คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1401

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 380 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมทางอายุความและการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำ ศาลไม่อนุญาตให้เจ้าของที่ดินรื้อถอนเอง
โจทก์และบริวารใช้ทางพิพาทเดินออกสู่ทางสาธารณะมากว่า 10 ปีทางพิพาทเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ เมื่อจำเลยก่อสร้างกำแพงรุกล้ำทางพิพาท เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไป หรือเสื่อมความสะดวก โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยึดทรัพย์มีสิทธิฟ้องให้จำเลยรื้อถอนกำแพงเฉพาะส่วนที่รุกล้ำได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และมาตรา 1390 ที่ดินโจทก์ฟ้องอ้างว่าเป็นทางภาระจำยอมในคดีก่อนเป็นคนละแปลงกับที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ จึงไม่เป็นการยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีนี้อีก ไม่เป็นการฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อน ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า ถ้าจำเลยไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากทางภาระจำยอม ก็ให้โจทก์รื้อถอนเองโดยจำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น เป็นการไม่ชอบโจทก์ชอบที่จะขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3695/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอม: การใช้ประโยชน์ที่ดินมรดกโดยถือวิสาสะ และผลของการไม่โต้แย้งสิทธิ
ที่ดิน ของ โจทก์ และ จำเลย เดิม เป็น ที่ดิน แปลง เดียว กัน อันเป็น ของ บิดา โจทก์ จำเลย โจทก์ รับโอน ที่ดิน จาก บิดา มา ก่อน จำเลย แล้ว โจทก์ เข้า ทำประโยชน์ โดย ใช้ น้ำ จาก คลอง ซอย หรือ คูน้ำ พิพาท ที่อยู่ ใน ที่ดิน มรดก ที่ ยัง มิได้ โอน ให้ จำเลย ซึ่ง เป็น การ ใช้ น้ำ โดย ถือ วิสาสะ ว่า เป็น ที่ดิน มรดก ของ บิดา เมื่อ จำเลย รับ โอน ที่ดิน มรดก ดังกล่าว จาก บิดา หลังจาก โจทก์ รับมรดก ที่ดิน ส่วน ของ โจทก์ นาน ถึง 16 ปี เศษ โจทก์ มิได้ โต้แย้ง คัดค้าน หรือ อ้าง สิทธิ ใด ๆ ว่า โจทก์ มีสิทธิ ใช้ น้ำ จาก ที่ดิน ของ จำเลย โจทก์ คง ใช้ น้ำ เรื่อย มา แสดง ว่า โจทก์ ถือว่า เป็น ที่ดิน ของ น้องชาย โดย มิได้ แสดง ให้ จำเลย ทราบ ว่า จะ ถือเอา คลอง ซอย หรือ คู่ น้ำ พิพาท เป็น ภาระจำยอม แก่ ที่ดิน ของ โจทก์ แม้ โจทก์ จะ ใช้ น้ำ ใน ที่ดิน ของ จำเลย นาน เท่าใด ก็ ไม่ได้ ภาระจำยอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3668/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภาระจำยอมโดยการใช้สิทธิปรปักษ์ และการไม่ถือว่าเป็นการละเมิดเมื่อกระทำโดยสุจริตก่อนซื้อที่ดิน
แม้ชายคา หน้าต่างหากมีการเปิด และทางระบายน้ำของห้องแถวจำเลยซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของ ว. จะได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ก็ตาม เมื่อจำเลยได้กระทำด้วยความสุจริตเพื่อการใช้ชายคา หน้าต่างกับทางระบายน้ำดังกล่าวมาก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินของโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ ทั้งจำเลยได้ใช้สิทธินั้นด้วยอำนาจปรปักษ์มาเป็นเวลาเกิน 10 ปี จึงได้สิทธิภาระจำยอมเกี่ยวกับชายคา หน้าต่างกับทางระบายน้ำนั้นในที่ดินโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3659/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำในที่ดินมรดก การถือวิสาสะ และการได้มาซึ่งภาระจำยอม
