พบผลลัพธ์ทั้งหมด 245 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวม-สิทธิครอบครอง: การขายทรัพย์สินส่วนรวมต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมอื่น
ที่ดินมือเปล่า 22 ไร่ พ. ยกให้โจทก์และ น.สามีเป็นของรับไหว้ในวันแต่งงาน จึงเป็นสินสมรส น. และโจทก์เป็นบิดามารดาจำเลย เมื่อ น.ตายโจทก์มีส่วนแบ่งในฐานะภริยาและทายาท จำเลยมีส่วนแบ่งในฐานะทายาท แต่ยังไม่ได้แบ่งกัน จำเลยกับบุตรคนอื่น ๆ ของ น. และโจทก์เข้าทำนาและมีบ้านเรือนถาวรอยู่ในที่ดินแปลงนี้ บุตรคนหนึ่งช่วยโจทก์ทำนาและโจทก์ไป ๆ มา ๆ ที่บ้านบุตรโจทก์ในที่ดินถือว่าโจทก์จำเลยและทายาทอื่น ๆ ใช้สิทธิครอบครองร่วมกันและแทนกันมีฐานะเป็นเจ้าของรวมกัน ซึ่งเจ้าของรวมคนหนึ่งจะจำหน่ายทรัพย์สินโดยเจ้าของรวมคนอื่นมิได้ยินยอมด้วยไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสอง ฉะนั้นเมื่อโจทก์ไปยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินขอขายที่ดินบางส่วนของที่พิพาท กับขอให้ออก น.ส.3 ให้ด้วย จำเลยจึงมีสิทธิขัดขวางและยื่นคำร้องคัดค้านได้ โจทก์จะมาฟ้องขอให้ห้ามจำเลยเข้าไปเกี่ยวข้องหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมที่ดิน: สิทธิครอบครองร่วมกันและผลกระทบต่อการโอน
ที่ดินมือเปล่า 22 ไร่ พ. ยกให้โจทก์และน.สามีเป็นของรับไหว้ในวันแต่งงาน จึงเป็นสินสมรส น. และโจทก์เป็นบิดามารดาจำเลย เมื่อน.ตายโจทก์มีส่วนแบ่งในฐานะภริยาและทายาท จำเลยมีส่วนแบ่งในฐานะทายาท แต่ยังไม่ได้แบ่งกัน จำเลยกับบุตรคนอื่น ของ น. และโจทก์เข้าทำนาและมีบ้านเรือนถาวรอยู่ในที่ดินแปลงนี้ บุตรคนหนึ่งช่วยโจทก์ทำนาและโจทก์ไปๆ มาๆ ที่บ้านบุตรโจทก์ในที่ดิน ถือว่าโจทก์จำเลยและทายาทอื่นๆ ใช้สิทธิครอบครองร่วมกันและแทนกันมีฐานะเป็นเจ้าของรวมกัน ซึ่งเจ้าของรวมคนหนึ่งจะจำหน่ายทรัพย์สินโดยเจ้าของรวมคนอื่นมิได้ยินยอมด้วยไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสองฉะนั้นเมื่อโจทก์ไปยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินขอขายที่ดินบางส่วนของที่พิพาท กับขอให้ออก น.ส.3 ให้ด้วย จำเลยจึงมีสิทธิขัดขวางและยื่นคำร้องคัดค้านได้โจทก์จะมาฟ้องขอให้ห้ามจำเลยเข้าไปเกี่ยวข้องหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 178/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือตัดมรดกมีผลบังคับใช้ได้แม้ทำนอกสถานที่ราชการ และไม่มีสิทธิรับมรดกแทนทายาทที่ถูกตัด
การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทั่วไปนั้นถ้าไม่มีกฎหมายบังคับไว้โดยตรงหรือโดยปริยายว่าให้ต้องทำในสถานที่ราชการเท่านั้นแล้วพนักงานผู้มีหน้าที่ก็ย่อมจะออกไปปฏิบัติราชการตามหน้าที่นอกสถานที่ได้ และการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติราชการเป็นการบริการให้แก่ประชาชนในวันหยุดราชการเมื่อไม่มีกฎหมายห้ามไว้และไม่เป็นการขัดต่อระเบียบแบบแผนก็ย่อมจะต้องถือว่าเป็นการปฏิบัติราชการโดยชอบข้าราชการผู้ปฏิบัติราชการเช่นนี้ย่อมเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายการที่ปลัดอำเภอได้ออกไปจากอำเภอไปทำหนังสือตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก เอกสารดังกล่าวจึงเป็นหนังสือตัดมรดกที่ได้ทำต่อหน้าเจ้าพนักงานโดยชอบมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย
ท. มารดาจำเลยถูกตัดไม่ให้รับมรดกตั้งแต่ก่อน ท.ตาย ท. จึงไม่ได้เป็นทายาทตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 อีกต่อไป ท. จึงไม่มีที่(ความเป็นทายาท) ที่จำเลยจะเข้ารับมรดกแทนได้และไม่มีบทกฎหมายมาตรา ใดบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้สืบสันดานที่จะเข้าแทนที่การรับมรดกของทายาทโดยธรรมที่ถูกตัดมรดก หนังสือตัดไม่ให้รับมรดกเป็นการแสดงเจตนาโดยเด็ดขาดปราศจากเงื่อนไขใด ๆ ของเจ้ามรดกจึงมีผลทันทีเมื่อได้ทำขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมายหาใช่จะมีผลต่อเมื่อเจ้ามรดกตายไม่ เพราะหนังสือตัดทายาทโดยชอบธรรมไม่ใช่พินัยกรรมส่วนการที่การแสดงเจตนาตามหนังสือตัดการรับมรดกจะเกิดผลขึ้นเมื่อใดเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
ท. มารดาจำเลยถูกตัดไม่ให้รับมรดกตั้งแต่ก่อน ท.ตาย ท. จึงไม่ได้เป็นทายาทตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 อีกต่อไป ท. จึงไม่มีที่(ความเป็นทายาท) ที่จำเลยจะเข้ารับมรดกแทนได้และไม่มีบทกฎหมายมาตรา ใดบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้สืบสันดานที่จะเข้าแทนที่การรับมรดกของทายาทโดยธรรมที่ถูกตัดมรดก หนังสือตัดไม่ให้รับมรดกเป็นการแสดงเจตนาโดยเด็ดขาดปราศจากเงื่อนไขใด ๆ ของเจ้ามรดกจึงมีผลทันทีเมื่อได้ทำขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมายหาใช่จะมีผลต่อเมื่อเจ้ามรดกตายไม่ เพราะหนังสือตัดทายาทโดยชอบธรรมไม่ใช่พินัยกรรมส่วนการที่การแสดงเจตนาตามหนังสือตัดการรับมรดกจะเกิดผลขึ้นเมื่อใดเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 178/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือตัดมรดกมีผลทันทีเมื่อทำถูกต้องตามกม. แม้ทายาทถูกตัดก่อนตาย สิทธิรับมรดกแทนไม่มี
การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทั่วไปนั้นถ้าไม่มีกฎหมายบังคับไว้โดยตรงหรือโดยปริยายว่าให้ต้องทำ ในสถานที่ราชการเท่านั้นแล้ว พนักงานผู้มีหน้าที่ก็ย่อมจะออกไปปฏิบัติราชการตามหน้าที่นอกสถานที่ได้ และการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติราชการเป็นการบริการให้แก่ประชาชนในวันหยุดราชการ เมื่อไม่มีกฎหมายห้ามไว้และไม่เป็นการขัดต่อระเบียบแบบแผน ก็ย่อมจะต้องถือว่าเป็นการปฏิบัติราชการโดยชอบ ข้าราชการผู้ปฏิบัติราชการเช่นนี้ย่อมเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย การที่ปลัดอำเภอได้ออกไปจากอำเภอไปทำหนังสือตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก เอกสารดังกล่าวจึงเป็นหนังสือตัดมรดกที่ได้ทำต่อหน้าเจ้าพนักงานโดยชอบ มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย
ท.มารดาจำเลยถูกตัดไม่ให้รับมรดกตั้งแต่ก่อน ท.ตาย ท.จึงไม่ได้เป็นทายาทตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 อีกต่อไป ท.จึงไม่มีที่ (ความเป็นทายาท) ที่จำเลยจะเข้ารับมรดกแทนได้และไม่มีบทกฎหมายมาตราใดบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้สืบสันดานที่จะเข้าแทนที่การรับมรดกของทายาทโดยธรรมที่ถูกตัดมรดก หนังสือตัดไม่ให้รับมรดกเป็นการแสดงเจตนาโดยเด็ดขาดปราศจากเงื่อนไขใดๆ ของเจ้ามรดก จึงมีผลทันทีเมื่อได้ทำขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมาย หาใช่จะมีผลต่อเมื่อเจ้ามรดกตายไม่ เพราะหนังสือตัดทายาทโดยธรรมไม่ใช่พินัยกรรม ส่วนการที่การแสดงเจตนาตามหนังสือตัดการรับมรดกจะเกิดผลขึ้นเมื่อใดเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
