พบผลลัพธ์ทั้งหมด 245 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทโดยธรรมของบุตรนอกกฎหมายที่ได้รับการรับรองและการเพิกถอนนิติกรรมรับมรดก
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับแต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลัง อันดับที่ 1 คือผู้สืบสันดานซึ่งตามมาตรา 1627บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้ด้วย ดังนั้น ประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดว่า จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของนาย อ.เจ้ามรดกหรือไม่ จึงรวมไปถึงปัญหาว่าจำเลยเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วหรือไม่ด้วย
จำเลยมีสำเนาทะเบียนการสมรสระหว่างจำเลยกับ ส.สามีซึ่งเป็นเอกสารมหาชนระบุว่า จำเลยเป็นบุตรนาย อ. นาง ก. และใช้นามสกุลขณะสมรสว่า "เพชรม่อม" อันเป็นนามสกุลของนาย อ. อีกด้วยแม้นาย อ. นาง ก.ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย แต่ผู้ใหญ่บ้านก็เบิกความรับรองว่า ขณะเยาว์วัยจำเลยอาศัยอยู่กับนาย อ.บิดาที่บ้าน จึงฟังได้ว่านาย อ.อุปการะเลี้ยงดูจำเลยอย่างบุตรและให้ใช้นามสกุลเดียวกัน ถือเป็นการรับรองว่าจำเลยเป็นบุตร จำเลยจึงมีสิทธิรับมรดกไม่มีพินัยกรรมของนาย อ.ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 และมาตรา 1629
โจทก์ฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยขอรับมรดกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ. อ้างว่า นาย อ.ได้ยกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ.ให้โจทก์แล้วไม่มีประเด็นว่าโจทก์แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า 1 ปี หรือไม่ ทั้งคำพยานโจทก์ ก็ไม่ได้ยืนยันว่า นาย อ.ยกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ.ให้โจทก์การที่โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทรวมทั้งส่วนของนาย อ.หลังจากนาย อ.ตายแล้วเท่ากับเป็นการครอบครองแทนจำเลยซึ่งเป็นทายาทนาย อ.จนกว่าโจทก์จะแสดงเจตนาเปลี่ยนการครอบครองเป็นครอบครองเพื่อตน เมื่อจำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของนาย อ.ได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนสิทธิรับโอนที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ.บิดาโดยชอบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว
จำเลยมีสำเนาทะเบียนการสมรสระหว่างจำเลยกับ ส.สามีซึ่งเป็นเอกสารมหาชนระบุว่า จำเลยเป็นบุตรนาย อ. นาง ก. และใช้นามสกุลขณะสมรสว่า "เพชรม่อม" อันเป็นนามสกุลของนาย อ. อีกด้วยแม้นาย อ. นาง ก.ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย แต่ผู้ใหญ่บ้านก็เบิกความรับรองว่า ขณะเยาว์วัยจำเลยอาศัยอยู่กับนาย อ.บิดาที่บ้าน จึงฟังได้ว่านาย อ.อุปการะเลี้ยงดูจำเลยอย่างบุตรและให้ใช้นามสกุลเดียวกัน ถือเป็นการรับรองว่าจำเลยเป็นบุตร จำเลยจึงมีสิทธิรับมรดกไม่มีพินัยกรรมของนาย อ.ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 และมาตรา 1629
โจทก์ฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยขอรับมรดกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ. อ้างว่า นาย อ.ได้ยกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ.ให้โจทก์แล้วไม่มีประเด็นว่าโจทก์แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า 1 ปี หรือไม่ ทั้งคำพยานโจทก์ ก็ไม่ได้ยืนยันว่า นาย อ.ยกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ.ให้โจทก์การที่โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทรวมทั้งส่วนของนาย อ.หลังจากนาย อ.ตายแล้วเท่ากับเป็นการครอบครองแทนจำเลยซึ่งเป็นทายาทนาย อ.จนกว่าโจทก์จะแสดงเจตนาเปลี่ยนการครอบครองเป็นครอบครองเพื่อตน เมื่อจำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของนาย อ.ได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนสิทธิรับโอนที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ.บิดาโดยชอบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุตรนอกกฎหมายที่ผู้ตายรับรองมีสิทธิมรดกเช่นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการมรดก
ผู้ร้องเป็นบุตรนอกกฎหมายที่ผู้ตายรับรองแล้วจึงถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายในลำดับที่ 1ตามมาตรา 1629 หาจำต้องฟ้องคดีขอให้รับเป็นบุตรหรือต้องมีคำสั่งศาลว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเสียก่อนไม่ ผู้คัดค้านเป็นเพียงพี่น้องร่วมบิดามารดากับผู้ตายไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1630 จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกหรือร่วมกับ บ. ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมิได้สั่งและศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไขจึงเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทบุตรนอกกฎหมายรับรองแล้ว และสิทธิผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ถือว่า เป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิได้รับมรดกในลำดับที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 หาจำต้องไปฟ้องคดีขอให้รับเป็นบุตรหรือต้องมีคำสั่งศาลว่าผู้ร้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเสียก่อนไม่ผู้คัดค้านเป็นเพียงพี่ชายร่วมบิดามารดากับผู้ตาย ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1630 จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกหรือร่วมกับผู้อื่นเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายตามมาตรา 1713
