พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายบ้านรื้อถอนกับสิทธิเหนือพื้นดิน: สัญญาประนีประนอมยอมความสร้างสิทธิใช้สอยได้
การซื้อขายบ้าน โดยตกลงรื้อบ้านไป เป็นการซื้อขายอย่างสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 ไม่เป็นโมฆะ การให้อาศัยอยู่ในที่ดินบริเวณที่ปลูกบ้าน เป็นการก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดินซึ่งเป็นทรัพย์สิทธิ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1410แม้จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคแรก ไม่สมบูรณ์ในฐานะทรัพย์สิทธิที่จะใช้ยันบุคคลภายนอกได้ทั่วไปแต่ก็เป็นบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนบ้านสังหาริมทรัพย์และการก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดิน โดยไม่ต้องจดทะเบียน
จำเลยซื้อบ้านจากการขายทอดตลาดอย่างสังหาริมทรัพย์ซึ่งจะต้องรื้อถอนออกไป การซื้อขายในลักษณะเช่นนี้ไม่ต้องทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 และจำเลยย่อมโอนต่อให้ผู้ร้องสอดอย่างการโอนสังหาริมทรัพย์ได้เช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยยกบ้านหลังพิพาทให้ผู้ร้องสอดโดยเสน่หา จึงไม่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่โดยจะต้องรื้อถอนบ้านพิพาทออกไป
สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ยอมให้ผู้ร้องสอดอาศัยในที่ดินบริเวณที่ปลูกบ้านพิพาทได้ตลอดชีวิตของผู้ร้องสอดโดยไม่ต้องเสียค่าเช่าที่ดินมีลักษณะเป็นการก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดิน ซึ่งเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1410 แม้จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 1299 วรรคแรก ก็มีผลผูกพันระหว่างคู่สัญญา
การโอนบ้านอย่างสังหาริมทรัพย์ระหว่างจำเลยและผู้ร้องสอดเป็นคนละกรณีกันเรื่องผู้ร้องสอดมีสิทธิเหนือพื้นดินต่อโจทก์ไม่ทำให้การโอนบ้านพิพาทระหว่างจำเลยกับผู้ร้องสอดกลายเป็นการโอนอสังหาริมทรัพย์ ผู้ร้องสอดไม่ต้องรื้อบ้านพิพาทออกไปจากที่ดินโจทก์
สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ยอมให้ผู้ร้องสอดอาศัยในที่ดินบริเวณที่ปลูกบ้านพิพาทได้ตลอดชีวิตของผู้ร้องสอดโดยไม่ต้องเสียค่าเช่าที่ดินมีลักษณะเป็นการก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดิน ซึ่งเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1410 แม้จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 1299 วรรคแรก ก็มีผลผูกพันระหว่างคู่สัญญา
การโอนบ้านอย่างสังหาริมทรัพย์ระหว่างจำเลยและผู้ร้องสอดเป็นคนละกรณีกันเรื่องผู้ร้องสอดมีสิทธิเหนือพื้นดินต่อโจทก์ไม่ทำให้การโอนบ้านพิพาทระหว่างจำเลยกับผู้ร้องสอดกลายเป็นการโอนอสังหาริมทรัพย์ ผู้ร้องสอดไม่ต้องรื้อบ้านพิพาทออกไปจากที่ดินโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 693/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การโอนสิทธิที่ดินโดยผู้ไม่มีสิทธิทำให้ผู้รับโอนไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท และได้ให้ ต.เช่าต.ให้อ. อาศัยอยู่ในที่ดินพิพาท ดังนั้น การที่ อ.ขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ โจทก์ก็ไม่ได้ สิทธิครอบครอง เพราะ อ.ไม่มีสิทธิครอบครองที่จะโอนให้แก่โจทก์ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องทำตามกฎหมาย หากไม่จดทะเบียนสิทธิ โอนกรรมสิทธิ์ไม่ได้ แม้ครอบครองทำประโยชน์แล้ว
การได้ที่พิพาทมาโดยนิติกรรม เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรก กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทจึงยังไม่โอนมา
แม้ผู้ร้องจะได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทมาเป็นเวลา 5 ปีเศษแล้ว แต่ก็ได้ปล่อยปละละเลยมิได้ดำเนินการเพื่อให้มีการจดทะเบียนการได้มา แสดงว่าผู้ร้องไม่ประสงค์จะให้มีการจดทะเบียนการได้มาซึ่งที่พิพาทนั้น ผู้ร้องจึงมิใช่ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300
แม้ผู้ร้องจะได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทมาเป็นเวลา 5 ปีเศษแล้ว แต่ก็ได้ปล่อยปละละเลยมิได้ดำเนินการเพื่อให้มีการจดทะเบียนการได้มา แสดงว่าผู้ร้องไม่ประสงค์จะให้มีการจดทะเบียนการได้มาซึ่งที่พิพาทนั้น ผู้ร้องจึงมิใช่ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินที่ผิดแปลงและการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยไม่สุจริต
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 เป็นเพียงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้มีชื่อในทะเบียนที่ดินเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง หากข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้อื่นครอบครองข้อสันนิษฐานเช่นว่านี้ก็เป็นอันพับไป
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรก เป็นบทบัญญัติว่าการได้มาโดยวิธีใดจึงจะสมบูรณ์ตามกฎหมาย หาใช่เป็นบทบัญญัติว่า แม้จะได้มาโดยไม่สุจริต ก็ให้มีสิทธิด้วยไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรก เป็นบทบัญญัติว่าการได้มาโดยวิธีใดจึงจะสมบูรณ์ตามกฎหมาย หาใช่เป็นบทบัญญัติว่า แม้จะได้มาโดยไม่สุจริต ก็ให้มีสิทธิด้วยไม่