พบผลลัพธ์ทั้งหมด 162 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเมื่อใด? ผู้รับจำนองต้องรับผิดอย่างไร?
แม้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า ผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดในสัญญาแล้ว ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้เป็นรายเดือน และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินกลายเป็นต้นเงินอันผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดชำระอย่างเดียวกันกับที่ระบุในสัญญาข้อ 2(ภายในวันสิ้นเดือน) และสัญญาดังกล่าวไม่ได้มีกำหนดเวลาสิ้นสุดใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาหรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือก็ตามแต่เมื่อจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงแก้ไขสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งที่ห้าและขอลดวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีลงจากวงเงินเดิมคงเหลือวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 1,700,000 บาท แล้วจำเลยเบิกถอนเงินครั้งสุดท้ายโดยวิธีถอนเงินสดบริการเงินด่วนเพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นก็มีเพียงรายการที่จำเลยนำเงินสดเข้าฝาก และรายการที่โจทก์ คิดดอกเบี้ยแล้วนำไปทบกับต้นเงินในวันสิ้นเดือนเพื่อให้ เป็นต้นเงินต่อไป จากนั้นก็ไม่มีการถอนเงินออกจากบัญชีอีกเลย และมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่ 31 ธันวาคม 2537 ซึ่งปรากฏว่า จำเลยเป็นหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์ 1,696,182.61 บาท ใกล้เคียงกับวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี 1,700,000 บาทแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าไม่ประสงค์จะให้มี การสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไป และตาม สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์และจำเลยกำหนดหักทอนบัญชีกัน ทุกวันสิ้นสุดของเดือน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึง เป็นอันเลิกกันในวันที่ 31 ธันวาคม 2537 หาได้สิ้นสุด ในวันที่ 7 เมษายน 2538 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์ บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดจำนวนต้นเงินต่ำกว่าที่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเมื่อเป็นผลจากการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากำหนดระยะเวลาที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้สั้นลงกว่าที่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ จึงเป็นการวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยไม่ชอบ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ จำเลยที่ 2 เข้ามาเกี่ยวข้องในกรณีนี้เพียงแต่เป็นผู้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยที่ 1ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์และโจทก์ชอบที่จะ ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิ พักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยัง บุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่ ดังนี้จำเลยที่ 2 จึงต้องรับไป ทั้งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 อันมีต่อโจทก์เฉพาะที่ เกี่ยวกับทรัพย์สินซึ่งจำนองในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง เท่านั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกตกลงขึ้นเงินจำนอง เป็นประกันครั้งที่สามอีกเป็นเงิน 56,000 บาท ทำให้ ยอดหนี้จำนองรวมเป็นเงิน 1,700,000 บาท ก็เป็นการจดทะเบียน เปลี่ยนแปลงจำนวนหนี้อันจำนองเป็นประกันเพื่อให้ยกขึ้น เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ โดยจำเลยที่ 2 กระทำในฐานะ เป็นผู้มีส่วนได้เสีย คือเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 746 ยอมขึ้นเงินจำนอง ในทรัพย์สินซึ่งจำนองอีกเพียง 56,000 บาท หาทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือลูกหนี้จำนอง โดยตรงในหนี้จำนองทั้งหมด แม้บันทึกขึ้นเงินจำนองครั้งที่สาม จะมีข้อความว่า เงื่อนไขและข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตาม หนังสือสัญญาจำนองเดิมทุกประการ ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2ต้องรับผิดในหนี้ที่ขาดจำนวน หากบังคับจำนองแล้วได้เงิน ไม่พอชำระหนี้ตามที่ระบุในบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนอง ที่จำเลยที่ 1 ผู้จำนองทำไว้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, และความรับผิดของผู้รับโอนจำนอง
