คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 443

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 219 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7073/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดไร้อุปการะ: ศาลพิพากษาได้แม้จำเลยอ้างเรื่องนอกฟ้อง หากโจทก์บรรยายฟ้องถึงการขาดรายได้ของผู้ตายไว้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ความตายของผู้ตายทำให้โจทก์ผู้เป็นสามีของผู้ตายต้องขาดรายได้จากผู้ตายเท่ากับเงินเดือนที่ผู้ตายได้รับจากการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยเป็นรายเดือนเดือนละ 8,960 บาท หรือปีละ107,520 บาท เป็นเวลา 14 ปี รวมเป็นเงิน 1,505,280 บาทเป็นการบรรยายฟ้องถึงเรื่องค่าขาดไร้อุปการะนั่นเองศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับค่าขาดไร้อุปการะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7073/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดไร้อุปการะ: การคำนวณจากเงินเดือนรายได้ของผู้ตาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ความตายของผู้ตายทำให้โจทก์ผู้เป็นสามีของผู้ตายต้องขาดรายได้จากผู้ตายเท่ากับเงินเดือนที่ผู้ตายได้รับจากการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยเป็นรายเดือนเดือนละ 8,960 บาท หรือปีละ107,520 บาท เป็นเวลา 14 ปี รวมเป็นเงิน 1,505,280 บาท เป็นการบรรยายฟ้องถึงเรื่องค่าขาดไร้อุปการะนั่นเอง ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับค่าขาดไร้อุปการะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6905/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดแรงงานในครัวเรือน: อำนาจฟ้องของผู้รับแรงงาน
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 445 และ 1567ย่อมแสดงให้เห็นว่า หากบิดาหรือมารดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองได้มอบหน้าที่ให้บุตรทำการงานอันใดอันหนึ่งในครัวเรือนแล้วปรากฏว่ามีบุคคลใดทำละเมิดต่อบุตรซึ่งมีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องทำการงานให้แก่บิดามารดาจนถึงแก่ความตาย ผู้ทำละเมิดจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคือค่าขาดแรงงานในครัวเรือนให้แก่บิดามารดาที่ต้องขาดแรงงานอันนั้นด้วย และการฟ้องเรียกค่าขาดแรงงานดังกล่าวมิใช่การฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะตามมาตรา 443 วรรคสาม ซึ่งเจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาตรานี้มีความมุ่งหมายว่าหากมีการทำละเมิดจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย บิดาหรือมารดาของผู้ตายก็ชอบที่จะฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะได้ตามกฎหมาย โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้ตายจะมีรายได้หรือได้อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาหรือไม่
ขณะที่ผู้ตายยังมีชีวิตอยู่โจทก์ทั้งสองได้ให้ผู้ตายช่วยดำเนินกิจการของบริษัท ว. ที่โจทก์ทั้งสองได้จัดตั้งขึ้นและโจทก์ทั้งสองเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ดังนี้ บริษัท ว.เป็นนิติบุคคลต่างหากจากโจทก์ทั้งสองการที่ผู้ตายช่วยดำเนินกิจการของบริษัท ว.จะถือว่าผู้ตายช่วยดำเนินกิจการของโจทก์ทั้งสองหาได้ไม่ และเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายโจทก์ทั้งสองต้องจ้างบุคคลภายนอกมาทำงานแทนผู้ตาย ก็เป็นการจ้างมาทำงานให้แก่บริษัท ว.ดังนั้น หากเป็นกรณีที่ต้องขาดแรงงาน บริษัท ว.ก็คือบุคคลที่ต้องขาดแรงงานหาใช่โจทก์ทั้งสองไม่ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าขาดแรงงานจากจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5309/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบข้อเท็จจริงนอกเหนือคำให้การ และสิทธิเรียกร้องค่าปลงศพจากผู้ละเมิด
