พบผลลัพธ์ทั้งหมด 245 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1469/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมาย: ความสัมพันธ์ฉันสามีภริยาและการแสดงออกถึงการยอมรับว่าเป็นบิดา ทำให้บุตรมีสิทธิได้รับมรดก
ชายไปอยู่กินกับหญิง และแสดงความสัมพันธ์ฉันสามีภริยาในที่ต่าง ๆ อย่างเปิดเผยเป็นการยอมรับว่าหญิงเป็นภริยา มีการจัดเลี้ยงฉลองการตั้งครรภ์ เป็นการแสดงออกถึงการรับรองว่าโจทก์ซึ่งเป็นทารกในครรภ์มารดาเป็นบุตรของตน โจทก์จึงเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 และเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกตามมาตรา 1629(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 561-562/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: การครอบครองมรดกโดยทายาทและคู่สมรส, ผลต่อการฟ้องแบ่งมรดก
ม. ถึงแก่กรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 ร. สามี ม. ซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่มรดกของ ม. ร่วมกับ จำเลยซึ่งเป็นภริยาคนใหม่ของ ร.จนกระทั่งร. ได้ถึงแก่กรรมในวันที่ 3 มกราคม 2517 แล้วโจทก์สำนวนแรกจึงมาฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทายาทครอบครองมรดกของ ร. เพื่อขอแบ่งมรดกของ ม. เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2518 พ้นกำหนด 1 ปี ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 แล้ว หากยังมีชีวิตอยู่ ร. ซึ่งครอบครองที่พิพาทย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์สำนวนแรกได้จำเลยเป็นคู่สมรสและเป็นทายาทโดยธรรมซึ่งมีสิทธิรับมรดกของร. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 และ 1635 จึงชอบที่จะใช้สิทธิของ ร. ยกอายุความมรดก ขึ้นต่อสู้โจทก์สำนวนแรกได้ตามมาตรา 1755
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2681/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นอายุความมรดกและการใช้สิทธิของเจ้าของรวม ศาลต้องพิจารณาตามประเด็นที่กำหนดไว้
ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเรื่องอายุความมรดกเป็นประเด็นไว้ และจำเลยก็มิได้โต้แย้งหรือคัดค้าน จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องอายุความรดก จำเลยย่อมหมดสิทธิอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในเรื่องอายุความมรดก จึงเป็นการนอกประเด็น
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ม.ซึ่งไม่ได้ทำพินัยกรรมยกให้ผู้ใด จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของ ม.ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกที่ดินแปลงนี้ และมีส่วนเป็นเจ้าของรวมในที่ดินแปลงนี้ด้วย จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่พิพาทมาตั้งแต่เจ้ามรดกยังไม่ตาย หลังจากเจ้ามรดกตายก็ยังคงอยู่ต่อมา จำเลยมีสิทธิใช้ทรัพย์สินในฐานะเจ้าของรวม โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่ดินพิพาท
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ม.ซึ่งไม่ได้ทำพินัยกรรมยกให้ผู้ใด จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของ ม.ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกที่ดินแปลงนี้ และมีส่วนเป็นเจ้าของรวมในที่ดินแปลงนี้ด้วย จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่พิพาทมาตั้งแต่เจ้ามรดกยังไม่ตาย หลังจากเจ้ามรดกตายก็ยังคงอยู่ต่อมา จำเลยมีสิทธิใช้ทรัพย์สินในฐานะเจ้าของรวม โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2681/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นอายุความมรดกและการฟ้องขับไล่ทายาทผู้มีสิทธิในทรัพย์มรดก
ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเรื่องอายุความมรดกเป็นประเด็นไว้และจำเลยก็มิได้โต้แย้งหรือคัดค้าน จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องอายุความมรดก จำเลยย่อมหมดสิทธิอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในเรื่องอายุความมรดก จึงเป็นการนอกประเด็น
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ม. ซึ่งไม่ได้ทำพินัยกรรมยกให้ผู้ใด จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของม. ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกที่ดินแปลงนี้ และมีส่วนเป็นเจ้าของรวมในที่ดินแปลงนี้ด้วย จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่พิพาทมาตั้งแต่เจ้ามรดกยังไม่ตาย หลังจากเจ้ามรดกตายก็ยังคงอยู่ต่อมา จำเลยมีสิทธิใช้ทรัพย์สินในฐานะเจ้าของรวม โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่ดินพิพาท
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ม. ซึ่งไม่ได้ทำพินัยกรรมยกให้ผู้ใด จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของม. ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกที่ดินแปลงนี้ และมีส่วนเป็นเจ้าของรวมในที่ดินแปลงนี้ด้วย จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่พิพาทมาตั้งแต่เจ้ามรดกยังไม่ตาย หลังจากเจ้ามรดกตายก็ยังคงอยู่ต่อมา จำเลยมีสิทธิใช้ทรัพย์สินในฐานะเจ้าของรวม โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจัดการมรดก: ทายาทโดยชอบธรรม, ผู้จัดการมรดก, และการฉ้อฉลทรัพย์มรดก
ผู้คัดค้านร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกอ้างว่าศาลเพิกถอนคำสั่งเพราะสั่งไปโดยผิดหลง โดยผู้ร้องแถลงข้อความอันเป็นเท็จปกปิดความจริงศาลชั้นต้นยกคำร้อง ต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องมิได้ปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการมรดกให้ถูกต้อง มิได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกมาเสนอศาล และฉ้อฉลทรัพย์มรดกไว้เป็นประโยชน์ส่วนตัว ดังนี้ ประเด็นที่จะวินิจฉัยในคำร้องฉบับหลังนี้เป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกับคำร้องฉบับแรกไม่เป็นการร้องซ้ำ
ทายาทที่จะร้องต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 หมายความถึงทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกเท่านั้น ไม่หมายความถึงผู้ที่อยู่ในลำดับทายาททุกลำดับตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 1629
ภรรยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ได้อยู่กินร่วมกันกับสามีจนสามีถึงแก่ความตาย เมื่อมีทรัพย์สินได้มาระหว่างเป็นสามีภรรยา ย่อมถือว่า เป็นทรัพย์สินทำมาหาได้ ร่วมกัน จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713
ทายาทที่จะร้องต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 หมายความถึงทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกเท่านั้น ไม่หมายความถึงผู้ที่อยู่ในลำดับทายาททุกลำดับตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 1629
ภรรยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ได้อยู่กินร่วมกันกับสามีจนสามีถึงแก่ความตาย เมื่อมีทรัพย์สินได้มาระหว่างเป็นสามีภรรยา ย่อมถือว่า เป็นทรัพย์สินทำมาหาได้ ร่วมกัน จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจัดการมรดก: ทายาทโดยชอบธรรม, บุตรนอกกฎหมายที่ได้รับการรับรอง, และอำนาจของผู้จัดการมรดก
ผู้คัดค้านร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก อ้างว่าศาลเพิกถอนคำสั่งเพราะสั่งไปโดยผิดหลง โดยผู้ร้องแถลงข้อความอันเป็นเท็จปกปิดความจริงศาลชั้นต้นยกคำร้อง ต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องมิได้ปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการมรดกให้ถูกต้อง มิได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกมาเสนอศาล และฉ้อฉลทรัพย์มรดกไว้เป็นประโยชน์ส่วนตัวดังนี้ ประเด็นที่จะวินิจฉัยในคำร้องฉบับหลังนี้จึงเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกับคำร้องฉบับแรกไม่เป็นการร้องซ้ำ
ทายาทที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 หมายความถึงทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกเท่านั้น ไม่หมายความถึงผู้ที่อยู่ในลำดับทายาททุกลำดับตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 1629
ภรรยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ได้อยู่กินร่วมกันกับสามีจนสามีถึงแก่ความตาย เมื่อมีทรัพย์สินได้มาระหว่างเป็นสามีภรรยา ย่อมถือว่าเป็นทรัพย์สินทำมาหาได้ร่วมกันจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1713
ทายาทที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 หมายความถึงทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกเท่านั้น ไม่หมายความถึงผู้ที่อยู่ในลำดับทายาททุกลำดับตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 1629
ภรรยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ได้อยู่กินร่วมกันกับสามีจนสามีถึงแก่ความตาย เมื่อมีทรัพย์สินได้มาระหว่างเป็นสามีภรรยา ย่อมถือว่าเป็นทรัพย์สินทำมาหาได้ร่วมกันจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1713
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม vs น้องร่วมบิดามารดา: ผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการมรดก
บุตรผู้เยาว์ทั้งสามของผู้ร้อง เป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย จึงถือว่าเป็นผู้สืบสันดานของผู้ตายเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 และเป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิได้รับมรดกในลำดับที่ 1 ตามมาตรา1629. ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเพียงน้องร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย ตามมาตรา1630 จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1713
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ปกครองของบุตรผู้เยาว์ตามคำสั่งศาลเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในการจัดการมรดก ร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ปกครองของบุตรผู้เยาว์ตามคำสั่งศาลเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในการจัดการมรดก ร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจัดการศพของผู้มรณภาพตกแก่ทายาทโดยธรรมเมื่อไม่มีผู้จัดการมรดกหรือพินัยกรรม
โจทก์เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับพระภิกษุผู้มรณภาพ จึงเป็นทายาทอันดับ 3 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพผู้ตายนั้น มาตรา 1649 บัญญัติไว้ตามลำดับดังนี้คือ ผู้จัดการมรดกที่ผู้ตายตั้งไว้ เว้นแต่ผู้ตายจะได้ตั้งผู้อื่นไว้โดยเฉพาะให้จัดการทำศพ ถ้าผู้ตายมิได้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือบุคคลใดไว้โดยเฉพาะ หรือทายาทมิได้มอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพ บุคคลผู้ได้รับทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรม หรือโดยสิทธิโดยธรรมเป็นจำนวนมากที่สุดเป็นผู้มีอำนาจและตกอยู่ในหน้าที่ต้องจัดการทำศพ เว้นแต่ศาลจะเห็นเป็นการสมควรตั้งบุคคลอื่นให้จัดการเช่นนั้น ในเมื่อผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งร้องขอ
พระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สินเป็นมรดก ไม่ได้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือบุคคลอื่นให้จัดการทำศพโดยเฉพาะ ไม่ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่ผู้ใด และไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจแก่วัดที่พระภิกษุจำพรรษาอยู่ขณะมรณภาพมีอำนาจและหน้าที่จัดการศพไว้ ดังนั้น อำนาจและหน้าที่ดังกล่าวจึงตกได้แก่โจทก์ผู้เป็นทายาทโดยธรรมของพระภิกษุผู้มรณภาพ
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพผู้ตายนั้น มาตรา 1649 บัญญัติไว้ตามลำดับดังนี้คือ ผู้จัดการมรดกที่ผู้ตายตั้งไว้ เว้นแต่ผู้ตายจะได้ตั้งผู้อื่นไว้โดยเฉพาะให้จัดการทำศพ ถ้าผู้ตายมิได้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือบุคคลใดไว้โดยเฉพาะ หรือทายาทมิได้มอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพ บุคคลผู้ได้รับทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรม หรือโดยสิทธิโดยธรรมเป็นจำนวนมากที่สุดเป็นผู้มีอำนาจและตกอยู่ในหน้าที่ต้องจัดการทำศพ เว้นแต่ศาลจะเห็นเป็นการสมควรตั้งบุคคลอื่นให้จัดการเช่นนั้น ในเมื่อผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งร้องขอ
พระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สินเป็นมรดก ไม่ได้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือบุคคลอื่นให้จัดการทำศพโดยเฉพาะ ไม่ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่ผู้ใด และไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจแก่วัดที่พระภิกษุจำพรรษาอยู่ขณะมรณภาพมีอำนาจและหน้าที่จัดการศพไว้ ดังนั้น อำนาจและหน้าที่ดังกล่าวจึงตกได้แก่โจทก์ผู้เป็นทายาทโดยธรรมของพระภิกษุผู้มรณภาพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1498/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสไม่จดทะเบียน: สิทธิในการรับมรดกและการบังคับโอนทรัพย์สิน
โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องได้หรือไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นอ้าง เมื่อเห็นสมควรศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัย แล้วพิพากษาคดีไปได้
เมื่อการสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. มิได้จดทะเบียนการสมรสดังกล่าวย่อมไม่สมบูรณ์ จำเลยจึงมิใช่ภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ท. และไม่เป็นคู่สมรสซึ่งจะมีสิทธิเป็นทายาทโดยธรรมของ ท. ผู้ตาย เหตุนี้จำเลยย่อมไม่มีสิทธิหน้าที่เกี่ยวกับกองมรดกของท. โจทก์จะฟ้องให้บังคับจำเลยโอนที่นาซึ่ง ท.ผู้ตายทำสัญญาขายให้โจทก์แต่ท.ถึงแก่กรรมเสียก่อนทำการโอน หาได้ไม่
เมื่อการสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. มิได้จดทะเบียนการสมรสดังกล่าวย่อมไม่สมบูรณ์ จำเลยจึงมิใช่ภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ท. และไม่เป็นคู่สมรสซึ่งจะมีสิทธิเป็นทายาทโดยธรรมของ ท. ผู้ตาย เหตุนี้จำเลยย่อมไม่มีสิทธิหน้าที่เกี่ยวกับกองมรดกของท. โจทก์จะฟ้องให้บังคับจำเลยโอนที่นาซึ่ง ท.ผู้ตายทำสัญญาขายให้โจทก์แต่ท.ถึงแก่กรรมเสียก่อนทำการโอน หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีที่ดิน: บุตรนอกกฎหมายต้องได้รับการรับรองเพื่อมีสิทธิรับมรดก
ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างแต่เพียงว่า โจทก์ทั้งสี่เป็นบุตร นอกกฎหมายของ ม. และก่อนถึงแก่กรรม ม. บิดาโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท มิได้กล่าวอ้างว่าโจทก์ทั้งสี่มีสิทธิรับมรดกที่ดินพิพาทแปลงนี้ในฐานะอะไร เพราะบุตรนอกกฎหมายที่มีสิทธิรับมรดกของบิดาได้จะต้องเป็นบุตรที่บิดาได้รับรองแล้วดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1627แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ก็ไม่ปรากฏว่าพฤติการณ์อันใดที่แสดงว่าโจทก์ทั้งสี่เป็นบุตร นอกกฎหมาย ที่บิดารับรองแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทจึงไม่มีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับ ที่ดินแปลงนี้ และเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้าง หากแต่ศาลพิจารณาเห็นสมควรย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)