโตที่สุดโตที่สุดในหน้าหนึ่งจำนวน 2 บรรทัด และด้วยขนาดอักษรโตปรมาณครึ่งหนึ่งของขนาดอักษรโตที่สุดดังกล่าวอีก 1 บรรทัด ส่วนข้อความที่จำเลยอ้างว่าเป็นการแก้ข่าวนั้น กลับลงพิมพ์โฆษณาในหน้า 16 ด้วยขนาดอักษรตัวเล็กเท่าตัวอักษรทั่วๆ ไปที่บรรยายเนื้อหาของเรื่องในหนังสือพิมพ์นั้น จึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 3 สิทธิการฟ้องของโจทก์ทั้งทางแพ่งและทางอาญายังไม่ระงับ
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษปรับจำเลยที่1 ที่ 2 คนละ 2,000 บาท สถานเดียว จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฎีกาว่าไม่ได้สมคบกับจำเลยที่ 3 กระทำผิดตามฟ้อง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
การแก้ข่าวอันจะทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดและสิทธิการฟ้องคดีของโจทก์ระงับไปตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41, 43 นั้น นอกจากจะต้องลงพิมพ์ในฉบับที่จะออกโฆษณาถัดไปหรือต่อจากเวลาที่ได้รับคำขอให้แก้ข่าวแล้วข้อความที่แก้นั้นจะต้องอยู่ในหน้าเดียวกับเรื่องอันเป็นเหตุให้แก้โดยมีขนาดแนว (คอลัมน์) และตัวอักษรในเนื้อเรื่องเช่นเดียวกัน คดีนี้ปรากฏว่าข้อความที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐลงพิมพ์โฆษณาหมิ่นประมาทโจทก์ ลงพาดหัวข่าวในหน้า 1 ด้วยขนาดอักษรโตที่สุดโตที่สุดในหน้าหนึ่งจำนวน 2 บรรทัด และด้วยขนาดอักษรโตปรมาณครึ่งหนึ่งของขนาดอักษรโตที่สุดดังกล่าวอีก 1 บรรทัด ส่วนข้อความที่จำเลยอ้างว่าเป็นการแก้ข่าวนั้น กลับลงพิมพ์โฆษณาในหน้า 16 ด้วยขนาดอักษรตัวเล็กเท่าตัวอักษรทั่วๆ ไปที่บรรยายเนื้อหาของเรื่องในหนังสือพิมพ์นั้น จึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 3 สิทธิการฟ้องของโจทก์ทั้งทางแพ่งและทางอาญายังไม่ระงับ
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษปรับจำเลยที่1 ที่ 2 คนละ 2,000 บาท สถานเดียว จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฎีกาว่าไม่ได้สมคบกับจำเลยที่ 3 กระทำผิดตามฟ้อง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การพาดหัวข่าวและแก้ไขข่าวที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายการพิมพ์
การที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐพาดหัวข่าวว่า'เมียผวจ.เต้นก๋าขู่ประธานสภาบุกโรงพักจวกแหลกโมโหสารภาพ'เป็นข้อความแสดงให้เห็นภาพพจน์ของโจทก์แสดงกิริยากระโดฝ่าขึ้นไปบนสถานีตำรวจทั้งที่มีข้อห้ามโดยไม่เคารพกฎเกณฑ์ข้อบังคับและแสดงอำนาจไม่เกรงกลัวบุคคลใดเข้าไปพูดกับประธานสภาด้วยกิริยาวาจาที่แสดงอาการโมโหในลักษณะตวาดหรือคำรามด้วยถ้อยคำที่ทำให้ประธานสภากลัวว่าจะต้องได้รับอันตรายแก่กายอันเป็นกิริยาวาจาที่สุภาพชนไม่พึงทำทั้งยังเป็นการแสดงอำนาจฝ่าฝืนข้อห้ามข้อบังคับของทางราชการบุกรุกขึ้นไปบนสถานที่ราชการโดยไม่มีสิทธิกระทำโดยชอบซึ่งข่าวนี้ไม่เป็นความจริงและเป็นการใส่ความโจทก์จึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ การแก้ข่าวอันจะทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดและสิทธิการฟ้องคดีของโจทก์ระงับไปตามพระราชบัญญัติการพิมพ์พ.ศ.2484มาตรา41,43นั้นนอกจากจะต้องลงพิมพ์ในฉบับที่จะออกโฆษณาถัดไปหรือต่อจากเวลาที่ได้รับคำขอให้แก้ข่าวแล้วข้อความที่แก้นั้นจะต้องอยู่ในหน้าเดียวกับเรื่องอันเป็นเหตุให้แก้โดยมีขนาดแนว(คอลัมน์)และตัวอักษรในเนื้อเรื่องเช่นเดียวกันคดีนี้ปรากฏว่าข้อความที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐลงพิมพ์โฆษณาหมิ่นประมาทโจทก์ลงพาดหัวข่าวในหน้า1ด้วยขนาดอักษรโตที่สุดโตที่สุดในหน้าหนึ่งจำนวน2บรรทัดและด้วยขนาดอักษรโตปรมาณครึ่งหนึ่งของขนาดอักษรโตที่สุดดังกล่าวอีก1บรรทัดส่วนข้อความที่จำเลยอ้างว่าเป็นการแก้ข่าวนั้นกลับลงพิมพ์โฆษณาในหน้า16ด้วยขนาดอักษรตัวเล็กเท่าตัวอักษรทั่วๆไปที่บรรยายเนื้อหาของเรื่องในหนังสือพิมพ์นั้นจึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติการพิมพ์พ.