พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5163/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงภาระจำยอมทางเข้าออกแม้ไม่มีการจดทะเบียน แต่มีเจตนาและพฤติการณ์สนับสนุน ย่อมมีผลผูกพัน
ผ. และ ม. เป็นเจ้าของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 1625 ได้ยกทางพิพาทให้ทายาทซึ่งเป็นบุตรทั้งแปดคนใช้เข้าออกสู่ทางสาธารณะตั้งแต่ก่อนปี 2534 กับทั้งแบ่งที่ดินให้ทายาทครอบครองและสร้างบ้านพักอาศัย เมื่อ ผ. และ ม. ถึงแก่ความตาย ทายาทก็ได้รับโอนมรดกที่ดินมาครอบครองเป็นของตน โดยยังคงใช้ทางพิพาทในการเข้าออกที่ดินตลอดมา ต่อมาทายาทแบ่งแยกที่ดินออกเป็นโฉนดรวม 9 แปลง โดยมีการรังวัดทางพิพาทซึ่งเป็นทางเข้าออกเดิมไว้ชัดเจน ทายาททั้งแปดซึ่งรวมถึงโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 4 ก็ลงลายมือชื่อในบันทึกถ้อยคำกรณีประสงค์ขอรังวัดแบ่งแยกในนามเดิม หลังจากนั้นทายาทตกลงแบ่งแยกโฉนดจากเดิมที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันออกเป็นกรรมสิทธิ์ของแต่ละคน โดยทางพิพาทอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 38416 ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ที่ดินมาก็ได้โอนให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วจำเลยที่ 2 ขอรังวัดสอบเขต และขอแบ่งทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ ซึ่งทายาทเจ้าของที่ดินข้างเคียงก็ไม่ได้ปฏิเสธไม่รับรู้ว่าไม่มีทางพิพาท มีเพียงจำเลยที่ 4 ที่โต้แย้งเฉพาะเรื่องแนวเขตทางพิพาทเท่านั้น ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องขอให้รอการรังวัดแบ่งหักที่ดินเป็นทางสาธารณประโยชน์ไว้ก่อน การที่เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมใช้ทางพิพาทในที่ดินของตน จึงไม่ได้เป็นการใช้ในลักษณะทางภาระจำยอม การใช้ทางพิพาทของทายาทอื่นในลักษณะภาระจำยอมโดยอายุความจึงเริ่มนับแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2561 ที่มีการแบ่งแยกที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งมีระยะเวลาเพียง 2 ปีเศษ นับถึงวันฟ้อง ทางพิพาทจึงไม่ได้ตกเป็นภาระจำยอมโดยอายุความ
อย่างไรก็ตาม เมื่อทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะเพื่อประโยชน์สำหรับทายาทที่ครอบครองที่ดินที่ ผ. และ ม. ยกไว้ให้ก่อนที่ทายาทจะได้รับโอนมรดกมาเป็นของตน จนกระทั่งมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินออกเป็น 9 แปลง ก็ได้มีการแบ่งแนวเขตทางพิพาทไว้ชัดเจน การที่ทายาทตกลงแบ่งแยกโฉนดที่ดินระหว่างกันโดยมีการระบุทางพิพาทมาตั้งแต่ต้นย่อมถือได้ว่าเป็นข้อตกลงก่อตั้งภาระจำยอมทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินอื่นตามที่มีการแบ่งแยกไว้ ทางพิพาทจึงเป็นภาระจำยอม จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินและทางพิพาทต่อมาจากจำเลยที่ 2 ซึ่งรับโอนมาจากจำเลยที่ 1 อีกทอดหนึ่ง จึงมีภาระที่จะต้องดำเนินการเกี่ยวกับทางพิพาทดังกล่าวให้เป็นไปตามข้อตกลงนั้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะเพื่อประโยชน์สำหรับทายาทที่ครอบครองที่ดินที่ ผ. และ ม. ยกไว้ให้ก่อนที่ทายาทจะได้รับโอนมรดกมาเป็นของตน จนกระทั่งมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินออกเป็น 9 แปลง ก็ได้มีการแบ่งแนวเขตทางพิพาทไว้ชัดเจน การที่ทายาทตกลงแบ่งแยกโฉนดที่ดินระหว่างกันโดยมีการระบุทางพิพาทมาตั้งแต่ต้นย่อมถือได้ว่าเป็นข้อตกลงก่อตั้งภาระจำยอมทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินอื่นตามที่มีการแบ่งแยกไว้ ทางพิพาทจึงเป็นภาระจำยอม จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินและทางพิพาทต่อมาจากจำเลยที่ 2 ซึ่งรับโอนมาจากจำเลยที่ 1 อีกทอดหนึ่ง จึงมีภาระที่จะต้องดำเนินการเกี่ยวกับทางพิพาทดังกล่าวให้เป็นไปตามข้อตกลงนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2623/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมทางเข้าออก – การได้มาตามข้อตกลง – สิ้นสุดลงจากการไม่ได้ใช้ประโยชน์เกิน 10 ปี – การพิพากษาเกินคำขอ
สิทธิที่จะใช้ที่ดินของ ล. เป็นทางเข้าออกอันเป็นการได้มาซึ่งภาระจำยอมตามข้อตกลงแม้จะไม่ได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่เป็นทรัพยสิทธิที่บริบูรณ์แต่ก็เป็นบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา และไม่ใช่สิทธิตามกฎหมายหรือสิทธิเฉพาะตัวโดยแท้ เมื่อจำเลยได้รับโอนที่ดินจาก ล. ก็มิได้ขัดขวางการใช้ทางพิพาทของ ป. และโจทก์ ถือว่าจำเลยตกลงยอมรับที่จะผูกพันปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่าง ล. กับ ป. โดยปริยาย โจทก์ซึ่งรับโอนที่ดินและสิทธิจาก ป. ย่อมอาศัยข้อตกลงฟ้องให้จำเลยซึ่งเป็นทายาทผู้สืบสิทธิและรับโอนที่ดินจาก ล. ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงได้ ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์
ล. สร้างบ้าน ทำคันปูนและปลูกต้นไม้รุกล้ำทางภาระจำยอม ต่อมาจำเลยรื้อต้นไม้และคันปูนออกแล้วต่อเติมเป็นห้องพักให้ ล. โจทก์จึงไม่สามารถใช้ที่ดินส่วนดังกล่าวเป็นทางเข้าออกได้ โจทก์ไม่ได้ใช้ที่ดินส่วนดังกล่าวถึงวันฟ้องเกิน 10 ปี ภาระจำยอมในที่ดินส่วนนั้นจึงสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1399
โจทก์ฟ้องโดยมีคำขอท้ายฟ้องให้พิพากษาว่า ที่ดินของจำเลยกว้าง 1.50 เมตร ยาวตลอดแนวด้านทิศตะวันออกเป็นทางภาระจำยอมสำหรับที่ดินโจทก์ แผนที่พิพาท ไม่ระบุตำแหน่ง ไม่ระบุความกว้างยาวและเนื้อที่ของทางภาระจำยอมไว้ ถือว่าโจทก์ประสงค์ได้ทางภาระจำยอมมีความกว้างตามคำขอท้ายฟ้องเท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่ดินด้านทิศตะวันออกของจำเลย กว้าง 1.74 เมตร เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ที่ดินของจำเลยบางส่วนที่เป็นภาระจำยอมสิ้นไปแล้วตกเป็นภาระจำยอมด้วย คำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนนี้จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 (เดิม)
ล. สร้างบ้าน ทำคันปูนและปลูกต้นไม้รุกล้ำทางภาระจำยอม ต่อมาจำเลยรื้อต้นไม้และคันปูนออกแล้วต่อเติมเป็นห้องพักให้ ล. โจทก์จึงไม่สามารถใช้ที่ดินส่วนดังกล่าวเป็นทางเข้าออกได้ โจทก์ไม่ได้ใช้ที่ดินส่วนดังกล่าวถึงวันฟ้องเกิน 10 ปี ภาระจำยอมในที่ดินส่วนนั้นจึงสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1399
โจทก์ฟ้องโดยมีคำขอท้ายฟ้องให้พิพากษาว่า ที่ดินของจำเลยกว้าง 1.50 เมตร ยาวตลอดแนวด้านทิศตะวันออกเป็นทางภาระจำยอมสำหรับที่ดินโจทก์ แผนที่พิพาท ไม่ระบุตำแหน่ง ไม่ระบุความกว้างยาวและเนื้อที่ของทางภาระจำยอมไว้ ถือว่าโจทก์ประสงค์ได้ทางภาระจำยอมมีความกว้างตามคำขอท้ายฟ้องเท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่ดินด้านทิศตะวันออกของจำเลย กว้าง 1.74 เมตร เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ที่ดินของจำเลยบางส่วนที่เป็นภาระจำยอมสิ้นไปแล้วตกเป็นภาระจำยอมด้วย คำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนนี้จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6208/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาภาระจำยอม แม้ยังไม่จดทะเบียนก็มีผลผูกพันบังคับได้ระหว่างคู่สัญญา
สัญญาที่โจทก์จำเลยตกลงกันให้โจทก์ได้สิทธิในทางภาระจำยอมใช้ถนนเข้าออกจากที่ดินของโจทก์ในพื้นที่ดินที่เป็นถนนทุกแปลงที่จำเลยมีกรรมสิทธิ์ แม้โดยสัญญานี้โจทก์จะไม่ได้มาซึ่งทรัพยสิทธิในทางภาระจำยอมโดยบริบูรณ์ เพราะไม่ได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคแรก แต่บทมาตรานี้ก็หาได้บัญญัติให้เป็นผลไปถึงว่านิติกรรมหรือสัญญานั้นเป็นโมฆะเสียเปล่าไปเลยไม่ ดังนี้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังคงมีผลก่อให้เกิดบุคคลสิทธิในอันที่จะเรียกร้องบังคับกันได้ในระหว่างคู่สัญญา จำเลยจึงไม่อาจโต้เถียงต่อโจทก์ว่าที่ดินของจำเลยไม่ตกอยู่ในภาระจำยอมของที่ดินโจทก์และการที่จำเลยตกลงจะจดทะเบียนภาระจำยอมตามข้อสัญญาดังกล่าวเมื่อจำเลยทำการแบ่งแยกจัดสรรที่ดินเสร็จ เมื่อจำเลยดำเนินการดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้วกระทำผิดข้อสัญญาไม่จดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมได้
ภาระจำยอมจะสิ้นไปก็ด้วยเหตุตาม ป.พ.พ. มาตรา 1397 กล่าวคือ ภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมด หรือไม่ได้ใช้ภาระจำยอมเป็นเวลา 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1399 ข้อที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ใช้ถนนของจำเลยโดยมิได้ระมัดระวังก็ดี โจทก์นำท่อไปวางเกะกะกีดขวางทางน้ำในลำเหมืองก็ดี โจทก์ทำโคลนตกเรี่ยราดพื้นถนนก็ดี การกระทำของโจทก์ดังกล่าวมิใช่เหตุที่จะทำให้ภาระจำยอมสิ้นไป
ภาระจำยอมจะสิ้นไปก็ด้วยเหตุตาม ป.พ.พ. มาตรา 1397 กล่าวคือ ภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมด หรือไม่ได้ใช้ภาระจำยอมเป็นเวลา 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1399 ข้อที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ใช้ถนนของจำเลยโดยมิได้ระมัดระวังก็ดี โจทก์นำท่อไปวางเกะกะกีดขวางทางน้ำในลำเหมืองก็ดี โจทก์ทำโคลนตกเรี่ยราดพื้นถนนก็ดี การกระทำของโจทก์ดังกล่าวมิใช่เหตุที่จะทำให้ภาระจำยอมสิ้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6653/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางในที่ดินที่ไม่จดทะเบียน vs. กรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อรายใหม่
โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกัน โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางออกสู่ทางหลวงได้ตลอดไปแต่ไม่มีการจดทะเบียนข้อตกลงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการที่โจทก์ได้มาโดยนิติกรรมซึ่งทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่บริบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา1299 วรรคแรก เมื่อจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ไม่ว่าจำเลยที่ 2 จะรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หรือไม่ก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามป.พ.พ. มาตรา 1336 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และขอให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างเหตุว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์ใช้ทางในที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 เพื่อเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ โดยโจทก์มิได้มีคำขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้ใช้ที่ดินพิพาทอย่างเป็นทางจำเป็น ทั้งในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาและเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสี่ทำละเมิดต่อโจทก์มิใช่เป็นเรื่องฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็น ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ขอให้เปิดทางจำเป็น ไม่จำต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคแรกจึงฟังไม่ขึ้น
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และขอให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างเหตุว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์ใช้ทางในที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 เพื่อเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ โดยโจทก์มิได้มีคำขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้ใช้ที่ดินพิพาทอย่างเป็นทางจำเป็น ทั้งในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาและเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสี่ทำละเมิดต่อโจทก์มิใช่เป็นเรื่องฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็น ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ขอให้เปิดทางจำเป็น ไม่จำต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคแรกจึงฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6653/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน – การซื้อขาย – ทางจำเป็น – ทรัพยสิทธิไม่บริบูรณ์ – ผลกระทบต่อผู้ซื้อ
โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกัน โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางออกสู่ทางหลวงได้ตลอดไปแต่ไม่มีการจดทะเบียนข้อตกลงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการที่โจทก์ได้มาโดยนิติกรรมซึ่งทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรก เมื่อจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ไม่ว่าจำเลยที่ 2 จะรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หรือไม่ก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และขอให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างเหตุว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์ใช้ทางในที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 เพื่อเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ โดยโจทก์มิได้มีคำขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้ใช้ที่ดินพิพาทอย่างเป็นทางจำเป็น ทั้งในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาและเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสี่ทำละเมิดต่อโจทก์ มิใช่เป็นเรื่องฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็น ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ขอให้เปิดทางจำเป็น ไม่จำต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคแรก จึงฟังไม่ขึ้น
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และขอให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างเหตุว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์ใช้ทางในที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 เพื่อเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ โดยโจทก์มิได้มีคำขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้ใช้ที่ดินพิพาทอย่างเป็นทางจำเป็น ทั้งในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาและเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสี่ทำละเมิดต่อโจทก์ มิใช่เป็นเรื่องฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็น ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ขอให้เปิดทางจำเป็น ไม่จำต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคแรก จึงฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินโดยไม่สุจริตของผู้จัดการมรดก และสิทธิในที่ดินร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ที่1จำเลยที่1และจ.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันมิได้บรรยายส่วนสัดไว้แต่ต้นว่าแต่ละคนมีส่วนถือกรรมสิทธิ์แตกต่างกันมาเช่นนี้มาตลอดนับแต่ซื้อมาจนกระทั่งมีการจดทะเบียนโอนขายให้จำเลยที่2นับรวมได้เป็นเวลา20ปีเศษแสดงว่าเจ้าของรวมแต่ละคนไม่ติดใจในส่วนสัดของที่ดินพิพาทที่ปรากฎทางทะเบียนโฉนดที่ดินแต่อย่างใดจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา1357แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่บัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากัน จำเลยที่1รู้ว่าโจทก์ที่1ซึ่งเป็นมารดายังมีชีวิตและมีที่อยู่แน่นอนมาแต่ต้นดังนั้นการที่จำเลยที่1ไปร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งว่าโจทก์ที่1เป็นคนสาบสูญและตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกตลอดจนไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์ที่1ให้แก่จำเลยที่2จึงเป็นการที่ทำไปโดยไม่สุจริตแม้จำเลยที่2จะรับซื้อไว้โดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตก็ตามก็หาทำให้จำเลยที่2ได้ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์ที่1ไม่เพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนจำเลยที่2ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมสัดส่วนเท่ากัน-การโอนสิทธิโดยไม่สุจริต-ผู้รับโอนไม่มีสิทธิเหนือผู้โอน
การจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ที่ 1 จำเลยที่ 1 และ จ.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน มิได้บรรยายส่วนสัดไว้แต่ต้นว่าแต่ละคนมีส่วนถือกรรมสิทธิ์แตกต่างกันเป็นเช่นนี้มาตลอดนับแต่ซื้อมาจนกระทั่งมีการจดทะเบียนโอนขายให้จำเลยที่ 2นับรวมได้เป็นเวลา 20 ปีเศษ แสดงว่าเจ้าของรวมแต่ละคนไม่ติดใจในส่วนสัดของที่ดินพิพาทที่ปรากฏทางทะเบียนโฉนดที่ดินแต่อย่างใด จึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 1357 แห่ง ป.พ.พ.ที่บัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากัน
จำเลยที่ 1 รู้ว่าโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นมารดายังมีชีวิตและมีที่อยู่แน่นอนมาแต่ต้น ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 ไปร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งว่าโจทก์ที่ 1เป็นคนสาบสูญและตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก ตลอดจนไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์ที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นการที่ทำไปโดยไม่สุจริต แม้จำเลยที่ 2 จะรับซื้อไว้โดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตก็ตามก็หาทำให้จำเลยที่ 2 ได้ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์ที่ 1 ไม่ เพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน จำเลยที่ 2 ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์
จำเลยที่ 1 รู้ว่าโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นมารดายังมีชีวิตและมีที่อยู่แน่นอนมาแต่ต้น ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 ไปร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งว่าโจทก์ที่ 1เป็นคนสาบสูญและตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก ตลอดจนไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์ที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นการที่ทำไปโดยไม่สุจริต แม้จำเลยที่ 2 จะรับซื้อไว้โดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตก็ตามก็หาทำให้จำเลยที่ 2 ได้ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์ที่ 1 ไม่ เพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน จำเลยที่ 2 ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเหนือพื้นดินจากข้อตกลงก่อนการซื้อขายที่ดิน: สิทธิมีผลเฉพาะคู่กรณีเดิม
ข้อตกลงและทางปฏิบัติระหว่าง บ. กับจำเลยก่อนที่ดินพิพาทจะเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ มีลักษณะที่ บ. ยอมให้จำเลยมีสิทธิเป็นเจ้าของฮวงซุ้ยซึ่งได้ก่อสร้างบนที่ดินพิพาทนั้นมาแต่เดิม เป็นการก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดิน เป็นคุณแก่จำเลยโดยทางนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1410 ข้อตกลงดังกล่าวมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ กรณีต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคแรก การได้มาซึ่งสิทธิเหนือพื้นดินอันเป็นทรัพย์สิทธิเกี่ยวกับที่ดินพิพาทไม่บริบูรณ์ คงใช้ได้ในฐานะบุคคลสิทธิระหว่างคู่กรณีคือ บ. กับจำเลยเท่านั้น ไม่ว่าโจทก์ผู้รับซื้อที่ดินพิพาทจาก บ. จะรู้ถึงข้อความระหว่าง บ.กับจำเลยมาก่อนหรือไม่ก็ตาม โจทก์ย่อมมีอำนาจในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ที่จะขัดขวางมิให้จำเลยหรือบุคคลอื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเหนือพื้นดินฮวงซุ้ยบนที่ดินพิพาท การซื้อขายที่ดิน และสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์รายใหม่
ข้อตกลงและทางปฏิบัติระหว่างจำเลย กับ บ. ผู้ซื้อที่ดินพิพาทของจำเลยจากการขายทอดตลาดโดยยอมให้จำเลยมีสิทธิเป็นเจ้าของฮวงซุ้ยซึ่งได้ก่อสร้างบนที่ดินพิพาทนั้นมาแต่เดิมเป็นการก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินเป็นคุณแก่จำเลยโดยทางนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1410 แต่เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่บริบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรกคงใช้ได้ในฐานะบุคคลสิทธิระหว่างคู่กรณีคือ บ. กับจำเลยเท่านั้นและไม่ว่าโจทก์ผู้รับซื้อที่ดินพิพาทมาจาก บ. จะรู้ถึงข้อความระหว่าง บ. กับจำเลยมาก่อนหรือไม่หรือซื้อที่ดินพิพาทมาด้วยราคาต่ำก็ตาม ก็ย่อมมีอำนาจในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ที่จะขัดขวางมิให้จำเลยหรือบุคคลอื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งทรัพย์สินก่อนและหลังการบวชเป็นพระภิกษุ ผลต่อการเป็นสมบัติของวัด
การที่ ช. เช่าซื้อที่พิพาท และชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนก่อนบวชเป็นพระภิกษุแต่ผู้ให้เช่าซื้อโอนที่พิพาทให้ขณะ ช.บวชเป็นพระภิกษุนั้น ต้องถือว่า ช. ได้ที่พิพาทมาแล้วก่อนที่จะบวช เพราะการจดทะเบียนการได้มาภายหลังเป็นเพียงทำให้การได้มาสมบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรกเท่านั้น แม้ ช. จะถึงแก่กรรมในระหว่างที่อยู่ในสมณเพศที่พิพาทก็ไม่ตกเป็นสมบัติของวัด ตามมาตรา 1623