พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องค่าอุปการะและค่าปลงศพกรณีบุตรนอกสมรส & การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมของมารดาผู้ตาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1535 บุตรชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นที่มีหน้าที่จำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาผู้ตายไม่ใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะ
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นนั้น เฉพาะแต่บุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1649 เท่านั้นที่มีหน้าที่จัดการศพ โจทก์ไม่ใช่ทายาทของผู้ตาย เพราะไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการปลงศพเช่นเดียวกัน (อ้างฎีกาที่477/2514)
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แต่มารดาผู้ตายร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ถึงแม้จะบรรยายมาในคำร้องว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย มีความประสงค์ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมโดยถือเอาคำฟ้องและหลักฐานต่าง ๆ ของโจทก์เป็นของผู้ร้องก็ตาม เมื่อฟังว่าผู้ร้องเป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ซึ่งย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดทำให้บุตรของตนตายได้โดยตรงอยู่แล้ว ดังนี้ คำร้องของผู้ร้องจึงแปลได้ว่าเป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(1) นั่นเองโดยอาศัยคำฟ้องของโจทก์เป็นของผู้ร้องหาใช่เป็นการร้องสอดเข้ามาตามมาตรา 57(2) ไม่ ดังนั้น แม้ฟ้องเดิมโจทก์จะไม่มีอำนาจฟ้อง ผู้ร้องก็เข้ามาในคดีได้ (ข้อนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2521)
จำเลยถือสิทธิครอบครองใช้แพที่เกิดเหตุซึ่งเดิมใช้สำหรับผู้โดยสารเรือเล็กที่รับส่งข้ามฟาก หรือไปมาในระยะใกล้เป็นครั้งคราวมาใช้สำหรับรับส่งคนโดยสาร-เรือด่วนของจำเลยเป็นประจำ วันเกิดเหตุผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้น แพโป๊ะทานน้ำหนักไม่ได้เกิดแตกล่มจำเลยมีส่วนจะต้องรับผิดในความประมาทเลินเล่อที่มิได้ระมัดระวังป้องกัน ตรวจสภาพปรับปรุงซ่อมแซมท่าเทียบเรือให้แข็งแรงคงทนเหมาะสมกับกิจการของจำเลย จำเลยจึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดได้
การที่บุตรตายลง ย่อมทำให้ผู้เป็นมารดาต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตายตามกฎหมาย ทั้งนี้โดยไม่ต้องพิจารณาถึงว่าผู้ตายจะได้อุปการะเลี้ยงดูมารดาหรือไม่
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอื่น จะต้องพิจารณาตามสมควรตามความจำเป็นและตามฐานะของผู้ตาย และบิดามารดา ทั้งต้องพิจารณาถึงประเพณีการทำศพตามลัทธินิยมประกอบด้วยและต้องไม่ใช่รายการที่ฟุ่มเฟือยเกินไป
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นนั้น เฉพาะแต่บุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1649 เท่านั้นที่มีหน้าที่จัดการศพ โจทก์ไม่ใช่ทายาทของผู้ตาย เพราะไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการปลงศพเช่นเดียวกัน (อ้างฎีกาที่477/2514)
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แต่มารดาผู้ตายร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ถึงแม้จะบรรยายมาในคำร้องว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย มีความประสงค์ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมโดยถือเอาคำฟ้องและหลักฐานต่าง ๆ ของโจทก์เป็นของผู้ร้องก็ตาม เมื่อฟังว่าผู้ร้องเป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ซึ่งย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดทำให้บุตรของตนตายได้โดยตรงอยู่แล้ว ดังนี้ คำร้องของผู้ร้องจึงแปลได้ว่าเป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(1) นั่นเองโดยอาศัยคำฟ้องของโจทก์เป็นของผู้ร้องหาใช่เป็นการร้องสอดเข้ามาตามมาตรา 57(2) ไม่ ดังนั้น แม้ฟ้องเดิมโจทก์จะไม่มีอำนาจฟ้อง ผู้ร้องก็เข้ามาในคดีได้ (ข้อนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2521)
จำเลยถือสิทธิครอบครองใช้แพที่เกิดเหตุซึ่งเดิมใช้สำหรับผู้โดยสารเรือเล็กที่รับส่งข้ามฟาก หรือไปมาในระยะใกล้เป็นครั้งคราวมาใช้สำหรับรับส่งคนโดยสาร-เรือด่วนของจำเลยเป็นประจำ วันเกิดเหตุผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้น แพโป๊ะทานน้ำหนักไม่ได้เกิดแตกล่มจำเลยมีส่วนจะต้องรับผิดในความประมาทเลินเล่อที่มิได้ระมัดระวังป้องกัน ตรวจสภาพปรับปรุงซ่อมแซมท่าเทียบเรือให้แข็งแรงคงทนเหมาะสมกับกิจการของจำเลย จำเลยจึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดได้
