คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 859

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 162 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6662/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเลิกกัน, ดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา
ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทข้อ 4 มีข้อความว่าจำเลยที่ 1 จะผ่อนชำระหนี้ตามสัญญาให้ลดลงเรื่อย ๆ และให้หมดสิ้นภายในวันที่15 มกราคม 2531 แต่หลังจากครบกำหนดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวันที่ 15มกราคม 2531 แล้ว ได้มีการหักทอนบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 โดยโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแล้ว จำเลยที่ 1จึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2531 เป็นต้นไป แม้ต่อมาจำเลยที่ 1ได้สั่งจ่ายเช็ค แต่โจทก์ได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้นำเงินตามเช็คดังกล่าวเข้าบัญชีผู้ทรงเช็คดังกล่าวจึงได้นำมาเรียกเก็บเงิน และโจทก์จ่ายเงินตามเช็คให้ผู้ทรงไปก็ตาม เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ตามเช็คและโจทก์ยอมจ่ายเงินจำนวน 35,000 บาท ตามเช็คดังกล่าวไปเป็นการเฉพาะรายเท่านั้น กรณีจึงฟังไม่ได้ว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงกันโดยปริยายว่าจะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดหรือเบิกเงินเกินบัญชีกันต่อไปอีก สัญญาบัญชีเดินสะพัดและสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันเลิกกันตั้งแต่วันที่16 มกราคม 2531 เป็นต้นไป
ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีข้อ 2 โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี หลังจากสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองในอัตราดังกล่าวต่อไปเท่านั้น โจทก์จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเป็นอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2533 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6370/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, ปัญหาข้อกฎหมาย, การบอกเลิกสัญญา, สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, บัญชีเดินสะพัด
ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งจำเลยได้ให้การต่อสู้คดีไว้แล้วแม้ศาลชั้นต้นจะไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ คู่ความก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา249 วรรคสอง
จำเลยฎีกาอ้างว่า โจทก์คิดยอดหนี้ตามบัญชีกระแสรายวันไม่ถูกต้อง แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่าโจทก์ทำกลฉ้อฉลหลอกลวงให้จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตามฟ้องหรือไม่ก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาที่จำเลยฎีกาให้ถูกต้องตามกฎหมายได้
จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและขอถอนหลักประกันคืน เมื่อ ป.พ.พ.มาตรา 859 บัญญัติให้คู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ ถ้าไม่มีอะไรปรากฏเป็นข้อขัดกับที่กล่าวมานี้ และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทไม่มีข้อห้ามจำเลยบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนด ดังนั้น สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงเลิกกันในวันที่โจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาดังกล่าวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6370/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการวินิจฉัยยอดหนี้ตามบัญชี และการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด การคิดดอกเบี้ย
ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งจำเลยได้ให้การต่อสู้คดีไว้แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ คู่ความก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และฎีกาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา 249 วรรคสอง จำเลยฎีกาอ้างว่า โจทก์คิดยอดหนี้ตามบัญชีกระแสรายวันไม่ถูกต้อง แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่าโจทก์ทำกลฉ้อฉลหลอกลวงให้จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตามฟ้องหรือไม่ก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาที่จำเลยฎีกาให้ถูกต้องตามกฎหมายได้ จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและขอถอนหลักประกันคืน เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859บัญญัติให้คู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ ถ้าไม่มีอะไรปรากฏเป็นข้อขัดกับที่กล่าวมานี้ และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทไม่มีข้อห้ามจำเลยบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนดดังนั้น สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงเลิกกันในวันที่โจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาดังกล่าวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4935/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, การหักทอนบัญชี, การคิดดอกเบี้ย, และขอบเขตการบังคับคดีตามคำขอ
เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วโจทก์กับจำเลยทั้งสองไม่ได้ทำการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่มีอยู่ต่อกันแต่ยังมีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปอีก โดยจำเลยที่ 1 นำเงินเข้าฝากและสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินออกไปหลายครั้ง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสองประสงค์จะต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา ถึงแม้จำเลยทั้งสองได้หยุดเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์มาแล้วก็ตาม แต่เมื่อไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดเพื่อหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่มีอยู่ต่อกันสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองก็ยังคงมีอยู่ตลอดไป หาได้ระงับไปเมื่อวันสัญญาครบกำหนดหรือวันที่จำเลยทั้งสองเบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้ายไม่โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจนถึงวันที่ถือว่าสัญญาเลิกกัน
โจทก์หักทอนบัญชีกับจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์2536 แม้โจทก์เพิ่งจะมีหนังสือแจ้งให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม2536 ก็ต้องถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองระงับไปตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2536 อันเป็นวันหักทอนบัญชีกัน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 856,859 หลังจากนั้นโจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกไม่ได้
สัญญาบัญชีเดินสะพัดจะถือว่ามีการผิดนัดก็ต่อเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่มีอยู่ต่อกัน โจทก์ได้หักทอนบัญชีเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์2536 แต่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวส่งไปให้จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2536ให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ภายใน 30 วันนับแต่วันถัดจากวันได้รับหนังสือบอกกล่าวจำเลยทั้งสองได้รับหนังสือบอกกล่าวในวันที่ 26 ตุลาคม 2536 ครบ 30 วันในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2536 ดังนั้นช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2536 ถึงวันที่26 พฤศจิกายน 2536 โจทก์ยังให้เวลาจำเลยทั้งสองหาเงินมาชำระหนี้อยู่ ยังไม่ถือว่าจำเลยทั้งสองผิดนัด จำเลยทั้งสองจะผิดนัดก็ต่อเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่โจทก์ให้โอกาสคือตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2536 เป็นต้นไป และเมื่อตามประกาศปรับปรุงอัตราดอกเบี้ย โจทก์จะคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีและร้อยละ 18 ต่อปี สำหรับลูกหนี้ที่ผิดนัดเท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองยังไม่ได้ผิดนัด โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยเอาจากจำเลยทั้งสองในอัตรานี้ไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระต้นเงินตามสัญญากู้เพียง2,447,837.24 บาทเท่านั้น แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ให้โจทก์ในส่วนสัญญากู้ฉบับนี้เป็นต้นเงิน 2,477,837.24 บาท และดอกเบี้ยถึงวันฟ้องจำนวน 567,157.90 บาท รวมเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องทั้งสิ้น3,044,995.14 บาท และให้ใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี จากต้นเงิน2,477,837.24 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง และศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาแก้ไขนั้น ไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้น แม้จะมิได้มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์หรือฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4935/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้: การคิดดอกเบี้ยที่ถูกต้องตามอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกัน และการพิพากษาเกินคำขอ
เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วโจทก์กับจำเลยทั้งสองไม่ได้ทำการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่มีอยู่ต่อกันแต่ยังมีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปอีก โดยจำเลยที่ 1 นำเงินเข้าฝากและสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินออกไปหลายครั้ง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสองประสงค์จะต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา ถึงแม้จำเลยทั้งสองได้หยุดเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์มาแล้วก็ตาม แต่เมื่อไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดเพื่อหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่มีอยู่ต่อกันสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองก็ยังคงมีอยู่ตลอดไป หาได้ระงับไปเมื่อวันสัญญาครบกำหนดหรือวันที่จำเลยทั้งสองเบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้ายไม่โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจนถึงวันที่ถือว่าสัญญาเลิกกัน โจทก์หักทอนบัญชีกับจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 28กุมภาพันธ์ 2536 แม้โจทก์เพิ่มจะมีหนังสือแจ้งให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2536 ก็ต้องถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองระงับไปตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2536 อันเป็นวันหักทอนบัญชีกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856,859 หลังจากนั้นโจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกไม่ได้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดจะถือว่ามีการผิดนัดก็ต่อเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่มีอยู่ต่อกันโจทก์ได้หักทอนบัญชีเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2536แต่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวส่งไปให้จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่20 ตุลาคม 2536 ให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ภายใน 30 วันนับแต่วันถัดจากวันได้รับหนังสือบอกกล่าวจำเลยทั้งสองได้รับหนังสือบอกกล่าวในวันที่ 26 ตุลาคม 2536ครบ 30 วันในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2536 ดังนั้นช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2536 ถึงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2536โจทก์ยังให้เวลาจำเลยทั้งสองหาเงินมาชำระหนี้อยู่ยังไม่ถือว่าจำเลยทั้งสองผิดนัด