คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1629

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 245 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-ขาดอำนาจฟ้อง: คดีพิพาทที่ดินที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
แม้ในคำบรรยายฟ้องของโจทก์จะกล่าวอ้างเพียงว่า จำเลยทั้งสองไปคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดินของโจทก์ต่อเจ้าพนักงานที่ดินโดยไม่ระบุว่าเป็นที่ดินที่มีหลักฐานแสดงถึงสิทธิการครอบครองแปลงใดก็ตาม แต่เมื่อจำเลยทั้งสองให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตามส.ค.1 เลขที่ 180 โจทก์ก็ไม่ปฏิเสธว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินแปลงอื่นแต่กลับแถลงรับในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า ที่ดินพิพาทตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินของโจทก์เป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินพิพาทซึ่งคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2522ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่า ที่ดินพิพาทในคดีนี้เป็นที่ดินแปลงอื่นจึงขัดกับข้อเท็จจริงที่โจทก์แถลงรับในคดี และโจทก์จะฎีกาว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินแปลงอื่นไม่ได้ เมื่อปรากฏว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินพิพาทในคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2522 ซึ่งวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของนายยิ้ม จึงเป็นคำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของนายมิ้มที่ผูกพันโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่ได้แสดงสิทธิอื่นขึ้นใหม่โจทก์จะนำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 2 บุตรของนายมิ้มซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 ชั้นผู้สืบสันดาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1629 ผู้มีสิทธิรับมรดกของนายมิ้มขอให้ขับไล่จำเลยที่ 2ออกจากที่ดินพิพาทไม่ได้ เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ส่วนจำเลยที่ 1ต่อสู้คดีโดยอ้างว่า เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทร่วมกับจำเลยที่ 2จึงเป็นคำให้การที่อาศัยสิทธิของจำเลยที่ 2 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3261/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้จัดการมรดก: บุตรทายาทลำดับที่หนึ่งมีสิทธิมากกว่าน้องร่วมบิดามารดา
ผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ตาย เป็นทายาทลำดับที่หนึ่ง ทายาทอื่นของผู้ตายก็ให้ความยินยอมและไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลที่ต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดก ส่วนผู้ร้องเป็นน้องร่วมบิดามารดากับผู้ตาย เป็นทายาทลำดับถัดไปไม่มีสิทธิและส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกที่จะเป็นผู้จัดการมรดกได้ มีเหตุสมควรถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องของผู้คัดค้านเป็นการเพิ่มชื่อและนามสกุลของผู้ตายที่มีหลายชื่อและหลายนามสกุล เป็นเพียงรายละเอียดเล็กน้อย แม้ผู้คัดค้านจะไม่ขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องก็อาจนำสืบถึงความข้อนี้ในชั้นพิจารณาได้อยู่แล้ว ศาลชั้นต้นย่อมอนุญาตให้แก่ไขได้โดยไม่จำต้องส่งสำเนาคำร้องให้ผู้ร้องทราบล่วงหน้าก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 181.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5966/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายมรดก: ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์สินเกินอำนาจทำให้ทายาทเสียหาย
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ญ. ซึ่งเป็นพี่ของโจทก์จำเลยที่ 1 เป็นภริยาของ ญ.เมื่อญ. ตาย ที่ดินพิพาทย่อมตกทอดมาเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นทายาทจำนวนหนึ่งในสามทันที โจทก์จึงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ญ. โอนที่ดินพิพาทซึ่งมีราคา 200,000 บาทเศษตีใช้หนี้จำนวน 70,000 บาท ที่ ญ. เป็นหนี้ให้แก่จำเลยที่ 2เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกได้จัดการมรดกทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งเป็นการเกินขอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดก โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายดังกล่าวได้เพราะเป็นกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากบุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1336.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5966/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนมรดกโดยผู้จัดการมรดกเกินอำนาจ ทำให้ทายาทเสียหาย
