คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 859

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 162 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5887/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเบิกเกินบัญชี: การคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงที่แตกต่างกันตามประเภทการทำรายการ
ตามข้อตกลงการฝากเงินบัญชีกระแสรายวันของธนาคารโจทก์ข้อ 10 ระบุว่า ในกรณีธนาคารได้ผ่อนผันจ่ายเงินไปก่อนด้วยเหตุใดก็ตาม ทั้งที่เงินฝากคงเหลือในบัญชีของข้าพเจ้ามีไม่พอจ่ายตามเช็คที่มาขอขึ้นเงิน ซึ่งตามปกติธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินนั้นเสียก็ได้นั้น ข้าพเจ้ายอมผูกพันตนที่จะจ่ายเงินส่วนที่เบิกเกินนั้นคืนให้ธนาคารโดยถือเสมือนหนึ่งว่า ข้าพเจ้าได้ร้องขอเบิกเงินเกินบัญชีต่อธนาคารและยินยอมเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินส่วนที่เกินบัญชีให้แก่ธนาคารในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่เบิกเกินจนถึงวันชำระหนี้เงินเบิกเกินคืน ฯลฯ และข้อ 11 ระบุว่า ในกรณีที่ข้าพเจ้านำเช็คฝากเข้าบัญชีและในวันนำฝากนั้นธนาคารได้ผ่อนผันจ่ายเงินส่วนหนึ่งหรือเต็มมูลค่าเช็คที่นำฝากนั้นให้ไปก่อนโดยที่ธนาคารยังไม่ทราบผลการเรียกเก็บเงิน และเช็คดังกล่าวถูกคืนมาโดยมิใช่เนื่องจากความบกพร่องของธนาคารเอง ข้าพเจ้ายอมผูกพันตนที่จะจ่ายเงินส่วนที่เบิกเกินนั้นคืนให้ธนาคารโดยถือเสมือนหนึ่งว่าได้ร้องขอเบิกเงินเกินบัญชีต่อธนาคารและยินยอมเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินส่วนที่เบิกเงินเกินบัญชีให้แก่ธนาคารในอัตราสูงสุดเท่าที่กฎหมายจะอนุญาต นับแต่วันที่เบิกเกินจนถึงวันชำระหนี้เงินเบิกเกินคืน ฯลฯ ซึ่งข้อความในข้อ 11 นั้นหมายถึงจำเลยนำเช็คมาฝากเข้าบัญชีและโจทก์จ่ายเงินตามเช็คที่มาขอเบิกให้จำเลยไปก่อน แต่แล้วโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้ ไม่ใช่กรณีโจทก์ผ่อนผันจ่ายเงินให้จำเลยไปโดยไม่มีการนำเช็คฝากเข้าบัญชี ซึ่งต้องบังคับกันตามข้อตกลงข้อ 10 เมื่อข้อเท็จจริงตามฟ้องมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยนำเช็คมาฝากเข้าบัญชีโดยโจทก์จ่ายเงินตามเช็คที่มาขอเบิกให้จำเลยไปก่อน แต่แล้วโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5408/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม, การคิดดอกเบี้ย, และการผิดนัดชำระหนี้จากการเบิกเกินบัญชีและเงินกู้
แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่ามีการโอนบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยจากสาขาใดไปสาขาใดเพราะเหตุใด และใครเป็นผู้สั่งให้โอนแต่จำเลยให้การว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า เหตุใดจึงมีการโอนบัญชีและใครเป็นผู้สั่งโอนจึงเป็นการกล่าวลอย ๆ มิได้แสดงให้แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา จำเลยไม่สามารถต่อสู้คดีได้ฟ้องโจทก์จึงเคลือบคลุม ดังนี้ ตามคำให้การดังกล่าวเป็นการยอมรับว่าได้มีการโอนบัญชี ส่วนจะโอนเพราะเหตุใดและใครเป็นผู้สั่งให้โอนนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณา นอกจากนี้ไม่ว่าจำเลยจะเป็นหนี้โจทก์สาขาใดโจทก์ก็ฟ้องจำเลยได้อยู่แล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์จำเลยได้ตกลงเพิ่มวงเงินเบิกเกินบัญชีและต่ออายุสัญญากันอีกหลายครั้ง สัญญาครบกำหนดวันที่ 1 สิงหาคม 2529 ซึ่งในวันดังกล่าวปรากฏตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันว่าจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์เกินวงเงินที่อาจเบิกได้ไปแล้วหลังจากนั้นในวันที่22 สิงหาคม 2529 และวันที่ 26 กันยายน 2529 จำเลยยังได้เบิกเงินเกินบัญชีไปอีก 2 ครั้ง แต่จำเลยมิได้นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนอีกเลย ดังนี้เมื่อสัญญาครบกำหนดจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้หมดสิ้นตามสัญญา โจทก์ยังคงยอมให้จำเลยเป็นหนี้อยู่ต่อไป และยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีไปอีก 2 ครั้ง แสดงว่าคู่สัญญายังคงให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา และไม่ถือว่ามีการผิดนัดจนกว่าจะได้มีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระเงินคงเหลือแล้ว โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ลงวันที่16 มีนาคม 2530 กำหนดให้ชำระภายใน 30 วัน จำเลยได้รับหนังสือในวันที่ 19 มีนาคม 2530 แล้วไม่ชำระภายในกำหนด จำเลยจึงผิดนัดตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2530 เป็นต้นไป โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นในยอดเงินซึ่งค้างชำระเมื่อวันที่ 26 กันยายน2529 จนถึงวันผิดนัดและดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นนับแต่วันผิดนัดจนถึงวันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5109/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีขยายโดยปริยาย การบอกเลิกสัญญา และดอกเบี้ยทบต้น
