คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 859

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 162 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและการล้มละลาย: สิทธิคิดดอกเบี้ยและการรู้ถึงหนี้สินล้นพ้นตัว
สัญญาบัญชีเดินสะพัดนั้น เมื่อลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลายในระหว่างที่สัญญามีผลใช้บังคับอยู่ ย่อมถือได้ว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นอันต้องยกเลิกกันไปโดยปริยายนับตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอากับลูกหนี้ได้จนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดเท่านั้น
การที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่เป็นจำนวนมากและไม่ได้ติดต่อกับธนาคารเจ้าหนี้ทางบัญชีมาประมาณ 2 ปีทั้งไม่เคยชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้จนกระทั่งวันที่มาทำสัญญากู้ ซึ่งลักษณะการติดต่อทางบัญชีเช่นนี้ ผู้ประกอบธุรกิจเยี่ยงธนาคารย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่าลูกหนี้ขณะนั้นมีสภาพเช่นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่อาจชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ได้เป็นเวลาถึง 2 ปีเมื่อลูกหนี้มาขอกู้เงินจากธนาคารเพิ่มอีก ธนาคารเจ้าหนี้ยังให้กู้ไป เช่นนี้ ถือได้ว่าธนาคารเจ้าหนี้รู้ถึงความเป็นหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้ในขณะที่ยินยอมให้ลูกหนี้ก่อหนี้ตามสัญญากู้ขึ้นอีก หนี้ดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้นำมาขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 94(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและหนี้ที่รู้ฐานะลูกหนี้ล้มละลาย สิทธิการรับชำระหนี้
สัญญาบัญชีเดินสะพัดนั้น เมื่อลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลายในระหว่างที่สัญญามีผลใช้บังคับอยู่ ย่อมถือได้ว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นอันต้องยกเลิกกันไปโดยปริยายนับตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดเจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอากับลูกหนี้ได้จนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดเท่านั้น
การที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่เป็นจำนวนมากและไม่ได้ติดต่อกับธนาคารเจ้าหนี้ทางบัญชีมาประมาณ 2 ปีทั้งไม่เคยชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้จนกระทั่งวันที่มาทำสัญญากู้ซึ่งลักษณะการติดต่อทางบัญชีเช่นนี้ผู้ประกอบธุรกิจเยี่ยงธนาคารย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่าลูกหนี้ขณะนั้นมีสภาพเช่นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่อาจชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ได้เป็นเวลาถึง 2 ปีเมื่อลูกหนี้มาขอกู้เงินจากธนาคารเพิ่มอีกธนาคารเจ้าหนี้ยังให้กู้ไปเช่นนี้ถือได้ว่าธนาคารเจ้าหนี้รู้ถึงความเป็นหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้ในขณะที่ยินยอมให้ลูกหนี้ก่อหนี้ตามสัญญากู้ขึ้นอีกหนี้ดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้นำมาขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 94(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, การประนอมหนี้ที่ไม่ผูกมัดจำเลย
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์ ประเพณีการค้าขายที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดเช่นนี้ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสอง และดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับเงินต้นย่อมกลายเป็นต้นเงิน มิใช่ดอกเบี้ยค้างชำระ ทั้งนี้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด เมื่อบอกเลิกแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น คงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดาหากไม่ชำระก็เป็นดอกเบี้ยค้างชำระหรือค้างส่ง ตามคำฟ้องของโจทก์เรียกดอกเบี้ยค้างชำระนับถึงวันฟ้องยังไม่เกินห้าปี สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยค้างส่งของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความหรือขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ซึ่งกู้เงินจากโจทก์ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 25,000 บาท รวมทั้งดอกเบี้ยตลอดจนค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายต่าง ๆโดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ปรากฏว่าก่อนทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันในวันที่ 12 มกราคม 2513จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่แล้ว 25,514.53 บาทต่อมาวันที่ 26มิถุนายน 2513 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญา จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ 48,939.41 บาท เห็นได้ว่ามีทั้งหนี้เก่าและหนี้ใหม่ระคนปนกันอยู่ ความรับผิดของจำเลยที่ 2ย่อมจำกัดเพียงจำนวนเงิน 25,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2513 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
การที่ ส. อดีตผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์ซึ่งยอมรับผิดต่อโจทก์แทนลูกหนี้ของโจทก์รวมทั้งจำเลยทั้งสองได้ทำบันทึกขึ้นฝ่ายเดียวมีข้อความว่าโจทก์ลดหย่อนความรับผิดชอบในส่วนตัวของ ส. โดยให้ ส. ชำระเงินจำนวนหนึ่งและยอมปลดจำนองที่ดินให้ ไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าโจทก์ยอมปลดหนี้ให้จำเลยทั้งสอง แต่ปรากฏชัดแจ้งว่าเป็นการลดหย่อนความรับผิดชอบส่วนตัวของ ส.ซึ่งจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 812 หาใช่ปลดหนี้ให้จำเลยทั้งสองไม่ จึงไม่มีทางที่จำเลยที่ 2จะอ้างว่าหนี้รายนี้ระงับไปแล้วโดยการประนอมหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, การประนอมหนี้ที่ไม่สมบูรณ์
