คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1629

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 245 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเป็นสามีภริยาและสิทธิบุตรก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง: การบังคับใช้กฎหมายลักษณะผัวเมีย
ได้เสียเป็นสามีภริยากันก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 และบรรพ 6 ความเป็นสามีภริยาและบุตรต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น เมื่อได้ความว่าชายหญิงได้อยู่กินเป็นสามีภริยาโดยเปิดเผยเป็นที่รู้กันทั่วๆไปว่าเป็นสามีภริยากัน ก็ถือได้ว่าเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรที่เกิดมาจึงเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของสามี ย่อมมีสิทธิรับมรดกของสามี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับมรดกของบุตรที่เกิดจากการสมรสภายหลังและไม่ได้จดทะเบียนสมรส
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า เด็กทั้งสามเป็นบุตรนายหร่ำสามีโจทก์ผู้วายชนม์ไปแล้ว แต่หากได้บรรยายไว้ชัดแจ้งด้วยว่าเด็กทั้งสามซึ่งเกิดแต่นายหร่ำผู้วายชนม์เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิสืบมรดกของนายฉิม นางแสงตามลำดับสายตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้อง และในบัญชีเครือญาติก็ทำเครื่องหมายไว้ที่ท้ายชื่อโจทก์ซึ่งตรงกับเครื่องหมายที่หมายเหตุข้างล่างนั้นว่า 'ฯลฯสมรสภายหลังเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และไม่ได้จดทะเบียนสมรส' ดังนี้ ย่อมแสดงอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ประสงค์จะนำสืบว่าผู้เยาว์เหล่านั้นเป็นทายาทโดยธรรมและมีสิทธิสืบมรดกของนายฉิม นางแสงตามลำดับสายในบัญชีเครือญาติได้โดยเหตุผลประการใด เช่นนำสืบว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ตามนัยมาตรา 1524,1526 หรือ1529(5) หรือเป็นบุตรที่บิดาได้รับรองแล้ว ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายหร่ำตามมาตรา 1627 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมีสิทธิสืบมรดกของนายฉิมนางแสงตามลำดับเครือญาติได้ตามมาตรา 1629(1) และที่โจทก์แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าผู้เยาว์ดังกล่าวไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายหร่ำนั้นก็แถลงไปตามเหตุที่ว่านายหร่ำกับนางเปรมโจทก์ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันดังที่หมายเหตุไว้ในบัญชีเครือญาติแล้วนั่นเองหาใช่แถลงเพื่อสละสิทธิที่จะนำสืบข้อเท็จจริงให้ได้ความตามนัยแห่งกฎหมายดังกล่าวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับมรดกของบุตรที่ไม่ได้เกิดจากภรรยาที่จดทะเบียนสมรส การนำสืบสถานะทางกฎหมาย
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า เด็กทั้งสามเป็นบุตรนายหร่ำสามีโจทก์ผู้วายชนม์ไปแล้ว แต่หากได้บรรยายไว้ชัดแจ้งด้วยว่าเด็กทั้งสามซึ่งเกิดแต่นายหร่ำผู้วายชนม์ เป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิสืบมรดกของนายฉิม นางแสงตามลำดับสายตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้อง และในบัญชีเครือญาติก็ทำเครื่องหมายไว้ที่ท้ายชื่อโจทก์ ซึ่งตรงกับเครื่องหมายที่หมายเหตุข้างล่างนั้นว่า "ฯลฯ สมรสภายหลังเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และไม่ได้จดทะเบียนสมรส" ดังนี้ ย่อมแสดงอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ประสงค์จะนำสืบว่าผู้เยาว์เหล่านั้นเป็นทายาทโดยธรรมและมีสิทธิสืบมรดกของนายฉิม นางแสงตามลำดับสายในบัญชีเครือญาติได้โดยเหตุผลประการใด เช่น นำสืบว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ตามนัยมาตรา 1524,1526 หรือ 1529 (5) หรือเป็นบุตรที่บิดาได้รับรองแล้ว ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายหร่ำตามมาตรา 1627 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมีสิทธิสืบมรดกนายฉิม นางแสงตามลำดับเครือญาติได้ตามมาตรา 1629 (1) และที่โจทก์แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าผู้เยาว์ดังกล่าวไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายหร่ำนั้น ก็แถลงไปตามเหตุที่ว่า นายหร่ำกับนางเปรมโจทก์ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันดังที่หมายเหตุไว้ในบัญชีเครือญาติแล้วนั่นเอง หาใช่แถลงเพื่อสละสิทธิที่จะนำสืบข้อเท็จจริงให้ได้ตามความนัยแห่งกฎหมายดังกล่าวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย: การรับรองบุตรและการเป็นทายาทตามกฎหมาย