แม้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า ผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดในสัญญาแล้ว ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้เป็นรายเดือน และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินกลายเป็นต้นเงินอันผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกัน และมีกำหนดชำระอย่างเดียวกันกับที่ระบุในสัญญาข้อ 2 (ภายในวันสิ้นเดือน) และสัญญาดังกล่าวไม่ได้มีกำหนดเวลาสิ้นสุดใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาหรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงแก้ไขสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งที่ห้าและขอลดวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีลงจากวงเงินเดิมคงเหลือวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 1,700,000 บาท แล้วจำเลยเบิกถอนเงินครั้งสุดท้ายโดยวิธีถอนเงินสดบริการเงินด่วนเพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นก็มีเพียงรายการที่จำเลยนำเงินสดเข้าฝาก และรายการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยแล้วนำไปทบกับต้นเงินในวันสิ้นเดือนเพื่อให้เป็นต้นเงินต่อไป จากนั้นก็ไม่มีการถอนเงินออกจากบัญชีอีกเลย และมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่ 31 ธันวาคม 2537 ซึ่งปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์1,696,182.61 บาท ใกล้เคียงกับวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี 1,700,000 บาทแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไป และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์และจำเลยกำหนดหักทอนบัญชีกันทุกวันสิ้นสุดของเดือน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเป็นอันเลิกกันในวันที่ 31ธันวาคม 2537 หาได้สิ้นสุดในวันที่ 7 เมษายน 2538 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยต่อไป
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดจำนวนต้นเงินต่ำกว่าที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเมื่อเป็นผลจากการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากำหนดระยะเวลาที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้สั้นลงกว่าที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ จึงเป็นการวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยไม่ชอบ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้
จำเลยที่ 2 เข้ามาเกี่ยวข้องในกรณีนี้เพียงแต่เป็นผู้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์และโจทก์ชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่ ดังนี้จำเลยที่ 2 จึงต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 อันมีต่อโจทก์เฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์สินซึ่งจำนองในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองเท่านั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกันครั้งที่สามอีกเป็นเงิน56,000 บาท ทำให้ยอดหนี้จำนองรวมเป็นเงิน 1,700,000 บาท ก็เป็นการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงจำนวนหนี้อันจำนองเป็นประกันเพื่อให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ โดยจำเลยที่ 2 กระทำในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสีย คือเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองตาม ป.พ.พ.มาตรา 746 ยอมขึ้นเงินจำนองในทรัพย์สินซึ่งจำนองอีกเพียง 56,000 บาท หาทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือลูกหนี้จำนองโดยตรงในหนี้จำนองทั้งหมด แม้บันทึกขึ้นเงินจำนองครั้งที่สามจะมีข้อความว่า เงื่อนไขและข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตามหนังสือสัญญาจำนองเดิมทุกประการ ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในหนี้ที่ขาดจำนวนหากบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามที่ระบุในบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่จำเลยที่ 1 ผู้จำนองทำไว้แก่โจทก์
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดจำนวนต้นเงินต่ำกว่าที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเมื่อเป็นผลจากการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากำหนดระยะเวลาที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้สั้นลงกว่าที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ จึงเป็นการวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยไม่ชอบ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้