จำเลยทั้งสองจะผิดนัดก็ต่อเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่โจทก์ให้โอกาสคือตั้งแต่วันที่27 พฤศจิกายน 2536 เป็นต้นไป และเมื่อตามประกาศปรับปรุงอัตราดอกเบี้ย โจทก์จะคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีและร้อยละ 18 ต่อปี สำหรับลูกหนี้ที่ผิดนัดเท่านั้นเมื่อจำเลยทั้งสองยังไม่ได้ผิดนัด โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยเอาจากจำเลยทั้งสองในอัตรานี้ไม่ได้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระต้นเงินตามสัญญากู้เพียง 2,447,837.24 บาทเท่านั้น แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ให้โจทก์ในส่วนสัญญากู้ฉบับนี้เป็นต้นเงิน 2,477,837.24 บาท และดอกเบี้ยถึงวันฟ้องจำนวน 567,157.90 บาท รวมเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องทั้งสิ้น 3,044,995.14 บาท และให้ใช้ดอกเบี้ยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี จากต้นเงิน 2,477,837.24 บาทนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 วรรคหนึ่ง และศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาแก้ไขนั้นไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้น แม้จะมิได้มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์หรือฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4642/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเดินสะพัดสิ้นสุดเมื่อไม่มีการเดินบัญชีต่อ และเจ้าหนี้ฟ้องช้าเกินอายุความ
ข้อตกลงขอเปิดบัญชีเดินสะพัดระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้เป็นข้อตกลงที่ให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกันโดยไม่มีกำหนดเวลา และลูกหนี้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2524 และมีการนำเงินเข้าออกสะพัดทางบัญชีกันตลอดมา แต่หลังจากวันที่ 5 ตุลาคม 2525 แล้ว ลูกหนี้ไม่เคยนำเงินเข้าบัญชีหรือถอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าวอีกเลยคงมีแต่รายการคิดคำนวณดอกเบี้ยตลอดมา ดังนี้ ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างกันต่อไป และเจ้าหนี้ได้หักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2525 ปรากฎว่าลูกหนี้เป็นเจ้าหนี้อยู่เพียง 9,499.74 บาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นการคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน พฤติการณ์ของเจ้าหนี้และลูกหนี้ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่ 5 ตุลาคม 2525 ซึ่งเป็นวันคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดังกล่าวได้ ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2525เป็นต้นไป แต่เจ้าหนี้เพิ่งมายื่นคำขอรับชำระหนี้ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2537 เกินกว่า 10 ปี เป็นหนี้ที่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4642/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิ้นสุดสัญญาเดินสะพัดทางบัญชี & อายุความหนี้
ข้อตกลงขอเปิดบัญชีเดินสะพัดระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้เป็นข้อตกลงที่ให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกันโดยไม่มีกำหนดเวลา และลูกหนี้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2524 และมีการนำเงินเข้าออกสะพัดทางบัญชีกันตลอดมา แต่หลังจากวันที่ 5 ตุลาคม 2525 แล้ว ลูกหนี้ไม่เคยนำเงินเข้าบัญชีหรือถอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าวอีกเลย คงมีแต่รายการคิดคำนวณดอกเบี้ยตลอดมา ดังนี้ ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างกันต่อไป และเจ้าหนี้ได้หักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2525 ปรากฏว่าลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่เพียง 9,499.74บาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นการคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน พฤติการณ์ของเจ้าหนี้และลูกหนี้ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่ 5 ตุลาคม 2525 ซึ่งเป็นวันคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดังกล่าวได้ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2525 เป็นต้นไป แต่เจ้าหนี้เพิ่งมายื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2537 เกินกว่า 10 ปี เป็นหนี้ที่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 94 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี: การต่ออายุโดยปริยาย การสิ้นสุดสัญญา และการคิดดอกเบี้ย
เมื่อครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ขอต่ออายุสัญญาอีก แม้โจทก์ไม่สนองรับแต่ก็ยอมให้มีการเดินสะพัดในบัญชีกระแสรายวันต่อไป การกระทำดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาสนองรับยอมให้ต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี สัญญาดังกล่าวจึงมีผลบังคับ เมื่อครบกำหนดสัญญาก็ยังคงมีการเดินสะพัดในบัญชีต่อไปโดยไม่ปรากฏว่ามีการต่อสัญญาเป็นหนังสือ ถือได้ว่ามีการตกลงให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปคราวละ 6 เดือน ก่อนครบกำหนดอายุสัญญาครั้งสุดท้ายวันที่ 13 กรกฎาคม 2531 ปรากฏว่ามีการถอนเงินและการนำเงินเข้าบัญชีถึงวันที่ 7 เมษายน 2531 หลังจากนั้นไม่มีการถอนเงินจากบัญชีอีก จึงถือว่าคู่สัญญาไม่มีเจตนาที่จะเดินสะพัดในบัญชีต่อไป สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจึงสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นกำหนดต่ออายุสัญญาดังกล่าว โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันสิ้นกำหนดสัญญา ต่อจากนั้นคิดได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3476/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการหักกลบลบหนี้จากเงินฝากประจำหลังสัญญาสิ้นสุด ต้องกระทำภายในสัญญากำลังมีผลบังคับใช้