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ตาม แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ก็มิได้สั่งแก้ไขในเรื่องนี้ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ตาม แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ก็มิได้สั่งแก้ไขในเรื่องนี้ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5350/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินมรดก: การยกที่ดินให้บุตรและสิทธิของทายาทอื่น, อายุความ
แม้จะไม่ปรากฏใบแต่งทนายสำหรับ อ.แต่อ. ได้ เรียงคำฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์ จน เสร็จการพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยโจทก์ยอมรับเอาผลของการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นตลอดมา และฝ่ายจำเลยก็มิได้คัดค้านประการใดมาแต่ต้น ตามพฤติการณ์น่าเชื่อว่าโจทก์ได้ให้ อ. เป็นทนายความของโจทก์ในคดีนี้แล้วเมื่อปรากฏว่ายังไม่มีใบแต่งทนายสำหรับ อ. อยู่ในสำนวนศาลก็มีอำนาจที่จะอนุญาตให้แก้ไขจัดทำเสียให้ถูกต้องได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 แม้ศาลชั้นต้นมิได้ให้แก้ไขข้อบกพร่องก่อนพิพากษาคดี แต่โจทก์ก็ได้ยื่นใบแต่งทนายแต่งตั้ง อ.เป็นทนายความในคดีพร้อมกับการยื่นอุทธรณ์ อันเป็นการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวการดำเนินกระบวนพิจารณาของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ที่ ย.และ จ.ได้มาในระหว่างเป็นสามีภรรยากัน เมื่อ ย.ถึงแก่กรรม การสมรสย่อมสิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมาย ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาก็ต้องแบ่งกันฝ่ายละครึ่ง ดังนั้น จ. จึงยกที่ดินพิพาทให้จำเลยได้เฉพาะส่วนที่เป็นของ จ. เท่านั้น แต่ส่วนที่เป็นของ ย. ต้องเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมโจทก์ทั้งห้าและจำเลยเป็นบุตรของ ย. ซึ่งเป็นเจ้ามรดกโจทก์ทั้งห้าและจำเลยจึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 จ.เป็นคู่สมรส เป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1629 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกเสมือนทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1635 ที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของ ย.ต้องแบ่งออกเป็น 7 ส่วนเท่า ๆ กัน เพื่อแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งห้า จำเลยและ จ. คนละ 1 ส่วน ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่า คดีขาดอายุความนั้น ในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้ยกอายุความขึ้นอ้างเป็นประเด็นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ ประเด็นเรื่องอายุความจึงมิใช่เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5350/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งทนายโดยไม่ปรากฏใบแต่ง และการแบ่งมรดกในทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา
แม้จะไม่ปรากฏใบแต่งทนายสำหรับ อ. แต่ อ.ได้เรียงคำฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์จนเสร็จการพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยโจทก์ยอมรับเอาผลของการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นตลอดมา และฝ่ายจำเลยก็มิได้คัดค้านประการใดมาแต่ต้น ตามพฤติการณ์น่าเชื่อว่าโจทก์ได้ให้ อ.เป็นทนายความของโจทก์ในคดีนี้แล้ว เมื่อปรากฏว่ายังไม่มีใบแต่งทนายสำหรับ อ.อยู่ในสำนวน ศาลก็มีอำนาจที่จะอนุญาตให้แก้ไขจัดทำเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 แม้ศาลชั้นต้นมิได้ให้แก้ไขข้อบกพร่องก่อนพิพากษาคดี แต่โจทก์ก็ได้ยื่นใบแต่งทนายแต่งตั้ง อ.เป็นทนายความในคดีพร้อมกับการยื่นอุทธรณ์ อันเป็นการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว การดำเนินกระบวนพิจารณาของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ที่ ย.และ จ.ได้มาในระหว่างเป็นสามีภรรยากัน เมื่อ ย.ถึงแก่กรรม การสมรสย่อมสิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมาย ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาก็ต้องแบ่งกันฝ่ายละครึ่ง ดังนั้น จ.จึงยกที่ดินพิพาทให้จำเลยได้เฉพาะส่วนที่เป็นของ จ.เท่านั้น แต่ส่วนที่เป็นของ ย.ต้องเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม โจทก์ทั้งห้าและจำเลยเป็นบุตรของ ย.ซึ่งเป็นเจ้ามรดกโจทก์ทั้งห้าและจำเลยจึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 จ.เป็นคู่สมรส เป็นทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1629 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกเสมือนทายาทชั้นบุตร ตามมาตรา 1635 ที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของ ย.ต้องแบ่งออกเป็น 7 ส่วนเท่า ๆ กัน เพื่อแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งห้า จำเลยและ จ.คนละ 1 ส่วน
