คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 443

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 219 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3471/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าของรถและผู้ขับขี่ในเหตุละเมิด, ค่าขาดไร้อุปการะ, และข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จำเลยที่ 2 เป็นบริษัทจำกัดมีจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการจำเลยที่ 1 กระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขับรถยนต์ด้วยความประมาท ล้อรถยนต์หลุดไปชนนาง ล. ถึงแก่ความตายซึ่งเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้จ้างวานหรือให้จำเลยที่ 1 ขับรถไปในที่เกิดเหตุ จำเลยที่ 1 ไม่ได้ประมาทแต่ล้อรถหลุดเป็นเหตุสุดวิสัย จำเลยร่วม ให้การว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 ดังนี้ข้อที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยที่ 2 ให้บริษัท ก.เช่ารถคันเกิดเหตุไปก่อนเกิดเหตุ และข้อที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ลูกจ้างและไม่ได้กระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 กับข้อที่จำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 นั้นเป็นข้อที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมมิได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เหตุสุดวิสัยจะต้องเป็นเรื่องที่ไม่อาจป้องกันได้แม้จะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วก็ตาม เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุด้วยความเร็วสูงแล้วล้อหน้าด้านซ้ายของรถหลุดกระเด็นกระดอนไปถูกศีรษะนางล.ซึ่งอยู่ห่างไป 100 เมตร นาง ล.ได้รับอันตรายถึงแก่ความตายทันที และได้ความว่าแม้จะมีการตรวจสภาพรถแล้ว แต่ถ้าได้มีการใช้งานหนักหรือเจ้าของผู้ขับขี่รถไม่ใช้ความระมัดระวังดูแลรักษา เหตุดังกล่าวย่อมเกิดขึ้นได้ ดังนี้ ต้องถือว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 มิใช่เหตุสุดวิสัยแต่อย่างใด
การที่นาง ล.ตายลงทำให้โจทก์ซึ่งเป็นสามีและบุตรต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตาย จึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนโดยไม่จำเป็นที่จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่า นาง ล.จะต้องเป็นผู้มีรายได้และโจทก์ต่างเป็นผู้ได้รับอุปการะจากผู้ตายจริง
กรมธรรม์ประกันภัย จำกัดความรับผิดของจำเลยร่วมต่อบุคคลภายนอกไว้ 25,000 บาทต่อหนึ่งคนและ 100,000 บาทต่อหนึ่งครั้ง เมื่อการกระทำละเมิดครั้งนี้มีผู้ได้รับความเสียหายเพียงหนึ่งคน จำเลยร่วมก็ต้องรับผิดต่อโจทก์เพียง 25,000 บาทข้อจำกัดความรับผิดที่ว่า 100,000 บาทต่อหนึ่งครั้งนั้นหมายความว่าถ้ามีอุบัติเหตุครั้งหนึ่งมีผู้ได้รับความเสียหายหลายคนจำเลยร่วมก็จะจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกิน 100,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3471/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากรถยนต์, การจำกัดความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย, และค่าขาดไร้อุปการะ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3จำเลยที่ 2 เป็นบริษัทจำกัดมีจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการ จำเลยที่ 1 กระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขับรถยนต์ด้วยความประมาท ล้อรถยนต์หลุดไปชนนาง ล. ถึงแก่ความตายซึ่งเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้จ้างวานหรือให้จำเลยที่ 1 ขับรถไปในที่เกิดเหตุ จำเลยที่ 1ไม่ได้ประมาทแต่ล้อรถหลุดเป็นเหตุสุดวิสัย จำเลยร่วมให้การว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 ดังนี้ข้อที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยที่ 2 ให้บริษัท ก.เช่ารถคันเกิดเหตุไปก่อนเกิดเหตุ และข้อที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ลูกจ้างและไม่ได้กระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 กับข้อที่จำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 นั้นเป็นข้อที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมมิได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เหตุสุดวิสัยจะต้องเป็นเรื่องที่ไม่อาจป้องกันได้แม้จะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วก็ตาม เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุด้วยความเร็วสูงแล้วล้อหน้าด้านซ้ายของรถหลุดกระเด็นกระดอนไปถูกศีรษะนางล.ซึ่งอยู่ห่างไป 100 เมตร นาง ล.ได้รับอันตรายถึงแก่ความตายทันที และได้ความว่าแม้จะมีการตรวจสภาพรถแล้ว แต่ถ้าได้มีการใช้งานหนักหรือเจ้าของผู้ขับขี่รถไม่ใช้ความระมัดระวังดูแลรักษา เหตุดังกล่าวย่อมเกิดขึ้นได้ ดังนี้ ต้องถือว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 มิใช่เหตุสุดวิสัยแต่อย่างใด