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์ ประเพณีการค้าขายที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดเช่นนี้ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสอง และดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับเงินต้นย่อมกลายเป็นต้นเงิน มิใช่ดอกเบี้ยค้างชำระ ทั้งนี้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด เมื่อบอกเลิกแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น คงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดาหากไม่ชำระก็เป็นดอกเบี้ยค้างชำระหรือค้างส่ง ตามคำฟ้องของโจทก์เรียกดอกเบี้ยค้างชำระนับถึงวันฟ้องยังไม่เกินห้าปีสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยค้างส่งของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความหรือขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ซึ่งกู้เงินจากโจทก์ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 25,000 บาทรวมทั้งดอกเบี้ยตลอดจนค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ โดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ปรากฏว่าก่อนทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันในวันที่ 12 มกราคม 2513 จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่แล้ว 25,514.53 บาทต่อมาวันที่ 26 มิถุนายน 2513 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญา จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ 48,939.41 บาท เห็นได้ว่ามีทั้งหนี้เก่าและหนี้ใหม่ระคนปนกันอยู่ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ย่อมจำกัดเพียงจำนวนเงิน 25,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2513 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จ การที่ ส. อดีตผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์ซึ่งยอมรับผิดต่อโจทก์แทนลูกหนี้ของโจทก์รวมทั้งจำเลยทั้งสองได้ทำบันทึกขึ้นฝ่ายเดียวมีข้อความว่าโจทก์ลดหย่อนความรับผิดชอบในส่วนตัวของ ส. โดยให้ ส. ชำระเงินจำนวนหนึ่งและยอมปลดจำนองที่ดินให้ ไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าโจทก์ยอมปลดหนี้ให้จำเลยทั้งสอง แต่ปรากฏชัดแจ้งว่าเป็นการลดหย่อนความรับผิดชอบส่วนตัวของ ส. ซึ่งจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 812 หาใช่ปลดหนี้ให้จำเลยทั้งสองไม่ จึงไม่มีทางที่จำเลยที่ 2จะอ้างว่าหนี้รายนี้ระงับไปแล้วโดยการประนอมหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นหลังสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนด: สิทธิคิดดอกเบี้ยถึงวันที่ทวงถามหนี้
ในระหว่างที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังดำเนินอยู่ต่อไปหลังจากที่ครบกำหนดอายุสัญญาแล้วนั้น ธนาคารโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ตามยอดเงินในบัญชีภายในกำหนด15 วัน นับแต่วันรับหนังสือ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับหนังสือทวงถามหรือไม่เมื่อวันใดจึงไม่อาจทราบวันผิดนัดแน่ชัดได้ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่ครบกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ออกหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ จากนั้นคงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันและผู้จำนองตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี โดยจำกัดเฉพาะหนี้ที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาสัญญา
จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองต่อโจทก์เพื่อประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งจำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระบุว่าให้มีกำหนดระยะเวลา 12 เดือนนับแต่วันทำสัญญา ส่วนจำนวนเงินที่เบิกเงินเกินบัญชีให้ถือตามบัญชีกระแสรายวัน ไม่มีข้อความใดในสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองว่าจำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดในหนี้เบิกเงินเกินบัญชีที่มีอยู่ก่อนและภายหลังที่ครบกำหนด 12 เดือนตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ดังนั้นหนี้ที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดก็คือหนี้เบิกเงินเกินบัญชีที่เกิดขึ้นในระหว่างระยะเวลา 12 เดือน นับแต่วันทำสัญญา กับดอกเบี้ยซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลานั้น ส่วนหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันทำสัญญาต้องนำมาหักออก
เมื่อโจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 3 ซึ่งรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันไม่เต็มตามฟ้องความรับผิดของจำเลยที่ 3 ในค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้ให้โจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงควรมีเพียงเท่าค่าธรรมเนียมในทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีต่อจำเลยที่ 3 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันและผู้จำนองตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำกัดระยะเวลาและจำนวนเงิน
จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองต่อโจทก์เพื่อประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งจำเลยที่ 1ทำไว้แก่โจทก์สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระบุว่าให้มีกำหนดระยะเวลา 12 เดือนนับแต่วันทำสัญญา ส่วนจำนวนเงินที่เบิกเงินเกินบัญชีให้ถือตามบัญชีกระแสรายวัน ไม่มีข้อความใดในสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองว่าจำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดในหนี้เบิกเงินเกินบัญชีที่มีอยู่ก่อนและภายหลังที่ครบกำหนด 12 เดือนตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ดังนั้นหนี้ที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดก็คือหนี้เบิกเงินเกินบัญชีที่เกิดขึ้นในระหว่างระยะเวลา 12 เดือนนับแต่วันทำสัญญากับดอกเบี้ยซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลานั้น ส่วนหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันทำสัญญาต้องนำมาหักออก
เมื่อโจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 3 ซึ่งรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันไม่เต็มตามฟ้องความรับผิดของจำเลยที่ 3 ในค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้ให้โจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1ที่ 2 จึงควรมีเพียงเท่าค่าธรรมเนียมในทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีต่อจำเลยที่ 3 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเลิกแล้ว คิดดอกเบี้ยธรรมดา, ผู้ค้ำประกัน/จำนองรับผิดเฉพาะวงเงินที่ระบุ