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่า คดีขาดอายุความนั้น ในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้ยกอายุความขึ้นอ้างเป็นประเด็นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ ประเด็นเรื่องอายุความจึงมิใช่เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ที่ ย.และ จ.ได้มาในระหว่างเป็นสามีภรรยากัน เมื่อ ย.ถึงแก่กรรม การสมรสย่อมสิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมาย ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาก็ต้องแบ่งกันฝ่ายละครึ่ง ดังนั้น จ.จึงยกที่ดินพิพาทให้จำเลยได้เฉพาะส่วนที่เป็นของ จ.เท่านั้น แต่ส่วนที่เป็นของ ย.ต้องเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม โจทก์ทั้งห้าและจำเลยเป็นบุตรของ ย.ซึ่งเป็นเจ้ามรดกโจทก์ทั้งห้าและจำเลยจึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 จ.เป็นคู่สมรส เป็นทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1629 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกเสมือนทายาทชั้นบุตร ตามมาตรา 1635 ที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของ ย.ต้องแบ่งออกเป็น 7 ส่วนเท่า ๆ กัน เพื่อแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งห้า จำเลยและ จ.คนละ 1 ส่วน
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่า คดีขาดอายุความนั้น ในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้ยกอายุความขึ้นอ้างเป็นประเด็นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ ประเด็นเรื่องอายุความจึงมิใช่เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4892/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขอตั้งผู้จัดการมรดกสงวนไว้เฉพาะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกเท่านั้น
ทายาทที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก หมายถึง ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกเท่านั้น ไม่หมายถึงผู้ที่อยู่ในลำดับทายาททุกลำดับตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 โจทก์เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย แต่ขณะยื่นฟ้องปรากฏว่ายังมีศ.เป็นบุตรของผู้ตายซึ่งเป็นทายาทลำดับ 1 โจทก์จึงไม่เป็นทายาทผู้มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย และถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3158/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดก
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วโดยบิดาได้แสดงต่อผู้อื่นว่าโจทก์เป็นบุตรและให้ใช้นามสกุลโจทก์จึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่บิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1627,1629 และมาตรา 1639
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกและการชำระหนี้จากกองมรดก: ผู้ครอบครองทรัพย์มิใช่ทายาท ย่อมไม่มีสิทธิรับมรดก
จำเลยที่ 1 มิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย มีฐานะเพียงผู้ครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายเท่านั้น จึงไม่ได้เป็นทายาทและไม่ได้เป็นผู้รับมรดกตามกฎหมาย เพราะสิทธิการรับมรดกเป็นเรื่องเฉพาะตัวมิได้ถือเอาการครอบครองทรัพย์ของผู้ตายเป็นเกณฑ์เจ้าหนี้ของผู้ตายจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้เอาทรัพย์สินจากกองมรดกชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการรับผิดหนี้จากการครอบครองทรัพย์มรดก: ผู้ไม่เป็นทายาทโดยชอบด้วยกฎหมายไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 มีฐานะเพียงผู้ครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายเท่านั้นมิได้เป็นภริยา-โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย จึงไม่เป็นทายาทโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นผู้รับมรดกของผู้ตาย โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้หนี้ของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2719/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมรดกแทนทายาทโดยธรรมและการครอบครองทรัพย์สินร่วมกัน ศาลยกฟ้องคดีขับไล่
เมื่อมารดาโจทก์จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินและบ้านพิพาทจากเจ้ามรดกโดยใส่ชื่อมารดาโจทก์คนเดียวนั้นเป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนทายาทโดยธรรมทุกคนรวมทั้งจำเลยที่ 2 ด้วย ที่ดินและบ้านพิพาทจึงยังมิได้มีการแบ่งปันกันระหว่างทายาทโดยธรรม มารดาโจทก์ไม่มีสิทธิจดทะเบียนยกที่ดินและบ้านพิพาทในส่วนมรดกที่ตกได้แก่ทายาทอื่นให้แก่โจทก์ โจทก์คงมีกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของมารดาโจทก์ที่รับมรดกมาในฐานะทายาทโดยธรรม จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิยึดถือครอบครองโดยอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทได้ ส่วนจำเลยที่ 1สามีจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นบริวารของจำเลยที่ 2ย่อมมีสิทธิอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาท เมื่อที่ดินและบ้านพิพาทยังเป็นมรดกอยู่โจทก์และจำเลยที่ 2 รวมทั้งทายาทอื่นจึงเป็นเจ้าของรวม ดังนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสี่ได้.