คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1629

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 245 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดกของบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง และสิทธิของผู้เยาว์ที่ได้รับผลกระทบจากการห้ามเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า ก. ไม่เป็นภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายของ พ. เพราะไม่ได้จดทะเบียนสมรส จำเลยไม่ได้ต่อสู้ความข้อนี้ เป็นแต่กล่าวในคำให้การถึงเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์ว่า ทรัพย์นั้นเป็นสินสมรสของ พ. และ ก. ซึ่งได้สร้างขึ้นเมื่อเป็นสามีภรรยากันมาโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ต้องถือว่าในข้อที่ว่า พ. กับ ก. เป็นผัวเมียกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น จำเลยไม่ได้ต่อสู้ไว้โดยชัดแจ้ง จึงต้องฟังตามคำโจทก์ว่า พ. กับ ก. ไม่ได้เป็นผัวเมียกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
การที่ศาลจะแบ่งทรัพย์ระหว่างชายหญิงซึ่งไม่ใช่ผัวเมียกันอย่างเป็นเจ้าของร่วมนั้น ต้องเป็นทรัพย์ที่ชายหญิงทำมาหาได้มาด้วยกัน โดยเห็นเจตนาได้ว่าการที่เขาปฏิบัติต่อกันฉันสามีภรรยา และช่วยกันหาทรัพย์มาเช่นนี้.มีความประสงค์จะหาร่วมกัน
ตามมาตรา 1627 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บุตรนอกกฎหมายถ้าบิดาได้รับรองแล้ว แม้จะยังไม่ถึงกับเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ก็ยังอาจมีสิทธิรับมรดกของชายผู้ให้กำเนิดได้ ในฐานะเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา1629(1) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรนอกกฎหมายของ พ. โจทก์ฟ้องห้ามจำเลยมิให้เกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกของ พ. แต่ข้อเท็จจริงที่ว่า พ.ได้รับรองเด็กเป็นบุตรอันจะทำให้เด็กมีสิทธิได้รับมรดกของพ. หรือไม่นั้น ยังไม่ปรากฏ ความข้อนี้คู่ความมิได้ขึ้นโต้เถียงอย่างชัดแจ้งในศาลล่าง แต่เป็นปัญหาที่กระทบกระเทือนสิทธิของผู้เยาว์ ซึ่งไม่ได้เป็นคู่ความ เพราะถ้าห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องกับทรัพย์นี้ในฐานที่เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กผู้เยาว์แล้ว ผู้เยาว์อาจเสียหายได้ ดังนี้ ย่อมเป็นข้อกฎหมายซึ่งเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลฎีกามีอำนาจย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาในข้อนี้แล้วพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกแทนที่ของญาติลำดับ 6 แม้ญาติลำดับเดียวกันจะได้รับมรดกไปแล้ว
ข.เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากับ ล. ซึ่งเป็นมารดาของเจ้ามฤดก ป.เป็นพี่น้องร่วมบิดาแต่ต่างมารดากับ ล. ดังนี้ ช. และ ป. ย่อมเป็นน้าและอาของเจ้ามฤดก ทั้ง ช. และ ป. ย่อมเป็นญาติลำกัด 6 ในมาตรา 1629 เช่นเดียวกัน
ญาติลำดับ 6 ในมาตรา 1629 นี้ กฎหมายไม่ได้แยกญาติชิดและห่าง ดังในลำดับ 3 และ 4.
