คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1649

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2687-2688/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องค่าเสียหายจากละเมิด: มรดก, ทายาท, ค่าปลงศพ, ค่าขาดไร้อุปการะ, และความเคลือบคลุมของฟ้อง
ฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีละเมิด โจทก์ที่ 2 เรียกค่าปลงศพและค่ารถจักรยานยนต์ที่เสียหาย ได้บรรยายความเสียหายแต่ละอย่างซึ่งโจทก์ที่ 2 ได้เรียกร้องโดยกำหนดจำนวนเงินที่ จำเลยจะต้องรับผิดไว้ ส่วนรายละเอียดว่าเป็นค่าใช้จ่ายอะไร เป็นเงินเท่าใดเป็นรายละเอียดที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ถือว่าคำฟ้องของโจทก์ที่ 2 ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่ง สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา เช่นว่านั้นแล้ว ฟ้องโจทก์ที่ 2 จึงไม่เคลือบคลุม พ. ผู้ตายเป็นบุตรโจทก์ที่1กับป. ต่อมาได้หย่ากัน โจทก์ที่ 1 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ทำละเมิดเป็นเหตุ ให้ พ.ตายได้
ผู้ตายไม่มีทายาทอื่น บิดามารดาได้ถึงแก่ความตายไปหมด แล้ว ผู้ตายยังไม่มีครอบครัวอาศัยอยู่กับโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นพี่สาวร่วมบิดามารดาเดียวกันและเป็นผู้ทำการปลงศพ โจทก์ที่ 2 เป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายมีอำนาจฟ้องเรียก ค่าปลงศพผู้ตายได้
ฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะเนื่องจากมีผู้ทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ตายแม้จะได้ความว่าผู้ตายกำลังเรียนอยู่ใน วิทยาลัยและในมหาวิทยาลัยเมื่อเรียนจบออกมาประกอบอาชีพ ย่อมจะมีรายได้พอที่จะให้ความอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ซึ่งเป็นมารดาได้ตามควรแม้จะเป็นเรื่องในอนาคตที่ไม่แน่นอน ก็ตาม ศาลย่อมใช้ดุลพินิจกำหนดให้ภายในเวลาที่เห็นสมควร ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3267/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ผลกระทบของคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง และการคำนวณค่าเสียหาย
จำเลยที่ 4 ลูกจ้างจำเลยที่ 3 ขับรถเฉี่ยวชนกับรถที่ น.ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขับสวนทางมาเป็นเหตุให้ ส.ภริยาโจทก์ในรถที่ น.ขับถึงแก่ความตายจำเลยที่ 4 ถูกฟ้อง ศาลมีคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเสร็จเด็ดขาดไปแล้วว่า จำเลยที่ 4 มิได้ขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย คำพิพากษามีผลผูกพันเฉพาะโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย หาผูกพัน น. หรือจำเลยที่ 2 นายจ้างของ น. ซึ่งมิใช่คู่ความในคดีอาญาด้วยไม่ จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงอาจนำสืบต่อสู้ได้ว่าความเสียหายเกิดขึ้นจากความผิดของจำเลยที่ 4. มิใช่เกิดจากความผิดของ น.เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า น. ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ ส.ภริยาโจทก์ตายจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ลูกจ้างของตนได้กระทำไปในทางการที่จ้าง
ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการจัดการศพและค่าปลงศพผู้ตาย โจทก์ในฐานะทายาทของผู้ตายมีสิทธิที่จะเรียกได้
ค่าขาดสิทธิที่โจทก์จะได้รับอุปการะเลี้ยงดูจาก ส.ผู้ตายมีตามกฎหมาย โดยไม่จำต้องคำนึงถึงความเป็นจริง จึงไม่ต้องพิจารณาว่าขณะถูกทำละเมิดถึงแก่ความตาย ส.มีรายได้และให้การอุปการะเลี้ยงดูโจทก์หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3391/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจกระทำละเมิดถึงแก่ความตาย จำเลยมีหน้าที่ชดใช้ค่าปลงศพ แม้จัดงานศพให้แล้ว
บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายเนื่องจากผลแห่งการกระทำการตามหน้าที่ของผู้แทนกรมตำรวจจำเลย จำเลยจึงมีหน้าที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่าปลงศพรวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น ๆ ให้โจทก์ซึ่งมีหน้าที่จัดการปลงศพของผู้ตายแม้จำเลยได้จัดงานศพให้ผู้ตายไปส่วนหนึ่งแล้ว แต่เงินที่ใช้จ่ายไปในการจัดงานศพก็เป็นเงินที่ได้รับบริจาคมาจากผู้มาทำบุญในงานศพนั้น หาใช่เงินของจำเลยไม่จำเลยยังมีหน้าที่ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าปลงศพให้แก่โจทก์ จะยกเอากรณีมีผู้บริจาคเงินให้มาเป็นข้อปัดความรับผิดของจำเลยหาได้ไม่
ตามกฎหมายกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าปลงศพให้แก่โจทก์หรือทายาทอื่น ๆ ของผู้ตาย มิใช่กำหนดให้จำเลยมีหน้าที่จัดงานศพให้ผู้ตาย การที่โจทก์สมัครใจรับศพผู้ตายไปทำพิธีเผาเอง จำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3391/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนจากการเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่: จำเลยมีหน้าที่ชดใช้ค่าปลงศพแม้จัดงานศพแล้ว
บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายเนื่องจากผลแห่งการกระทำการตามหน้าที่ของผู้แทนกรมตำรวจจำเลย จำเลยจึงมีหน้าที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่าปลงศพรวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น ๆ ให้โจทก์ซึ่งมีหน้าที่จัดการปลงศพของผู้ตายแม้จำเลยได้จัดงานศพให้ผู้ตายไปส่วนหนึ่งแล้ว แต่เงินที่ใช้จ่ายไปในการจัดงานศพก็เป็นเงินที่ได้รับบริจาคมาจากผู้มาทำบุญในงานศพนั้น หาใช่เงินของจำเลยไม่จำเลยยังมีหน้าที่ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าปลงศพให้แก่โจทก์ จะยกเอากรณีมีผู้บริจาคเงินให้มาเป็นข้อปัดความรับผิดของจำเลยหาได้ไม่
ตามกฎหมายกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าปลงศพให้แก่โจทก์หรือทายาทอื่น ๆ ของผู้ตาย มิใช่กำหนดให้จำเลยมีหน้าที่จัดงานศพให้ผู้ตาย การที่โจทก์สมัครใจรับศพผู้ตายไปทำพิธีเผาเอง จำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดกในการจัดการศพ: ต้องได้รับการแต่งตั้งจากผู้ตายหรือศาลเท่านั้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1649 ได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่า ผู้จัดการมรดกของผู้ตายที่จะมีอำนาจและหน้าที่จัดการทำศพผู้ตายได้ ต้องเป็นผู้จัดการมรดกที่ผู้ตายได้ตั้งไว้
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ศาลตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกส. ผู้ตาย หาใช่ ส.ตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของส. ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจและหน้าที่จัดการทำศพ สผู้ตาย แม้โจทก์จะได้จัดการทำศพและใช้จ่ายในการปลงศพส. ผู้ตายไปจริง โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายค่าทำศพแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการศพของผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้ง vs. ผู้ที่ผู้ตายตั้งไว้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1649 ได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่า ผู้จัดการมรดกของผู้ตายที่จะมีอำนาจและหน้าที่จัดการทำศพผู้ตายได้ ต้องเป็นผู้จัดการมรดกที่ผู้ตายได้ตั้งไว้
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ศาลตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดก ส. ผู้ตาย หาใช่ ส. ตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของส. ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจและหน้าที่จัดการทำศพ ส. ผู้ตาย แม้โจทก์จะได้จัดการทำศพและใช้จ่ายในการปลงศพ ส. ผู้ตายไปจริง โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายค่าทำศพแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อทางละเมิด: การแบ่งความรับผิดของผู้ขับขี่รถแทรกเตอร์และรถโดยสาร กรณีไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร
โจทก์ที่ 1 สามีผู้ตายขับรถแทรกเตอร์มีกระบะพ่วงท้ายผู้ตายนั่งมาด้วยในรถกระบะโดยมิได้ติดโคมไฟท้ายรถกระบะให้มีแสงสว่างสามารถมองเห็นได้ในระยะไกล จำเลยขับรถโดยสารแล่นตามหลังไม่อาจมองเห็นรถที่โจทก์ขับในระยะไกล จึงไม่อาจหยุดรถหรือหลบหลีกได้ทันเกิดชนกันเสียหาย ดังนี้ ถือว่าความเสียหายที่เกิดขึ้น โจทก์ที่ 1มีส่วนประมาทมากกว่าจำเลยจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 1 แต่จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 บุตรของผู้ตาย หนึ่งในสามส่วน(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 676/2524)
การที่จำเลยชดใช้ค่าทำศพให้ ส. ซึ่งมิใช่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เป็นการชำระให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทำศพ ไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298 จำเลยจึงยังต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรผู้ตายที่มีสิทธิเรียกร้องค่าทำศพผู้ตายอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212-213/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าปลงศพสงวนเฉพาะทายาทโดยชอบด้วยกฎหมาย
สิทธิฟ้องเรียกค่าปลงศพตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 นั้นได้แต่เฉพาะผู้ที่เป็นทายาท เพราะการปลงศพนั้นเป็นหน้าที่ของทายาทตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 649 ภรรยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่ทายาท จึงไม่มีสิทธิเรียกร้อง เอาค่าปลงศพ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจัดการศพของผู้มรณภาพตกแก่ทายาทโดยธรรมเมื่อไม่มีผู้จัดการมรดกหรือพินัยกรรม
โจทก์เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับพระภิกษุผู้มรณภาพ จึงเป็นทายาทอันดับ 3 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพผู้ตายนั้น มาตรา 1649 บัญญัติไว้ตามลำดับดังนี้คือ ผู้จัดการมรดกที่ผู้ตายตั้งไว้ เว้นแต่ผู้ตายจะได้ตั้งผู้อื่นไว้โดยเฉพาะให้จัดการทำศพ ถ้าผู้ตายมิได้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือบุคคลใดไว้โดยเฉพาะ หรือทายาทมิได้มอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพ บุคคลผู้ได้รับทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรม หรือโดยสิทธิโดยธรรมเป็นจำนวนมากที่สุดเป็นผู้มีอำนาจและตกอยู่ในหน้าที่ต้องจัดการทำศพ เว้นแต่ศาลจะเห็นเป็นการสมควรตั้งบุคคลอื่นให้จัดการเช่นนั้น ในเมื่อผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งร้องขอ
พระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สินเป็นมรดก ไม่ได้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือบุคคลอื่นให้จัดการทำศพโดยเฉพาะ ไม่ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่ผู้ใด และไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจแก่วัดที่พระภิกษุจำพรรษาอยู่ขณะมรณภาพมีอำนาจและหน้าที่จัดการศพไว้ ดังนั้น อำนาจและหน้าที่ดังกล่าวจึงตกได้แก่โจทก์ผู้เป็นทายาทโดยธรรมของพระภิกษุผู้มรณภาพ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3020/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการศพ: การพิสูจน์สถานะทายาทและผู้มีสิทธิจัดการศพตามกฎหมาย
ผู้มีอำนาจและหน้าที่จัดการศพคือผู้ที่ระบุไว้ใน มาตรา 1649โจทก์ระบุในฟ้องไม่พอแสดงว่าโจทก์ได้รับมรดกผู้ตายมากที่สุด แม้จำเลยทำศพโดยไม่มีอำนาจก็ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
of 6