ท.มารดาจำเลยถูกตัดไม่ให้รับมรดกตั้งแต่ก่อน ท.ตาย ท.จึงไม่ได้เป็นทายาทตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 อีกต่อไป ท.จึงไม่มีที่ (ความเป็นทายาท) ที่จำเลยจะเข้ารับมรดกแทนได้และไม่มีบทกฎหมายมาตราใดบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้สืบสันดานที่จะเข้าแทนที่การรับมรดกของทายาทโดยธรรมที่ถูกตัดมรดก หนังสือตัดไม่ให้รับมรดกเป็นการแสดงเจตนาโดยเด็ดขาดปราศจากเงื่อนไขใดๆ ของเจ้ามรดก จึงมีผลทันทีเมื่อได้ทำขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมาย หาใช่จะมีผลต่อเมื่อเจ้ามรดกตายไม่ เพราะหนังสือตัดทายาทโดยธรรมไม่ใช่พินัยกรรม ส่วนการที่การแสดงเจตนาตามหนังสือตัดการรับมรดกจะเกิดผลขึ้นเมื่อใดเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิมรดกของบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่าหลังมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กฎหมายลักษณมรฎก บทที่ 12 บัญญัติให้บุตรบุญธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมในภาคญาติ แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมลักษณมรฎก ร.ศ.121 บัญญัติให้ญาติของผู้มรณภาพตามที่กำหนดไว้เป็นชั้น ๆ ได้รับมรดกในภาคญาติ แต่สำหรับบุตรบุญธรรมไม่ได้กำหนดไว้ บุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่านับแต่ ร.ศ. 121 เป็นต้นมา จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม ต่อมาเมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5และ 6 แล้ว บุตรบุญธรรมในบทบัญญัติมาตรา 1586 และ 1627 ก็หมายความเฉพาะบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนตามมาตรา 1585 เท่านั้น มิได้รวมถึงบุตรบุยธรรมตามกฎหมายเก่าซึ่งใช้อยู่ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ด้วย เพราะพระราชบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ. 2477 มาตรา 4 บัญญัติไว้ว่า "บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ไม่กระทงกระเทือนถึง(2) การรับบุตรบุญธรรมซึ่งมีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายบรรพนี้ หรือสิทธิและหนี้อันเกิดแต่การนั้น ๆ " ซึ่งมีความหมายว่า สิทธิและหน้าที่ของบุตรบุญธรรมมีอยู่ตามกฎหมายเก่าอย่างไร เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้บังคับแล้วก็คงมีอยู่อย่างนั้น ดังนั้น บุตรบุญธรรมของเจ้ามรดกตามกฎหมายเก่าและมิได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1585 จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งถึงแก่กรรมหลังจากที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิมรดกของบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่าและการจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กฎหมายลักษณะมรดก บทที่ 12 บัญญัติให้บุตรบุญธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมในภาคญาติ แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมลักษณะมรดก ร.ศ. 121 บัญญัติให้ญาติของผู้มรณภาพตามที่กำหนดไว้เป็นชั้น ๆ ได้รับมรดกในภาคญาติ แต่สำหรับบุตรบุญธรรมไม่ได้กำหนดไว้ บุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่านับแต่ ร.ศ. 121 เป็นต้นมา จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม ต่อมาเมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และ 6 แล้ว บุตรบุญธรรมในบทบัญญัติมาตรา 1586 และ 1627 ก็หมายความเฉพาะบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนตามมาตรา 1585 เท่านั้น มิได้รวมถึงบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่าซึ่งใช้อยู่ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ด้วย เพราะพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4 บัญญัติไว้ว่า "บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ไม่กระทบกระเทือนถึง............