จำเลยที่ 2 เข้ามาเกี่ยวข้องในกรณีนี้เพียงแต่เป็นผู้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์และโจทก์ชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่ ดังนี้จำเลยที่ 2 จึงต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 อันมีต่อโจทก์เฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์สินซึ่งจำนองในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองเท่านั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกันครั้งที่สามอีกเป็นเงิน56,000 บาท ทำให้ยอดหนี้จำนองรวมเป็นเงิน 1,700,000 บาท ก็เป็นการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงจำนวนหนี้อันจำนองเป็นประกันเพื่อให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ โดยจำเลยที่ 2 กระทำในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสีย คือเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองตาม ป.พ.พ.มาตรา 746 ยอมขึ้นเงินจำนองในทรัพย์สินซึ่งจำนองอีกเพียง 56,000 บาท หาทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือลูกหนี้จำนองโดยตรงในหนี้จำนองทั้งหมด แม้บันทึกขึ้นเงินจำนองครั้งที่สามจะมีข้อความว่า เงื่อนไขและข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตามหนังสือสัญญาจำนองเดิมทุกประการ ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในหนี้ที่ขาดจำนวนหากบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามที่ระบุในบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่จำเลยที่ 1 ผู้จำนองทำไว้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุด-ดอกเบี้ย: การคิดดอกเบี้ยหลังสัญญาสิ้นสุด และอัตราดอกเบี้ยที่ใช้
จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงิน 1,000,000บาท เป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา แต่โจทก์ผู้ให้กู้จะเรียกร้องให้จำเลยผู้กู้ชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนเมื่อใดก็ได้ ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควร หลังจากทำสัญญาแล้วมีการเพิ่มและลดวงเงินหลายครั้ง รวมวงเงินที่อนุมัติ 3,000,000 บาท กำหนดหักทอนบัญชีทุกวันสิ้นเดือน แม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์จำเลยจะไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาก็ตาม แต่เมื่อมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่31 กรกฎาคม 2537 แล้ว วงเงินค้างชำระเกิน 3,000,000 บาท โจทก์จึงได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ หลังจากนั้นจำเลยไม่ได้เบิกเงินจากบัญชีอีกเลย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าคู่สัญญาประสงค์ให้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันที่ 31 กรกฎาคม 2537 นั่นเอง แม้หลังจากนั้นจำเลยจะนำเงินเข้าบัญชีอีก 2 ครั้งก็เป็นการชำระหนี้ที่ค้างอยู่ มิได้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันตามปรกติอีก โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้เพียงวันที่ 31 กรกฎาคม 2537 เท่านั้น และหากในขณะสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลง โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราใด หลังจากเลิกสัญญาแล้วโจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราดังกล่าวแบบไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นเท่านั้น เพราะเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์จะคิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อใด และการคิดดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา
จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงิน1,000,000 บาท เป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา แต่โจทก์ผู้ให้กู้จะเรียกร้องให้จำเลยผู้กู้ชำระหนี้ทั้งหมด หรือบางส่วนเมื่อใดก็ได้ ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควร หลังจาก ทำสัญญาแล้วมีการเพิ่มและลดวงเงินหลายครั้ง รวมวงเงิน ที่อนุมัติ 3,000,000 บาท กำหนดหักทอนบัญชีทุกวันสิ้นเดือนแม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์จำเลยจะไม่มี กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาก็ตาม แต่เมื่อมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่ 31 กรกฎาคม 2537แล้ว วงเงินค้างชำระเกิน 3,000,000 บาท โจทก์จึงได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ หลังจากนั้นจำเลยไม่ได้เบิกเงินจากบัญชีอีกเลย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าคู่สัญญาประสงค์ให้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันที่ 31 กรกฎาคม 2537 นั่นเอง แม้หลังจากนั้นจำเลยจะนำเงินเข้าบัญชีอีก 2 ครั้ง ก็เป็นการชำระหนี้ที่ค้างอยู่ มิได้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันตามปรกติ อีกโจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้เพียงวันที่ 31กรกฎาคม 2537 เท่านั้น และหากในขณะสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลง โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราใด หลังจากเลิกสัญญาแล้วโจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราดังกล่าวแบบไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นเท่านั้น เพราะเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้นโจทก์จะคิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกสัญญาเมื่อใด, การบอกเลิกสัญญา, การส่งหนังสือบอกกล่าวโดยชอบ