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ญ. ซึ่งเป็นพี่ของโจทก์จำเลยที่ 1 เป็นภริยาของ ญ. เมื่อ ญ. ตาย ที่ดินพิพาทย่อมตกทอดมาเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นทายาทจำนวนหนึ่งในสามทันที โจทก์จึงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ญ. โอนที่ดินพิพาทซึ่งมีราคา 200,000 บาทเศษ ตีใช้หนี้จำนวน 70,000 บาท ที่ ญ. เป็นหนี้ให้แก่จำเลยที่ 2เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกได้จัดการมรดกทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งเป็นการเกิน ขอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดก โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายดังกล่าวได้เพราะเป็น กรณีที่เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากบุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1336

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกหุ้น: สิทธิทายาท, อำนาจปกครอง, และการคุ้มครองประโยชน์ผู้เยาว์
โจทก์ที่ 1 เป็นภริยา โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรผู้เยาว์ของผู้ตายโจทก์ทั้งสองต่างเป็นทายาทโดยธรรม ซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกเป็นส่วนแบ่งหุ้นของผู้ตายในบริษัทจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599,1600,1629(1),1629 วรรคท้าย และ 1635(1) การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยลงทะเบียนให้โจทก์ที่ 1 เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดแต่ผู้เดียวไม่แบ่งหุ้นมรดกให้แก่โจทก์ที่ 2 ถือได้ว่าโจทก์ที่ 1มารดาผู้ใช้อำนาจปกครองเอาประโยชน์จากกิจการและประโยชน์นั้นขัดกับประโยชน์ของโจทก์ที่ 2 ผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574,1575 ตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1118หมายถึงหุ้นจำนวนหุ้นเดียวจะแบ่งแยกไม่ได้ ถ้ามีหลายคนเป็นเจ้าของหุ้นหุ้นเดียว ต้องให้คนใดคนหนึ่งใช้สิทธิแต่คนเดียวในฐานะผู้ถือหุ้น แต่กรณีที่หุ้นมรดกมีจำนวน 500 หุ้น จึงอาจแบ่งระหว่างโจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 แยกกันถือหุ้นได้ โจทก์ที่ 1จึงจะอ้างสิทธิตามมาตรานี้โดยขอใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นเพียงผู้เดียวในหุ้นทั้งหมดไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกหุ้น: สิทธิทายาท, การใช้อำนาจปกครองขัดประโยชน์, การแบ่งแยกหุ้น
โจทก์ทั้งสองต่างเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายซึ่งมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งหุ้นมรดกของผู้ตายในบริษัทจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599,1600,1629(1),1629 วรรคท้าย และ 1635(1) การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยลงทะเบียนให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาผู้ตายเป็นผู้ถือหุ้นมรดกทั้งหมดแต่ผู้เดียว เท่ากับขอให้โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของหุ้นมรดกทั้งหมดแต่ผู้เดียว โดยไม่แบ่งหุ้นมรดกให้แก่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรผู้เยาว์ของผู้ตาย ถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองของโจทก์ที่ 2 เอาประโยชน์จากกิจการและประโยชน์นั้นขัดกับประโยชน์ของโจทก์ที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574,1575 ความหมายของมาตรา 1118 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หมายถึงหุ้นจำนวนเดียวจะแบ่งแยกไม่ได้ ถ้ามีหลายคนเป็นเจ้าของหุ้น หุ้นเดียวต้องให้คนใดคนหนึ่งใช้สิทธิแต่คนเดียวในฐานะผู้ถือหุ้น แต่กรณีนี้หุ้นมรดกมีจำนวน 500 หุ้น จึงอาจแบ่งระหว่างโจทก์ที่ 1กับโจทก์ที่ 2 แยกกันถือหุ้นได้ โจทก์ที่ 1 จะขอใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้น มรดกเพียงผู้เดียวในหุ้นมรดกทั้งหมดโดยอ้างมาตรา 1118หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในหุ้นมรดก: การแบ่งปันระหว่างทายาทและประโยชน์ของผู้เยาว์
