คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 443

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 219 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1437/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปลงศพ, ค่าขาดไร้อุปการะ และขอบเขตความรับผิดชอบของจำเลยร่วมในคดีละเมิด
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 นั้น ต้องพิจารณาตามความสมควร ตามความจำเป็น ตามฐานะของผู้ตายกับบิดามารดา ทั้งต้องพิจารณาถึงประเพณีการทำศพตามลัทธินิยมของแต่ละท้องที่ประกอบ และต้องมิใช่รายจ่ายที่ฟุ่มเฟือยจนเกินไป
การใช้จ่ายในการทำอนุสาวรีย์ไว้กระดูกผู้ตายซึ่งเป็นบุตรโจทก์ ค่าขาดรายได้ของโจทก์และค่าจ้างคนเฝ้าบ้านในขณะที่จัดการปลงศพ มิใช่ค่าใช้จ่ายในการปลงศพหรือค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอื่นตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443
โจทก์ที่ 1 มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ส่วน โจทก์ที่ 2 เป็นมารดาของผู้ตาย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะมา 60,000 บาท โดยมิได้แยกเรียกร้องว่าโจทก์แต่ละคนขาดไร้อุปการะเท่าใด และได้ความว่าโจทก์ที่ 2 แต่ผู้เดียวมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะเป็นเงิน 60,000 บาทโจทก์ที่ 2 จึงมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะเต็มจำนวน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 2 จะอุทธรณ์ฎีกาเพียงผู้เดียว เมื่อศาลฎีกาลดค่าเสียหายลงก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไป ถึงจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1437/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปลงศพและค่าขาดไร้อุปการะ: หลักเกณฑ์การพิจารณาความสมควร ความจำเป็น ฐานะผู้ตาย และการแบ่งสิทธิเรียกร้อง
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 นั้น ต้องพิจารณาตามความสมควร ตามความจำเป็น ตามฐานะของผู้ตายกับบิดามารดา ทั้งต้องพิจารณาถึงประเพณีการทำศพตามลัทธินิยมของแต่ละท้องที่ประกอบ และต้องมิใช่รายจ่ายที่ฟุ่มเฟือยจนเกินไป
การใช้จ่ายในการทำอนุสาวรีย์ไว้กระดูกผู้ตายซึ่งเป็นบุตรโจทก์ ค่าขาดรายได้ของโจทก์และค่าจ้างคนเฝ้าบ้านในขณะที่จัดการปลงศพ มิใช่ค่าใช้จ่ายในการปลงศพหรือค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอื่นตามความหมาย แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443
โจทก์ที่ 1 มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ส่วน โจทก์ที่ 2 เป็นมารดาของผู้ตาย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสอง ฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะมา 60,000 บาท โดยมิได้แยกเรียกร้อง ว่าโจทก์แต่ละคนขาดไร้อุปการะเท่าใด และได้ความว่าโจทก์ที่ 2 แต่ผู้เดียวมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะเป็นเงิน 60,000 บาท โจทก์ที่ 2 จึงมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะเต็มจำนวน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 2 จะอุทธรณ์ฎีกาเพียงผู้เดียว เมื่อศาลฎีกาลดค่าเสียหายลงก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3835/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของมารดาแทนบุตร: การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเสียชีวิตของผู้สนับสนุน
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า โจทก์เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายมีบุตร 1 คนโดยระบุชื่อมาด้วย อายุ 1 ปี 9 เดือน ขณะผู้ตายมีชีวิตอยู่เป็นผู้อุปการะโจทก์และบุตรโจทก์ เมื่อผู้ตายตายทำให้บุตรโจทก์ขาดไร้อุปการะดังนี้มีความหมายพอเข้าใจว่าบุตรโจทก์ขอเรียกค่าสินไหมทดแทนตามสิทธิของตนนั่นเองแต่เพราะเหตุที่บุตรโจทก์มีอายุเพียง 1 ปี 9 เดือน ยังฟ้องเองไม่ได้ โจทก์เป็นมารดาจึงฟ้องแทน ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องในนามของบุตรโดยปริยาย
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 458/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3835/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของมารดาฟ้องแทนบุตร: กรณีบุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะและขาดไร้อุปการะจากเหตุละเมิด
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า โจทก์เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายมีบุตร 1 คนโดยระบุชื่อมาด้วย อายุ 1 ปี 9 เดือน ขณะผู้ตายมีชีวิตอยู่เป็นผู้อุปการะโจทก์และบุตรโจทก์ เมื่อผู้ตายตายทำให้บุตรโจทก์ขาดไร้อุปการะดังนี้มีความหมายพอเข้าใจว่าบุตรโจทก์ขอเรียกค่าสินไหมทดแทนตามสิทธิของตนนั่นเอง แต่เพราะเหตุที่บุตรโจทก์มีอายุเพียง 1 ปี 9 เดือน ยังฟ้องเองไม่ได้ โจทก์เป็นมารดาจึงฟ้องแทน ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องในนามของบุตรโดยปริยาย
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 458/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3391/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจกระทำละเมิดถึงแก่ความตาย จำเลยมีหน้าที่ชดใช้ค่าปลงศพ แม้จัดงานศพให้แล้ว
บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายเนื่องจากผลแห่งการกระทำการตามหน้าที่ของผู้แทนกรมตำรวจจำเลย จำเลยจึงมีหน้าที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่าปลงศพรวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น ๆ ให้โจทก์ซึ่งมีหน้าที่จัดการปลงศพของผู้ตายแม้จำเลยได้จัดงานศพให้ผู้ตายไปส่วนหนึ่งแล้ว แต่เงินที่ใช้จ่ายไปในการจัดงานศพก็เป็นเงินที่ได้รับบริจาคมาจากผู้มาทำบุญในงานศพนั้น หาใช่เงินของจำเลยไม่จำเลยยังมีหน้าที่ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าปลงศพให้แก่โจทก์ จะยกเอากรณีมีผู้บริจาคเงินให้มาเป็นข้อปัดความรับผิดของจำเลยหาได้ไม่
ตามกฎหมายกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าปลงศพให้แก่โจทก์หรือทายาทอื่น ๆ ของผู้ตาย มิใช่กำหนดให้จำเลยมีหน้าที่จัดงานศพให้ผู้ตาย การที่โจทก์สมัครใจรับศพผู้ตายไปทำพิธีเผาเอง จำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3391/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนจากการเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่: จำเลยมีหน้าที่ชดใช้ค่าปลงศพแม้จัดงานศพแล้ว
บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายเนื่องจากผลแห่งการกระทำการตามหน้าที่ของผู้แทนกรมตำรวจจำเลย จำเลยจึงมีหน้าที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่าปลงศพรวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น ๆ ให้โจทก์ซึ่งมีหน้าที่จัดการปลงศพของผู้ตายแม้จำเลยได้จัดงานศพให้ผู้ตายไปส่วนหนึ่งแล้ว แต่เงินที่ใช้จ่ายไปในการจัดงานศพก็เป็นเงินที่ได้รับบริจาคมาจากผู้มาทำบุญในงานศพนั้น หาใช่เงินของจำเลยไม่จำเลยยังมีหน้าที่ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าปลงศพให้แก่โจทก์ จะยกเอากรณีมีผู้บริจาคเงินให้มาเป็นข้อปัดความรับผิดของจำเลยหาได้ไม่
ตามกฎหมายกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าปลงศพให้แก่โจทก์หรือทายาทอื่น ๆ ของผู้ตาย มิใช่กำหนดให้จำเลยมีหน้าที่จัดงานศพให้ผู้ตาย การที่โจทก์สมัครใจรับศพผู้ตายไปทำพิธีเผาเอง จำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212-213/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าปลงศพสงวนเฉพาะทายาทโดยชอบด้วยกฎหมาย
สิทธิฟ้องเรียกค่าปลงศพตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 นั้นได้แต่เฉพาะผู้ที่เป็นทายาท เพราะการปลงศพนั้นเป็นหน้าที่ของทายาทตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 649 ภรรยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่ทายาท จึงไม่มีสิทธิเรียกร้อง เอาค่าปลงศพ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2217/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะจากละเมิด ผู้ตายมีฐานะยากดีมีจนอย่างไรไม่สำคัญ
จำเลยเป็นฝ่ายทำละเมิดทำให้สามีโจทก์และบิดาโจทก์ถึงแก่ความตาย เมื่อสามีตายภริยาย่อมขาดไร้อุปการะจากสามีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 และเมื่อบิดาตายบุตรผู้เยาว์ก็ย่อมขาดไร้อุปการะจากบิดาตามมาตรา 1564โจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นภริยาและบุตรผู้เยาว์ของผู้ตายจึงย่อมมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคสามโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้ตายจะมีฐานะยากดีมีจนอย่างไรเพราะเป็นสิทธิที่ผู้เสียหายจะพึงได้รับชดใช้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411-1412/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดไร้อุปการะ: ศาลลดค่าเสียหาย, ชำระครั้งเดียว, หนี้ร่วมจากละเมิด
การกำหนดค่าขาดอุปการะให้ชำระเป็นรายเดือน เป็นเวลา 10 ปี ย่อมเป็นการยุ่งยาก ควรกำหนดให้ชำระคราวเดียว และเป็นหนี้ร่วมจากมูลละเมิดไม่อาจแบ่งแยกการชำระหนี้ได้ ศาลพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดใช้จากการเสียชีวิตโดยประมาท แม้ผู้ตายไม่มีรายได้ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะและค่าใช้จ่ายศพ
เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย อันทำให้โจทก์ขาดไร้อุปการะตามกฎหมายจำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะให้แก่โจทก์แม้ในขณะผู้ตายถึงแก่ความตายผู้ตายจะไม่มีรายได้อย่างใด และโจทก์ประกอบอาชีพมีรายได้อยู่ก็ตามและแม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบว่าค่าสินไหมทดแทนสำหรับรายการนี้และสำหรับการฌาปนกิจศพผู้ตายมีจำนวนเท่าใดศาลก็มีอำนาจกำหนดให้ตามที่เห็นสมควร
จำเลยถูกฟ้องคดีอาญาในเรื่องเดียวกันนี้ และศาลพิพากษาลงโทษจำเลยจนคดีเด็ดขาดไปแล้ว คดีนี้จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา168
of 22