จำเลยยื่นคำขอเปิดบัญชีเดินสะพัดกับทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวันเดียวกัน โดยคู่สัญญาไม่ได้กำหนดวันชำระหนี้ไว้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดเวลา กรณีเช่นนี้ คู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้ การที่โจทก์ มีหนังสือทวงถามระบุให้จำเลยชำระหนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือทวงถาม หากพ้นกำหนดแล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้ให้ถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นอัน สิ้นสุดลง ดังนี้เมื่อจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้วจำเลย ไม่ได้ชำระหนี้ให้โจทก์ภายในกำหนด สัญญาบัญชีเดินสะพัด จึงเป็นอันเลิกกันตั้งแต่วันพ้นกำหนดนั้น สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า การส่งหนังสือทวงถามบอกกล่าวผู้กู้ แม้ส่งแล้วไม่มีผู้รับเพราะผู้กู้ย้ายที่อยู่โดยไม่ได้แจ้งย้ายให้ผู้ให้กู้ทราบให้ถือว่าได้ส่งให้ผู้กู้แล้วโดยชอบ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยผู้กู้เคยแจ้งย้ายให้โจทก์ทราบ ดังนั้นที่พนักงานไปรษณีย์นำหนังสือทวงถามของโจทก์ไปส่งให้จำเลยตามที่อยู่ที่ระบุไว้ในสัญญาถือได้ว่าจำเลยได้รับหนังสือทวงถามของโจทก์แล้วโดยชอบในวันดังกล่าว ในหนังสือทวงถามระบุให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ภายในกำหนด 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือทวงถาม กำหนดเวลาชำระหนี้ วันสุดท้ายจึงเป็นวันที่ 2 พฤศจิกายน 2540 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ภายในเวลาดังกล่าว สัญญาบัญชีเดินสะพัด ระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันเลิกกันตั้งแต่ วันพ้นกำหนดคือวันที่ 3 พฤศจิกายน 2540
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและการมีผลของการไม่ชำระหนี้ตามกำหนด
จำเลยยื่นคำขอเปิดบัญชีเดินสะพัดกับทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวันเดียวกัน โดยคู่สัญญาไม่ได้กำหนดวันชำระหนี้ไว้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดเวลา กรณีเช่นนี้คู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้ การที่โจทก์มีหนังสือทวงถามระบุให้จำเลยชำระหนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือทวงถาม หากพ้นกำหนดแล้วจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นอันสิ้นสุดลง ดังนี้เมื่อจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้วจำเลยไม่ได้ชำระหนี้ให้โจทก์ภายในกำหนด สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงเป็นอันเลิกกันตั้งแต่วันพ้นกำหนดนั้น
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า การส่งหนังสือทวงถามบอกกล่าวผู้กู้ แม้ส่งแล้วไม่มีผู้รับเพราะผู้กู้ย้ายที่อยู่ โดยไม่ได้แจ้งย้ายให้ผู้ให้กู้ทราบให้ถือว่าได้ส่งให้ผู้กู้แล้วโดยชอบ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยผู้กู้เคยแจ้งย้ายให้โจทก์ทราบ ดังนั้นที่พนักงานไปรษณีย์นำหนังสือทวงถามของโจทก์ไปส่งให้จำเลยตามที่อยู่ที่ระบุไว้ในสัญญาถือได้ว่าจำเลยได้รับหนังสือทวงถามของโจทก์แล้วโดยชอบในวันดังกล่าว ในหนังสือทวงถามระบุให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ภายในกำหนด 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือทวงถาม กำหนดเวลาชำระหนี้วันสุดท้ายจึงเป็นวันที่ 2 พฤศจิกายน 2540 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ภายในเวลาดังกล่าว สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันเลิกกันตั้งแต่วันพ้นกำหนดคือวันที่ 3 พฤศจิกายน 2540
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า การส่งหนังสือทวงถามบอกกล่าวผู้กู้ แม้ส่งแล้วไม่มีผู้รับเพราะผู้กู้ย้ายที่อยู่ โดยไม่ได้แจ้งย้ายให้ผู้ให้กู้ทราบให้ถือว่าได้ส่งให้ผู้กู้แล้วโดยชอบ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยผู้กู้เคยแจ้งย้ายให้โจทก์ทราบ ดังนั้นที่พนักงานไปรษณีย์นำหนังสือทวงถามของโจทก์ไปส่งให้จำเลยตามที่อยู่ที่ระบุไว้ในสัญญาถือได้ว่าจำเลยได้รับหนังสือทวงถามของโจทก์แล้วโดยชอบในวันดังกล่าว ในหนังสือทวงถามระบุให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ภายในกำหนด 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือทวงถาม กำหนดเวลาชำระหนี้วันสุดท้ายจึงเป็นวันที่ 2 พฤศจิกายน 2540 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ภายในเวลาดังกล่าว สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันเลิกกันตั้งแต่วันพ้นกำหนดคือวันที่ 3 พฤศจิกายน 2540