การที่บุตรตายลง ย่อมทำให้ผู้เป็นมารดาต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตายตามกฎหมาย ทั้งนี้โดยไม่ต้องพิจารณาถึงว่าผู้ตายจะได้อุปการะเลี้ยงดูมารดาหรือไม่
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอื่น จะต้องพิจารณาตามสมควรตามความจำเป็นและตามฐานะของผู้ตาย และบิดามารดา ทั้งต้องพิจารณาถึงประเพณีการทำศพตามลัทธินิยมประกอบด้วยและต้องไม่ใช่รายการที่ฟุ่มเฟือยเกินไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 76/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจัดการศพ: ทายาทโดยธรรมมีอำนาจจัดการศพได้เอง ไม่ต้องร้องต่อศาลหากไม่มีข้อพิพาท
กรณีร้องขอเป็นผู้จัดการทำศพของผู้ตายมาตรา 1649 นั้น ต้องปรากฏว่าผู้ตายไม่ได้ตั้งผู้จัดการมรดก หรือตั้งบุคคลใดไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ ทั้งทายาทก็ตกลงกันไม่ได้ที่จะมอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพ อำนาจและหน้าที่นี้จึงตกได้แก่ผู้ที่ได้รับทรัพย์มรดกเป็นจำนวนมากที่สุด และกรณีถ้าผู้มีส่วนได้เสียเห็นว่า ผู้ได้รับมรดกเป็นจำนวนมากที่สุดนั้นไม่สมควรเป็นผู้จัดการทำศพผู้ตายจึงอาจร้องขอต่อศาลได้ แต่เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องเป็นภริยาและบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เป็นทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายมีอำนาจจัดการทำศพหรือมอบหมายให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพผู้ตายได้อยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล ทั้งปรากฏว่าก่อนที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอได้ไปขอรับศพผู้ตาย แต่ ส.ซึ่งรับศพจากเจ้าหน้าที่ตำรวจไปก่อน ไม่ยอมมอบให้โดยอ้างว่าเป็นภรรยาผู้ตาย จึงมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างผู้ร้องกับ ส. ผู้ร้องชอบทีจะดำเนินคดีกับ ส. อย่างคดีมีข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ที่ร้องเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 76/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการศพ: ทายาทโดยธรรมมีสิทธิจัดการศพได้เอง ไม่ต้องร้องขอต่อศาล
กรณีร้องขอเป็นผู้จัดการทำศพของผู้ตายตามมาตรา 1649นั้น ต้องปรากฏว่าผู้ตายไม่ได้ตั้งผู้จัดการมรดก หรือตั้งบุคคลใดไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ ทั้งทายาทก็ตกลงกันไม่ได้ที่จะมอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพอำนาจและหน้าที่นี้จึงตกได้แก่ผู้ที่ได้รับทรัพย์มรดกเป็นจำนวนมากที่สุด และกรณีนี้ถ้าผู้มีส่วนได้เสียเห็นว่า ผู้ได้รับมรดกเป็นจำนวนมากที่สุดนั้นไม่สมควรเป็นผู้จัดการทำศพผู้ตายจึงอาจร้องขอต่อศาลได้ แต่เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องเป็นภริยาและบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เป็นทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายมีอำนาจจัดการทำศพหรือมอบหมายให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพผู้ตายได้อยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล ทั้งปรากฏว่าก่อนที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอได้ไปขอรับศพผู้ตาย แต่ส.ซึ่งรับศพจากเจ้าหน้าที่ตำรวจไปก่อน ไม่ยอมมอบให้โดยอ้างว่าเป็นภรรยาผู้ตาย จึงมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างผู้ร้องกับ ส. ผู้ร้องชอบที่จะดำเนินคดีกับ ส. อย่างคดีมีข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา55 ที่ร้องเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกค่าทำศพ: ต้องมีฐานะเป็นผู้จัดการทำศพ หรือได้รับมอบหมายจากผู้ตาย/ศาล
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าโจทก์เป็นญาติของนางเหมียนไชยพิทักษ์ผู้ตาย โจทก์ได้จัดการศพของผู้ตายตามฐานานุรูปของผู้ตายสิ้นเงินไป 22,899 บาท ต่อมาจำเลยทั้งสองเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตายได้ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายต่อศาลจังหวัดภูเก็ตศาลมีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดก ตามฟ้องของโจทก์แสดงว่าผู้ตายมิได้ตั้งโจทก์ให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และไม่ได้ความว่าผู้ตายหรือศาลตั้งโจทก์หรือทายาทได้มอบหมายตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการทำศพตามความในมาตรา 1649 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าทำศพที่โจทก์อ้างว่าได้ใช้จ่ายไปในการจัดการทำศพของผู้ตาย
