พบผลลัพธ์ทั้งหมด 162 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อมีการตกลงผ่อนชำระหนี้และปลดจำนอง การคิดดอกเบี้ยหลังวันดังกล่าวเป็นดอกเบี้ยธรรมดา
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้จึงใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญา การที่โจทก์ตกลงกับจำเลยให้ชำระหนี้เพื่อลดหนี้ลงและปลดจำนองทรัพย์สินที่จำนองเป็นประกันไว้ไปบางรายการและได้มีการชำระหนี้บางส่วนตามที่ตกลงกันไว้เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าคู่กรณีไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดบัญชีกันอีกต่อไป สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่มีการชำระหนี้บางส่วนนั้น หลังจากนั้นโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, สัญญาค้ำประกัน, อายุความ, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยไม่ได้ตกลงกันว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้นเมื่อใด สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีกัน และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 858,859 โจทก์หักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2527 และฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2531 ยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ ผู้ค้ำประกันย่อมต้องรับผิดตามสัญญาเพียงเท่าที่ตนยอมค้ำประกันเท่านั้น จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 20,000 บาท ปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันว่า จำเลยที่ 1กลับมาเป็นลูกหนี้โจทก์อีกครั้งในวันที่ 26 พฤษภาคม 2518 เป็นเงิน611.94 บาท โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตั้งแต่วันนี้ วิธีคิดดอกเบี้ยทบต้นเพื่อให้ผู้ค้ำประกันรับผิดนั้นต้องดูรายการที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่ค้ำประกันเป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้น จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินค้ำประกันเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2518 เป็นเงิน 20,078.24บาท จึงให้ถือเอาวันที่ 29 กรกฎาคม 2518 เป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นในต้นเงิน 20,000 บาท จนถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2530ซึ่งเป็นวันครบกำหนดบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้อันเป็นวันที่บัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง ต่อจากนั้นโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามปกติไม่ทบต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, การคิดดอกเบี้ยทบต้นของผู้ค้ำประกัน, และวงเงินความรับผิด
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยไม่ได้ตกลงกันว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้นเมื่อใด สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีกัน และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือตาม ป.พ.พ. มาตรา 858, 859 โจทก์หักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2527 และฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2531 ยังไม่ถึง10 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
ผู้ค้ำประกันย่อมต้องรับผิดตามสัญญาเพียงเท่าที่ตนยอมค้ำประกันเท่านั้น จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 20,000 บาท ปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันว่า จำเลยที่ 1 กลับมาเป็นลูกหนี้โจทก์อีกครั้งในวันที่ 26พฤษภาคม 2518 เป็นเงิน 611.94 บาท โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตั้งแต่วันนี้วิธีคิดดอกเบี้ยทบต้นเพื่อให้ผู้ค้ำประกันรับผิดนั้นต้องดูรายการที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่ค้ำประกันเป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้น จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินค้ำประกันเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2518 เป็นเงิน 20,078.24 บาทจึงให้ถือเอาวันที่ 29 กรกฎาคม 2518 เป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นในต้นเงิน20,000 บาท จนถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2530 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้อันเป็นวันที่บัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง ต่อจากนั้นโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามปกติไม่ทบต้น
ผู้ค้ำประกันย่อมต้องรับผิดตามสัญญาเพียงเท่าที่ตนยอมค้ำประกันเท่านั้น จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 20,000 บาท ปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันว่า จำเลยที่ 1 กลับมาเป็นลูกหนี้โจทก์อีกครั้งในวันที่ 26พฤษภาคม 2518 เป็นเงิน 611.94 บาท โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตั้งแต่วันนี้วิธีคิดดอกเบี้ยทบต้นเพื่อให้ผู้ค้ำประกันรับผิดนั้นต้องดูรายการที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่ค้ำประกันเป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้น จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินค้ำประกันเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2518 เป็นเงิน 20,078.24 บาทจึงให้ถือเอาวันที่ 29 กรกฎาคม 2518 เป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นในต้นเงิน20,000 บาท จนถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2530 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้อันเป็นวันที่บัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง ต่อจากนั้นโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามปกติไม่ทบต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามวงเงินกู้ที่ระบุในสัญญา แม้เจ้าหนี้ยินยอมให้กู้เกินวงเงิน
ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ลูกค้าโจทก์ ไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่า นับแต่วันสิ้นสุดของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ขอเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวหรือโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกแม้ภายหลังครบกำหนดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1ได้นำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน 2 ครั้งก็ตาม แต่ก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไปเพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกัน พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไป สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมเลิกกันนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 ฉะนั้น โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันสิ้นสุดของสัญญาดังกล่าว และโจทก์ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นตลอดไปจนกว่าจะมีการชำระหนี้รายนี้เสร็จแก่โจทก์ จำเลยที่ 3 ค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ที่ทำไว้แก่โจทก์เป็นจำนวนเงิน 400,000 บาท หรือไม่เกิน 400,000 บาท แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนาค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 400,000 บาทเท่านั้น แม้จะปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 กู้เบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงิน 400,000 บาท ก็เป็นการผูกพันกันระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 กับโจทก์เท่านั้น หามีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ด้วยไม่ ดังนั้น เมื่อครบกำหนดตามสัญญาจำเลยที่ 3 มีหนังสือขอชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 จำนวน400,000 บาท แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย จึงเป็นการขอชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เมื่อหนี้นั้นถึงกำหนดโดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 701 วรรคแรก แล้ว เมื่อโจทก์ไม่ยอมรับชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 ดังกล่าว ย่อมทำให้จำเลยที่ 3ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในการชำระหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 701,727 ประกอบด้วยมาตรา 744(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเลิกแล้ว การค้ำประกันมีผลถึงวงเงินที่จำนองเท่านั้น ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากหนี้เมื่อเจ้าหนี้ไม่รับชำระ
ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ลูกค้าโจทก์ ไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่า นับแต่วันสิ้นสุดของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ขอเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวหรือโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก แม้ภายหลังครบกำหนดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้นำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน 2 ครั้งก็ตาม แต่ก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไป เพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกัน พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไป สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมเลิกกันนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 ฉะนั้น โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันสิ้นสุดของสัญญาดังกล่าว และโจทก์ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นตลอดไปจนกว่าจะมีการชำระหนี้รายนี้เสร็จแก่โจทก์
จำเลยที่ 3 ค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ที่ทำไว้แก่โจทก์เป็นจำนวนเงิน 400,000 บาทหรือไม่เกิน 400,000 บาท แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 3 มีเจตนาค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน400,000 บาท เท่านั้น แม้จะปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 กู้เบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงิน 400,000 บาท ก็เป็นการผูกพันกันระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 กับโจทก์เท่านั้น หามีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ด้วยไม่ดังนั้น เมื่อครบกำหนดตามสัญญาจำเลยที่ 3 มีหนังสือขอชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 จำนวน400,000 บาท แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย จึงเป็นการขอชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เมื่อหนี้นั้นถึงกำหนดโดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 701 วรรคแรก แล้วเมื่อโจทก์ไม่ยอมรับชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 ดังกล่าว ย่อมทำให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในการชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 701, 727ประกอบด้วยมาตรา 744 (3)
