คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1629

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 245 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ฟ้องภรรยาโดยไม่จดทะเบียนสมรสรับผิดชอบหนี้สามีที่ถึงแก่ความตาย
จำเลยเป็นภรรยาของผู้ตายโดยมิได้จดทะเบียนสมรส จำเลยจึงมิใช่ภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย อันจะถือว่าเป็นทายาทโดยธรรมที่จะมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของผู้ตายจึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1737

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบำเหน็จตกทอด: บุตรที่บิดารับรอง ไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญ
สิทธิในบำเหน็จตกทอดไม่ใช่มรดกของผู้ตาย
คำว่า บุตร ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2500 หมายความถึงบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายหาใช่บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองไม่
บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว.ไม่มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอด
ผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะของผู้ตาย มีสิทธิในบำเหน็จตกทอดต่อเมื่อ ไม่มีทายาทดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 43(1) (2) และ (3)แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบำเหน็จตกทอด: บุตรที่บิดารับรองไม่มีสิทธิเท่าบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
สิทธิในบำเหน็จตกทอดไม่ใช่มรดกของผู้ตาย
คำว่า บุตร ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2500 หมายความถึงบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย หาใช่บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองไม่
บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว.ไม่มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอด
ผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะของผู้ตาย มีสิทธิในบำเหน็จตกทอดต่อเมื่อ ไม่มีทายาทดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 43(1)(2) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2401/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินสังขารานุเคราะห์: การจ่ายเงินให้ทายาทเมื่อผู้รับประโยชน์และสมาชิกถึงแก่กรรมก่อนเวลาอันควร
ผู้ตายเป็นสมาชิกขององค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขระบุชื่อ ส. บิดาเป็นผู้รับประโยชน์เงินสังขารานุเคราะห์ไว้ ตามข้อบังคับ ย่อมมีผลว่ากรมไปรษณีย์โทรเลข โดยองค์การดังกล่าวได้ทำสัญญาว่าจะชำระหนี้แก่ ส. บุคคลภายนอกสิทธิของ ส. จะเกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น เมื่อ ส. ตายเสียก่อนโดยมิได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาสิทธิของ ส. ในเงินสังขารานุเคราะห์จึงยังไม่เกิดขึ้นและไม่อาจตกทอดเป็นทรัพย์มรดกไปยังทายาทของ ส.
เงินสังขารานุเคราะห์เป็นเงินที่ผู้รับประโยชน์จะได้รับหลังจากที่สมาชิกขององค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขถึงแก่ความตายแล้ว มิใช่ทรัพย์สินที่สมาชิกผู้ตายมีอยู่ในขณะที่ถึงแก่ความตาย จึงไม่เป็นมรดกของผู้ตาย
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 132/2507)
ตามข้อบังคับกรมไปรษณีย์โทรเลข เมื่อสมาชิกตาย ให้จ่าย เงินสังขารานุเคราะห์แก่ผู้รับประโยชน์ซึ่งสมาชิกผู้ตายได้ระบุชื่อไว้แต่เมื่อผู้รับประโยชน์นั้นตายก่อนสมาชิก ย่อมไม่มีตัวผู้รับประโยชน์ที่จะรับเงินสังขารานุเคราะห์ได้ตามข้อบังคับ แม้เงินสังขารานุเคราะห์จะมิใช่ทรัพย์มรดกของสมาชิกผู้ถึงแก่ความตายแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ลักษณะมรดกเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งในอันที่จะใช้บังคับเงินสังขารานุเคราะห์ดังกล่าวจึงควรจ่ายให้แก่ทายาทโดยธรรมของสมาชิกผู้ตาย เสมือนหนึ่งทรัพย์มรดก
กรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยให้การว่า ได้จ่ายเงินสังขารานุเคราะห์ให้แก่ทายาทของผู้รับประโยชน์เป็นการถูกต้องตามข้อบังคับแล้วเท่ากับรับว่าองค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขอยู่ในความรับผิดชอบของกรมไปรษณีย์โทรเลข จะมายกข้อโต้แย้งขึ้นในชั้นฎีกาว่ากรมไปรษณีย์โทรเลข ไม่ ต้องรับผิดจ่ายเงินสังขารานุเคราะห์ หาได้ไม่
(วรรคหนึ่งถึงสามวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่23/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2401/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินสังขารานุเคราะห์เมื่อผู้รับประโยชน์เสียชีวิตก่อนสมาชิก: สิทธิทายาทและหน้าที่ของหน่วยงาน
ผู้ตายเป็นสมาชิกขององค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขระบุชื่อ ส. บิดาเป็นผู้รับประโยชน์เงินสังขารานุเคราะห์ไว้ ตามข้อบังคับ ย่อมมีผลว่า กรมไปรษณีย์โทรเลข โดยองค์การดังกล่าวได้ทำสัญญาว่า จะชำระหนี้แก่ ส. บุคคลภายนอกสิทธิของ ส. จะเกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น เมื่อ ส. ตายเสียก่อนโดยมิได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาสิทธิของ ส.ในเงินสังขารานุเคราะห์จึงยังไม่เกิดขึ้นและไม่อาจตกทอดเป็นทรัพย์มรดกไปยังทายาทของ ส.