เมื่อพ้นกำหนดอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีในวันที่ 21 มิถุนายน2528 แล้ว จำเลยยังคงเบิกเงินเกินบัญชีต่อไป และยังมีการนำเงินเข้าบัญชีอยู่อีก ซึ่งโจทก์ก็ยอมถือได้ว่าคู่กรณีได้ตกลงกันขยายอายุสัญญาออกไปโดยปริยายเช่นนี้สัญญาจะสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ.มาตรา 859 ปรากฏว่าโจทก์ได้หักทอนบัญชีและแจ้งให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่กรณีชำระหนี้เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2531 ซึ่งมีผลเป็นการบอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่ 1การเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าวการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในช่วงเวลาตั้งแต่ 21 มิถุนายน 2528 ถึงก่อนวันที่31 มีนาคม 2531 จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย ความข้อนี้มีความสำคัญเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยในช่วงเวลาดังกล่าวซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้ว่ากล่าวกันมาในชั้นอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองก็ยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5109/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีขยายอายุโดยปริยาย การคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ขัดกฎหมาย
เมื่อพ้นกำหนดอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีในวันที่ 21 มิถุนายน2528 แล้ว จำเลยยังคงเบิกเงินเกินบัญชีต่อไป และยังมีการนำเงินเข้าบัญชีอยู่อีก ซึ่งโจทก์ก็ยอมถือได้ว่าคู่กรณีได้ตกลงกันขยายอายุสัญญาออกไปโดยปริยายเช่นนี้สัญญาจะสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 859 ปรากฏว่าโจทก์ได้หักทอนบัญชีและแจ้งให้จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นคู่กรณีชำระหนี้เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2531 ซึ่งมีผลเป็นการบอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่ 1 การเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าวการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในช่วงเวลาตั้งแต่ 21 มิถุนายน 2528 ถึงก่อนวันที่31 มีนาคม 2531 จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย ความข้อนี้มีความสำคัญเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยในช่วงเวลาดังกล่าวซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้ว่ากล่าวกันมาในชั้นอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองก็ยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4836/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยปริยายจากการหยุดคิดดอกเบี้ยทบต้น และสิทธิในการคิดดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา
สัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกำหนดระยะเวลา คู่สัญญาจึงบอกเลิกสัญญาและให้หักทอนบัญชีกันเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 การบอกเลิกสัญญาอาจกระทำโดยแสดงเจตนาแจ้งชัดหรือมีพฤติการณ์อันถือได้ว่ามีเจตนาเลิกสัญญาโดยปริยายก็ได้ บัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยเดินกันมาถึงเดือนกรกฎาคม2527 หลังจากนั้นในเดือนสิงหาคมและกันยายน 2527 มีแต่รายการเดบิทบัญชีตามใบแจ้งและรายการค่าดอกเบี้ยอย่างละ 1 รายการในแต่ละเดือน นอกจากนี้โจทก์หยุดคิดดอกเบี้ยทบต้นตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2527 จนถึงวันที่ 24 กันยายน 2527 การที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อมาและโจทก์หยุดคิดดอกเบี้ยทบต้นซึ่งการคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นประเพณีในทางการค้าของธนาคารและเป็นข้อสาระสำคัญข้อหนึ่งในการที่โจทก์ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีโดยสัญญาบัญชีเดินสะพัด พฤติการณ์จึงถือได้ว่าโจทก์เจตนาเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยโดยปริยายแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์หยุดคิดดอกเบี้ยทบต้นคือวันที่ 12 กันยายน 2527 แม้โจทก์จะเริ่มคิดดอกเบี้ยทบต้นใหม่ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2527 เป็นต้นมาก็ไม่ทำให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดกลับมีผลบังคับต่อไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นนับแต่วันเลิกสัญญาแล้วได้อีกคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอย่างไม่ทบต้นเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบ, ฟ้องไม่เคลือบคลุม, และดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี
จำเลยทั้งสองยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นที่กำหนดหน้าที่นำสืบไม่ถูกต้อง ขอให้ทำการชี้สองสถานและกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต จำเลยทั้งสองไม่โต้แย้งคำสั่ง ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานจนเสร็จสำนวนและพิพากษาคดีแล้ว จึงอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งในเรื่องหน้าที่นำสืบนี้อีกไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2)และ 247 คำฟ้องกล่าวว่า จำเลยทั้งสองทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ ได้เบิกเงินเกินบัญชีหลายครั้ง และนำเงินเข้าหักทอนบัญชีตลอดมา คงเป็นหนี้ตามบัญชีกระแสรายวันท้ายฟ้องแล้วผิดสัญญาขอให้บังคับชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญา คำฟ้องดังกล่าวจึงแสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ส่วนวิธีการคำนวณดอกเบี้ยจากต้นเงินและวันเดือนปีใดแม้โจทก์จะมิได้บรรยายไว้ ก็เป็นเรื่องรายละเอียดซึ่งโจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม หลังจากครบกำหนดสัญญาแล้ว จำเลยทั้งสองยังคงเบิกเงินเกินบัญชีและนำเงินเข้าหักทอนบัญชีกับโจทก์ต่อไป เป็นการต่ออายุสัญญาออกไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาจนกว่าโจทก์หรือจำเลยทั้งสองจะบอกเลิกสัญญาโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปจนถึงวันบอกเลิกสัญญากับจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบ & ความชัดเจนของฟ้อง: การที่ศาลไม่อนุญาตให้แก้ไขหน้าที่นำสืบหลังการสืบพยาน และฟ้องไม่เคลือบคลุม
จำเลยทั้งสองยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นที่กำหนดหน้าที่นำสืบไม่ถูกต้อง ขอให้ทำการชี้สองสถานและกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต จำเลยทั้งสองไม่โต้แย้งคำสั่ง ศาลชั้นต้นดำเนินการ-สืบพยานจนเสร็จสำนวนและพิพากษาคดีแล้ว จึงอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งในเรื่องหน้าที่-นำสืบนี้อีกไม่ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) และ 247
คำฟ้องกล่าวว่า จำเลยทั้งสองทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ ได้เบิกเงินเกินบัญชีหลายครั้ง และนำเงินเข้าหักทอนบัญชีตลอดมา คงเป็นหนี้ตามบัญชีกระแสรายวันท้ายฟ้องแล้วผิดสัญญา ขอให้บังคับชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญา คำฟ้องดังกล่าวจึงแสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ส่วนวิธีการคำนวณดอกเบี้ยจากต้นเงินและวันเดือนปีใดแม้โจทก์จะมิได้บรรยายไว้ ก็เป็นเรื่องรายละเอียดซึ่งโจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
หลังจากครบกำหนดสัญญาแล้ว จำเลยทั้งสองยังคงเบิกเงิน-เกินบัญชี และนำเงินเข้าหักทอนบัญชีกับโจทก์ต่อไป เป็นการต่ออายุสัญญาออกไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาจนกว่าโจทก์หรือจำเลยทั้งสองจะบอกเลิกสัญญา โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปจนถึงวันบอกเลิกสัญญากับจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1629/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบัญชีเดินสะพัด, เบิกเงินเกินบัญชี, ดอกเบี้ยทบต้น, อายุความ 10 ปี, การเลิกสัญญา
จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารโจทก์ โดยด้านหลังคำขอเปิดบัญชีปรากฏมีระเบียบการฝากเงินกระแสรายวันว่า ถ้าเงินในบัญชีมีไม่พอจ่ายตามเช็ค แต่โจทก์ได้จ่ายให้ไปจำเลยต้องจ่ายเงินส่วนที่เกินคืนให้โจทก์ เสมือนหนึ่งได้ขอเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคาร และโจทก์จะคิดดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีเป็นดอกเบี้ยทบต้นถือได้ว่าเป็นสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยและการที่จำเลยนำเงินเข้าฝากในบัญชีและเบิกเงินเรื่อยไปโดยวิธีใช้เช็คสั่งจ่ายหลายครั้งเข้าลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัด จำเลยใช้เช็คสั่งจ่ายเงินครั้งสุดท้ายวันที่ 12 มิถุนายน2522 และนำเงินเข้าฝากครั้งสุดท้าย วันที่ 10 มิถุนายน 2528โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์จำเลยได้ตกลงชำระหนี้เสร็จสิ้นเมื่อใด สิทธิเรียกร้องให้ชำระเงินหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีกัน และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856,859 เมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถาม ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2530 ให้จำเลยชำระหนี้คิดเพียงวันที่ 27 เมษายน 2530 ภายในกำหนด 15 วันนับแต่ได้รับหนังสือทวงถาม ถือว่าได้มีการเลิกบัญชีเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ถึงวันที่ 27 เมษายน 2530 มูลหนี้อันเกิดจากสัญญาบัญชีเดินสะพัดมีอายุความ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดร่วมรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจากการทำหนังสือรับสภาพหนี้และการจัดการงาน
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารโจทก์ ใช้ชื่อบัญชีว่า นาย ส. คือจำเลยที่ 4 โดยใช้เช็คเบิกเงินจากบัญชีมีเงื่อนไขในการสั่งจ่ายเงินว่า สองในสามของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ลงชื่อร่วมกัน ต่อมาจำเลยที่ 2 ที่ 3และที่ 4 ได้ร่วมกันจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. จำเลยที่ 1ขึ้นโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 3 และที่ 4เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด แล้วแจ้งโจทก์ขอเปลี่ยนชื่อบัญชีจากชื่อจำเลยที่ 4 เป็นชื่อห้างจำเลยที่ 1 เงื่อนไขในการสั่งจ่ายเงินจากบัญชีคงให้สองในสามคนของหุ้นส่วน คือจำเลยที่ 2ที่ 3 และที่ 4 ลงชื่อร่วมกันและประทับตราของจำเลยที่ 1 หลังจากนั้นจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ลงชื่อร่วมกันออกเช็คประทับตราของห้างจำเลยที่ 1 หลายครั้งอันเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีเรื่อยมา จนกระทั่งบัญชีของห้างจำเลยที่ 1 หยุดเคลื่อนไหว จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4ได้ร่วมกันทำหนังสือรับสภาพหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 โดยยอมร่วมรับผิดกับห้างจำเลยที่ 1 พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมถือได้ว่า จำเลยที่ 3ซึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างจำเลยที่ 1 ตลอดมา จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกันในหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน แม้การเบิกเงินเกินบัญชีของห้างจำเลยที่ 1 กับโจทก์จะหยุดเคลื่อนไหวและได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้กันไว้ก็ตาม แต่หนังสือรับสภาพหนี้ได้ระบุชัดเจนว่าจำเลยทั้งสี่จะนำเงินมาผ่อนชำระเข้าบัญชีของห้างจำเลยที่ 1 ทุก ๆ เดือน เพื่อลดต้นเงินและดอกเบี้ยไปจนกว่าจะชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีหมดสิ้น และตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไป ถือได้ว่าเป็นการตกลงให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา ดังนั้นคู่สัญญาจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด และให้หักทอนบัญชีกันเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเดินสะพัดสิ้นสุดเมื่อมีการตกลงชำระหนี้ทั้งหมดและปลดจำนอง การคิดดอกเบี้ยทบต้นมีจำกัด
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่บริษัทจำเลยที่ 1 ทำไว้กับธนาคารโจทก์มิได้กำหนดระยะเวลาชำระหนี้เอาไว้ การที่ผู้จัดการสาขาของโจทก์เรียกให้ ว. ผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1ไปเจรจาเพื่อตกลงกันในเรื่องการผ่อนชำระหนี้ มิฉะนั้นจะถูกธนาคารโจทก์สำนักงานใหญ่ยื่นฟ้อง ว. จึงได้โอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ ว.ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีทั้งหมดของจำเลยที่ 1 ตามที่ได้ตกลงกันเพื่อลดหนี้ลงและปลดจำนองทรัพย์สินเฉพาะส่วนของ ว. พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นกรณีที่โจทก์เรียกร้องให้บริษัทจำเลยที่ 1 ชำระหนี้หลังจากที่หักทอนบัญชีกันแล้วอันแสดงว่าคู่กรณีไม่ประสงค์ให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันอีกต่อไปแล้วสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่มีการชำระหนี้ตามที่ตกลงกันและโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันดังกล่าวหลังจากนั้นโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกไม่ได้
of 17