จำเลยที่ 3 ค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ที่ทำไว้แก่โจทก์เป็นจำนวนเงิน 400,000 บาทหรือไม่เกิน 400,000 บาท แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 3 มีเจตนาค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน400,000 บาท เท่านั้น แม้จะปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 กู้เบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงิน 400,000 บาท ก็เป็นการผูกพันกันระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 กับโจทก์เท่านั้น หามีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ด้วยไม่ดังนั้น เมื่อครบกำหนดตามสัญญาจำเลยที่ 3 มีหนังสือขอชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 จำนวน400,000 บาท แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย จึงเป็นการขอชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เมื่อหนี้นั้นถึงกำหนดโดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 701 วรรคแรก แล้วเมื่อโจทก์ไม่ยอมรับชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 ดังกล่าว ย่อมทำให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในการชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 701, 727ประกอบด้วยมาตรา 744 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5629/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองเกินวงเงินและดอกเบี้ยทบต้น: ข้อตกลงโมฆะและขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองระบุว่าจำเลยที่ 3 ผู้ค้ำ-ประกันและผู้จำนอง ค้ำประกันและจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 1,000,000 บาท จำเลยที่ 3 จึงมีความรับผิดตามสัญญาดังกล่าวในต้นเงิน1,000,000 บาท เท่านั้น ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่ว่า การกำหนดจำนวนต้นเงินตามสัญญาจำนองไม่ตัดสิทธิผู้รับจำนองที่จะบังคับจำนองสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินที่กำหนดไว้เพราะมีดอกเบี้ยหรือหนี้อุปกรณ์รวมกันเกินวงเงินที่กำหนดไว้ เป็นข้อตกลงที่ใช้ได้เพราะจำเลยที่ 3 ผู้จำนองต้องรับผิดดอกเบี้ยและหนี้อุปกรณ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 715 อยู่แล้ว แต่ข้อตกลงที่กำหนดให้จำเลยที่ 3 ผู้จำนองต้องรับผิดสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินตามสัญญาจำนองเพราะเหตุใด ๆ นั้น เป็นข้อตกลงที่ทำให้สัญญาจำนองไม่มีจำนวนเงินที่แน่นอน หรือไม่มีจำนวนขึ้นสูงสุดที่ได้เอาทรัพย์จำนองตราไว้เป็นประกันเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 708 และเป็นช่องทางให้หลีกเลี่ยงการเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจำนอง จึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลใช้บังคับส่วนที่จำเลยที่ 3 ตกลงยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ก็มีผลเพียงว่าจำเลยที่ 3ผู้ค้ำประกันจะอ้างสิทธิพิเศษ เช่น การยกข้อต่อสู้ซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้หรือเกี่ยงให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนไม่ได้เท่านั้น มิได้หมายความว่าจำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่ากับตัวลูกหนี้ด้วย
ตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองระบุว่า กรณีผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามบัญชีเดินสะพัด ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 3 ได้ตามสัญญา นับแต่วันที่จำเลยที่ 1เป็นหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่จำเลยที่ 3 ทำสัญญาจำนองจนถึงวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เลิกกัน ซึ่งปรากฏว่ามีรายการหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2528 หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไป ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ พฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว หลังจากนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 3
ตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองระบุว่า กรณีผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามบัญชีเดินสะพัด ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 3 ได้ตามสัญญา นับแต่วันที่จำเลยที่ 1เป็นหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่จำเลยที่ 3 ทำสัญญาจำนองจนถึงวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เลิกกัน ซึ่งปรากฏว่ามีรายการหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2528 หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไป ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ พฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว หลังจากนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5629/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดจำนองเกินวงเงินสัญญา และดอกเบี้ยทบต้นที่คำนวณได้ตามสัญญา
ตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองระบุว่าจำเลยที่ 3ผู้ค้ำประกันและผู้จำนอง ค้ำประกันและจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 1,000,000 บาท จำเลยที่ 3 จึงมีความรับผิดตามสัญญาดังกล่าวในต้นเงิน 1,000,000 บาท เท่านั้นข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่ว่า การกำหนดจำนวนต้นเงินตามสัญญาจำนองไม่ตัดสิทธิผู้รับจำนองที่จะบังคับจำนองสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินที่กำหนดไว้เพราะมี ดอกเบี้ย หรือหนี้อุปกรณ์รวมกันเกินวงเงินที่กำหนดไว้ เป็นข้อตกลงที่ใช้ได้เพราะจำเลยที่ 3ผู้จำนองต้องรับผิดดอกเบี้ยและหนี้อุปกรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 715 อยู่แล้ว แต่ข้อตกลงที่กำหนดให้จำเลยที่ 3 ผู้จำนองต้องรับผิดสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินตามสัญญาจำนองเพราะเหตุใด ๆ นั้น เป็นข้อตกลงที่ทำให้สัญญาจำนองไม่มีจำนวนเงินที่แน่นอน