จำเลยที่2ไม่ได้ให้การต่อสู้ถึงเรื่องที่โจทก์ทั้งสองมอบอำนาจให้ อ. ไปทำความตกลงเรื่องชดใช้ค่าเสียหายไว้การที่จำเลยที่2นำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นการนำสืบนอกเหนือคำให้การถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งจึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่2ในเรื่องดังกล่าว ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่1ประมาทเพียงฝ่ายเดียวจำเลยที่3ไม่ได้ประมาทด้วยจำเลยที่2กลับยื่นอุทธรณ์ว่าจำเลยที่1มิได้ประมาทเพียงฝ่ายเดียวแต่จำเลยที่3เป็นฝ่ายประมาทร่วมด้วยโดยกล่าวลอยๆเพียงเท่านี้ มิได้อุทธรณ์ว่าจำเลยที่2จะต้องรับผิดในผลเสียหายที่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่1เพียงไรและจำเลยที่3มีส่วนจะต้องแบ่งความรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองเพียงไรดังนั้นการที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยที่3ประมาทด้วยหรือไม่ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่คดีที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่2ในข้อนี้จึงชอบแล้ว โจทก์ทั้งสองเป็นทายาทซึ่งมีหน้าที่จัดการศพของผู้ตายทั้งสองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1649จึงมีสิทธิเรียกค่าปลงศพจากผู้กระทำละเมิดแม้ว่าจะมีผู้อื่นเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการปลงศพให้ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5309/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบข้อเท็จจริงนอกเหนือคำให้การ และสิทธิเรียกร้องค่าปลงศพของผู้เสียหาย
จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้ถึงเรื่องที่โจทก์ทั้งสองมอบอำนาจให้ อ. ไปทำความตกลงเรื่องชดใช้ค่าเสียหายไว้ การที่จำเลยที่ 2 นำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นการนำสืบนอกเหนือคำให้การ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ในเรื่องดังกล่าว
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ประมาทเพียงฝ่ายเดียว จำเลยที่ 3 ไม่ได้ประมาทด้วย จำเลยที่ 2 กลับยื่นอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1มิได้ประมาทเพียงฝ่ายเดียว แต่จำเลยที่ 3 เป็นฝ่ายประมาทร่วมด้วย โดยกล่าวลอย ๆ เพียงเท่านี้ มิได้อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดในผลเสียหายที่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 เพียงไร และจำเลยที่ 3 มีส่วนจะต้องแบ่งความรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองเพียงไร ดังนั้น การที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 3 ประมาทด้วยหรือไม่ ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่คดี ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ในข้อนี้จึงชอบแล้ว
โจทก์ทั้งสองเป็นทายาทซึ่งมีหน้าที่จัดการศพของผู้ตายทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1649 จึงมีสิทธิเรียกค่าปลงศพจากผู้กระทำละเมิดแม้ว่าจะมีผู้อื่นเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการปลงศพให้ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทเรียกค่าสินไหมทดแทนจากการเสียชีวิตและทรัพย์สินเสียหายของผู้ตาย
สิทธิในการ เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการ ปลงศพเป็นสิทธิของทายาทที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้กระทำละเมิดทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายส่วนสิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทนอันเกิดแก่ทรัพย์สินของเจ้ามรดกเนื่องจากการกระทำละเมิดก็เป็นสิทธิของเจ้ามรดกที่จะตกทอดแก่ทายาทเช่นกันฉะนั้นเมื่อ ส. ได้รับรองโจทก์ที่2และที่3ว่าเป็นบุตรแล้วและตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1627ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานมีสิทธิรับมรดกของ ส. โจทก์ที่2ที่3จึงมีสิทธิฟ้อง เรียกค่าปลงศพ ส. และค่าที่รถจักรยานยนต์ของ ส.เสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการเสียชีวิต: สิทธิเรียกร้องแบ่งแยกและข้อยกเว้นการฎีกา
โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยทั้งสองทำละเมิดเป็นเหตุให้ ส. บุตรโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตาย แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระเงินแก่โจทก์เกินกว่า 200,000 บาทแต่สิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะจำนวน 187,000 บาท นั้น โจทก์แต่ละคนมีสิทธิเรียกร้องโดยลำพังคนละครึ่งหนึ่ง ส่วนค่ารักษาพยาบาลและค่าปลงศพจำนวน18,700 บาท นั้น แม้โจทก์ทั้งสองจะมีสิทธิร่วมกัน ไม่อาจแบ่งแยกเป็นหนี้แต่ละคนได้แต่เมื่อนำไปรวมกับค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์แต่ละคนดังกล่าวแล้วปรากฎว่าไม่เกิน 200,000 บาท ดังนี้ คดีย่อมต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากถนนขาด จำเลยต้องติดตั้งป้ายเตือนและแสงสว่างเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ทาง
อุทกภัยตัดถนนในเขตเทศบาลจำเลยขาดก่อนที่ผู้ตายจะขับ รถจักรยานยนต์มาตกลงไปในช่วงที่ถนนขาดถึงแก่ความตายเป็นเวลา หลายเดือนแล้ว จำเลยมีโอกาสติดป้ายแสดงทางเบี่ยง จัดหา สิ่งกีดขวางใหญ่ ๆ มองได้ชัดในเวลากลางคืนมากีดขวางถนนไว้และ ต้องจัดการติดตั้งสัญญาณไฟเพื่อแสดงให้เห็นว่าถนนขาดเป็นการเตือนว่าจะเป็นอันตรายผู้สัญจรผ่านไปมาจะต้องระมัดระวัง แต่จำเลยไม่ทำ เป็นการละเว้นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ และกรณีไม่ได้เกิดเพราะเหตุสุดวิสัย ค่าปลงศพผู้ตายเป็นค่าสินไหมทดแทนซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้ทำละเมิดต้องจ่าย โจทก์เป็นทายาทของผู้ตายมีหน้าที่จัดการศพผู้ตายไม่ว่าจะทำเองหรือมีผู้อื่นทำแทน หรือโจทก์จะได้ออกค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพด้วยตนเองหรือไม่ จำเลยก็ต้องรับผิดจ่ายค่าปลงศพแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเลยซ่อมถนนขาด-ติดป้ายเตือน เสี่ยงอันตรายแก่ผู้ใช้ทาง มีหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
อุทกภัยตัดถนนในเขตเทศบาลจำเลยขาดก่อนที่ผู้ตายจะขับรถจักรยานยนต์มาตกลงไปในช่วงที่ถนนขาดถึงแก่ความตายเป็นเวลาหลายเดือนแล้วจำเลยมีโอกาสติดป้ายแสดงทางเบี่ยงจัดหาสิ่งกีดขวางใหญ่ๆมองได้ชัดในเวลากลางคืนมากีดขวางถนนไว้และต้องจัดการติดตั้งสัญญาณไฟเพื่อแสดงให้เห็นว่าถนนขาดเป็นการเตือนว่าจะเป็นอันตรายผู้สัญจรผ่านไปมาจะต้องระมัดระวังแต่จำเลยไม่ทำเป็นการละเว้นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อและกรณีไม่ได้เกิดเพราะเหตุสุดวิสัย ค่าปลงศพผู้ตายเป็นค่าสินไหมทดแทนซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้ทำละเมิดต้องจ่ายโจทก์เป็นทายาทของผู้ตายมีหน้าที่จัดการศพผู้ตายไม่ว่าจะทำเองหรือมีผู้อื่นทำแทนหรือโจทก์จะได้ออกค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพด้วยตนเองหรือไม่จำเลยก็ต้องรับผิดจ่ายค่าปลงศพแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230-231/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีค่าเสียหายจากการตาย และการพิสูจน์ความประมาทเลินเล่อของผู้เกี่ยวข้อง
ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยาน ศ. เพิ่มเติมหลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จโดยอ้างว่า ศ. เป็นบุคคลที่นั่งไปในรถยนต์ของจำเลยขณะเกิดเหตุด้วยนั้นหากเป็นความจริงจำเลยก็อาจทราบได้ตั้งแต่หลังจากเกิดเหตุและก่อนถูกฟ้องคดีแล้วการที่จำเลยไม่ทราบจึงเป็นเพราะจำเลยไม่ขวนขวายเอาใจใส่คดีของจำเลยเองศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคท้ายแล้ว โจทก์ร่วมซึ่งเป็นมารดาของผู้ตายจะมีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากผู้ตายหรือไม่อย่างไรเป็น สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ร่วมไม่เกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ที่1ซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายและได้ฟ้องคดีเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยในมูลละเมิดไปแล้วหากโจทก์ร่วมจะฟ้องคดีเองโจทก์ร่วมจะต้องฟ้องภายในอายุความการที่โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมมีผลเสมือนเป็นการฟ้องคดีเพราะเป็นการขอบังคับให้เป็นไปตามสิทธิที่โจทก์ร่วมมีอยู่เมื่อนับจากวันเกิดเหตุเป็นเวลาเกิน1ปีแล้วคดีของโจทก์ร่วมจึงขาดอายุความ เหตุที่รถชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้ตายและ ว.ลูกจ้างจำเลยไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันโจทก์ที่1ซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายย่อมไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
of 22