เงินสังขารานุเคราะห์เป็นเงินที่ผู้รับประโยชน์จะได้รับหลังจากที่สมาชิกขององค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขถึงแก่ความตายแล้ว มิใช่ทรัพย์สินที่สมาชิกผู้ตายมีอยู่ในขณะที่ถึงแก่ความตาย จึงไม่เป็นมรดกของผู้ตาย
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 132/2507)
ตามข้อบังคับกรมไปรษณีย์โทรเลข เมื่อสมาชิกตาย ให้จ่ายเงินสังขารานุเคราะห์แก่ผู้รับประโยชน์ซึ่งสมาชิกผู้ตายได้ระบุชื่อไว้ แต่เมื่อผู้รับประโยชน์นั้นตายก่อนสมาชิก ย่อมไม่มีตัวผู้รับประโยชน์ที่จะรับเงินสังขารานุเคราะห์ได้ตามข้อบังคับ แม้เงินสังขารานุเคราะห์จะมิใช่ทรัพย์มรดกของสมาชิกผู้ถึงแก่ความตาย แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ลักษณะมรดกเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งในอันที่จะใช้บังคับ เงินสังขารานุเคราะห์ดังกล่าวจึงควรจ่ายให้แก่ทายาทโดยธรรมของสมาชิกผู้ตาย เสมือนหนึ่งทรัพย์มรดก
กรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยให้การว่า ได้จ่ายเงินสังขารานุเคราะห์ให้แก่ทายาทของผู้รับประโยชน์เป็นการถูกต้องตามข้อบังคับแล้ว เท่ากับรับว่าองค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขอยู่ในความรับผิดชอบของกรมไปรษณีย์โทรเลข จะมายกข้อโต้แย้งขึ้นในชั้นฎีกาว่ากรมไปรษณีย์โทรเลข ไม่ ต้องรับผิดจ่ายเงินสังขารานุเคราะห์ หาได้ไม่
(วรรคหนึ่งถึงสามวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่23/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: สถานะทางกฎหมายของโจทก์ (ภริยาและบุตร) และอายุความฎีกา
ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์วันที่ 20 พฤษภาคม 2511 การนับอายุความฎีกาจึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2511 กำหนดหนึ่งเดือนจึงสิ้นสุดในวันที่ 20 มิถุนายน 2511 ซึ่งเป็นวันก่อนหน้าจะถึงวัดแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น แต่ในวันดังกล่าวนี้เป็นวันหยุดราชการ จึงต้องนับถึงวันที่ 21 มิถุนายน 2511 ซึงเป็นวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าในอายุความฎีกาด้วย
ปัญหาที่ว่า โจทก์ที่ 1 มิใช่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย และโจทก์ที่ 2 มิใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ที่ 2 มิใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์เป็นเพียงบุตรนอกสมรสของผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 ซึ่งผู้ตายได้แจ้งทะเบียนคนเกิดว่าเป็นบุตรของตน และอุปการะเลี้ยงดูโดยเปิดเผยตลอดมาเท่านั้น การที่ผู้ตายแจ้งทะเบียนคนเกิดว่าโจทก์ที่ 2 เป็นบุตรของตนก็ดี หรือได้ทำการอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ที่ 2 ฉันบุตรตลอดมาก็ดี ก็หาทำให้โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายขึ้นมาไม่ เพราะบุตรนอกสมรสจะกลายเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายได้ ก็ต้องเป็นไปตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1526 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ที่ 2 คงมีฐานะเป็นเพียงบุตรที่ผู้ตายรับรองแล้วตามมาตรา 1627 และมีเพียงสิทธิที่จะได้รับมรดกในฐานะเป็นผู้สืบสันดานของผู้ตายตามมาตรา 1629 (1) จึงไม่มีสิทธิได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากผู้ที่ทำให้บิดาตนถึงแก่ความตายได้ (อ้างฎีกาที่ 1259/2506)
เมื่อโจทก์ที่ 1 มิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ก็มิใช่ผู้เสียหายที่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทำศพผู้ตายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเลยอายุความมรดก: การยอมรับแบ่งมรดกหลัง 20 ปี ถือละเลยอายุความ
