คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ม. 9 (5)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4069/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ผู้รับประเมินต้องยื่นคำขอยกเว้นตามกฎหมายก่อน หากไม่ทำ ไม่มีสิทธิฟ้องขอคืนภาษีย้อนหลัง
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินไม่ชอบเนื่องจากโรงเรือนที่โจทก์ต้องเสียภาษีมีตามจำนวนที่แจ้งไว้ในปีภาษี 2545 และปีภาษี 2546 เท่านั้น ส่วนโรงเรือนอื่นในพื้นที่ของโจทก์ไม่ได้ใช้งานและไม่ได้ใช้เป็นที่ไว้สินค้าและประกอบการอุตสาหกรรม จึงเป็นการฟ้องขอคืนเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินโดยอ้างว่าโรงเรือนอื่นของโจทก์นอกจากที่แจ้งไว้ในปีภาษี 2545 และปีภาษี 2546 ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตามมาตรา 9 (5) ซึ่งเป็นบทบัญญัติในภาค 1 ของ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 อันเป็นหน้าที่ของโจทก์ในฐานะผู้รับประเมินที่จะต้องจัดทำคำขอยกเว้นภาษียื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เพื่อที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้สอบสวนให้แน่นอนก่อนว่าทรัพย์สินที่พิพาทควรได้รับยกเว้นภาษีหรือไม่ หากพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีคำสั่งยกคำขอยกเว้นภาษี โจทก์ก็มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้จำเลยที่ 2 พิจารณาชี้ขาดและฟ้องคดีต่อศาลตามลำดับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดตามมาตรา 34 ประกอบมาตรา 25 และมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เพื่อให้พิจารณายกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับโรงเรือนพิพาท และการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ในคดีนี้ก็เป็นการโต้แย้งการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่จำเลยที่ 1 ตามมาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มิใช่การยื่นคำร้องขอให้จำเลยที่ 2 พิจารณาคำชี้ขาดของพนักงานเจ้าหน้าที่จำเลยที่ 1 ตามมาตรา 34 ประกอบมาตรา 25 และมาตรา 26 ที่สืบเนื่องมาจากการขอยกเว้นค่าภาษีตามมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อโต้แย้งว่าโรงเรือนที่พิพาทได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินในปีภาษีพิพาทได้อีกตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 33 และมาตรา 34 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และมาตรา 246 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องในประเด็นนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6111/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือน: อำนาจแก้ไขค่ารายปีและข้อยกเว้นโรงเรือนปิดทำการ
ตาม พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 8 ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะแก้ไขค่ารายปีเสียใหม่ในแต่ละปีที่จะต้องชำระภาษีได้ ถ้าเห็นว่าค่ารายปีที่กำหนดตามค่าเช่าเดิมมิใช่จำนวนอันสมควรจะให้เช่าได้ในปีที่จะเรียกเก็บภาษีนั้นเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินค่ารายปีแล้วแต่โจทก์อ้างว่าค่ารายปีที่ประเมินใหม่ไม่ชอบ โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าค่ารายปีที่ประเมินใหม่สูงกว่าค่าเช่าที่อาจให้เช่าได้ในปีนั้นถ้าโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นก็ต้องถือว่าค่ารายปีที่เจ้าพนักงานประเมินใหม่ ชอบแล้ว โรงเรือนที่จะได้รับยกเว้นมิต้องเสียภาษีตาม พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 9(5) ต้องเป็นโรงเรือนที่ปิดไว้ตลอดปี การที่โรงเรือนพิพาทมิได้ให้เช่าตลอดปีนั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นโรงเรือนปิดไว้ตลอดปี กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะได้รับการยกเว้นภาษี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6111/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประเมินค่ารายปีภาษีโรงเรือน และข้อยกเว้นภาษีสำหรับโรงเรือนที่ไม่ได้ให้เช่า
ค่ารายปีที่จะใช้ในการคำนวณภาษีนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจที่จะแก้ไขเสียใหม่ในแต่ละปีที่จะต้องชำระภาษีได้ ถ้าเห็นว่าค่ารายปีที่กำหนดตามค่าเช่าเดิมนั้นมิใช่จำนวนอันเป็นการจะให้เช่าได้ในปีที่จะเรียกเก็บภาษีนั้น ฟ้องโจทก์มิได้ยกขึ้นเลยว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่มีเหตุที่จะกำหนดค่ารายปีเพิ่มขึ้น จึงต้องถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่มีเหตุพึงกำหนดค่ารายปีเพิ่มขึ้น ส่วนที่กำหนดเพิ่มใหม่จะเป็นค่ารายปีที่ชอบหรือไม่นั้น โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่า ค่ารายปีที่ประเมินใหม่นั้นเป็นค่ารายปีที่สูงกว่าค่าเช่าที่อาจให้เช่าได้ในปีนั้น โจทก์มิได้นำสืบในข้อนี้กรณีต้องฟังว่าค่ารายปีที่เจ้าพนักงานประเมินใหม่นั้นเป็นการประเมินที่ชอบ โรงเรือนที่จะได้รับการยกเว้นมิต้องเสียภาษีตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 9(5) จะต้องเป็นโรงเรือนที่ปิดไว้ตลอดปี และเจ้าของมิได้อยู่เองหรือให้ผู้อื่นอยู่ นอกจากคนเฝ้าในโรงเรือน โรงเรือนที่พิพาทนั้นมิใช่โรงเรือนที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอยู่เอง การที่ข้อเท็จจริงยุติเพียงว่า โรงเรือนที่พิพาทมิได้ให้เช่านั้นมิได้หมายความว่าโรงเรือนนั้นจะมิได้ใช้ประโยชน์อย่างอื่นอันจะถือได้เหมือนกับเป็นโรงเรือนซึ่งปิดไว้ตลอดปี ดังนั้นโรงเรือนที่พิพาทของโจทก์จึงไม่อยู่ในข้อยกเว้นที่จะได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5167/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาชี้การประเมินภาษีโรงเรือนสูงเกินควร และการคืนเงินภาษีที่ประเมินเกินจริง รวมถึงอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าฯ กทม.