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกค่าทำศพ: ต้องมีฐานะเป็นผู้จัดการทำศพที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าโจทก์เป็นญาติของนางเหมียน ไชยพิทักษ์ผู้ตาย โจทก์ได้จัดการศพของผู้ตายตามฐานานุรูปของผู้ตายสิ้นเงินไป 22,899 บาท ต่อมาจำเลยทั้งอสงเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตายได้ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายต่อศาลจังหวัภูเก็ต ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดก ตามฟ้องของโจทก์แสดงว่าผู้ตายมิได้ตั้งโจทก์ให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และไม่ได้ความว่าผู้ตายหรือศาลตั้งโจทก์หรือทายาทได้มอบหมายตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการทำศพตามความในมาตรา 1649 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าทำศพที่โจทก์อ้างว่าได้ใช้จ่ายไปในการจัดการทำศพของผู้ตาย
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทำศพจากผู้ทำละเมิดแก่บิดาผู้รับรองบุตรนอกสมรส
ชายหญิงมิได้จดทะเบียนสมรสตามบรรพ 5 บุตรที่บิดารับรองแล้วตาม มาตรา 1627 ซึ่งปรากฏจากข้อเท็จจริงต่างๆ เรียกค่าทำศพจากผู้ทำละเมิดให้บิดาตายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การเป็นทายาทโดยชอบด้วยกฎหมาย, ค่าปลงศพ, ละเมิด, ความรับผิดนายจ้าง
กรณีละเมิดที่เป็นเหตุให้เศร้าโศกเสียใจและผิดหวังประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้บัญญัติไว้ให้เรียกค่าสินไหมทดแทนได้ แม้จะเป็นบิดาตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม(อ้างฎีกาที่ 789/2512)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1535 บุตรนั้นหมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ซึ่งมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
เมื่อปรากฏว่าโจทก์และโจทก์ร่วมจดทะเบียนสมรสเมื่อวันที่12 พฤศจิกายน 2508 การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายจึงมีผลตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2508 หาใช่มีผลตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2507 ซึ่งเป็นวันฟ้องคดีไม่ ฉะนั้น ในขณะฟ้องผู้ตายจึงยังเป็นบุตรนอกสมรสของโจทก์อยู่ โจทก์ซึ่งเป็นบิดาจึงไม่มีสิทธิฟ้องบุคคลที่กระทำละเมิดต่อบุตรนอกสมรสของตน(อ้างฎีกาที่ 1285/2508)
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเป็นทายาทผู้รับมรดกจากเด็กชาย ธ. ผู้ตายแต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์มิใช่บิดาโดยชอยด้วยกฎหมายของผู้ตายแล้วอำนาจฟ้องของโจทก์ก็ไม่มีคำร้องของ ค. มารดาของเด็กชาย ธ. ที่ขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม จึงเป็นอันตกไป (ปัญหาข้อนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2514)
ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าปลงศพตามมาตรา 443 วรรค 1หมายความเฉพาะผู้ที่เป็นทายาทของผู้ตายที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้ที่กระทำละเมิด ทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเพราะสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนโดยเหตุที่ได้ละเมิดแก่เจ้ามรดกตกทอดมายังตนผู้เป็นทายาทภายใต้บังคับของมาตรา 1649 เท่านั้นมิได้หมายความว่าใครทำศพผู้ตายแล้วก็จะมีสิทธิเรียกร้องค่าทำศพในลักษณะที่เป็นค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดเสียเองได้เสมอไปเมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทผู้ตายเพราะไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการปลงศพเป็นค่าสินไหมทดแทนแก่ตนในการที่จำเลยกระทำละเมิดต่อผู้ตาย (อ้างฎีกาที่ 1314/2505)
โจทก์ร่วมแม้จะเป็นมารดาของผู้ตาย แต่เมื่อฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์มาแต่ต้นสิทธิโจทก์ร่วมก็ไม่ดีกว่าโจทก์ โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่อาจเรียกค่าใช้จ่ายในการทำศพผู้ตายได้