(2) การรับบุตรบุญธรรมซึ่งมีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายบรรพนี้ หรือสิทธิและหนี้อันเกิดแต่การนั้น ๆ" ซึ่งมีความหมายว่า สิทธิและหน้าที่ของบุตรบุญธรรมมีอยู่ตามกฎหมายเก่าอย่างไร เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ใช้บังคับแล้วก็คงมีอยู่อย่างนั้น ดังนั้น บุตรบุญธรรมของเจ้ามรดกตามกฎหมายเก่าและมิได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงทายาทรับเงินฌาปนกิจมีผลเมื่อยื่นคำร้อง แม้ประธานฯ ยังไม่อนุมัติ และทายาทไม่ต้องเป็นทายาทโดยธรรม
กรรมการปกครองได้จัดตั้งสำนักงานฌาปนกิจกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และสารวัตรกำนันขึ้น โดยวางระเบียบการฌาปนกิจไว้ให้จ่ายเงินค่าอุปการะศพสมาชิกที่ถึงแก่กรรมแก่ทายาทผู้ซึ่งสมาชิกระบุไว้ ในใบสมัครหรือแจ้งการเปลี่ยนแปลงเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ครั้งหลังที่สุด ดังนี้ การขอเปลี่ยนแปลงทายาทรับเงินค่าอุปการะศพจะสมบูรณ์ตั้งแต่เมื่อใดต้องเป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการ ฌาปนกิจดังกล่าว เมื่อระเบียบดังกล่าวระบุว่าความเป็นสมาชิกเริ่มแต่วันที่คณะกรรมการดำเนินงานได้มีมติรับเข้าเป็นสมาชิก และสมาชิกภาพย่อมสิ้นสุดลงเมื่อสมาชิกลาออกและได้รับอนุญาตจากประธานกรรมการดำเนินงานแล้ว หาได้ระบุว่าการขอเปลี่ยนแปลงทายาทรับเงินค่าอุปการะศพจะสมบูรณ์ต่อเมื่อคณะกรรมการดำเนินงานฌาปนกิจมีมติ หรือเมื่อประธานกรรมการดำเนินงานอนุมัติแล้วด้วยไม่ การขอเปลี่ยนแปลงทายาทรับเงินค่าอุปการะศพจึงมีผลสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่สมาชิกยื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลงทายาทต่อนายอำเภอ แม้ประธานดำเนินงานฌาปนกิจได้มีหนังสือแจ้งว่าการขอเปลี่ยนแปลงทายาทรับเงินค่าอุปการะศพจะสมบูรณ์ต่อเมื่อประธานกรรมการดำเนินงานฌาปนกิจอนุมัติแล้วแต่อำนาจในการออกและแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบฌาปนกิจเป็นของกรมการปกครอง หนังสือนี้จึงไม่มีผลบังคับ เมื่อสมาชิกได้ยื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลงทายาทรับเงินค่าอุปการะศพ ให้บุคคลใดเป็นทายาทรับเงินค่าอุปการะศพไว้แล้ว แต่ประธานกรรมการดำเนินงานฌาปนกิจได้อนุมัติให้เปลี่ยนได้เมื่อหลังจากสมาชิกถึงแก่กรรม ก็ถือว่าการขอเปลี่ยนแปลงทายาทรับเงินค่าอุปการะศพสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่สมาชิกยื่นคำร้องแล้ว
เมื่อระเบียบการฌาปนกิจระบุว่า ผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินค่าอุปการะศพได้แก่ทายาทซึ่งสมาชิกระบุไว้ในใบสมัคร หรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งหลังที่สุด โดยระบุเพียงว่าทายาท มิได้ระบุว่าทายาทโดยธรรม ดังนั้น ทายาทซึ่งสมาชิกระบุไว้ในใบสมัครหรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งหลังที่สุดย่อมมีสิทธิรับเงินค่าอุปการะศพ โดยหาจำเป็นต้องเป็นทายาทโดยธรรมของสมาชิกไม่
เมื่อระเบียบการฌาปนกิจระบุว่า ผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินค่าอุปการะศพได้แก่ทายาทซึ่งสมาชิกระบุไว้ในใบสมัคร หรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งหลังที่สุด โดยระบุเพียงว่าทายาท มิได้ระบุว่าทายาทโดยธรรม ดังนั้น ทายาทซึ่งสมาชิกระบุไว้ในใบสมัครหรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งหลังที่สุดย่อมมีสิทธิรับเงินค่าอุปการะศพ โดยหาจำเป็นต้องเป็นทายาทโดยธรรมของสมาชิกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงทายาทรับเงินค่าอุปการะศพ การมีผลสมบูรณ์ของคำร้อง และสิทธิในการรับเงินตามระเบียบฌาปนกิจ