แม้ตามข้อตกลงจะแสดงว่าธนาคารโจทก์มีสิทธิและอำนาจหักทอนบัญชีนำเงินฝากประจำตามสมุดคู่ฝากเงินที่จำเลยจำนำไว้แก่โจทก์มาหักกลบลบหนี้กับยอดเงินเบิกเกินบัญชีได้เมื่อใดก็ตามแต่สิทธิและอำนาจนี้โจทก์ต้องดำเนินการในระหว่างสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีผลใช้บังคับเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันว่าไม่มีรายการเดินสะพัดทางบัญชีอันจะเป็นหลักฐานว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีต่อปีอีกนับแต่วันสิ้นสุดของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวันที่5พฤศจิกายน2534ทั้งสมุดเงินฝากประจำก็ปิดบัญชีแล้วในวันที่11กันยายน2534คงมีแต่จำเลยได้นำเงินบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ตามยอดเงินที่ค้างชำระในวันที่8พฤษภาคม2535จำนวน353,997.70บาทเท่านั้นหาเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีแต่อย่างใดไม่แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะเดินสะพัดทางบัญชีกับจำเลยอีกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงสิ้นสุดลงนับแต่วันที่5พฤศจิกายน2534เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธินำเงินฝากประจำตามสมุดคู่ฝากเงินที่จำเลยจำนำไว้แก่โจทก์มาหักโอนชำระหนี้แก่โจทก์ทันทีหลังจากนั้นหากจำเลยยังค้างชำระหนี้อยู่จำนวนเท่าใดโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินดังกล่าวแบบไม่ทบต้นในอัตราร้อยละ19ต่อปีจนกว่าจะชำระเสร็จเท่านั้นหาใช่โจทก์จะใช้สิทธิและอำนาจคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นตามอำเภอใจเมื่อใดก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเดินสะพัด, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, การเลิกสัญญา, และสิทธิเรียกร้องหนี้
คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีข้อตกลงให้คิดดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณีการค้าของธนาคาร โจทก์ได้บรรยายที่มาแห่งหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสาม ความรับผิดของจำเลยทั้งสามที่มีต่อโจทก์ และการคิดดอกเบี้ยตลอดจนจำนวนหนี้ที่คำนวณถึงวันฟ้องโดยละเอียดและชัดแจ้งเป็นที่เข้าใจได้อย่างดีว่าจำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์เพราะเหตุใด จำเลยทั้งสามได้ชำระหนี้ให้โจทก์ไปแล้วเป็นจำนวนเงินเท่าใด และจำเลยทั้งสามยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นจำนวนเงินเท่าใดจึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว โจทก์หาต้องแนบหลักฐานหรือเอกสาร แสดงรายละเอียดการเบิกเงิน การชำระเงิน การหักทอนบัญชีและการคิดดอกเบี้ยในแต่ละเดือนมาพร้อมกับคำฟ้องไม่ เพราะเป็นรายละเอียดที่จะต้องนำสืบกันต่อไปในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์จึงสมบูรณ์ไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 ได้เปิดบัญชีเดินสะพัดประเภทเงินฝากกระแสรายวันไว้กับธนาคารโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเดินสะพัดดังกล่าวในวงเงิน 16,500,000 บาท โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้ กรณีเช่นนี้สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้คืนจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาต่อกันหรือเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้หักทอนบัญชีและให้ชำระหนี้ที่มีต่อกันแล้ว สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้คงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ.มาตรา 856 และ 859 ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังมิได้เลิกกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนกว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะเลิกกัน
ตามรายการในบัญชีของโจทก์ระบุข้อความไว้ถึงจำนวนวงเงินเบิกเกินบัญชี อัตราดอกเบี้ยและวันครบกำหนดไว้ว่าเป็นวันที่ 30 ธันวาคม 2528ซึ่งเป็นเพียงวิธีปฏิบัติทางบัญชีภายในของโจทก์มิได้ผูกพันถึงจำเลยที่ 1 ด้วย และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้ตกลงกันให้การเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ครบกำหนดตามวันที่ระบุไว้ตามรายการในบัญชีดังกล่าว ทั้งตามรายการในบัญชีที่โจทก์ยกยอดมาตั้งเป็นบัญชีใหม่เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2528 ในช่องวันครบกำหนดก็มิได้ระบุวันครบกำหนดไว้และโจทก์ยังคงคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1ต่อไป ดังนั้นจึงไม่อาจถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงถือเอาวันที่ระบุไว้ในบัญชีเป็นวันครบกำหนดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและมีการต่อสัญญากันจนถึงวันที่ 30 ธันวาคม2528 อันเป็นวันสิ้นสุดของสัญญาไม่ แม้หลังจากวันที่ 30 ธันวาคม 2528 จะปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยเบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวอีกและมียอดเงินในบัญชียังไม่เกินวงเงิน ตามข้อตกลงในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี คงปรากฏแต่รายการที่จำเลยที่ 1 นำเงินชำระต้นเงินและดอกเบี้ยเท่านั้น ก็ตาม แต่เมื่อไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงยังไม่สิ้นสุดลง โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญาได้จนถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด
โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มิได้กำหนดระยะเวลาชำระหนี้คืนไว้ส่งไปถึงจำเลยวันที่ 1 มีนาคม 2534 และเรียกให้ชำระหนี้ค้างชำระแก่โจทก์ทั้งหมดภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม หากไม่ชำระให้ถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้สิ้นสุดลง ณ วันครบกำหนดเวลาดังกล่าว จึงถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกและหักทอนบัญชีในวันที่ครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2534 ซึ่งเป็นวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นอันสิ้นสุดลง
of 17