หรือไม่มีจำนวนขึ้นสูงสุดที่ได้เอาทรัพย์จำนองตราไว้เป็นประกันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 708 และเป็นช่องทางให้หลีกเลี่ยงการเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจำนอง จึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลใช้บังคับ ส่วนที่จำเลยที่ 3 ตกลงยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ก็มีผลเพียงว่าจำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันจะอ้างสิทธิพิเศษ เช่น การยกข้อต่อสู้ซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้หรือเกี่ยงให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนไม่ได้เท่านั้น มิได้หมายความว่าจำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่ากับตัวลูกหนี้ด้วย ตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองระบุว่า กรณีผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามบัญชีเดินสะพัด ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 3 ได้ตามสัญญา นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่จำเลยที่ 3 ทำสัญญาจำนองจนถึงวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เลิกกันซึ่งปรากฏว่ามีรายการหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 27เมษายน 2528 หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1เบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไป ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ พฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงในวันดังกล่าวหลังจากนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5615/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเมื่อไม่มีเดินสะพัด แม้ตกลงเบิกต่อได้ โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นถึงวันครบกำหนดสัญญาเท่านั้น
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีกำหนดระยะเวลา 12 เดือน แต่คู่กรณีมีการเดินสะพัดทางบัญชีครั้งสุดท้ายก่อนครบกำหนดดังกล่าว หลังจากนั้น มีแต่การคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนตลอดมา ทั้งยอดหนี้ในวันครบกำหนดสัญญาก็มีจำนวนสูงกว่าที่ตกลงไว้ในสัญญาประกอบกับหลังจากสัญญาครบกำหนดแล้วไม่ปรากฏว่ามีการเดินสะพัดทางบัญชีกันอีก แสดงว่า คู่กรณีทั้งสองฝ่ายให้ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงในวันครบกำหนดตามสัญญาแม้จะมีข้อตกลงกันว่า เมื่อครบกำหนด 12 เดือน ไม่มีการต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหลักฐานหนังสือกำหนดเวลากันใหม่คู่กรณีตกลงกันให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาต่อไปอีกคราวละ6 เดือน ตลอดไป ก็หาทำให้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งสิ้นสุดไปแล้วกลับมีผลเป็นการต่ออายุสัญญาไม่ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันครบกำหนดตามสัญญาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5543/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้จากบัญชีเบิกเกินสัญญา และดอกเบี้ยทบต้นหลังสัญญาสิ้นสุด
จำเลยขอเลื่อนการพิจารณามาแล้วครั้งหนึ่ง อ้างเหตุป่วยและยืนยันว่านัดหน้าจะไม่ขอเลื่อนอีก พยานมาเท่าใดก็สืบเพียงนั้น และถ้าพยานไม่มาเลยก็ไม่ติดใจสืบเมื่อถึงวันนัดหลังจากสืบตัวจำเลยแล้ว ไม่มีพยานอื่นมาศาลศาลมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยจึงชอบแล้ว แม้ว่าพยานที่ไม่มาดังกล่าวจะเป็นพยานหมายซึ่งไม่ยอมรับหมายก็ไม่ใช่เหตุจำเป็นที่ไม่อาจก้าวล่วงได้ สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี มีเงื่อนไขว่าจำเลย จะยอมชำระหนี้ตามสัญญาให้ลดลงเรื่อย ๆ และโดยไม่อิดเอื้อน เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญาให้ลดลง โจทก์ย่อมมีสิทธิ์ตามเงื่อนไขในการรับเปิดบัญชีเดินสะพัด โดยหักจากเงินฝากประจำของจำเลยชำระหนี้โจทก์ได้ สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้การที่โจทก์ได้นำเพียงดอกเบี้ยจากเงินของจำเลยมาหักหนี้ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2526 โดยไม่นำเงินฝากทั้งหมด มาหักหนี้เพราะบัญชีเดินสะพัดยังไม่สิ้นสุดลง แต่ต่อมาวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2527 โจทก์นำต้นเงินพร้อมดอกเบี้ย จากบัญชีเงินฝากของจำเลยมาหักหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เมื่อหักหนี้แล้วจำเลยยังคงเป็นหนี้โจทก์อยู่จำนวนหนึ่ง และหลังจากวันนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลย เบิกเงินเกินบัญชีอีก ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้นำเงิน เข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ พฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว โจทก์ไม่มีสิทธิ์คิดดอกเบี้ยทบต้นนับแต่วันนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4723/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีโดยปริยาย แม้มีข้อตกลงต่ออายุอัตโนมัติ หากไม่มีการใช้งานจริง
แม้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีข้อสัญญาว่า เมื่อครบกำหนด12 เดือนแล้วไม่มีการต่ออายุสัญญากันใหม่ให้ถือว่าต่อสัญญากันอีกคราวละ 6 เดือนก็ตาม แต่หลังจากครบกำหนด 12 เดือนแล้ว ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีหรือโจทก์ยินยอมให้เบิกได้ คงมีแต่รายการโจทก์นำยอดดอกเบี้ยเข้าทบต้นเดือนละครั้ง จำเลยไม่ได้เบิกเงินหรือนำเงินเข้าฝากในบัญชีเลย จึงถือได้ว่าคู่กรณีได้ตกลงเลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีโดยปริยายตั้งแต่วันครบกำหนดตามสัญญาและโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ถึงวันดังกล่าวแล้วเท่านั้น