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อครบกำหนดสัญญา การคิดดอกเบี้ยเกินสิทธิและวิธีการหักชำระหนี้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทระบุว่า เมื่อถึงกำหนด12 เดือน ตามข้อ 1(คือวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533) และไม่มีการ ต่ออายุการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหลักฐานหนังสือกำหนดเวลา กันใหม่ ผู้เบิกเงินเกินบัญชีและธนาคารตกลงกันให้มีการเบิกเงิน เกินบัญชีตามสัญญานี้ต่ออีกคราวละ 6 เดือน ตลอดไป หมายความ เพียงว่าหลังจากครบกำหนดชำระหนี้ตามข้อ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ยังคงเบิกเงินจากโจทก์ต่อไปโดยไม่มีการต่ออายุสัญญา เบิกเงินเกินบัญชีเป็นหนังสือจึงจะเป็นการตกลงให้มี การเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกคราวละ 6 เดือน หาใช่ว่าเมื่อครบกำหนดชำระหนี้ตามข้อ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ได้เบิกเงินจากโจทก์อีกต่อไป จะเป็นการตกลงให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกคราวละ 6 เดือน ตลอดไปไม่ ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการต่อสัญญาเป็นหนังสือกันต่อไป และไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่านับแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระหนี้ จำเลยที่ 1ขอเบิกเงินจากบัญชีหรือโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงิน เกินบัญชีต่อไป ทั้งไม่ปรากฏว่านับแต่วันถัดจากวันครบกำหนด ชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้เบิกเงิน จากโจทก์อีก การที่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีหลายครั้ง ภายหลังจากครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี แล้วก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้เท่านั้นไม่ใช่เพื่อ ให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไปเพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกัน พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี อีกต่อไป สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ย่อมเลิกกันและสิ้นสุดลงในวันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญา เบิกเงินเกินบัญชีคือวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 ซึ่งมีผลให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ได้ถึงวันสิ้นสุดสัญญาเท่านั้น ผู้เบิกเงินเกินบัญชีตกลงให้ดอกเบี้ยแก่ธนาคารสำหรับจำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีทบต้นตามประเพณีธนาคารพาณิชย์ซึ่งธนาคารจะคำนวณและลงบัญชีตามวิธีการของธนาคารพาณิชย์ทุกเดือน และโจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นทุกวันสิ้นเดือนเป็น รายเดือน ดังนั้นดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 ถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดสัญญานั้น ยังไม่ถึง 1 เดือน ตามสัญญาและประเพณีที่โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้น โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ คิดได้แต่เพียงดอกเบี้ย ไม่ทบต้น หลังจากสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดแล้วในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ผู้กู้เบิกเงินเกินบัญชีแบบไม่ทบต้นได้ในอัตราร้อยละ 11.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 และเมื่อสัญญาบัญชีเดินสะพัด ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 สิ้นสุดลง แล้วโจทก์มีสิทธิที่จะ หักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยชำระหนี้ โจทก์ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2533 ได้ทันที การที่โจทก์ยังคง คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนจากจำเลยที่ 1 โดยไม่มีสิทธิ ตลอดมา ทำให้ยอดหนี้ค้างชำระของจำเลยที่ 1 ตามที่ปรากฏ ในบัญชีกระแสรายวันสูงขึ้น จนเวลาให้ล่วงเลยมาจนครบ 1 ปี จึงนำเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 เข้าหักทอนบัญชีจึงไม่ถูกต้อง ดังนั้น เมื่อปรากฏรายการเพียงวันที่ 31 ตุลาคม 2533 ว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ 1,100,010.68 บาท จึงต้องถือยอดเงินดังกล่าวเป็นต้นเงินสำหรับคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นอัตราร้อยละ 11.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533ไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระเงินแก่โจทก์เสร็จ โดยให้นำเงิน จากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยหัก ชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2533 และให้หักเงินที่จำเลยที่ 1 นำเข้าบัญชีนับแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2533เป็นต้นไปออกจากยอดเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระโดยหักออกชดใช้เป็นค่าดอกเบี้ยไม่ทบต้นก่อน ที่เหลือให้หักชำระต้นเงินทุกครั้งที่มีการนำเงินเข้าบัญชีจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุด ผลบังคับใช้ดอกเบี้ยไม่ทบต้น การหักชำระหนี้จากบัญชีอื่น
