คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 859

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 162 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3945/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค้ำประกัน, ดอกเบี้ยทบต้น, ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, หนี้ร่วม
โจทก์มอบให้ทนายมีหนัสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชี และไถ่ถอนจำนองให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าววันที่ 18 สิงหาคม 2522 ถือได้ว่ามีการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตั้งแต่วันที่ครบกำหนดตามที่บอกกล่าวคือในวันที่ 17 กันยายน 2522 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเพียงวันที่ 17 กันยายน 2522 ต่อจากนั้นคงคิดได้แต่ดอกเบี้ยตามธรรมดา
ผู้ค้ำประกันย่อมต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเพียงเท่าที่ตนยอมค้ำประกัน ข้อสัญญาที่ผู้รับจำนองค้ำประกันมีสิทธิบังคับจำนองสำหรับหนี้ต้นเงินที่เกินวงเงินจำนองค้ำประกันด้วยนั้น เป็นการให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดเกินกว่าที่ตนยอมค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดในต้นเงินที่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 30,000 บาท ปรากฏตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์ครั้งสุดท้ายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นเงิน 16,031 บาท 69 สตางค์ โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตั้งแต่วันนี้ ส่วนวิธีคิดดอกเบี้ยทบต้นเพื่อให้ผู้ค้ำประกันรับผิดนั้นต้องดูรายการที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่ค้ำประกันเป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้น ปรากฏตามรายการบัญชีเดินสะพัดว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นเงิน 43,031 บาท 69 สตางค์ จึงให้ถือเอาวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นในต้นเงิน 30,000 บาท ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 จนถึงวันที่ 17 กันยายน 2522 อันเป็นวันสุดท้ายที่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น ต่อจากนั้นให้คิดดอกเบี้ยตามปกติ
การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมจึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ ดังนั้นแม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 4 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3493/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดนัด และการคิดดอกเบี้ยทบต้นหลังบอกเลิกสัญญา
โจทก์ได้บอกกล่าวทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้จนลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686ลูกหนี้ผิดนัดลงเมื่อใด เจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้แต่นั้น ดังนั้นแม้ผู้ค้ำประกันจะมิได้รับหนังสือทวงถาม ผู้ค้ำประกันก็หาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่ และโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ค้ำประกัน
โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกเลิกแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อใดโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้เพียงแค่วันที่ลงในหนังสือนั้น ต่อจากนั้นไปคงคิดได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3493/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดนัด และการคิดดอกเบี้ยทบต้นหลังบอกเลิกสัญญา
โจทก์ได้บอกกล่าวทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้จนลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 ลูกหนี้ผิดนัดลงเมื่อใด เจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้แต่นั้น ดังนั้นแม้ผู้ค้ำประกันจะมิได้รับหนังสือทวงถาม ผู้ค้ำประกันก็หาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่ และโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ค้ำประกัน
โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกเลิกแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อใดโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้เพียงแค่วันที่ลงในหนังสือนั้น ต่อจากนั้นไปคงคิดได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3349/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การค้ำประกัน, วงเงินจำกัดความรับผิด, สัญญาบัญชีเดินสะพัด, ดอกเบี้ยทบต้น