โจทก์ที่ 1 เป็นภริยา โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรผู้เยาว์ของผู้ตายโจทก์ทั้งสองต่างเป็นทายาทโดยธรรม ซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกเป็นส่วนแบ่งหุ้นของผู้ตายในบริษัทจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599, 1600, 1629(1), 1629 วรรคท้าย และ 1635(1) การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยลงทะเบียนให้โจทก์ที่ 1 เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดแต่ผู้เดียวไม่แบ่งหุ้นมรดกให้แก่โจทก์ที่ 2 ถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 มารดาผู้ใช้อำนาจปกครองเอาประโยชน์จากกิจการและประโยชน์นั้นขัดกับประโยชน์ของโจทก์ที่ 2 ผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574, 1575
ตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1118หมายถึงหุ้นจำนวนหุ้นเดียวจะแบ่งแยกไม่ได้ ถ้ามีหลายคนเป็นเจ้าของหุ้นหุ้นเดียว ต้องให้คนใดคนหนึ่งใช้สิทธิแต่คนเดียวในฐานะผู้ถือหุ้น แต่กรณีที่หุ้นมรดกมีจำนวน 500 หุ้น จึงอาจแบ่งระหว่างโจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 แยกกันถือหุ้นได้ โจทก์ที่ 1จึงจะอ้างสิทธิตามมาตรานี้โดยขอใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นเพียงผู้เดียวในหุ้นทั้งหมดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการบังคับคดีตกทอดไปยังทายาท: การรับมรดกความแทนเจ้าหนี้เดิม
สิทธิในการบังคับคดีของโจทก์ในเรื่องฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์เป็นสิทธิในทรัพย์สินมิใช่สิทธิเฉพาะตัวจึงตกทอดไปยังทายาทเมื่อผู้ทรงสิทธิถึงแก่ความตาย ผู้ร้องเป็นบุตรคนหนึ่งของโจทก์ ย่อมเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกรวมทั้งสิทธิที่เกี่ยวแก่ทรัพย์สินด้วย จึงมีสิทธิขอเข้ารับมรดกความเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์และดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ แม้ว่าจำเลยจะเป็นบุตรของโจทก์อีกคนหนึ่งและมีสิทธิรับมรดกด้วย ก็มิได้เป็นการตัดสิทธิของผู้ร้องในการขอเข้ารับมรดกความแทนโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4824/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทายาทมีอำนาจฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายของผู้ตายได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้จัดการมรดก
โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของตาย มีฐานะทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายซึ่งเป็นมรดกของผู้ตายได้โดยไม่จำต้องให้ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกเสียก่อน ค่าจ้างค้างจ่ายของผู้ตายเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท และทายาททุกคนเป็นเจ้าของรวมในกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง ทายาทแต่ละคนจึงอาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์รวมครอบไปถึงกองมรดกทั้งหมดได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298 โจทก์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายของเจ้ามรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 58/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตแก้ฟ้อง, อำนาจศาลในการสั่งตรวจเอกสาร, และสิทธิทายาทรับมรดก
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้อง เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกา
ในกรณีที่ศาลเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องตั้งผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจเอกสารในสำนวน และศาลเห็นสมควร ศาลก็ย่อมใช้อำนาจของศาลเองที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 99 ส่งเอกสารนั้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ได้โดยไม่จำต้องให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดยื่นบัญชีระบุพยานหรือระบุชื่อผู้เชี่ยวชาญ
จำเลยเป็นพี่ชายเจ้ามรดก ส่วนโจทก์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก จำเลยเป็นทายาทลำดับหลังโจทก์ ไม่มีสิทธิรับมรดกรายนี้จำเลยจึงยกอายุความมรดก 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1755 มาต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกไม่ได้.
of 25