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทระบุว่า เมื่อถึงกำหนด 12 เดือนตามข้อ 1 (คือวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533) และไม่มีการต่ออายุการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหลักฐานหนังสือกำหนดเวลากันใหม่ ผู้เบิกเงินเกินบัญชีและธนาคารตกลงกันให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญานี้ต่ออีกคราวละ 6 เดือน ตลอดไป หมายความเพียงว่าหลังจากครบกำหนดชำระหนี้ตามข้อ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ยังคงเบิกเงินจากโจทก์ต่อไปโดยไม่มีการต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหนังสือจึงจะเป็นการตกลงให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกคราวละ 6 เดือน หาใช่ว่าเมื่อครบกำหนดชำระหนี้ตามข้อ 1แล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ได้เบิกเงินจากโจทก์อีกต่อไป จะเป็นการตกลงให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกคราวละ 6 เดือน ตลอดไปไม่ ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการต่อสัญญาเป็นหนังสือกันต่อไป และไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่านับแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระหนี้ จำเลยที่ 1 ขอเบิกเงินจากบัญชีหรือโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไป ทั้งไม่ปรากฏว่านับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้เบิกเงินจากโจทก์อีก การที่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีหลายครั้งภายหลังจากครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้เท่านั้นไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไปเพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกัน พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไป สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมเลิกกันและสิ้นสุดลงในวันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีคือวันที่ 13 พฤศจิกายน2533 ซึ่งมีผลให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ได้ถึงวันสิ้นสุดสัญญาเท่านั้น
ผู้เบิกเงินเกินบัญชีตกลงให้ดอกเบี้ยแก่ธนาคารสำหรับจำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีทบต้นตามประเพณีธนาคารพาณิชย์ซึ่งธนาคารจะคำนวณและลงบัญชีตามวิธีการของธนาคารพาณิชย์ทุกเดือน และโจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นทุกวันสิ้นเดือนเป็นรายเดือน ดังนั้นดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 ถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน2533 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดสัญญานั้นยังไม่ถึง 1 เดือน ตามสัญญาและประเพณีที่โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้น โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ คิดได้แต่เพียงดอกเบี้ยไม่ทบต้น และหลังจากสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดแล้วโจทก์คิดดอกเบี้ยได้แบบไม่ทบต้น โจทก์คิดดอกเบี้ยในเดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2533 ในอัตราร้อยละ 11.5 ต่อปีดังนั้นนับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 แบบไม่ทบต้นได้ในอัตราร้อยละ 11.5 ต่อปี เมื่อสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1สิ้นสุดลงในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 แล้วโจทก์ก็ชอบที่จะหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยชำระหนี้โจทก์ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2533การที่โจทก์ยังคงคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนจากจำเลยที่ 1 โดยไม่มีสิทธิตลอดมาทำให้ยอดหนี้ค้างชำระของจำเลยที่ 1 ตามที่ปรากฏในบัญชีกระแสรายวันสูงขึ้น จนเวลาให้ล่วงเลยมาจนครบ 1 ปี จึงนำเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 เข้าหักทอนบัญชีจึงไม่ถูกต้อง ดังนั้น เมื่อปรากฏรายการเพียงวันที่ 31 ตุลาคม 2533 ว่า จำเลยที่ 1เป็นหนี้โจทก์ 1,100,010.68 บาท จึงให้ถือยอดเงินดังกล่าวเป็นต้นเงินสำหรับคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นอัตราร้อยละ 11.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 ไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระเงินแก่โจทก์เสร็จ โดยให้นำเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยหักชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ในวันที่ 14 พฤศจิกายน2533 และให้หักเงินที่จำเลยที่ 1 นำเข้าบัญชีนับแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2533เป็นต้นไปออกจากยอดเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระโดยหักออกชดใช้เป็นค่าดอกเบี้ยไม่ทบต้นก่อน ที่เหลือให้หักชำระต้นเงินทุกครั้งที่มีการนำเงินเข้าบัญชี จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกับ
ผู้เบิกเงินเกินบัญชีตกลงให้ดอกเบี้ยแก่ธนาคารสำหรับจำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีทบต้นตามประเพณีธนาคารพาณิชย์ซึ่งธนาคารจะคำนวณและลงบัญชีตามวิธีการของธนาคารพาณิชย์ทุกเดือน และโจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นทุกวันสิ้นเดือนเป็นรายเดือน ดังนั้นดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 ถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน2533 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดสัญญานั้นยังไม่ถึง 1 เดือน ตามสัญญาและประเพณีที่โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้น โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ คิดได้แต่เพียงดอกเบี้ยไม่ทบต้น และหลังจากสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดแล้วโจทก์คิดดอกเบี้ยได้แบบไม่ทบต้น โจทก์คิดดอกเบี้ยในเดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2533 ในอัตราร้อยละ 11.5 ต่อปีดังนั้นนับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 แบบไม่ทบต้นได้ในอัตราร้อยละ 11.5 ต่อปี เมื่อสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1สิ้นสุดลงในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 แล้วโจทก์ก็ชอบที่จะหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยชำระหนี้โจทก์ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2533การที่โจทก์ยังคงคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนจากจำเลยที่ 1 โดยไม่มีสิทธิตลอดมาทำให้ยอดหนี้ค้างชำระของจำเลยที่ 1 ตามที่ปรากฏในบัญชีกระแสรายวันสูงขึ้น จนเวลาให้ล่วงเลยมาจนครบ 1 ปี จึงนำเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 เข้าหักทอนบัญชีจึงไม่ถูกต้อง ดังนั้น เมื่อปรากฏรายการเพียงวันที่ 31 ตุลาคม 2533 ว่า จำเลยที่ 1เป็นหนี้โจทก์ 1,100,010.68 บาท จึงให้ถือยอดเงินดังกล่าวเป็นต้นเงินสำหรับคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นอัตราร้อยละ 11.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 ไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระเงินแก่โจทก์เสร็จ โดยให้นำเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยหักชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ในวันที่ 14 พฤศจิกายน2533 และให้หักเงินที่จำเลยที่ 1 นำเข้าบัญชีนับแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2533เป็นต้นไปออกจากยอดเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระโดยหักออกชดใช้เป็นค่าดอกเบี้ยไม่ทบต้นก่อน ที่เหลือให้หักชำระต้นเงินทุกครั้งที่มีการนำเงินเข้าบัญชี จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7377/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัด: การสิ้นสุดสัญญา, อายุความ, และดอกเบี้ย
สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลย ไม่ได้ตกลงกันเกี่ยวกับหนี้เบิกเงินเกินบัญชีว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้นเมื่อใด สัญญาบัญชีเดินสะพัดดังกล่าวจะสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาต่อกันหรือเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้หักทอนบัญชีและให้ชำระหนี้ต่อกันแล้ว
การที่จำเลยนำเงินเข้าหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 20มกราคม 2525 และหยุดเดินสะพัดบัญชีกับโจทก์ภายหลังจากวันที่ 16 เมษายน 2525โดยมิได้ขอปิดบัญชีต่อโจทก์ ไม่ถือว่าเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดดังกล่าว ส่วนการที่โจทก์ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คก็มิใช่เป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยโดยปริยาย แม้เมื่อจำเลยหยุดเดินสะพัดทางบัญชีโดยไม่ติดต่อกับโจทก์และโจทก์เขียนข้อความในบัญชีเดินสะพัดว่า บัญชีเงินกู้เกินกำหนดชำระเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2527 ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ทำขึ้นฝ่ายเดียว หาใช่การแสดงเจตนาหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินที่คงเหลือไม่ จึงไม่มีผลเป็นการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยปริยาย และภายหลังวันที่ 30 มีนาคม 2527สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลยก็ยังคงมีอยู่ตลอดไปหาได้ยกเลิกหรือสิ้นสุดลงไม่ แม้จำเลยจะมิได้นำเงินเข้าฝากหรือเบิกเงินจากโจทก์อีกโจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่มีการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดหรือหักทอนบัญชีและมีการผิดนัดชำระแล้ว หลังจากนั้นโจทก์ก็ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นได้อีก