ปัญหาว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินคดีแทนโจทก์หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะหากปรากฏว่าโจทก์มิได้มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินคดีแทนโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องและศาลย่อมพิพากษายกฟ้อง แม้จำเลยที่ 3 มิได้ให้การปฏิเสธไว้ ก็มีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคสอง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้นำสืบในเรื่องการมอบอำนาจไว้เพราะมีจำเลยอื่นขาดนัดพิจารณา แต่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานดังกล่าวได้ว่าได้มีการมอบอำนาจกันจริง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์มีกำหนดเวลา 6 เดือน โดยมีข้อความในสัญญาค้ำประกันเท้าความถึงสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีว่ามีจำนวนเงิน 50,000 บาท และจำเลยที่ 3 สมัครใจยอมค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตลอดจนดอกเบี้ย ดังนี้ เมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำกัดวงเงินเบิกเกินบัญชีไว้ไม่เกิน 50,000 บาท ความรับผิดของจำเลยที่ 3 จึงจำกัดเฉพาะจำนวนเงินไม่เกิน 50,000 บาทกับดอกเบี้ยเท่านั้น
เมื่อปรากฏว่าหนึ่งวันก่อนครบ 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญา จำเลยที่ 1เป็นหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย 95,000 บาทเศษ ไม่อาจแยกได้ว่า ในจำนวนนี้เป็นเงินเบิกเกินบัญชีเท่าใดและเป็นดอกเบี้ยเท่าใด ทั้งไม่ได้ความชัดว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีรวมกับดอกเบี้ยของเงินจำนวนนั้นถึง 50,000 บาท เมื่อใดในระหว่างระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญาจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในยอดหนี้ในวันดังกล่าวเพียง 50,000 บาทเท่านั้น
เมื่อมีการปฏิบัติต่อกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามบัญชีเดินสะพัดการชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือเมื่อครบกำหนด 6 เดือนตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 มิได้ชำระหนี้ให้หมดสิ้น และโจทก์มิได้หักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังเจตนาให้มีบัญชีเดินสะพัดอยู่ต่อไปต่อมาโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 29 มีนาคม 2522 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดและได้มีการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดในวันที่ 29 มีนาคม 2522 โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันดังกล่าวต่อแต่นั้นไปคงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3349/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การค้ำประกัน, วงเงินจำกัดความรับผิด, สัญญาบัญชีเดินสะพัด, การคิดดอกเบี้ย
ปัญหาว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินคดีแทนโจทก์หรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะหากปรากฏว่าโจทก์มิได้มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินคดีแทนโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องและศาลย่อมพิพากษายกฟ้อง แม้จำเลยที่ 3 มิได้ให้การปฏิเสธไว้ ก็มีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคสอง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้นำสืบในเรื่องการมอบอำนาจไว้เพราะมีจำเลยอื่นขาดนัดพิจารณา แต่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานดังกล่าวได้ว่า ได้มีการมอบอำนาจกันจริง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์มีกำหนดเวลา 6 เดือนโดยมีข้อความในสัญญาค้ำประกันเท้าความถึงสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีว่ามีจำนวนเงิน 50,000 บาท และจำเลยที่ 3 สมัครใจยอมค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตลอดจนดอกเบี้ย ดังนี้ เมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำกัดวงเงินเบิกเกินบัญชีไว้ไม่เกิน 50,000 บาท ความรับผิดของจำเลยที่ 3 จึงจำกัดเฉพาะจำนวนเงินไม่เกิน 50,000 บาทกับดอกเบี้ยเท่านั้น
เมื่อปรากฏว่าหนึ่งวันก่อนครบ 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญา จำเลยที่ 1เป็นหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย 95,000 บาทเศษ ไม่อาจแยกได้ว่าในจำนวนนี้เป็นเงินเบิกเกินบัญชีเท่าใดและเป็นดอกเบี้ยเท่าใด ทั้งไม่ได้ความชัดว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีรวมกับดอกเบี้ยของเงินจำนวนนั้นถึง 50,000 บาท เมื่อใดในระหว่างระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญา จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในยอดหนี้ในวันดังกล่าวเพียง 50,000 บาทเท่านั้น