ศ.2484มาตรา3สิทธิการฟ้องของโจทก์ทั้งทางแพ่งและทางอาญายังไม่ระงับ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษปรับจำเลยที่1ที่2คนละ2,000บาทสถานเดียวจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218จำเลยที่1ที่2ฎีกาว่าไม่ได้สมคบกับจำเลยที่3กระทำผิดตามฟ้องเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3391/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทโดยเจตนาไม่สุจริต และการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 จำคุก 15 วันและปรับ1,000 บาท โทษจำคุกรอไว้ 1 ปี จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 ปัญหาว่าจำเลยทำคำร้องโดยสุจริตหรือไม่ จำเลยขาด เจตนากระทำผิดหรือไม่ และจำเลยสำคัญผิดในข้อเท็จจริง หรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3316/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การใส่ความทำให้เสียชื่อเสียงโดยไม่มีเจตนาติชมเพื่อประโยชน์สาธารณะ
โจทก์เป็นผู้ควบคุมการสร้างท่อประปาที่สี่แยกคลองโพธิ์อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย การก่อสร้างท่อประปาดังกล่าวไม่ถูกแบบแปลนและไม่แล้วเสร็จภายในกำหนด แต่ข้อเท็จจริงยังไม่ยุติว่ามีการทุจริตหรือไม่ จำเลยที่ 1 ได้เขียนข้อความลงในหนังสือพิมพ์ว่าโจทก์เป็นข้าราชการที่เคยคดในข้องอในกระดูก ฉ้อราษฎร์บังหลวงทุจริตโกงกินในการสร้างท่อประปาเป็นเหตุให้บ้านเมืองฉิบหายพร้อมกับสาปแช่งโจทก์ดังนี้ ข้อความที่จำเลยที่ 1 เขียนดังกล่าวเป็นการใส่ความโจทก์ต่อผู้อ่านหนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง ทั้งถือไม่ได้ว่าเป็นการเสนอข้อความโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของหนังสือพิมพ์จะพึงกระทำ หรือเป็นการลงข่าวตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นข่าวที่จำเลยที่ 1 เขียนดังกล่าวจึงเป็นการหมิ่นประมาทและละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3316/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การใส่ความทำให้เสียชื่อเสียง โดยไม่มีเจตนาติชมโดยสุจริต
โจทก์เป็นผู้ควบคุมการสร้างท่อประปาที่สี่แยกคลองโพธิ์อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย การก่อสร้างท่อประปาดังกล่าวไม่ถูกแบบแปลนและไม่แล้วเสร็จภายในกำหนด แต่ข้อเท็จจริงยังไม่ยุติว่ามีการทุจริตหรือไม่ จำเลยที่ 1 ได้เขียนข้อความลงในหนังสือพิมพ์ว่าโจทก์เป็นข้าราชการที่เคยคดในข้องอในกระดูก ฉ้อราษฎร์บังหลวงทุจริตโกงกินในการสร้างท่อประปาเป็นเหตุให้บ้านเมืองฉิบหายพร้อมกับสาปแช่งโจทก์ดังนี้ ข้อความที่จำเลยที่ 1 เขียนดังกล่าวเป็นการใส่ความโจทก์ต่อผู้อ่านหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง ทั้งถือไม่ได้ว่าเป็นการเสนอข้อความโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของหนังสือพิมพ์จะพึงกระทำ หรือเป็นการลงข่าวตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นข่าวที่จำเลยที่ 1 เขียนดังกล่าวจึงเป็นการหมิ่นประมาทและละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3073/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญา มาตรา 157 ต้องระบุเจตนาทำให้เสียหาย และการใส่ความต้องมีลักษณะเป็นการหมิ่นประมาท