ที่ดินของโจทก์และจำเลยเดิมเป็นที่ดินแปลงเดียวกันอันเป็นของบิดาโจทก์จำเลย โจทก์รับโอนที่ดินจากบิดามาก่อนจำเลยแล้วโจทก์เข้าทำประโยชน์โดยใช้น้ำจากคลองซอยหรือคูน้ำพิพาทที่อยู่ในที่ดินมรดกที่ยังมิได้โอนให้จำเลยซึ่งเป็นการใช้น้ำโดยถือวิสาสะว่าเป็นที่ดินมรดกของบิดา เมื่อจำเลยรับโอนที่ดินมรดกดังกล่าวจากบิดาหลังจากโจทก์รับมรดกที่ดินส่วนของโจทก์นานถึง 16 ปีเศษ โจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านหรืออ้างสิทธิใด ๆ ว่าโจทก์มีสิทธิใช้น้ำจากที่ดินของจำเลย โจทก์คงใช้น้ำเรื่อยมา แสดงว่าโจทก์ถือว่าเป็นที่ดินของน้องชาย โดยมิได้แสดงให้จำเลยทราบว่าจะถือเอาคลองซอยหรือคู่น้ำพิพาทเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ แม้โจทก์จะใช้น้ำในที่ดินของจำเลยนานเท่าใดก็ไม่ได้ภาระจำยอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2666/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมมิอาจเกิดขึ้นเมื่อที่ดินเดิมเป็นของเจ้าของคนเดียวกัน แม้ใช้ทางต่อเนื่อง การได้ภารจำยอมต้องเริ่มนับจากแบ่งแยกที่ดิน
เดิม ที่ดิน ของ โจทก์ จำเลย เป็น กรรมสิทธิ์ ของ เจ้าของ คนเดียว กัน เมื่อ แบ่งแยก แล้ว ทางพิพาท อยู่ ใน ที่ดิน ส่วน ของ จำเลย แม้ โจทก์ จะ ได้ ใช้ ทางพิพาท เป็น ทางเดิน ออก สู่ ทางสาธารณะ มา เกิน 10 ปี การ ที่ โจทก์ อยู่อาศัย ใน บ้าน ของ โจทก์ ซึ่ง ปลูก อยู่ ใน ที่ดิน นั้น ใช้ ทางพิพาท ออก สู่ ทางสาธารณะ ใน ระหว่าง นั้น ย่อม เป็น ผู้ใช้ สิทธิ ใน ฐานะ เป็น บริวาร และ ใช้ โดย อาศัย อำนาจ ของ เจ้าของ เดิม เมื่อ ที่ดิน เป็น ของ เจ้าของ ราย เดียว กัน ย่อม ไม่มี เจ้าของ สามยทรัพย์ กับ เจ้าของ ภารยทรัพย์ อัน จะ ทำให้ เกิด มี ภารจำยอม ขึ้น ได้ ผู้ อยู่ ใน ที่ดิน จะ ใช้ ทาง นาน เพียงใด ทางพิพาท ก็ ไม่ ตก อยู่ ใน ภารจำยอม อายุความ การ ได้ ภารจำยอม หาก จะ มี ก็ ต้อง เริ่ม นับ ตั้งแต่ ได้ แบ่งแยก ที่ดิน โอน กรรมสิทธิ์ ให้ แก่ โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานและการรับฟังคำเบิกความเดิมในคดีอื่นเป็นหลักฐานยืนยันสิทธิภารจำยอม
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 หากโจทก์เห็นว่าการงดสืบพยานไม่ถูกต้อง โจทก์จะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เมื่อโต้แย้งแล้วจึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตามที่บัญญัติไว้ ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) เมื่อนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าวจนถึงวันนัดฟังคำพิพากษานานประมาณ 45 วันเวลาที่โจทก์จะโต้แย้งได้ ก็หาโต้แย้งไม่ และที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์โจทก์ไว้ซึ่งมีประเด็นที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์รวมอยู่ด้วยก็ไม่ทำให้ประเด็นที่ไม่มีสิทธิอุทธรณ์กลับเป็นสิทธิอุทธรณ์ขึ้นได้ โจทก์จึงฎีกาปัญหาข้อนี้ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242(1) และมาตรา 247 โจทก์เคยเบิกความเกี่ยวกับเรื่องทางพิพาทในคดีอื่น ยอมรับว่าถ้าจะใช้ทางพิพาทจะต้องขออนุญาตจาก ส.เจ้าของที่ดินเดิมก่อนเป็นการยอมรับในสิทธิของทางพิพาทว่าเป็นของ ส.และในวันชี้สองสถานโจทก์ยอมรับว่าโจทก์ได้เบิกความไว้จริงโจทก์ ก็มิได้กล่าวอ้างว่าคำเบิกความของตนไม่ถูกต้อง ทั้งมิได้คัดค้านการที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานเพื่อขอนำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น คำเบิกความของโจทก์ในคดีดังกล่าวจึงนำมารับฟังในคดี นี้ได้ว่า โจทก์ต้องขออนุญาตใช้ทางพิพาทจากบุคคลอื่นเมื่อทางพิพาท เปลี่ยนกรรมสิทธิ์มาเป็นของจำเลย จำเลยย่อมได้รับประโยชน์นั้นด้วยแม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทนานเท่าใด ก็อ้างสิทธิเป็นทางภาระจำยอมหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานและการรับฟังคำเบิกความเดิมในคดีอื่นเพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องทางภาระจำยอม