เมื่อมีการปฏิบัติต่อกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามบัญชีเดินสะพัดการชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือเมื่อครบกำหนด 6 เดือนตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 มิได้ ชำระหนี้ให้หมดสิ้น และโจทก์มิได้หักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังเจตนาให้มีบัญชีเดินสะพัดอยู่ต่อไปต่อมาโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 29 มีนาคม 2522 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดและได้มีการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดในวันที่ 29 มีนาคม 2522 โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันดังกล่าวต่อแต่นั้นไปคงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี (บัญชีเดินสะพัด) และอายุความของหนี้ที่เกิดขึ้นจากการหักทอนบัญชี
ตามระเบียบการฝากเงินกระแสรายวันของธนาคารโจทก์มีว่าถ้าเงินในบัญชีของจำเลยไม่พอจ่ายตามเช็ค เมื่อธนาคารได้ผ่อนผันจ่ายเงินตามเช็คนั้นให้ไปจำเลยย่อมเป็นอันผูกพันตนที่จะจ่ายเงินสวนที่เกินคืนให้ธนาคารโจทก์เสมือนหนึ่งได้ขอร้องให้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่ธนาคารธนาคารโจทก์จะคิดดอกเบี้ยเงินเบิกเกินบัญชีเป็นรายวัน(ดอกเบี้ยทบต้น)และจะนำผลดอกเบี้ยนั้นหักบัญชีเป็นรายเดือนจำเลยฝากเงินกระแสรายวันแก่ธนาคารโจทก์โดยโจทก์ตกลงให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารโจทก์ได้โดยคิดดอกเบี้ยทบต้นย่อมถือได้ว่าเป็นสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี
การที่จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารโจทก์มีการนำเงินเข้าฝากในบัญชีและเบิกเงินอยู่เรื่อย ๆโดยวิธีใช้เช็คสั่งจ่ายหลายครั้งและยอมเสียดอกเบี้ยทบต้น ตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคารดังนี้ เข้าลักษณะ สัญญาบัญชีเดินสะพัด แม้หลังจากจำเลยใช้เช็คสั่งจ่ายเบิกเงินครั้งสุดท้ายแล้วบัญชีของจำเลยได้หยุดเดินสะพัดโดยจำเลยมิได้นำเงินเข้าฝากหรือเบิกเงินจากธนาคารโจทก์ อีกเลยจนถึงวันฟ้องจะเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้วก็ตามกรณีก็ต้องนำบทบัญญัติเกี่ยวด้วยเรื่องบัญชีเดินสะพัดมาปรับซึ่งการชำระหนี้ย่อมต้องปฏิบัติตามวิธีการของ สัญญาบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำได้เมื่อหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินที่คงเหลือเมื่อไม่ปรากฏว่าการ เบิกเงินเกินบัญชีนี้ได้ตกลงกันชำระหนี้เสร็จสิ้นเมื่อใดสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้เงินเบิกเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นเมื่อ มีการหักทอนบัญชีกันและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 856,859
ธนาคารโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามลงวันที่ 5 มีนาคม2519 ไปยังจำเลยให้จัดการชำระเงินตามยอดเงินในบัญชีเงินฝากวันที่ 26 พฤศจิกายน 2518 ให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วันนับแต่วันได้รับหนังสือทวงถามพ้นกำหนดวันที่ 24 มิถุนายน 2519 จำเลยทราบแล้วมิได้โต้แย้งคัดค้านยอดหนี้และไม่ชำระหนี้ดังนี้ถือได้ว่าได้มีการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันแล้วโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2521ยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
(วรรคสามวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากสัญญาบัญชีเดินสะพัด เริ่มนับเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องหนี้ ไม่ใช่แค่วันที่ใช้เช็คครั้งสุดท้าย
ตามระเบียบการฝากเงินกระแสรายวันของธนาคารโจทก์มีว่า ถ้าเงินในบัญชีของจำเลยไม่พอจ่ายตามเช็ค เมื่อธนาคารได้ผ่อนผันจ่ายเงินตามเช็คนั้นให้ไป จำเลยย่อมเป็นอันผูกพันตนที่จะจ่ายเงินสวนที่เกินคืนให้ธนาคารโจทก์ เสมือนหนึ่งได้ขอร้องให้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่ธนาคาร ธนาคารโจทก์จะคิดดอกเบี้ยเงินเบิกเกินบัญชีเป็นรายวัน (ดอกเบี้ยทบต้น) และจะนำผลดอกเบี้ยนั้นหักบัญชีเป็นรายเดือน จำเลยฝากเงินกระแสรายวันแก่ธนาคารโจทก์โดยโจทก์ตกลงให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารโจทก์ได้โดยคิดดอกเบี้ยทบต้น ย่อมถือได้ว่าเป็นสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี
การที่จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารโจทก์ มีการนำเงินเข้าฝากในบัญชีและเบิกเงินอยู่เรื่อย ๆ โดยวิธีใช้เช็คสั่งจ่ายหลายครั้งและยอมเสียดอกเบี้ยทบต้น ตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคารดังนี้ เข้าลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัด แม้หลังจากจำเลยใช้เช็คสั่งจ่ายเบิกเงินครั้งสุดท้ายแล้ว บัญชีของจำเลยได้หยุดเดินสะพัด โดยจำเลยมิได้นำเงินเข้าฝากหรือเบิกเงินจากธนาคารโจทก์อีกเลยจนถึงวันฟ้องจะเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้วก็ตามกรณีก็ต้องนำบทบัญญัติเกี่ยวด้วยเรื่องบัญชีเดินสะพัดมาปรับ ซึ่งการชำระหนี้ย่อมต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำได้เมื่อหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินที่คงเหลือ เมื่อไม่ปรากฏว่าการเบิกเงินเกินบัญชีนี้ได้ตกลงกันชำระหนี้เสร็จสิ้นเมื่อใด สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้เงินเบิกเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นเมื่อ มีการหักทอนบัญชีกันและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856, 859
ธนาคารโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามลงวันที่ 5 มีนาคม 2519 ไปยังจำเลยให้จัดการชำระเงินตามยอดเงินในบัญชีเงินฝากวันที่ 26 พฤศจิกายน 2518 ให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือทวงถามพ้นกำหนดวันที่ 24 มิถุนายน 2519 จำเลยทราบแล้วมิได้โต้แย้งคัดค้านยอดหนี้และไม่ชำระหนี้ดังนี้ ถือได้ว่าได้มีการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันแล้วโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2521 ยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
(วรรคสามวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1129/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด, การเลิกสัญญา, และข้อตกลงตามประเพณีการค้า
เมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์จำเลยมิได้กำหนดระยะเวลากันไว้ ต้องถือว่าได้มีการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ภายในระยะเวลาที่โจทก์แจ้งไปยังจำเลยให้จัดการชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชี ซึ่งในระหว่างนั้นจำเลยก็มิได้สั่งจ่ายเงินอีก
ตามประเพณีการค้าธนาคารโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ ข้อตกลงไม่เป็นโมฆะ ปัญหาว่าข้อนี้เป็นโมฆะหรือไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดหรือไม่: การต่ออายุโดยปริยายและสิทธิคิดดอกเบี้ย
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2514 ลูกหนี้ที่ 1 ทำหนังสือสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ กำหนดชำระเงินคืนภายใน 6 เดือน ต่อมาลูกหนี้ที่ 1 ขอเลื่อนกำหนดชำระหนี้อีกหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายขอเลื่อนกำหนดชำระหนี้ไปจนถึงวันที่ 13 มกราคม 2519 แม้ลูกหนี้ที่ 1 และเจ้าหนี้จะตกลงยืดอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้ายมาเพียงวันดังกล่าวก็ตาม แต่ก็ไม่อาจถือได้แน่นอนว่าสัญญาจะสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว เพราะไม่มีข้อตกลงว่าเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลานั้นให้สัญญาเป็นอันเลิกกันทันที เมื่อไม่ปรากฏว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาและให้หักทอนบัญชี ตามพฤติการณ์ของคู่สัญญาถือว่ามีการต่ออายุสัญญาต่อไปอีกปริยาย สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ 1 อันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงหาสิ้นสุดในวันที่ 13 มกราคม 2519 ไม่ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปจนถึงวันศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี สิ้นสุดหรือไม่? ดอกเบี้ยทบต้นคิดได้ถึงวันพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2514 ลูกหนี้ที่ 1 ทำหนังสือเบิกเงินเกินบัญชีกับเจ้าหนี้ผู้รับชำระหนี้ กำหนดชำระเงินคืนภายใน 6 เดือน ต่อมาลูกหนี้ที่ 1ขอเลื่อนกำหนดชำระหนี้อีกหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายขอเลื่อนกำหนดชำระหนี้ไปจนถึงวันที่ 13 มกราคม 2519 แม้ลูกหนี้ที่ 1 และเจ้าหนี้จะตกลงยืดอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้ายมาเพียงวันดังกล่าวก็ตาม แต่ก็ไม่อาจ ถือได้แน่นอนว่าสัญญาจะสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว เพราะไม่มีข้อตกลงว่า เมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลานั้นให้สัญญาเป็นอันเลิกกันทันที เมื่อไปปรากฏว่า ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาและให้หักทอนบัญชี ตามพฤติการณ์ของคู่สัญญาถือว่ามีการต่ออายุสัญญาต่อไปอีกโดยปริยาย สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ 1 อันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงหาสิ้นสุดลงในวันที่ 13 มกราคม 2519 ไม่ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปจน ถึงวันศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้
of 17