ญาติลำดับ 6 ในมาตรา 1629 ย่อมรับมฤดกแทนที่กันได้ตามมาตรา 1639.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกแทนที่ของญาติลำดับ 6 แม้ญาติลำดับเดียวกันจะได้รับมรดกไปแล้ว
ช.เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากับ ล. ซึ่งเป็นมารดาของเจ้ามรดกป. เป็นพี่น้องร่วมบิดาแต่ต่างมารดากับ ล. ดังนี้ ช. และ ป. ย่อมเป็นน้าและอาของเจ้ามรดก ทั้ง ช. และ ป. ย่อมเป็นญาติลำดับ 6 ใน มาตรา1629 เช่นเดียวกัน
ญาติลำดับ 6 ใน มาตรา 1629 นี้ กฎหมายไม่ได้แยกญาติชิดและห่างดังในลำดับ 3 และ 4
ญาติลำดับ 6 ในมาตรา 1629 ย่อมรับมรดกแทนที่กันได้ตาม มาตรา 1639

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 58/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมและการแบ่งมรดกของทายาท
บุตรบุญธรรมจะมีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมได้ก็ต่อเมื่อได้จดทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้เอาทรัพย์มรดกของผู้ตายประมูลราคาหรือขายทอดตลาดแบ่งกันระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นทายาท เมื่อได้ความว่า จำเลยก็เป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดก และโจทก์ก็มิได้คัดค้านในการที่ศาลจะแบ่งส่วนให้จำเลยด้วยดังนี้ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาแบ่งส่วนให้จำเลยด้วยได้และในคดีเช่นนี้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งค่าทนายศาลสั่งให้ชักจากกองมรดกก่อนแล้วจึงให้แบ่งกันระหว่างทายาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 431/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกซ้ำซ้อน: การฟ้องห้ามรับมรดกเดิม ห้ามฟ้องซ้ำด้วยเหตุเดิม แม้สถานะทางกฎหมายเปลี่ยน
โจทก์เคยฟ้องห้ามจำเลยซึ่งเป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายมิให้เกี่ยวข้องแก่มรดกศาลพิพากษาห้ามแล้วภายหลังมีคำพิพากษาว่าจำเลยเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงเข้ามาเกี่ยวข้องแก่มรดกอีกโจทก์จึงฟ้องขอห้ามอีก ดังนี้ถือว่าโจทก์ฟ้องร้องอีกโดยอาศัยเหตุเดียวกัน ต้องยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 431/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องห้ามเกี่ยวข้องมฤดกซ้ำ: เหตุเดิมต้องยกฟ้อง แม้สถานะบุตรเปลี่ยน
โจทก์เคยฟ้องห้ามจำเลยซึ่งเป็นบุตร์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายมิให้เกี่ยวข้องแก่มฤดกศาลพิพากษาห้ามแล้ว ภายหลังมีคำพิพากษาว่าจำเลยเป็นบุตร์ที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงเข้ามาเกี่ยวข้องแก่มฤดกอีก โจทก์จึงฟ้องขอห้ามอีก ดังนี้ถือว่าโจทก์ฟ้องร้องอีกโดยอาศัยเหตุเดียวกันต้องยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 413/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดก: การฟ้องซ้ำด้วยเหตุเดิมต้องยกฟ้อง แม้สถานะทางกฎหมายเปลี่ยน
โจทก์เคยฟ้องห้ามจำเลยซึ่งเป็นบุตร์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายมิให้เกี่ยวข้องแก่มฤดกศาลพิพากษาห้ามแล้ว ภายหลังมีคำพิพากษาว่าจำเลยเป็นบุตร์ที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงเข้ามาเกี่ยวข้องแก่มฤดกอีก โจทก์จึงฟ้องขอห้ามอีก ดังนี้ถือว่าโจทก์ฟ้องร้องอีกโดยอาศัยเหตุเดียวกันต้องยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 278/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตัวแทนฟ้องคดีหลังตัวการตาย และการขอเข้าเป็นโจทก์แทน
ตัวแทนฟ้องเรียกหนี้มฤดกต่อมาตัวการตาย ตัวแทนก็คงมีอำนาจดำเนินคดีต่อไปได้ตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 828 แม้ตัวแทนเป็นบุตรของตัวการก็ไม่ทำให้สิ้นอำนาจ เพราะตัวการอาจทำพินัยกรรม์ตั้งผู้อื่นจัดการมฤดก หรือยกทรัพย์มฤดกให้คนอื่นได้
คดีที่ตัวแทนดำเนินคดีแทนตัวการซึ่งตายไปแล้วนั้น ผู้จัดการมฤดกร้องขอเข้าเป็นโจทก์แทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 278/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของตัวแทนหลังตัวการเสียชีวิต และการขอเป็นโจทก์แทน
ตัวแทนฟ้องเรียกหนี้มรดก ต่อมาตัวการตาย ตัวแทนก็คงมีอำนาจดำเนินคดีต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 828 แม้ตัวแทนเป็นบุตรของตัวการก็ไม่ทำให้สิ้นอำนาจ เพราะตัวการอาจทำพินัยกรรมตั้งผู้อื่นจัดการมรดกหรือยกทรัพย์มรดกให้คนอื่นได้
คดีที่ตัวแทนดำเนินคดีแทนตัวการซึ่งตายไปแล้วนั้นผู้จัดการมรดกร้องขอเข้าเป็นโจทก์แทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ฟ้องผู้ครอบครองทรัพย์มรดกไม่ได้ ต้องฟ้องผู้รับมรดกตามกฎหมาย
เจ้าหนี้ผู้ตายจะฟ้องให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิรับมฤดกเป็นผู้ใช้หนี้ไม่ได้แม้ผู้นั้นจะเข้าปกครองทรัพย์มฤดกของผู้ตายก็ตาม เจ้าหนี้ชอบแต่จะฟ้องเอาจากผู้รับมฤดก
of 25