การที่จำเลยยอมรับจะแบ่งทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกซึ่งตกอยู่กับจำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและสืบสิทธิของทายาทของเจ้ามรดก เป็นเวลาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายไปกว่า 20 ปีแล้วนั้น ถือว่าจำเลยละประโยชน์แห่งอายุความในเมื่ออายุความครบบริบูรณ์แล้ว จำเลยจะยกอายุความขึ้นสู้ไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 1607/2505)
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทโดยอ้างว่าเจ้ามรดกยกให้ก่อนตาย ทางพิจารณาฟังได้ว่าทรัพย์พิพาทยังไม่ได้ยกให้แก่ใคร เป็นมรดกที่โจทก์จำเลยจะได้รับร่วมกับทายาทอื่น ศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเว้นการต่อสู้คัดค้านอายุความรับมรดกจากการยอมรับการแบ่งทรัพย์มรดกหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต
การที่จำเลยยอมรับจะแบ่งทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกซึ่งตกอยู่กับจำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและสืบสิทธิของทายาทของเจ้ามรดก. เป็นเวลาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายไปกว่า20 ปีแล้วนั้น. ถือว่าจำเลยละประโยชน์แห่งอายุความในเมื่ออายุความครบบริบูรณ์แล้ว. จำเลยจะยกอายุความขึ้นสู้ไม่ได้.(อ้างฎีกาที่ 1607/2505).
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทโดยอ้างว่าเจ้ามรดกยกให้ก่อนตาย. ทางพิจารณาฟังได้ว่าทรัพย์พิพาทยังไม่ได้ยกให้แก่ใคร. เป็นมรดกที่โจทก์จำเลยจะได้รับร่วมกับทายาทอื่น.ศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละประโยชน์แห่งอายุความรับมรดกจากการยอมรับเจรจาแบ่งทรัพย์หลังเจ้ามรดกเสียชีวิต
การที่จำเลยยอมรับจะแบ่งทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกซึ่งตกอยู่กับจำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและสืบสิทธิของทายาทของเจ้ามรดก เป็นเวลาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายไปกว่า 20 ปี แล้วนั้น ถือว่าจำเลยละประโยชน์แห่งอายุความในเมื่ออายุความครบบริบูรณ์แล้ว จำเลยจะยกอายุความขึ้นสู้ไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 1607/2505)
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทโดยอ้างว่าเจ้ามรดกยกให้ก่อนตาย ทางพิจารณาฟังได้ว่าทรัพย์พิพาทยังไม่ได้ยกให้แก่ใคร เป็นมรดกที่โจทก์จำเลยจะได้รับร่วมกับทายาทอื่น ศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่สมบูรณ์และสิทธิในการรับมรดก: บันทึกแบ่งทรัพย์ที่ไม่มีลายมือชื่อเจ้ามรดก ไม่ถือเป็นพินัยกรรม
บันทึกการแบ่งทรัพย์ที่เจ้ามรดกทำขึ้นมิได้ลงลายมือชื่อหรือลายพิมพ์นิ้วมือของเจ้ามรดก จึงไม่มีผลเป็นพินัยกรรม แม้จะถือว่าเจ้ามรดกแสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมด้วยวาจาต่อหน้า ค.และอ. เพราะเจ้ามรดกไม่สามารถจะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กำหนดไว้ได้ แต่ ค.และอ.ก็มิได้ไปแสดงตนต่อกรมการอำเภอและแจ้งข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ ตลอดจนวันเดือนปี สถานที่ที่ทำพินัยกรรม และพฤติการณ์พิเศษ บันทึกการแบ่งทรัพย์ย่อมตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลเป็นพินัยกรรม จำเลยซึ่งมิได้เป็นภรรยาเจ้ามรดกโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีสิทธิอ้างเอาประโยชน์จากบันทึกนี้ได้ และไม่มีสิทธิรับมรดก
เจ้ามรดกยังไม่ได้ยกทรัพย์พิพาทให้จำเลย การให้ย่อมยังไม่สมบูรณ์
of 25