การที่นาง ล.ตายลงทำให้โจทก์ซึ่งเป็นสามีและบุตรต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตาย จึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนโดยไม่จำเป็นที่จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่านาง ล.จะต้องเป็นผู้มีรายได้และโจทก์ต่างเป็นผู้ได้รับอุปการะจากผู้ตายจริง
กรมธรรม์ประกันภัย จำกัดความรับผิดของจำเลยร่วมต่อบุคคลภายนอกไว้ 25,000 บาทต่อหนึ่งคนและ 100,000 บาทต่อหนึ่งครั้ง เมื่อการกระทำละเมิดครั้งนี้มีผู้ได้รับความเสียหายเพียงหนึ่งคน จำเลยร่วมก็ต้องรับผิดต่อโจทก์เพียง 25,000 บาทข้อจำกัดความรับผิดที่ว่า 100,000 บาทต่อหนึ่งครั้งนั้นหมายความว่าถ้ามีอุบัติเหตุครั้งหนึ่งมีผู้ได้รับความเสียหายหลายคน จำเลยร่วมก็จะจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกิน 100,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของตัวการและตัวแทน, ค่าขาดไร้อุปการะ, การกำหนดค่าเสียหาย, และความร่วมรับผิด
คดีฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากผู้กระทำละเมิดแม้จะมิได้บรรยายฟ้องว่าค่าขาดไร้อุปการะเป็นค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับตามกฎหมายโจทก์ที่1ที่2ควรได้เป็นรายเดือนรายปีคนละเท่าใดแต่เมื่อได้ระบุจำนวนที่ขอมาศาลก็พิจารณากำหนดให้ได้ไม่เป็นคำฟ้องเคลือบคลุม จำเลยที่1ประกอบกิจการรถทัวร์ได้เช่ารถทัวร์คันเกิดเหตุมาใช้แทนรถของจำเลยที่1ที่เสียการที่คนขับรถทัวร์ขับรถทัวร์ในกิจการของจำเลยที่1โดยจำเลยที่1เป็นผู้กำหนดให้คนขับกระทำคนขับจึงเป็นผู้กระทำการแทนของจำเลยที่1ถือว่าจำเลยที่1กระทำการนั้นด้วยตนเองเมื่อคนขับรถทัวร์กระทำละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่1ในฐานะตัวการต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดตามป.พ.พ.มาตรา427ประกอบมาตรา425 การกำหนดค่าขาดไร้อุปการะต้องพิจารณาถึงโอกาสแห่งการมีชีวิตของผู้ขอด้วยขณะยื่นฟ้องโจทก์มีอายุ90ปีเศษและถึงแก่กรรมเมื่อคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์โจทก์จึงควรได้รับค่าขาดไร้อุปการะน้อยลง เหตุละเมิดเกิดจากการขับรถโดยประมาทของคนขับรถทั้งสองคันทำให้จำเลยอื่นซึ่งเป็นตัวการและนายจ้างต้องร่วมรับผิดด้วยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นไม่อาจแบ่งแยกได้ว่าจำเลยคนใดต้องรับผิดเฉพาะส่วนไหนเท่าใดจำเลยทั้งสี่จึงต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายนั้น ค่าขาดไร้อุปการะเป็นค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากกรณีละเมิดถือว่าจำเลยผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของผู้จ้าง นายจ้างต้องรับผิดชอบการกระทำของลูกจ้าง และสิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะของสามีและบุตร
จำเลยที่1เป็นลูกจ้างจำเลยที่2ทำงานเป็นช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ได้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ลูกค้าของจำเลยที่2นำมาให้ซ่อมไปเพื่อทดลองเครื่องอันเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานซ่อมรถตามหน้าที่ถือได้ว่าจำเลยที่1ทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่2จำเลยที่2จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ สามีภริยาย่อมมีหน้าที่จะต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามป.พ.พ.มาตรา1461เมื่อภริยาเสียชีวิตเพราะมีการทำละเมิดสามีย่อมมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดไร้อุปการะตามป.พ.พ.มาตรา443วรรคสามโดยไม่ต้องคำนึงว่าสามีจะยากจนหรือมั่งมีและประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเองได้หรือไม่เพราะเป็นสิทธิของสามีจะพึงได้รับชดใช้ตามกฎหมาย มารดามีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้วเฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ตามป.พ.พ.มาตรา1564วรรคสองบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและไม่ได้ความชัดว่าเป็นผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้จึงไม่อยู่ในข่ายจะได้รับค่าขาดไร้อุปการะตามป.พ.พ.มาตรา443วรรคสาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของผู้กระทำละเมิดในทางการที่จ้าง และสิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะของสามีและบุตร
จำเลยที่1เป็นลูกจ้างจำเลยที่2ทำงานเป็นช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ได้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ลูกค้าของจำเลยที่2นำมาให้ซ่อมไปเพื่อทดลองเครื่องอันเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานซ่อมรถตามหน้าที่ถือได้ว่าจำเลยที่1ทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่2จำเลยที่2จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ สามีภริยาย่อมมีหน้าที่จะต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1461เมื่อภริยาเสียชีวิตเพราะมีการทำละเมิดสามีย่อมมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดไร้อุปการะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา443วรรคสามโดยไม่ต้องคำนึงว่าสามีจะยากจนหรือมั่งมีและประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเองได้หรือไม่เพราะเป็นสิทธิของสามีจะพึงได้รับชดใช้ตามกฎหมาย. มารดามีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้วเฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1564วรรคสองบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและไม่ได้ความชัดว่าเป็นผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้จึงไม่อยู่ในข่ายจะได้รับค่าขาดไร้อุปการะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา443วรรคสาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของผู้จ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และสิทธิในการได้รับค่าขาดไร้อุปการะของสามีและบุตร
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ทำงานเป็นช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ ได้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ลูกค้าของจำเลยที่ 2 นำมาให้ซ่อมไปเพื่อทดลองเครื่อง อันเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานซ่อมรถตามหน้าที่ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์
สามีภริยาย่อมมีหน้าที่จะต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 เมื่อภริยาเสียชีวิตเพราะมีการทำละเมิด สามีย่อมมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดไร้อุปการะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 443 วรรคสาม โดยไม่ต้องคำนึงว่าสามีจะยากจนหรือมั่งมี และประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเองได้หรือไม่ เพราะเป็นสิทธิของสามีจะพึงได้รับชดใช้ตามกฎหมาย
มารดามีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้วเฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 วรรคสอง บุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและไม่ได้ความชัดว่าเป็นผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ จึงไม่อยู่ในข่ายจะได้รับค่าขาดไร้อุปการะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 443 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248-1249/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิด: การเฉลี่ยความรับผิดของผู้ประมาท และสิทธิการเบิกค่ารักษาพยาบาลไม่ตัดสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
เมื่อจำเลยต้องรับผิดในผลของการกระทำละเมิดแล้วก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์เต็มจำนวน แม้โจทก์จะมีสิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการได้ก็เป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ จำเลยจะนำมาหักความรับผิดของตนหาได้ไม่
จำเลยที่ 1 ขอเลื่อนคดีมา 1 ปีเศษ จึงนำพยานเข้าสืบได้ปากเดียว ศาลสั่งงดเพราะเห็นว่าเป็นการประวิงคดีนั้นเป็นดุลพินิจที่ชอบแล้ว
ผู้ขับรถยนต์ทั้งสองฝ่ายชนกันโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียหายและไม่อาจแบ่งแยกผลของการละเมิดแต่ละฝ่ายใดประมาทมากน้อยกว่ากัน ศาลมีอำนาจกำหนดให้เฉลี่ยความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหายฝ่ายละเท่า ๆ กันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248-1249/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิด: การเฉลี่ยความรับผิดของผู้กระทำละเมิดหลายฝ่าย และสิทธิการเบิกค่ารักษาพยาบาล
เมื่อจำเลยต้องรับผิดในผลของการกระทำละเมิดแล้วก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์เต็มจำนวนแม้โจทก์จะมีสิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการได้ก็เป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์จำเลยจะนำมาหักความรับผิดของตนหาได้ไม่ จำเลยที่1ขอเลื่อนคดีมา1ปีเศษจึงนำพยานเข้าสืบได้ปากเดียวศาลสั่งงดเพราะเห็นว่าเป็นการประวิงคดีนั้นเป็นดุลพินิจที่ชอบแล้ว ผู้ขับรถยนต์ทั้งสองฝ่ายชนกันโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียหายและไม่อาจแบ่งแยกผลของการละเมิดแต่ละฝ่ายใดประมาทมากน้อยกว่ากันศาลมีอำนาจกำหนดให้เฉลี่ยความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหายฝ่ายละเท่าๆกันได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2687-2688/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิด, ค่าปลงศพ, ค่าขาดไร้อุปการะ: ศาลฎีกาวินิจฉัยฟ้องไม่เคลือบคลุม และพิพากษาตามต้นทาง
ฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีละเมิด โจทก์ที่ 2 เรียกค่าปลงศพและค่ารถจักรยานยนต์ที่เสียหาย ได้บรรยายความเสียหายแต่ละอย่างซึ่งโจทก์ที่ 2 ได้เรียกร้องโดยกำหนดจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องรับผิดไว้ส่วนรายละเอียดว่าเป็นค่าใช้จ่ายอะไร เป็นเงินเท่าใดเป็นรายละเอียดที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ถือว่าคำฟ้องของโจทก์ที่ 2 ได้แสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา เช่นว่านั้นแล้ว ฟ้องโจทก์ที่ 2 จึงไม่เคลือบคลุม
พ. ผู้ตายเป็นบุตรโจทก์ที่ 1 กับ ป. ต่อมาได้หย่ากัน โจทก์ที่ 1 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ทำละเมิดเป็นเหตุให้ พ.ตายได้
ผู้ตายไม่มีทายาทอื่น บิดามารดาได้ถึงแก่ความตายไปหมด แล้วผู้ตายยังไม่มีครอบครัวอาศัยอยู่กับโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นพี่สาวร่วมบิดามารดาเดียวกันและเป็นผู้ทำการปลงศพ โจทก์ที่ 2 เป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายมีอำนาจฟ้องเรียก ค่าปลงศพผู้ตายได้
ฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะเนื่องจากมีผู้ทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ตายแม้จะได้ความว่าผู้ตายกำลังเรียนอยู่ในวิทยาลัยและในมหาวิทยาลัยเมื่อเรียนจบออกมาประกอบอาชีพ ย่อมจะมีรายได้พอที่จะให้ความอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ซึ่งเป็นมารดาได้ตามควรแม้จะเป็นเรื่องในอนาคตที่ไม่แน่นอนก็ตาม ศาลย่อมใช้ดุลพินิจกำหนดให้ภายในเวลาที่เห็นสมควร ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2687-2688/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องค่าเสียหายจากละเมิด: มรดก, ทายาท, ค่าปลงศพ, ค่าขาดไร้อุปการะ, และความเคลือบคลุมของฟ้อง
ฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีละเมิด โจทก์ที่ 2 เรียกค่าปลงศพและค่ารถจักรยานยนต์ที่เสียหาย ได้บรรยายความเสียหายแต่ละอย่างซึ่งโจทก์ที่ 2 ได้เรียกร้องโดยกำหนดจำนวนเงินที่ จำเลยจะต้องรับผิดไว้ ส่วนรายละเอียดว่าเป็นค่าใช้จ่ายอะไร เป็นเงินเท่าใดเป็นรายละเอียดที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ถือว่าคำฟ้องของโจทก์ที่ 2 ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่ง สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา เช่นว่านั้นแล้ว ฟ้องโจทก์ที่ 2 จึงไม่เคลือบคลุม พ. ผู้ตายเป็นบุตรโจทก์ที่1กับป. ต่อมาได้หย่ากัน โจทก์ที่ 1 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ทำละเมิดเป็นเหตุ ให้ พ.ตายได้
ผู้ตายไม่มีทายาทอื่น บิดามารดาได้ถึงแก่ความตายไปหมด แล้ว ผู้ตายยังไม่มีครอบครัวอาศัยอยู่กับโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นพี่สาวร่วมบิดามารดาเดียวกันและเป็นผู้ทำการปลงศพ โจทก์ที่ 2 เป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายมีอำนาจฟ้องเรียก ค่าปลงศพผู้ตายได้
ฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะเนื่องจากมีผู้ทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ตายแม้จะได้ความว่าผู้ตายกำลังเรียนอยู่ใน วิทยาลัยและในมหาวิทยาลัยเมื่อเรียนจบออกมาประกอบอาชีพ ย่อมจะมีรายได้พอที่จะให้ความอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ซึ่งเป็นมารดาได้ตามควรแม้จะเป็นเรื่องในอนาคตที่ไม่แน่นอน ก็ตาม ศาลย่อมใช้ดุลพินิจกำหนดให้ภายในเวลาที่เห็นสมควร ได้
of 22