การลดค่ารายปีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 เป็นวิธีการที่กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ในการคำนวณภาษีกรณีโรงเรือนถูกทำลาย และยังมิได้ทำขึ้นใหม่เท่านั้น จะตีความเลยไปว่ากฎหมายได้วางหลักเกณฑ์ถึงกำหนดการยื่นรายการเพื่อชำระภาษีด้วยไม่ได้ เพราะตามบทบัญญัติของกฎหมายข้างต้นกรณีทรัพย์ถูกทำลายแล้ว ซ่อมเสร็จในทันใดก็จะลดค่ารายปีลง ดังนั้นการยื่นแบบรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินในปีใดก็เพื่อเสียภาษีในปีนั้น เมื่อปรากฏว่าโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์ปิดไว้และงดใช้ประโยชน์ตลอดปีภาษีและโรงเรือนที่โจทก์รื้อถอนไปแล้วก่อนปีภาษี โจทก์ย่อมได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินดังที่พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 9(5ป บัญญัติไว้การประเมินให้โจทก์เสียภาษีสำหรับโรงเรือนดังกล่าวจึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ
โรงเรือนที่ใช้เป็นโรงงานในการประกอบอุตสาหกรรมโดยเฉพาะการกำหนดค่ารายปีจึงไม่อาจนำดัชนีค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจซึ่งเป็นค่าเช่าบ้านที่อยู่อาศัยมาเทียบเคียงได้เพราะเป็นโรงเรือนคนละประเภท เมื่อไม่ได้ความว่า จำเลยกำหนดค่ารายปีโดยไม่ได้คำนึงถึงค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีซึ่งต้องเสียในปี ต่อมา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 แล้ว การกำหนดค่ารายปีตลอดจนการคำนวณภาษีของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะชี้ขาดการประเมิน เมื่อผู้รับประเมินยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ การที่จำเลยที่ 2 ชี้ขาดว่าการประเมินชอบแล้วให้โจทก์ชำระภาษีตามที่มีการประเมินจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและเมื่อ ไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 2 แกล้งชี้ขาดให้โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 1 ค่าภาษีที่โจทก์ชำระก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับไดว้ จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่โจทก์จะฟ้องให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 รับผิดคืนภาษีที่จำเลยที่ 1 รับชำระไว้ต่อโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีโรงเรือนกรณีมีผู้เช่าเดิมและผู้เช่าบิดพลิ้วไม่ออกไป ไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย
โรงเรือนเป็นของจำเลย อยู่ในเขตเทศบาลจำเลย มิได้ปิดไว้และจำเลยมิได้อยู่เอง หรือให้ผู้อื่นอยู่ หากแต่มีผู้เช่าอยู่สืบมาจากเจ้าของเดิม แต่ผู้เช่าบิดพลิ้วไม่ยอมออกไป ดังนี้ ไม่อยู่ในข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 9(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีโรงเรือนกรณีมีผู้เช่าเดิมและผู้เช่าบิดพลิ้วมิยอมออกไป ไม่อยู่ในข้อยกเว้นตามกฎหมาย
โรงเรือนเป็นของจำเลย อยู่ในเขตเทศบาลจำเลย มิได้ปิดไว้และจำเลยมิได้อยู่เองหรือให้ผู้อื่นอยู่ หากแต่มีผู้เช่าอยู่สืบมาจากเจ้าของเดิม แต่ผู้เช่าบิดพลิ้วไม่ยอมออกไป ดังนี้ ไม่อยู่ในข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 9(5)