สำหรับจำเลยที่ 1 ลูกจ้าง ซึ่งแม้มิได้ฎีกาก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ว่าเป็นนายจ้างซึ่งต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ฉะนั้น อาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) และมาตรา 247 ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยตลอดถึงจำเลยที่ 1 ด้วย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1535 บุตรนั้นหมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ซึ่งมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
เมื่อปรากฏว่าโจทก์และโจทก์ร่วมจดทะเบียนสมรสเมื่อวันที่12 พฤศจิกายน 2508 การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายจึงมีผลตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2508 หาใช่มีผลตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2507 ซึ่งเป็นวันฟ้องคดีไม่ ฉะนั้น ในขณะฟ้องผู้ตายจึงยังเป็นบุตรนอกสมรสของโจทก์อยู่ โจทก์ซึ่งเป็นบิดาจึงไม่มีสิทธิฟ้องบุคคลที่กระทำละเมิดต่อบุตรนอกสมรสของตน(อ้างฎีกาที่ 1285/2508)
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเป็นทายาทผู้รับมรดกจากเด็กชาย ธ. ผู้ตายแต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์มิใช่บิดาโดยชอยด้วยกฎหมายของผู้ตายแล้วอำนาจฟ้องของโจทก์ก็ไม่มีคำร้องของ ค. มารดาของเด็กชาย ธ. ที่ขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม จึงเป็นอันตกไป (ปัญหาข้อนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2514)
ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าปลงศพตามมาตรา 443 วรรค 1หมายความเฉพาะผู้ที่เป็นทายาทของผู้ตายที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้ที่กระทำละเมิด ทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเพราะสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนโดยเหตุที่ได้ละเมิดแก่เจ้ามรดกตกทอดมายังตนผู้เป็นทายาทภายใต้บังคับของมาตรา 1649 เท่านั้นมิได้หมายความว่าใครทำศพผู้ตายแล้วก็จะมีสิทธิเรียกร้องค่าทำศพในลักษณะที่เป็นค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดเสียเองได้เสมอไปเมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทผู้ตายเพราะไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการปลงศพเป็นค่าสินไหมทดแทนแก่ตนในการที่จำเลยกระทำละเมิดต่อผู้ตาย (อ้างฎีกาที่ 1314/2505)
โจทก์ร่วมแม้จะเป็นมารดาของผู้ตาย แต่เมื่อฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์มาแต่ต้นสิทธิโจทก์ร่วมก็ไม่ดีกว่าโจทก์ โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่อาจเรียกค่าใช้จ่ายในการทำศพผู้ตายได้
สำหรับจำเลยที่ 1 ลูกจ้าง ซึ่งแม้มิได้ฎีกาก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ว่าเป็นนายจ้างซึ่งต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ฉะนั้น อาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) และมาตรา 247 ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยตลอดถึงจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากละเมิดและการเป็นทายาทโดยชอบด้วยกฎหมาย การฟ้องคดีไม่สมบูรณ์มีผลต่อสิทธิของโจทก์ร่วม
กรณีละเมิดที่เป็นเหตุให้เศร้าโศกเสียใจและผิดหวังประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้บัญญัติไว้ให้เรียกค่าสินไหมทดแทนได้ แม้จะเป็นบิดาตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม (อ้างฎีกาที่ 789/2512)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1535 บุตรนั้นหมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ซึ่งมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
เมื่อปรากฏว่าโจทก์และโจทก์ร่วมจดทะเบียนสมรสเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2508 การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายจึงมีผลตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2508 หาใช่มีผลตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2507 ซึ่งเป็นวันฟ้องคดีไม่ ฉะนั้น ในขณะฟ้องผู้ตายจึงยังเป็นบุตรนอกสมรสของโจทก์อยู่ โจทก์ซึ่งเป็นบิดาจึงไม่มีสิทธิฟ้องบุคคลที่กระทำละเมิดต่อบุตรนอกสมรสของตน (อ้างฎีกาที่ 1285/2508)
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเป็นทายาทผู้รับมรดกจากเด็กชาย ธ. ผู้ตายแต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายแล้วอำนาจฟ้องของโจทก์ก็ไม่มีคำร้องของ ค. มารดาของเด็กชาย ธ. ที่ขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม จึงเป็นอันตกไป (ปัญหาข้อนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2514)
ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าปลงศพตามมาตรา 443 วรรค 1หมายความเฉพาะผู้ที่เป็นทายาทของผู้ตายที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้ที่กระทำละเมิด ทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเพราะสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนโดยเหตุที่ได้ละเมิดแก่เจ้ามรดกตกทอดมายังตนผู้เป็นทายาทภายใต้บังคับของมาตรา 1649 เท่านั้น มิได้หมายความว่าใครทำศพผู้ตายแล้วก็จะมีสิทธิเรียกร้องค่าทำศพในลักษณะที่เป็นค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดเสียเองได้เสมอไป เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทผู้ตายเพราะไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการปลงศพเป็นค่าสินไหมทดแทนแก่ตนในการที่จำเลยกระทำละเมิดต่อผู้ตาย (อ้างฎีกาที่ 1314/2505)
โจทก์ร่วมแม้จะเป็นมารดาของผู้ตาย แต่เมื่อฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์มาแต่ต้นสิทธิโจทก์ร่วมก็ไม่ดีกว่าโจทก์ โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่อาจเรียกค่าใช้จ่ายในการทำศพผู้ตายได้
สำหรับจำเลยที่ 1 ลูกจ้าง ซึ่งแม้มิได้ฎีกาก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ว่าเป็นนายจ้างซึ่งต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ฉะนั้น อาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) และมาตรา 247 ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยตลอดถึงจำเลยที่ 1 ด้วย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1535 บุตรนั้นหมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ซึ่งมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
เมื่อปรากฏว่าโจทก์และโจทก์ร่วมจดทะเบียนสมรสเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2508 การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายจึงมีผลตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2508 หาใช่มีผลตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2507 ซึ่งเป็นวันฟ้องคดีไม่ ฉะนั้น ในขณะฟ้องผู้ตายจึงยังเป็นบุตรนอกสมรสของโจทก์อยู่ โจทก์ซึ่งเป็นบิดาจึงไม่มีสิทธิฟ้องบุคคลที่กระทำละเมิดต่อบุตรนอกสมรสของตน (อ้างฎีกาที่ 1285/2508)
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเป็นทายาทผู้รับมรดกจากเด็กชาย ธ. ผู้ตายแต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายแล้วอำนาจฟ้องของโจทก์ก็ไม่มีคำร้องของ ค. มารดาของเด็กชาย ธ. ที่ขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม จึงเป็นอันตกไป (ปัญหาข้อนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2514)
ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าปลงศพตามมาตรา 443 วรรค 1หมายความเฉพาะผู้ที่เป็นทายาทของผู้ตายที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้ที่กระทำละเมิด ทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเพราะสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนโดยเหตุที่ได้ละเมิดแก่เจ้ามรดกตกทอดมายังตนผู้เป็นทายาทภายใต้บังคับของมาตรา 1649 เท่านั้น มิได้หมายความว่าใครทำศพผู้ตายแล้วก็จะมีสิทธิเรียกร้องค่าทำศพในลักษณะที่เป็นค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดเสียเองได้เสมอไป เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทผู้ตายเพราะไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการปลงศพเป็นค่าสินไหมทดแทนแก่ตนในการที่จำเลยกระทำละเมิดต่อผู้ตาย (อ้างฎีกาที่ 1314/2505)
โจทก์ร่วมแม้จะเป็นมารดาของผู้ตาย แต่เมื่อฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์มาแต่ต้นสิทธิโจทก์ร่วมก็ไม่ดีกว่าโจทก์ โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่อาจเรียกค่าใช้จ่ายในการทำศพผู้ตายได้
สำหรับจำเลยที่ 1 ลูกจ้าง ซึ่งแม้มิได้ฎีกาก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ว่าเป็นนายจ้างซึ่งต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ฉะนั้น อาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) และมาตรา 247 ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยตลอดถึงจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: สถานะทางกฎหมายของโจทก์ (ภริยาและบุตร) และอายุความฎีกา
ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์วันที่ 20 พฤษภาคม 2511 การนับอายุความฎีกาจึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2511 กำหนดหนึ่งเดือนจึงสิ้นสุดในวันที่ 20 มิถุนายน 2511 ซึ่งเป็นวันก่อนหน้าจะถึงวัดแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น แต่ในวันดังกล่าวนี้เป็นวันหยุดราชการ จึงต้องนับถึงวันที่ 21 มิถุนายน 2511 ซึงเป็นวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าในอายุความฎีกาด้วย
ปัญหาที่ว่า โจทก์ที่ 1 มิใช่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย และโจทก์ที่ 2 มิใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ที่ 2 มิใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์เป็นเพียงบุตรนอกสมรสของผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 ซึ่งผู้ตายได้แจ้งทะเบียนคนเกิดว่าเป็นบุตรของตน และอุปการะเลี้ยงดูโดยเปิดเผยตลอดมาเท่านั้น การที่ผู้ตายแจ้งทะเบียนคนเกิดว่าโจทก์ที่ 2 เป็นบุตรของตนก็ดี หรือได้ทำการอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ที่ 2 ฉันบุตรตลอดมาก็ดี ก็หาทำให้โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายขึ้นมาไม่ เพราะบุตรนอกสมรสจะกลายเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายได้ ก็ต้องเป็นไปตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1526 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ที่ 2 คงมีฐานะเป็นเพียงบุตรที่ผู้ตายรับรองแล้วตามมาตรา 1627 และมีเพียงสิทธิที่จะได้รับมรดกในฐานะเป็นผู้สืบสันดานของผู้ตายตามมาตรา 1629 (1) จึงไม่มีสิทธิได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากผู้ที่ทำให้บิดาตนถึงแก่ความตายได้ (อ้างฎีกาที่ 1259/2506)
เมื่อโจทก์ที่ 1 มิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ก็มิใช่ผู้เสียหายที่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทำศพผู้ตายจากจำเลยได้
ปัญหาที่ว่า โจทก์ที่ 1 มิใช่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย และโจทก์ที่ 2 มิใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ที่ 2 มิใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์เป็นเพียงบุตรนอกสมรสของผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 ซึ่งผู้ตายได้แจ้งทะเบียนคนเกิดว่าเป็นบุตรของตน และอุปการะเลี้ยงดูโดยเปิดเผยตลอดมาเท่านั้น การที่ผู้ตายแจ้งทะเบียนคนเกิดว่าโจทก์ที่ 2 เป็นบุตรของตนก็ดี หรือได้ทำการอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ที่ 2 ฉันบุตรตลอดมาก็ดี ก็หาทำให้โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายขึ้นมาไม่ เพราะบุตรนอกสมรสจะกลายเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายได้ ก็ต้องเป็นไปตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1526 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ที่ 2 คงมีฐานะเป็นเพียงบุตรที่ผู้ตายรับรองแล้วตามมาตรา 1627 และมีเพียงสิทธิที่จะได้รับมรดกในฐานะเป็นผู้สืบสันดานของผู้ตายตามมาตรา 1629 (1) จึงไม่มีสิทธิได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากผู้ที่ทำให้บิดาตนถึงแก่ความตายได้ (อ้างฎีกาที่ 1259/2506)
เมื่อโจทก์ที่ 1 มิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ก็มิใช่ผู้เสียหายที่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทำศพผู้ตายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1730/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าทำศพของผู้ไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดก: การฟ้องต้องขอตั้งเป็นผู้จัดการศพก่อน
ฟ้องว่าเป็นภรรยาผู้ตาย ขอให้ผู้รับมรดกตามพินัยกรรมจ่ายค่าทำศพโดยไม่ได้ขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกหรือผู้จัดการศพมาด้วย ศาลจะพิพากษาตั้งให้เป็นผู้จัดการศพไม่ได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
เมื่อศาลยังไม่ได้พิพากษาตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการศพโจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทำศพจากจำเลยผู้รับมรดก
เมื่อศาลยังไม่ได้พิพากษาตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการศพโจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทำศพจากจำเลยผู้รับมรดก