คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 443

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 219 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 174/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง, การประมาทเลินเล่อ, ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะ, และดอกเบี้ย
จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างขับรถของบริษัท ข.บริษัท ข.เป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารประจำทางได้นำรถยนต์มาเดินร่วมในเส้นทางเดินรถของจำเลยที่ 1โดยพ่นสีเดียวกับสีรถยนต์โดยสารประจำทางของจำเลยที่ 1 และมีตราของจำเลยที่ 1 ที่ข้างรถทั้งสองข้างพนักงานเก็บเงินค่าโดยสารได้รับเงินเดือนจากจำเลยที่ 1 ถือว่าบริษัท ข.ร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 1 การที่รถยนต์โดยสารประจำทางมาเดินรับส่งคนโดยสารในลักษณะเช่นนี้ ถือว่าเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ด้วย
การที่ห้ามล้อเท้าของรถยนต์เกิดใช้การไม่ได้ในขณะขับ เป็นเหตุให้รถยนต์ชนรถยนต์สามล้อ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย เพราะยังอยู่ในวิสัยที่ผู้ขับขี่อาจป้องกันได้ถ้าหากใช้ความระมัดระวังตามสมควร โดยตรวจดูสภาพของรถให้เรียบร้อยก่อนนำออกไปรับส่งผู้โดยสาร
การที่รัฐวิสาหกิจออกค่ารักษาพยาบาลให้แก่พนักงานของตนไปแล้วหาทำให้ผู้ทำละเมิดและนายจ้างพ้นความรับผิดในการชดใช้ค่ารักษาพยาบาลนั้นต่อผู้เสียหายไม่
ผู้ตายอายุ 50 ปี ไม่ปรากฏว่ามีโรคร้ายประจำตัว และขณะนั้นโจทก์ที่ 1 อายุ 46 ปีปัจจุบันการแพทย์และสาธารณสุขเจริญขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ช่วงชีวิตของบุคคลทั่วไปยาวขึ้น การกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะให้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นเวลา 10 ปีนั้น ควรแก่พฤติการณ์แล้ว
การที่ศาลกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะเป็นกำหนดเวลาแน่นอนและคำนวณเป็นเงินก้อนจำนวนหนึ่งออกมาโดยไม่ต้องรอฟังว่าผู้ขาดไร้อุปการะจะมีชีวิตต่อไปอีกเป็นเวลานานเท่าใดนั้น เป็นการตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องและใช้ดุลพินิจไปตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
หนี้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะที่ศาลกำหนดให้จำเลยชำระแก่โจทก์มิใช่หนี้ในอนาคต แต่เป็นหนี้เงินที่จำเลยจะต้องชำระทันที จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด
ผู้เสียหายย่อมฟ้องนายจ้างของผู้ทำละเมิดให้ร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ผู้ทำละเมิดกระทำไปในทางการที่จ้างได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวและแจ้งถึงค่าเสียหายก่อน เพราะถือว่านายจ้างซึ่งเป็นลูกหนี้ได้ผิดนัดมาตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 174/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง, การร่วมกิจการ, และการประเมินค่าเสียหาย
จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างขับรถของบริษัท ข.บริษัท ข.เป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารประจำทางได้นำรถยนต์มาเดินร่วมในเส้นทางเดินรถของจำเลยที่ 1โดยพ่นสีเดียวกับสีรถยนต์โดยสารประจำทางของจำเลยที่ 1 และมีตราของจำเลยที่1 ที่ข้างรถทั้งสองข้างพนักงานเก็บเงินค่าโดยสารได้รับ เงินเดือนจากจำเลยที่ 1 ถือว่าบริษัท ข.ร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่1 การที่รถยนต์โดยสารประจำทางมาเดินรับส่งคนโดยสารในลักษณะเช่นนี้ ถือว่าเป็นกิจการของ จำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 ย่อมเป็นลูกจ้างของจำเลยที่1ด้วย การที่ห้ามล้อเท้าของรถยนต์เกิดใช้การไม่ได้ในขณะขับเป็นเหตุให้รถยนต์ชนรถยนต์สามล้อ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยเพราะยังอยู่ในวิสัยที่ผู้ขับขี่อาจป้องกันได้ถ้าหากใช้ความระมัดระวังตามสมควรโดยตรวจดูสภาพของรถให้เรียบร้อยก่อนนำออกไปรับส่งผู้โดยสาร การที่รัฐวิสาหกิจออกค่ารักษาพยาบาลให้แก่พนักงานของตนไปแล้วหาทำให้ผู้ทำละเมิดและนายจ้างพ้นความรับผิดในการชดใช้ค่ารักษาพยาบาลนั้นต่อผู้เสียหายไม่ ผู้ตายอายุ 50 ปี ไม่ปรากฏว่ามีโรคร้ายประจำตัว และขณะนั้นโจทก์ที่ 1 อายุ 46 ปีปัจจุบันการแพทย์และสาธารณสุขเจริญขึ้นกว่าแต่ก่อนมากช่วงชีวิตของบุคคลทั่วไปยาวขึ้นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะให้แก่โจทก์ที่ 1เป็นเวลา 10 ปีนั้น ควรแก่พฤติการณ์แล้ว การที่ศาลกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะเป็นกำหนดเวลาแน่นอนและคำนวณเป็นเงินก้อนจำนวนหนึ่งออกมาโดยไม่ต้องรอฟังว่าผู้ขาดไร้อุปการะจะมีชีวิตต่อไปอีกเป็นเวลานานเท่าใดนั้นเป็นการตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องและใช้ดุลพินิจไปตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด หนี้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะที่ศาลกำหนดให้จำเลยชำระแก่โจทก์มิใช่หนี้ในอนาคต แต่เป็นหนี้เงินที่จำเลยจะต้องชำระทันทีจำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด ผู้เสียหายย่อมฟ้องนายจ้างของผู้ทำละเมิดให้ร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ผู้ทำละเมิดกระทำไปในทางการที่จ้างได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวและแจ้งถึงค่าเสียหายก่อนเพราะถือว่านายจ้างซึ่งเป็นลูกหนี้ได้ผิดนัดมาตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2195/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดอุปการะเลี้ยงดูจากเหตุเครื่องบินชนเสียชีวิต ศาลพิจารณาความสามารถรายได้ และภาระผู้รับอุปการะ
บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ อ. วันเกิดเหตุ อ. โดยสารเครื่องบินของจำเลยที่ 1 มา และนักบินซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 กระทำในทางการที่จ้างโดยประมาทเลินเล่อปราศจากความระมัดระวังบินต่ำเกินไปก่อนถึงสนามเป็นเหตุให้เครื่องบินชนโรงงานและ อ. เสียชีวิตเป็นเหตุให้โจทก์ขาดผู้อุปการะเลี้ยงดูตามกฎหมาย ดังนี้ ฟ้องไม่เคลือบคลุม
รายได้ปกติของสามีโจทก์ประมาณเดือนละ 45,000 บาท มีบุตรเกิดจากภรรยาเดิมที่จะต้องรับอุปการะเลี้ยงดู 1 คน และอาจมีบิดามารดาที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูอยู่อีกโจทก์เองไม่มีบุตรกับสามี ศาลกำหนดค่าขาดอุปการะเลี้ยงดูให้โจทก์เดือนละ 15,000 บาท แต่ให้ได้รับคราวเดียวเป็นเวลา 10 ปี ซึ่งโจทก์อาจนำเงินนี้ไปแสวงหาผลประโยชน์ที่มั่นคงเช่นฝากธนาคาร ก็จะได้ดอกเบี้ยตลอดไปไม่น้อยกว่ารายได้แต่ละเดือนที่โจทก์ควรจะได้จากสามี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลย 1 และ 10 ต้องรับผิดร่วมกันต่อความเสียหายจากการยิงพลาดทำให้นายชูศักดิ์เสียชีวิต แม้มีผู้อื่นยิงเช่นกัน
ในคดีอาญาศาลทหารกรุงเทพ (ศาลอาญา) วินิจฉัยว่าการที่ จำเลยที่ 1 ยิงนายฉลองคนร้ายเป็นการกระทำในการจับกุม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 จำเลยที่1 ไม่มีความผิดในการยิงนายฉลองแต่กระสุนปืนของ จำเลยที่ 1 ในจำนวน 3 นัดที่ยิงนายฉลอง มี 2 นัด ที่พลาดไปถูกนายชูศักดิ์ตายเป็นการป้องกันเกินสมควรกว่าเหตุในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารฯ มาตรา 54โดยจะวินิจฉัยเสียใหม่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการ ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ ที่จำเลยที่ 1 อ้างถึงการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ก็ไม่ปรากฏตัวผู้บังคับบัญชาผู้ออกคำสั่งโดยแน่ชัดจำเลยที่ 1 จึง ไม่ได้รับนิรโทษกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 449ต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดต่อนายชูศักดิ์ (วรรคนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2527) จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของจำเลยที่ 10จำเลยที่ 1 สกัดจับนายฉลองคนร้ายตามที่ได้รับ วิทยุแจ้งเหตุ ถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติ หน้าที่ของจำเลย ที่ 1 เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ทำให้ โจทก์ทั้งสามเสียหายจึงเป็นการกระทำละเมิดในหน้าที่การงานซึ่งจำเลยที่ 10 จะต้องร่วมรับผิดด้วยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 จำเลยที่ 10 จะโต้เถียงอ้างว่าเป็นการนอกวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ยิงนายฉลองคนร้ายกระสุนพลาด ไปถูกนายชูศักดิ์ 2 นัด เป็นบาดแผลฉกรรจ์ที่สามารถทำให้ นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายได้ และเกิดจากการกระทำของ จำเลยที่ 1 ก่อนบุคคลอื่น แม้จะมีบุคคลอื่นยิงนายชูศักดิ์อีกสองแผลอันเป็นบาดแผลฉกรรจ์และอาจทำให้ นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายได้เช่นเดียวกันเมื่อบุคคล ดังกล่าวมิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำผิด โดยต่างคน ต่างทำจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดในความเสียหายทั้งหมดอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุ ให้นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 จะอ้างว่า บุคคลอื่นมีส่วนทำละเมิดต่อนายชูศักดิ์มาเป็นเหตุลดหย่อนความรับผิดของตนหาได้ไม่ นายชูศักดิ์เป็นผู้มีสุขภาพดีและไม่มีโรคประจำตัวนอกจากนั้นการแพทย์และการอนามัยในปัจจุบันเจริญขึ้น มากจึงเป็นที่คาดหมายได้ว่านายชูศักดิ์อาจมีอายุยืนยาวกว่า60ปีได้(นายชูศักดิ์อายุ 53 ปีขณะถึงแก่กรรมที่ศาลกำหนดให้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ที่ 1 เดือนละ 8,000 บาท มีกำหนด 10 ปี จึงเป็นการพอควรและเหมาะสม แล้ว ขณะนายชูศักดิ์ตายเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิบุตรนายชูศักดิ์ มีอายุ 9 ปี 2 เดือน และ 5 ปี 10 เดือนตามลำดับเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิชอบที่จะได้รับชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะตลอดไปจนกว่าอายุจะบรรลุนิติภาวะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 กำหนดเวลาที่ เด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิได้รับชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแม้ เกิน 10 ปี ก็เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หา เป็นการขัดกันกับกำหนดระยะเวลาที่โจทก์ที่ 1 ได้รับ ชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะไม่เมื่อเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิเจริญเติบโตขึ้นก็จำเป็นต้องได้รับการศึกษาสูงขึ้นและ ได้รับการเลี้ยงดูเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ที่ศาลคิด ถัวเฉลี่ยค่าขาดไร้อุปการะตลอดไปจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะเป็น เงินคนละ 25,000 บาทต่อปีจึงเป็นการพอสมควรและเหมาะสมแก่ฐานะของนายชูศักดิ์ผู้ตายแล้ว ในวันปลงศพหรือฌาปนกิจศพ นายชูศักดิ์มีการ พระราชทานเพลิงศพมารดาและฌาปนกิจศพเด็กหญิงทรายบุตรผู้ตายซึ่งไม่เกี่ยวกับการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 รวมอยู่ ด้วยก็ตามแต่ความสำคัญอยู่ที่การจัดการศพนายชูศักดิ์ที่ศาลให้จำเลยที่ 1 รับผิดสองในสามของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปลงศพจึงเป็นการเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการยิงพลาดของเจ้าพนักงาน และความร่วมรับผิดของหน่วยงานต้นสังกัด
ในคดีอาญาศาลทหารกรุงเทพ (ศาลอาญา) วินิจฉัยว่าการที่ จำเลยที่ 1 ยิงนายฉลองคนร้ายเป็นการกระทำในการจับกุมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดในการยิงนายฉลอง แต่กระสุนปืนของ จำเลยที่ 1ในจำนวน 3 นัดที่ยิงนายฉลอง มี 2 นัด ที่พลาดไปถูกนายชูศักดิ์ตายเป็นการป้องกันเกินสมควรกว่าเหตุในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารฯ มาตรา 54โดยจะวินิจฉัยเสียใหม่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการ ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ ที่จำเลยที่ 1อ้างถึงการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ก็ไม่ปรากฏตัวผู้บังคับบัญชาผู้ออกคำสั่งโดยแน่ชัดจำเลยที่ 1 จึง ไม่ได้รับนิรโทษกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 449ต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดต่อนายชูศักดิ์(วรรคนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2527)
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของจำเลยที่ 10จำเลยที่ 1 สกัดจับนายฉลองคนร้ายตามที่ได้รับ วิทยุแจ้งเหตุถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติ หน้าที่ของจำเลย ที่ 1 เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ทำให้ โจทก์ทั้งสามเสียหายจึงเป็นการกระทำละเมิดในหน้าที่การงานซึ่งจำเลยที่ 10 จะต้องร่วมรับผิดด้วยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 จำเลยที่ 10จะโต้เถียงอ้างว่าเป็นการนอกวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับหาได้ไม่
เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ยิงนายฉลองคนร้ายกระสุนพลาดไปถูกนายชูศักดิ์ 2 นัด เป็นบาดแผลฉกรรจ์ที่สามารถทำให้นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายได้ และเกิดจากการกระทำของ จำเลยที่ 1ก่อนบุคคลอื่น แม้จะมีบุคคลอื่นยิงนายชูศักดิ์อีกสองแผลอันเป็นบาดแผลฉกรรจ์และอาจทำให้ นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายได้เช่นเดียวกันเมื่อบุคคล ดังกล่าวมิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำผิด โดยต่างคน ต่างทำจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดในความเสียหายทั้งหมดอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุ ให้นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1จะอ้างว่า บุคคลอื่นมีส่วนทำละเมิดต่อนายชูศักดิ์มาเป็นเหตุลดหย่อนความรับผิดของตนหาได้ไม่
นายชูศักดิ์เป็นผู้มีสุขภาพดีและไม่มีโรคประจำตัวนอกจากนั้นการแพทย์และการอนามัยในปัจจุบันเจริญขึ้น มากจึงเป็นที่คาดหมายได้ว่านายชูศักดิ์อาจมีอายุยืน ยาวกว่า 60 ปีได้ (นายชูศักดิ์อายุ53 ปีขณะถึงแก่กรรมที่ศาลกำหนดให้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ที่ 1เดือนละ 8,000 บาท มีกำหนด 10 ปี จึงเป็นการพอควรและเหมาะสม แล้ว
ขณะนายชูศักดิ์ตาย เด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิบุตรนายชูศักดิ์ มีอายุ9 ปี 2 เดือน และ 5 ปี 10 เดือนตามลำดับเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิชอบที่จะได้รับชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะตลอดไปจนกว่าอายุจะบรรลุนิติภาวะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564กำหนดเวลาที่ เด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิได้รับชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแม้ เกิน 10 ปี ก็เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หาเป็นการขัดกันกับกำหนดระยะเวลาที่โจทก์ที่ 1 ได้รับ ชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะไม่ เมื่อเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิเจริญเติบโตขึ้นก็จำเป็นต้องได้รับการศึกษาสูงขึ้นและ ได้รับการเลี้ยงดูเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ที่ศาลคิด ถัวเฉลี่ยค่าขาดไร้อุปการะตลอดไปจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะเป็น เงินคนละ 25,000 บาทต่อปีจึงเป็นการพอสมควรและเหมาะสมแก่ฐานะของนายชูศักดิ์ผู้ตายแล้ว
ในวันปลงศพหรือฌาปนกิจศพ นายชูศักดิ์มีการ พระราชทานเพลิงศพมารดาและฌาปนกิจศพเด็กหญิงทรายบุตรผู้ตายซึ่งไม่เกี่ยวกับการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 รวมอยู่ ด้วยก็ตามแต่ความสำคัญอยู่ที่การจัดการศพนายชูศักดิ์ ที่ศาลให้จำเลยที่ 1 รับผิดสองในสามของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปลงศพจึงเป็นการเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1701-1703/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และขอบเขตการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเหตุละเมิด
บิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย มีอำนาจฟ้องนายจ้างให้ร่วมรับผิดกับลูกจ้างชดใช้ค่าเสียหายในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้าง กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นได้
โจทก์ที่ 3 เป็นผู้ครอบครองและใช้ประโยชน์รถยนต์ของบุตรคันที่ ถูกชนโดยละเมิด โจทก์ที่ 3 ฟ้องเรียกค่าเสียหายและค่าเสื่อมราคาของรถ โดยไม่ปรากฏว่าได้ซ่อมรถและจ่ายเงินไปจริงหรือไม่ โจทก์ที่ 3 มีอำนาจฟ้องเฉพาะเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถระหว่างซ่อมเท่านั้น
คำฟ้องของโจทก์ในคดีส่วนอาญาที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องบรรยายว่า ผู้ตายซึ่งขับขี่รถยนต์อีกคันหนึ่งมีส่วนในการ ประมาทด้วย ข้อเท็จจริง ในคดีส่วนแพ่งคงมีผลให้ผูกพันและถือตามเฉพาะในส่วนที่ว่า จำเลยที่ 1 ขับรถด้วยความประมาทเท่านั้นแต่หาต้องผูกพันถึงผู้ตาย ซึ่งขับรถอีกคันหนึ่งและไม่ได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วยไม่ ผู้ตายขับรถโดยประมาทหรือไม่ ต้องถือตามที่นำสืบกันในคดีส่วนแพ่ง
จำเลยที่ 1 ลูกจ้างขับรถของจำเลยที่ 2 เมาสุราขับรถของจำเลยที่ 2 ไปในทางการที่จ้างชนรถยนต์คันอื่นโดยละเมิด จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ จะต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 นั้นด้วย
ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ 2 ขอดอกเบี้ยเฉพาะจากเงินค่าใช้จ่ายในการทำศพบุตรของโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 2 จึงชอบจะได้ดอกเบี้ยจากเงิน ค่าใช้จ่ายในการทำศพจำนวน 4,000 บาทเท่านั้น ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้ จำเลยทั้งสองใช้ดอกเบี้ยจากเงินค่าขาดไร้อุปการะมาด้วยจึงมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3267/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ผลกระทบของคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง และการคำนวณค่าเสียหาย
จำเลยที่ 4 ลูกจ้างจำเลยที่ 3 ขับรถเฉี่ยวชนกับรถที่ น.ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขับสวนทางมาเป็นเหตุให้ ส.ภริยาโจทก์ในรถที่ น.ขับถึงแก่ความตายจำเลยที่ 4 ถูกฟ้อง ศาลมีคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเสร็จเด็ดขาดไปแล้วว่า จำเลยที่ 4 มิได้ขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย คำพิพากษามีผลผูกพันเฉพาะโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย หาผูกพัน น. หรือจำเลยที่ 2 นายจ้างของ น. ซึ่งมิใช่คู่ความในคดีอาญาด้วยไม่ จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงอาจนำสืบต่อสู้ได้ว่าความเสียหายเกิดขึ้นจากความผิดของจำเลยที่ 4. มิใช่เกิดจากความผิดของ น.เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า น. ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ ส.ภริยาโจทก์ตายจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ลูกจ้างของตนได้กระทำไปในทางการที่จ้าง
ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการจัดการศพและค่าปลงศพผู้ตาย โจทก์ในฐานะทายาทของผู้ตายมีสิทธิที่จะเรียกได้
ค่าขาดสิทธิที่โจทก์จะได้รับอุปการะเลี้ยงดูจาก ส.ผู้ตายมีตามกฎหมาย โดยไม่จำต้องคำนึงถึงความเป็นจริง จึงไม่ต้องพิจารณาว่าขณะถูกทำละเมิดถึงแก่ความตาย ส.มีรายได้และให้การอุปการะเลี้ยงดูโจทก์หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2628/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อจากทั้งผู้เลี้ยงโคปล่อยปละละเลย และผู้ขับขี่บีบแตรใกล้โค ทำให้เกิดอุบัติเหตุ
ด. มีขาลีบเวลาเดินต้องใช้ไม้เท้าค้ำยัน แต่ ด. มีอาชีพคุมงานก่อสร้าง ต้องขับขี่รถจักรยานยนต์ออกจากบ้านไปคุมงานทุกวัน แสดงว่า ด.มีความสามารถขับขี่รถจักรยานยนต์ได้ การที่ไม่ได้รับอนุญาตให้มีใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะตามพระราชบัญญัติรถยนต์ จึงไม่เป็นเหตุที่จะทำให้ฟังว่า ด. ประมาท
การที่ ป. ซึ่งเป็นผู้เลี้ยงดูโคแทนจำเลยทั้งสองปล่อยโคขึ้นไปกินหญ้าบนไหล่ถนนอันเป็นทางหลวงระหว่างจังหวัดโดยอิสระ ไม่ผูกเชือกหรือจับจูงไว้ เป็นการปล่อยปละละเลยไม่ระมัดระวังดูแลสัตว์ตามสมควรเพราะถนนมิใช่ที่เลี้ยงสัตว์สาธารณะ จำเลยทั้งสองจึงเป็นฝ่ายประมาทก่อน แต่การที่ ด. เห็นโคเดินอยู่ข้างถนนแล้วยังขับขี่รถจักรยานยนต์เข้าใกล้และบีบแตร เป็นเหตุให้โคตกใจและขวิดรถจักรยานยนต์ทำให้ ด. ถึงแก่ความตาย ถือได้ว่าเป็นความประมาทของ ด. ส่วนหนึ่งด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2628/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทของผู้เลี้ยงโคและการประมาทของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่บีบแตร ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน
ด. มีขาลีบเวลาเดินต้องใช้ไม้เท้าค้ำยันแต่ ด. มีอาชีพคุมงานก่อสร้างต้องขับขี่รถจักรยานยนต์ออกจากบ้านไปคุมงานทุกวัน แสดงว่า ด.มีความสามารถขับขี่รถจักรยานยนต์ได้ การที่ไม่ได้รับอนุญาตให้มีใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะตามพระราชบัญญัติรถยนต์ จึงไม่เป็นเหตุที่จะทำให้ฟังว่า ด. ประมาท
การที่ ป. ซึ่งเป็นผู้เลี้ยงดูโคแทนจำเลยทั้งสองปล่อยโคขึ้นไปกินหญ้าบนไหล่ถนนอันเป็นทางหลวงระหว่างจังหวัดโดยอิสระไม่ผูกเชือกหรือจับจูงไว้ เป็นการปล่อยปละละเลยไม่ระมัดระวังดูแลสัตว์ตามสมควรเพราะถนนมิใช่ที่เลี้ยงสัตว์สาธารณะ จำเลยทั้งสองจึงเป็นฝ่ายประมาทก่อน แต่การที่ ด. เห็นโคเดินอยู่ข้างถนนแล้วยังขับขี่รถจักรยานยนต์เข้าใกล้และบีบแตร เป็นเหตุให้โคตกใจและขวิดรถจักรยานยนต์ทำให้ ด. ถึงแก่ความตาย ถือได้ว่าเป็นความประมาทของ ด. ส่วนหนึ่งด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดไร้อุปการะจากบุตร: ศาลพิพากษาถูกต้อง แม้ฟ้องเป็นค่าขาดแรงงาน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1567(3) โจทก์ทั้งสองผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ฐานาบุรูป และมาตรา 1563 บัญญัติให้บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา ดังนั้นกิจการหรืแรงงานที่บุตรทำให้บิดามารดาก็คือการอุปการะเลี้ยงดูอย่างหนึ่ง เมื่อ ว.บุตรโจทก์ถูกกระทำละเมิดตายลงย่อมทำให้โจทก์ขาดไร้อุปการะจากผู้ตาย โจทก์ฟ้องเรียกค่าขาดแรงงาน ว.ถือได้ว่าเป็นการเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะนั่นเอง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะให้โจทก์ จึงมิใช่เป็นการพิพากษานอกฟ้อง
of 22