กรมการปกครองได้จัดตั้งสำนักงานฌาปนกิจกำนัน ผู้ใหญ่บ้านแพทย์ประจำตำบล และสารวัตรกำนันขึ้น โดยวางระเบียบการฌาปนกิจไว้ให้จ่ายเงินค่าอุปการะศพสมาชิกที่ถึงแก่กรรมแก่ทายาทผู้ซึ่งสมาชิกระบุไว้ในใบสมัครหรือแจ้งการเปลี่ยนแปลงเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ครั้งหลังที่สุด ดังนี้ การขอเปลี่ยนแปลงทายาทรับเงินค่าอุปการะศพจะสมบูรณ์ตั้งแต่เมื่อใด ต้องเป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการฌาปนกิจดังกล่าว เมื่อระเบียบดังกล่าวระบุว่าความเป็นสมาชิกเริ่มแต่วันที่คณะกรรมการดำเนินงานได้มีมติรับเข้าเป็นสมาชิก และสมาชิกภาพย่อมสิ้นสุดลงเมื่อสมาชิกลาออกและได้รับอนุญาตจากประธานกรรมการดำเนินงานแล้วหาได้ระบุว่าการขอเปลี่ยนแปลงทายาทรับเงินค่าอุปการะศพจะสมบูรณ์ต่อเมื่อคณะกรรมการดำเนินงานฌาปนกิจมีมติหรือเมื่อประธานกรรมการดำเนินงานอนุมัติแล้วด้วยไม่ การขอเปลี่ยนแปลงทายาทรับเงินค่าอุปการะศพจึงมีผลสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่สมาชิกยื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลงทายาทต่อนายอำเภอ แม้ประธานดำเนินงานฌาปนกิจได้มีหนังสือแจ้งว่าการขอเปลี่ยนแปลงทายาทรับเงินค่าอุปการะศพจะสมบูรณ์ต่อเมื่อประธานกรรมการดำเนินงานฌาปนกิจอนุมัติแล้ว แต่อำนาจในการออกและแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบฌาปนกิจเป็นของกรมการปกครองหนังสือนี้จึงไม่มีผลบังคับ เมื่อสมาชิกได้ยื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลงทายาทรับเงินค่าอุปการะศพ ให้บุคคลใดเป็นทายาทรับเงินค่าอุปการะศพไว้แล้ว แต่ประธานกรรมการดำเนินงานฌาปนกิจได้อนุมัติให้เปลี่ยนได้เมื่อหลังจากสมาชิกถึงแก่กรรม ก็ถือว่าการขอเปลี่ยนแปลงทายาทรับเงินค่าอุปการะศพสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่สมาชิกยื่นคำร้องแล้ว
เมื่อระเบียบการฌาปนกิจระบุว่า ผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินค่าอุปการะศพได้แก่ทายาทซึ่งสมาชิกระบุไว้ในใบสมัครหรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งหลังที่สุด โดยระบุเพียงว่าทายาท มิได้ระบุว่าทายาทโดยธรรมดังนั้นทายาทซึ่งสมาชิกระบุไว้ในใบสมัครหรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งหลังที่สุดย่อมมีสิทธิรับเงินค่าอุปการะศพ โดยหาจำเป็นต้องเป็นทายาทโดยธรรมของสมาชิกไม่
เมื่อระเบียบการฌาปนกิจระบุว่า ผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินค่าอุปการะศพได้แก่ทายาทซึ่งสมาชิกระบุไว้ในใบสมัครหรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งหลังที่สุด โดยระบุเพียงว่าทายาท มิได้ระบุว่าทายาทโดยธรรมดังนั้นทายาทซึ่งสมาชิกระบุไว้ในใบสมัครหรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งหลังที่สุดย่อมมีสิทธิรับเงินค่าอุปการะศพ โดยหาจำเป็นต้องเป็นทายาทโดยธรรมของสมาชิกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดตั้งมูลนิธิ ต้องระบุวัตถุประสงค์และทรัพย์สินให้ชัดเจน หากไม่ครบถ้วน สิทธิในทรัพย์สินตกแก่ทายาท
วัตถุประสงค์ของมูลนิธิและข้อกำหนดว่าด้วยทรัพย์สินของมูลนิธิตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 82 (3) และ (4) นั้น ตามมาตรา 84 หาได้ยอมให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดขอร้องให้ศาลกำหนดขึ้นได้ไม่ อันแสดงว่าเจตนารมย์ของกฎหมายประสงค์จะให้ผู้ก่อตั้งมูลนิธิแต่ผู้เดียวเป็นผู้กำหนดในตราสารจัดตั้งและจะขาดเสียมิได้ เพราะรายการทั้งสองดังกล่าวเป็นสารสำคัญอันถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบของการที่จะเป็นมูลนิธิตามมาตรา 81
ข้อกำหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับการก่อตั้งมูลนิธิมีว่า "โฉนดที่ดินหมายเลขที่ 6483 ตำบลตลิ่งชัน อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ 35 วา ขอมอบให้เป็นมูลนิธิมงคล รักสำรวจ" เช่นนี้ พินัยกรรมดังกล่าวมิได้ระบุข้อความเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของมูลนิธิมงคล รักสำรวจ ไว้ ย่อมทำให้มูลนิธิมงคล รักสำรวจ ไม่สามารถจัดตั้งขึ้นได้ ข้อกำหนดพินัยกรรมดังกล่าวจึงหาใช่เป็นข้อกำหนดพินัยกรรมที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1676 ไม่ เพราะมิได้ระบุให้บุคคลใดตกอยู่ในภาระติดพันที่จะก่อตั้งมูลนิธิเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งมิได้มีการสั่งให้จัดสรรทรัพย์สินไว้โดยตรงเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งตามบทบัญญัติมาตรา 81 ข้อกำหนดพินัยกรรมของนายมงคลที่ว่าขอมอบที่ดินให้เป็นมูลนิธิมงคล รักสำรวจ จึงไม่มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ที่ดินโฉนดที่ 6483 จึงตกทอดแก่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทลำดับ 3 ของเจ้ามรดกแต่เพียงคนเดียวตามมาตรา 1699 เพราะโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับสูงกว่าซึ่งเหลืออยู่เพียงผู้เดียวได้สละมรดกแล้ว กรมที่ดินและเจ้าพนักงานที่ดินจำเลยจึงต้องรับจดทะเบียนโอนแก้ทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้เป็นของโจทก์ที่ 2
ข้อกำหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับการก่อตั้งมูลนิธิมีว่า "โฉนดที่ดินหมายเลขที่ 6483 ตำบลตลิ่งชัน อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ 35 วา ขอมอบให้เป็นมูลนิธิมงคล รักสำรวจ" เช่นนี้ พินัยกรรมดังกล่าวมิได้ระบุข้อความเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของมูลนิธิมงคล รักสำรวจ ไว้ ย่อมทำให้มูลนิธิมงคล รักสำรวจ ไม่สามารถจัดตั้งขึ้นได้ ข้อกำหนดพินัยกรรมดังกล่าวจึงหาใช่เป็นข้อกำหนดพินัยกรรมที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1676 ไม่ เพราะมิได้ระบุให้บุคคลใดตกอยู่ในภาระติดพันที่จะก่อตั้งมูลนิธิเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งมิได้มีการสั่งให้จัดสรรทรัพย์สินไว้โดยตรงเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งตามบทบัญญัติมาตรา 81 ข้อกำหนดพินัยกรรมของนายมงคลที่ว่าขอมอบที่ดินให้เป็นมูลนิธิมงคล รักสำรวจ จึงไม่มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ที่ดินโฉนดที่ 6483 จึงตกทอดแก่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทลำดับ 3 ของเจ้ามรดกแต่เพียงคนเดียวตามมาตรา 1699 เพราะโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับสูงกว่าซึ่งเหลืออยู่เพียงผู้เดียวได้สละมรดกแล้ว กรมที่ดินและเจ้าพนักงานที่ดินจำเลยจึงต้องรับจดทะเบียนโอนแก้ทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้เป็นของโจทก์ที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดตั้งมูลนิธิ ต้องระบุวัตถุประสงค์และทรัพย์สินในตราสาร หากไม่ครบถ้วน ถือเป็นมรดก
วัตถุที่ประสงค์ของมูลนิธิและข้อกำหนดว่าด้วยทรัพย์สินของมูลนิธิตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 82(3) และ (4) นั้น ตามมาตรา 84 หาได้ยอมให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดขอร้องให้ศาลกำหนดขึ้นได้ไม่อันแสดงว่าเจตนารมย์ของกฎหมายประสงค์จะให้ผู้ก่อตั้งมูลนิธิแต่ผู้เดียวเป็นผู้กำหนดในตราสารจัดตั้งและจะขาดเสียมิได้ เพราะรายการทั้งสองดังกล่าวเป็นสารสำคัญอันถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบของการที่จะเป็นมูลนิธิตามมาตรา 81
ข้อกำหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับการก่อตั้งมูลนิธิมีว่า'โฉนดที่ดินหมายเลขที่ 6483 ตำบลตลิ่งชัน อำเภอตลิ่งชันจังหวัดธนบุรี เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ 35 วา ขอมอบให้เป็นมูลนิธิมงคลรักสำรวจ' เช่นนี้ พินัยกรรมดังกล่าวมิได้ระบุข้อความเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของมูลนิธิมงคลรักสำรวจ ไว้ ย่อมทำให้มูลนิธิมงคล รักสำรวจ ไม่สามารถจัดตั้งขึ้นได้ ข้อกำหนดพินัยกรรมดังกล่าวจึงหาใช่เป็นข้อกำหนดพินัยกรรมที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1676 ไม่เพราะมิได้ระบุให้บุคคลใดตกอยู่ในภาระติดพันที่จะก่อตั้งมูลนิธิเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งมิได้มีการสั่งให้จัดสรรทรัพย์สินไว้โดยตรงเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งตามบทบัญญัติมาตรา 81 ข้อกำหนดพินัยกรรมของนายมงคลที่ว่าขอมอบที่ดินให้เป็นมูลนิธิมงคล รักสำรวจจึงไม่มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ที่ดินโฉนดที่ 6483 จึงตกทอดแก่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทลำดับ 3 ของเจ้ามรดกแต่เพียงคนเดียวตามมาตรา 1699เพราะโจทก์ที่1 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับสูงกว่าซึ่งเหลืออยู่เพียงผู้เดียวได้สละมรดกแล้ว กรมที่ดินและเจ้าพนักงานที่ดินจำเลยจึงต้องรับจดทะเบียนโอนแก้ทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้เป็นของโจทก์ที่ 2
ข้อกำหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับการก่อตั้งมูลนิธิมีว่า'โฉนดที่ดินหมายเลขที่ 6483 ตำบลตลิ่งชัน อำเภอตลิ่งชันจังหวัดธนบุรี เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ 35 วา ขอมอบให้เป็นมูลนิธิมงคลรักสำรวจ' เช่นนี้ พินัยกรรมดังกล่าวมิได้ระบุข้อความเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของมูลนิธิมงคลรักสำรวจ ไว้ ย่อมทำให้มูลนิธิมงคล รักสำรวจ ไม่สามารถจัดตั้งขึ้นได้ ข้อกำหนดพินัยกรรมดังกล่าวจึงหาใช่เป็นข้อกำหนดพินัยกรรมที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1676 ไม่เพราะมิได้ระบุให้บุคคลใดตกอยู่ในภาระติดพันที่จะก่อตั้งมูลนิธิเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งมิได้มีการสั่งให้จัดสรรทรัพย์สินไว้โดยตรงเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งตามบทบัญญัติมาตรา 81 ข้อกำหนดพินัยกรรมของนายมงคลที่ว่าขอมอบที่ดินให้เป็นมูลนิธิมงคล รักสำรวจจึงไม่มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ที่ดินโฉนดที่ 6483 จึงตกทอดแก่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทลำดับ 3 ของเจ้ามรดกแต่เพียงคนเดียวตามมาตรา 1699เพราะโจทก์ที่1 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับสูงกว่าซึ่งเหลืออยู่เพียงผู้เดียวได้สละมรดกแล้ว กรมที่ดินและเจ้าพนักงานที่ดินจำเลยจึงต้องรับจดทะเบียนโอนแก้ทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้เป็นของโจทก์ที่ 2