แม้จำเลยจะได้แถลงรับว่า ทะเบียนการเกิด การตายทะเบียนโรงเรียนทะเบียนสำมะโนครัว เป็นเอกสารที่แท้จริง ก็ฟังได้แต่เพียงว่า โจทก์ได้แจ้งไว้ว่าเจ้ามรดกเป็นบุตรของโจทก์จำเลยมิได้แถลงรับด้วยว่า โจทก์เป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกทั้งก็ยังได้ความว่า โจทก์กับ ส. มารดาของเจ้ามรดกได้อยู่กินกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย แสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์เป็นบิดานอกกฎหมายของเจ้ามรดก และในคำให้การของจำเลยก็ว่า ทายาทโดยชอบธรรมของเจ้ามรดกไม่มีบุคคลใดอีกนอกจากจำเลย ซึ่งแสดงว่าจำเลยมีข้อต่อสู้ว่าโจทก์มิใช่ทายาทของเจ้ามรดก หาใช่จำเลยสละข้อต่อสู้ที่ว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทของเจ้ามรดกนั้นเสียไม่
แม้โจทก์เป็นผู้ให้กำเนิดแก่เจ้ามรดกแต่โจทก์กับเจ้ามรดกก็ไม่มีฐานะเป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ซึ่งบัญญัติถึงบิดากับบุตรว่า เป็นทายาทซึ่งกันและกัน หมายถึงเป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมาย มิฉะนั้นก็ไม่เป็นทายาท และไม่มีสิทธิรับมรดกซึ่งกันและกัน
บิดากับบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ตามปกติไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายต่อกันอย่างใดเลย และไม่มีสิทธิได้รับมรดกซึ่งกันและกันด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1627 เป็นบทบัญญัติวาง ข้อยกเว้นให้บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่บิดารับรองแล้วให้มีสิทธิได้รับมรดกของบิดา จึงต้องตีความโดยเคร่งครัดกฎหมายบทนี้บัญญัติไว้แต่ว่าให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติให้ถือว่าเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วย (อ้างฎีกาที่ 1271/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกของบิดานอกกฎหมาย การรับรองบุตร และฐานะทางกฎหมายของบิดา-บุตร
แม้จำเลยจะได้แถลงรับว่า ทะเบียนการเกิด การตาย ทะเบียนโรงเรียน ทะเบียนสำมะโนครัว เป็นเอกสารที่แท้จริง ก็ฟังได้แต่เพียงว่า โจทก์ได้แจ้งไว้ว่า เจ้ามรดกเป็นบุตรของโจทก์ จำเลยมิได้แถลงรับด้วยว่า โจทก์เป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกทั้งก็ยังได้ความว่า โจทก์กับ ส. มารดาของเจ้ามรดกได้อยู่กินกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย แสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์เป็นบิดานอกกฎหมายของเจ้ามรดก และในคำให้การของจำเลยก็ว่า ทายาทโดยชอบธรรมของเจ้ามรดกไม่มีบุคคลใดอีกนอกจากจำเลย ซึ่งแสดงว่าจำเลยมีข้อต่อสู้ว่าโจทก์มิใช่ทายาทของเจ้ามรดก หาใช่จำเลยสละข้อต่อสู้ที่ว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทของเจ้ามรดกนั้นเสียไม่
แม้โจทก์เป็นผู้ให้กำเนิดแก่เจ้ามรดก แต่โจทก์กับเจ้ามรดกก็ไม่มีฐานะเป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ซึ่งบัญญัติถึงบิดากับบุตรว่า เป็นทายาทซึ่งกันและกัน หมายถึงเป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมาย มิฉะนั้นก็ไม่เป็นทายาท และไม่มีสิทธิรับมรดกซึ่งกันและกัน
บิดากับบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ตามปกติไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายต่อกันอย่างใดเลย และไม่มีสิทธิได้รับมรดกซึ่งกันและกันด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1627 เป็นบทบัญญัติวางข้อข้อยกเว้นให้บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่บิดารับรองแล้วให้มีสิทธิได้รับมรดกของบิดา จึงต้องตีความโดยเคร่งครัด กฎหมายบทนี้บัญญัติไว้แต่ว่า ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติให้ถือว่าเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วย (อ้างฎีกาที่ 1271/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกกรณีทายาทบวชเป็นพระ และสิทธิของภริยาผู้รับมรดกแทนที่
จ. กับ ข. ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว มีบุตร 6 คน บุตรของ จ.ข. ทุกคนเว้น ธ. ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุ ได้ร่วมกันครอบครองมรดกตลอดมา ก. บุตรของ จ.ข ตายหลัง จ.ข. มรดกของจ.ข. ที่ ก. ได้รับจึงตกเป็นของโจทก์ที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาของ ก. ในฐานะผู้รับมรดกของ ก. หาใช่ในฐานะผู้รับมรดกแทนที่ ก. ไม่ แต่เมื่อพิเคราะห์ฟ้องของโจทก์แล้ว เป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์ที่ 3 ขอรับมรดกของ ก.นั่นเอง โจทก์ที่ 3 จึงมีสิทธิขอแบ่งทรัพย์มรดก