ดังนั้นเมื่อโจทก์เพิ่งบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดส่งไปถึงจำเลยเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2537 และเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถามดังกล่าว จึงถือได้ว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลยเลิกและหักทอนบัญชีกันเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม2537 แต่อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อจำเลยจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาชำระหนี้ที่ระบุไว้ในหนังสือดังกล่าว คือเริ่มนับแต่วันที่ 15 กันยายน2537 เป็นต้นไป ซึ่งการฟ้องคดีเกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะเป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา193/30 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2537 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
การที่จำเลยนำเงินเข้าหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 20มกราคม 2525 และหยุดเดินสะพัดบัญชีกับโจทก์ภายหลังจากวันที่ 16 เมษายน 2525โดยมิได้ขอปิดบัญชีต่อโจทก์ ไม่ถือว่าเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดดังกล่าว ส่วนการที่โจทก์ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คก็มิใช่เป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยโดยปริยาย แม้เมื่อจำเลยหยุดเดินสะพัดทางบัญชีโดยไม่ติดต่อกับโจทก์และโจทก์เขียนข้อความในบัญชีเดินสะพัดว่า บัญชีเงินกู้เกินกำหนดชำระเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2527 ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ทำขึ้นฝ่ายเดียว หาใช่การแสดงเจตนาหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินที่คงเหลือไม่ จึงไม่มีผลเป็นการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยปริยาย และภายหลังวันที่ 30 มีนาคม 2527สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลยก็ยังคงมีอยู่ตลอดไปหาได้ยกเลิกหรือสิ้นสุดลงไม่ แม้จำเลยจะมิได้นำเงินเข้าฝากหรือเบิกเงินจากโจทก์อีกโจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่มีการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดหรือหักทอนบัญชีและมีการผิดนัดชำระแล้ว หลังจากนั้นโจทก์ก็ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นได้อีก
ดังนั้นเมื่อโจทก์เพิ่งบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดส่งไปถึงจำเลยเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2537 และเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถามดังกล่าว จึงถือได้ว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลยเลิกและหักทอนบัญชีกันเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม2537 แต่อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อจำเลยจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาชำระหนี้ที่ระบุไว้ในหนังสือดังกล่าว คือเริ่มนับแต่วันที่ 15 กันยายน2537 เป็นต้นไป ซึ่งการฟ้องคดีเกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะเป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา193/30 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2537 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6658/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและผลต่อการคิดดอกเบี้ย
สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลยรวมอยู่ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี มีกำหนดเวลา 12 เดือน เมื่อครบกำหนดเวลาแล้วมีการต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีออกไปอีก 12 เดือน ครบกำหนดในวันที่ 6 สิงหาคม 2535 แล้วหลังจากนั้นไม่มีการต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีออกไปอีก และจำเลยก็ไม่ได้เบิกและถอนเงินออกจากบัญชีอีก เพียงแต่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์รวม4 ครั้ง เท่านั้น ดังนี้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งรวมอยู่ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจึงสิ้นสุดลงในวันที่ 6 สิงหาคม 2535 หลังจากวันที่ 6 สิงหาคม 2535โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น คงคิดดอกเบี้ยได้ตามธรรมดาโดยไม่ทบต้นเท่านั้น และดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดจากจำเลยต้องเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ใช้อยู่ในขณะนั้น