โจทก์ให้จำเลยกู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยได้เบิกเงินเกินบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีหลายครั้งเพื่อหักกลบลบหนี้กัน ดังนี้ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด
การที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยนำเงินส่งเข้าบัญชีเพื่อลดยอดเงินที่เบิกเกินบัญชีทั้งหมดภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันรับหนังสือ มิฉะนั้นโจทก์จะดำเนินคดีแก่จำเลย เช่นนี้ เป็นการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยมีผลให้สัญญาเลิกกันเมื่อครบกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันรับหนังสือแล้ว หลังจากสัญญาเลิกกันแล้วธนาคารโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกไม่ได้ คงคิดดอกเบี้ยโดยวิธีธรรมดาได้เท่านั้น
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่1ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่โจทก์ในวงเงินสองแสนบาท ในสัญญาค้ำประกันข้อ 6 ระบุไว้ว่า จำเลยที่ 2 จะจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 94029 เป็นประกัน แล้วต่อมาจำเลยที่ 2 ก็ทำสัญญาจำนองที่ดินโฉนดดังกล่าวแก่โจทก์โดยระบุในสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองว่าเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่เป็นหนี้โจทก์จำนวนเงินไม่เกินสองแสน บาท ดังนี้ทั้งสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองต่างเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในวงเงินสองแสนบาทรายเดียวกัน หาใช่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเป็นผู้ค้ำประกันฐานะหนึ่ง และต้องรับผิดตามสัญญาจำนองอีกฐานะหนึ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, การบอกเลิกสัญญา, ดอกเบี้ยทบต้น, และขอบเขตความรับผิดของสัญญาค้ำประกัน/จำนอง
โจทก์ให้จำเลยกู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยได้เบิกเงินเกินบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีหลายครั้งเพื่อหักกลบลบหนี้กัน ดังนี้ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด
การที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยนำเงินส่งเข้าบัญชีเพื่อลดยอดเงินที่เบิกเกินบัญชีทั้งหมดภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันรับหนังสือมิฉะนั้นโจทก์จะดำเนินคดีแก่จำเลย เช่นนี้ เป็นการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยมีผลให้สัญญาเลิกกันเมื่อครบกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันรับหนังสือแล้ว หลังจากสัญญาเลิกกันแล้วธนาคารโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกไม่ได้ คงคิดดอกเบี้ยโดยวิธีธรรมดาได้เท่านั้น
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่โจทก์ในวงเงินสองแสนบาท ในสัญญาค้ำประกันข้อ 6 ระบุไว้ว่า จำเลยที่2 จะจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 94029 เป็นประกัน แล้วต่อมาจำเลยที่ 2 ก็ทำสัญญาจำนองที่ดินโฉนดดังกล่าวแก่โจทก์โดยระบุในสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองว่าเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่เป็นหนี้โจทก์จำนวนเงินไม่เกินสองแสน บาท ดังนี้ทั้งสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองต่างเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในวงเงินสองแสนบาทรายเดียวกัน หาใช่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเป็นผู้ค้ำประกันฐานะหนึ่ง และต้องรับผิดตามสัญญาจำนองอีกฐานะหนึ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3945/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดดอกเบี้ยทบต้นในสัญญากู้ยืมและขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์มอบให้ทนายมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้กู้ เบิกเงินเกินบัญชี และไถ่ถอนจำนองให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่ วันที่ได้รับหนังสือจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าววันที่ 18 สิงหาคม 2522 ถือได้ว่ามีการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตั้งแต่วันที่ครบกำหนดตามที่ บอกกล่าวคือในวันที่ 17 กันยายน 2522 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเพียงวันที่ 17 กันยายน 2522 ต่อจากนั้นคงคิดได้แต่ดอกเบี้ยตามธรรมดา
ผู้ค้ำประกันย่อมต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเพียงเท่าที่ตนยอมค้ำประกัน ข้อสัญญาที่ผู้รับจำนองค้ำประกันมีสิทธิบังคับจำนองสำหรับหนี้ต้นเงินที่เกินวงเงินจำนองค้ำประกันด้วยนั้น เป็นการให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดเกินกว่าที่ตนยอมค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดในต้นเงินที่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 30,000 บาทปรากฏตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์ครั้งสุดท้ายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นเงิน 16,031 บาท69 สตางค์โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตั้งแต่วันนี้ ส่วนวิธีคิดดอกเบี้ยทบต้นเพื่อให้ผู้ค้ำประกันรับผิดนั้นต้องดูรายการที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่ค้ำประกันเป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้น ปรากฏตามรายการบัญชีเดินสะพัดว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นเงิน 43,031 บาท 69 สตางค์ จึงให้ถือเอา วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นในต้นเงิน 30,000 บาท ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 จนถึงวันที่ 17 กันยายน 2522 อันเป็นวันสุดท้ายที่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น ต่อจากนั้นให้คิดดอกเบี้ยตามปกติ
การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมจึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ ดังนั้นแม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 4 ได้
of 17