ธ. ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุอยู่ก่อน ข. เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตลอดมาเป็นเวลา 20 ปีแล้ว ไม่ได้เข้ามาร่วมครอบครองทรัพย์มรดก คงมีแต่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 (ซึ่งเป็นบุตรของ จ.ข. เจ้ามรดก) และโจทก์ที่ 3 (ซึ่งเป็นภริยาของ ก.ซึ่งเป็นบุตรของ จ.ข. และถึงแก่ความตายไปแล้ว) จำเลย และ ส. ครอบครองร่วมกันมา โจทก์ทั้ง 3 จำเลย และ ส. ย่อมมีสิทธิในทรัพย์มรดกรายนี้เท่า ๆ กัน จึงให้แบ่งทรัพย์มรดกออกเป็น 5 ส่วน (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7-8/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกกรณีทายาทบวชเป็นพระภิกษุ และสิทธิการครอบครองมรดกของทายาทที่ไม่ได้ร่วมครอบครอง
จ. กับ ข. ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว มีบุตร 6 คนบุตรของ จ. ข. ทุกคนเว้น ธ. ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุ ได้ร่วมกันครอบครองมรดกตลอดมา ก. บุตรของ จ. ข. ตายหลัง จ. ข. มรดกของ จ. ข. ที่ ก. ได้รับจึงตกเป็นของโจทก์ที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาของ ก. ในฐานะผู้รับมรดกของ ก. หาใช่ในฐานะผู้รับมรดกแทนที่ ก. ไม่แต่เมื่อพิเคราะห์ฟ้องของโจทก์แล้วเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์ที่ 3 ขอรับมรดก ของ ก. นั่นเองโจทก์ที่ 3 จึงมีสิทธิขอแบ่งทรัพย์มรดก
ธ. ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุอยู่ก่อน ข. เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตลอดมาเป็นเวลา 20 ปี แล้ว ไม่ได้เข้ามาร่วมครอบครองทรัพย์มรดกคงมีแต่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 (ซึ่งเป็นบุตรของ จ. ข. เจ้ามรดก) และโจทก์ที่ 3 (ซึ่งเป็นภริยาของ ก. ซึ่งเป็นบุตรของ จ. ข. และถึงแก่ความตายไปแล้ว) จำเลย และ ส. ครอบครองร่วมกันมาโจทก์ ทั้ง3 จำเลย และ ส. ย่อมมีสิทธิในทรัพย์มรดกรายนี้เท่าๆกันจึงให้แบ่งทรัพย์มรดกออกเป็น 5 ส่วน (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7-8/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1320/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก: บิดาผู้มีสิทธิเท่าทายาทชั้นบุตร และอายุความครอบครองทรัพย์มรดก
ทรัพย์พิพาทเป็นมรดก โจทก์เป็นบิดาเจ้ามรดกจึงได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งเป็นทายาทชั้นบุตร จำเลยเป็นผู้สืบสันดาน โจทก์จำเลยจึงมีส่วนแบ่งมรดกเท่าๆกัน
จำเลยได้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนโจทก์ แม้โจทก์จะฟ้องคดีเกิน 1 ปีนับแต่วันเจ้ามรดกตาย ก็ไม่ขาดขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1320/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกทายาทโดยธรรม: บิดาผู้มีสิทธิเท่ากับบุตร และอายุความครอบครองมรดก
ทรัพย์พิพาทเป็นมรดก โจทก์เป็นบิดาเจ้ามรดกจึงได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งเป็นทายาทชั้นบุตร จำเลยเป็นผู้สืบสันดาน โจทก์จำเลยจึงมีส่วนแบ่งมรดกเท่า ๆ กัน
จำเลยได้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนโจทก์แม้โจทก์จะฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่วันเจ้ามรดกตาย ก็ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสภาพสามีภรรยาตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย และผลกระทบต่อสิทธิในสินสมรสและมรดก
ในปี 2474 หรือ 2475 โจทก์ได้หนีตามชายชู้ไป และได้ชายอื่นเป็นสามีอีกหลายคน ส่วนสามีก็ได้ภรรยาใหม่หลายคน โจทก์กับสามีไม่ได้เกี่ยวข้องกันฉันสามีภรรยานับแต่นั้นเป็นต้นมา จนสามีถึงแก่กรรมและมูลกรณีดังว่านี้เกิดก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และ 6 จึงต้องปรับบทตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น พฤติการณ์ของโจทก์กับสามีจึงถือได้ว่าได้สละละทิ้งหย่าขาดกันตามกฎหมายลักษณะผัวเมียไปก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และ 6 แล้ว โจทก์จึงไม่ได้เป็นทายาทของสามีและไม่มีสิทธิรับมรดก
บิดาของสามียกที่ดินให้สามีโดยไม่ได้โอนกันทางทะเบียนเป็นการยกให้ที่ยังไม่สมบูรณ์ ตามกฎหมายสามีจะได้กรรมสิทธิก็ต่อเมื่อได้ครอบครองมาเป็นเวลา 10 ปี ในระหว่างที่สามีครอบครองที่ดินนั้นมายังไม่ครบ 10 ปี โจทก์กับสามีได้หย่าขาดกันเสียก่อนหลายปีแล้ว ที่ดินนั้นจึงไม่เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับสามี
of 25