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 แต่มิได้บรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยปฏิบัติหน้าที่โดย มิชอบนั้น จำเลยกระทำลงด้วยเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ อันเป็นองค์ประกอบความผิดประการหนึ่งด้วย คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับ ข้อหานี้จึงไม่สมบูรณ์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
แม้ข้อความที่จำเลยให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ผิดพลาดไม่ถูกต้อง แต่ข้อความนั้นก็ไม่มีลักษณะเป็นการใส่ความโจทก์ที่จำเลยกล่าวถึง วัว ควายและช้าง ก็กล่าวในทำนองเปรียบเทียบว่า โจทก์จะร้องเรียน ให้ความจริงเป็นอย่างอื่นย่อมเป็นไปไม่ได้เท่านั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นการ หมิ่นประมาทโจทก์
แม้ข้อความที่จำเลยให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ผิดพลาดไม่ถูกต้อง แต่ข้อความนั้นก็ไม่มีลักษณะเป็นการใส่ความโจทก์ที่จำเลยกล่าวถึง วัว ควายและช้าง ก็กล่าวในทำนองเปรียบเทียบว่า โจทก์จะร้องเรียน ให้ความจริงเป็นอย่างอื่นย่อมเป็นไปไม่ได้เท่านั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นการ หมิ่นประมาทโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ชัดเจน! ศาลยกฟ้องคดีอาญาและหมิ่นประมาท จำเลยต้องเข้าใจข้อหาได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้แกล้งนำความเท็จมาฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาในข้อหาฟ้องเท็จเบิกความเท็จ และนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานเท็จพร้อมกับอ้างสำเนาคำฟ้องที่จำเลยฟ้องโจทก์ทั้งนี้เพราะจำเลยอาฆาตแค้นโจทก์ที่เป็นทนายฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาอีกคดีหนึ่ง ดังนี้ จำเลยกระทำอย่างใดที่ว่าฟ้องเท็จ ฟ้องโจทก์จะต้องระบุมาให้เห็นว่า ความจริงเป็นอย่างไร มิฉะนั้นจำเลยย่อมไม่อาจต่อสู้คดีได้ถูก ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องที่ระบุพอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี แม้โจทก์จะได้แนบสำเนาคำฟ้องที่จำเลยฟ้องโจทก์มาในคำฟ้องคดีนี้ด้วยก็ตาม คำฟ้องโจทก์คดีนี้ก็ต้องสมบูรณ์มาก่อน มิใช่ว่าต้องให้ศาลไปตรวจดูฟ้องของโจทก์ จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
โจทก์บรรยายฟ้องคดีหมิ่นประมาทว่าจำเลยแกล้งเรียงคำฟ้องอันเป็นเท็จใส่ความโจทก์ต่อศาล ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ศาล ต่อพยาน และบุคคลอื่น ๆ ที่ทราบเรื่องนี้ดี ทำให้โจทก์ต้องเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ดังนี้โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องให้ชัดแจ้งว่าข้อความวรรคใด ตอนใดที่เป็นการเสียหายต่อชื่อเสียงของโจทก์ ซึ่งศาลจะได้ยกขึ้นพิจารณาได้โดยเฉพาะ ถือว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่อาจทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี
เมื่อศาลดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า ฟ้องโจทก์ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลก็มีอำนาจยกฟ้องเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161
โจทก์บรรยายฟ้องคดีหมิ่นประมาทว่าจำเลยแกล้งเรียงคำฟ้องอันเป็นเท็จใส่ความโจทก์ต่อศาล ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ศาล ต่อพยาน และบุคคลอื่น ๆ ที่ทราบเรื่องนี้ดี ทำให้โจทก์ต้องเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ดังนี้โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องให้ชัดแจ้งว่าข้อความวรรคใด ตอนใดที่เป็นการเสียหายต่อชื่อเสียงของโจทก์ ซึ่งศาลจะได้ยกขึ้นพิจารณาได้โดยเฉพาะ ถือว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่อาจทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี
เมื่อศาลดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า ฟ้องโจทก์ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลก็มีอำนาจยกฟ้องเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ชัดเจน: ศาลมีอำนาจยกฟ้องได้แม้ไต่สวนมูลฟ้องแล้ว หากคำฟ้องไม่ระบุรายละเอียดให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้แกล้งนำความเท็จมาฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาในข้อหาฟ้องเท็จเบิกความเท็จ และนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานเท็จพร้อมกับอ้างสำเนาคำฟ้องที่จำเลยฟ้องโจทก์ ทั้งนี้เพราะจำเลยอาฆาตแค้นโจทก์ที่เป็นทนายฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาอีกคดีหนึ่ง ดังนี้ จำเลยกระทำอย่างใดที่ว่าฟ้องเท็จ ฟ้องโจทก์จะต้องระบุมาให้เห็นว่า ความจริงเป็นอย่างไร มิฉะนั้นจำเลยย่อมไม่อาจต่อสู้คดีได้ถูก ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องที่ระบุพอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี แม้โจทก์จะได้แนบสำเนาคำฟ้องที่จำเลยฟ้องโจทก์มาในคำฟ้องคดีนี้ด้วยก็ตาม คำฟ้องโจทก์คดีนี้ก็ต้องสมบูรณ์มาก่อน มิใช่ว่าต้องให้ศาลไปตรวจดูฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)
โจทก์บรรยายฟ้องคดีหมิ่นประมาทว่าจำเลยแกล้งเรียงคำฟ้องอันเป็นเท็จใส่ความโจทก์ต่อศาล ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ศาล ต่อพยาน และบุคคลอื่น ๆ ที่ทราบเรื่องนี้ดีทำให้โจทก์ต้องเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ดังนี้โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องให้ชัดแจ้งว่าข้อความวรรคใด ตอนใดที่เป็นการเสียหายต่อชื่อเสียงของโจทก์ ซึ่งศาลจะได้ยกขึ้นพิจารณาได้โดยเฉพาะถือว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่อาจทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี
เมื่อศาลดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า ฟ้องโจทก์ไม่ถูกต้องตามกฎหมายศาลก็มีอำนาจยกฟ้องเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161
โจทก์บรรยายฟ้องคดีหมิ่นประมาทว่าจำเลยแกล้งเรียงคำฟ้องอันเป็นเท็จใส่ความโจทก์ต่อศาล ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ศาล ต่อพยาน และบุคคลอื่น ๆ ที่ทราบเรื่องนี้ดีทำให้โจทก์ต้องเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ดังนี้โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องให้ชัดแจ้งว่าข้อความวรรคใด ตอนใดที่เป็นการเสียหายต่อชื่อเสียงของโจทก์ ซึ่งศาลจะได้ยกขึ้นพิจารณาได้โดยเฉพาะถือว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่อาจทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี
เมื่อศาลดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า ฟ้องโจทก์ไม่ถูกต้องตามกฎหมายศาลก็มีอำนาจยกฟ้องเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2822/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงจดหมายหมิ่นประมาทต่อบุคคลที่สาม มีเจตนาใส่ความ ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326
การที่จำเลยแสดงข้อความในจดหมายที่ได้รับจากผู้อื่นให้บุคคลที่สามทราบโดยรู้อยู่ว่าจดหมายนั้นมีข้อความหมิ่นประมาทผู้เสียหาย นับว่าจำเลยได้ใส่ความผู้เสียหาย แล้วไม่ต่างอะไรกับที่จำเลยได้กล่าวด้วยถ้อยคำวาจา และเมื่อบุคคลที่สามเข้าใจข้อความในจดหมายนั้นแล้วการกระทำของจำเลยก็ครบองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 จำเลยจะได้กล่าวยืนยันข้อความนั้นว่าเป็นความจริงหรือไม่ ไม่เป็นข้อสำคัญ