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 หากโจทก์เห็นว่าการงดสืบพยานไม่ถูกต้อง โจทก์จะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ เมื่อโต้แย้งแล้วจึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) เมื่อนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าวจนถึงวันนัดฟังคำพิพากษานานประมาณ 45 วัน มีเวลาที่โจทก์จะโต้แย้งได้ ก็หาโต้แย้งไม่ และที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์โจทก์ไว้ซึ่งมีประเด็นที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์รวมอยู่ด้วยก็ไม่ทำให้ประเด็นที่ไม่มีสิทธิอุทธรณ์กลับเป็นมีสิทธิอุทธรณ์ขึ้นได้ โจทก์จึงฎีกาปัญหาข้อนี้ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 242(1) และมาตรา 247
โจทก์เคยเบิกความเกี่ยวกับเรื่องทางพิพาทในคดีอื่นยอมรับว่าถ้าจะใช้ทางพิพาทจะต้องขออนุญาตจาก ส. เจ้าของที่ดินเดิมก่อนเป็นการยอมรับในสิทธิของทางพิพาทว่าเป็นของส. และในวันชี้สองสถานโจทก์ยอมรับว่าโจทก์ได้เบิกความไว้จริง โจทก์ก็มิได้กล่าวอ้างว่าคำเบิกความของตนไม่ถูกต้องทั้งมิได้คัดค้านการที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานเพื่อขอนำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น คำเบิกความของโจทก์ในคดีดังกล่าวจึงนำมารับฟังในคดีนี้ได้ว่า โจทก์ต้องขออนุญาตใช้ทางพิพาทจากบุคคลอื่นเมื่อทางพิพาทเปลี่ยนกรรมสิทธิ์มาเป็นของจำเลย จำเลยย่อมได้รับประโยชน์นั้นด้วยแม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทนานเท่าใด ก็อ้างสิทธิเป็นทางภาระจำยอมหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 28/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางเกวียนต่อเนื่องกว่า 30 ปี แม้เจ้าของที่ดินปิดกั้นก็ยังคงมีสิทธิใช้ทางได้
โจทก์จำเลยมีที่นาติดต่อกัน โจทก์ใช้ทางเกวียนผ่านที่นาจำเลยไปยังที่นาโจทก์เป็นเวลาติดต่อกันมานานกว่า 30 ปี จำเลยหามีสิทธิปิดกั้นทางเกวียนซึ่งโจทก์ใช้มาหลายสิบปีแล้วนั้นได้ไม่
หากจำเลยไม่ยอมเปิดทางดังกล่าว โจทก์ชอบที่จะดำเนินการบังคับคดีไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 298 ที่แก้ไขใหม่ โจทก์จะขอเป็นผู้จัดการเปิดทางเองโดยให้จำเลยเสียค่าใช้จ่ายหาได้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5619/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภาระจำยอมต้องเกิดจากการใช้สิทธิเพื่อตนเอง ไม่ใช่การอาศัยสิทธิของผู้อื่น อายุความต้องนับจากวันที่ใช้สิทธิเพื่อตนเอง
เดิมทางพิพาทเป็นทางเข้าออกตลาดรวมอยู่ในที่ดินแปลงเดียวกับตลาด การใช้ทางพิพาทในช่วงนี้จึงเป็นการใช้ในฐานะอาศัยเจ้าของที่ดิน ต่อมาตลาดเลิกไปมีการสร้างตึกแถวขึ้น โจทก์เพียงแต่เช่าตึกแถวดังกล่าวซึ่งอยู่บนที่ดินแปลงเดียวกับทางพิพาท การใช้ทางพิพาทของโจทก์ในช่วงนี้จึงมิใช่เป็นการใช้ในฐานะเจ้าของที่ดินแปลงอื่น หรือเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินแปลงอื่นไม่เป็นการใช้สิทธิภาระจำยอมเมื่อมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินที่ปลูกตึกแถวออกเป็นแปลง ๆ และที่ดินอันเป็นทางพิพาทแยกเป็นคนละแปลงจากที่ดินที่โจทก์อยู่ การใช้ทางพิพาทของโจทก์จึงเป็นการใช้สิทธิภาระจำยอมนับแต่บัดนั้นซึ่งเมื่อนับถึงวันที่จำเลยปิดกั้นทางพิพาทยังไม่ครบ 10 ปี โจทก์จึงยังไม่ได้สิทธิภาระจำยอมโดยอายุความ ไม่อาจฟ้องให้จำเลยเปิดทางได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ทางในที่ดินของผู้อื่นโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของเดิม ไม่ถือเป็นการได้สิทธิภาระจำยอมโดยอายุความ
ทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกในที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่มีมาอยู่แต่เดิมแล้วก่อนที่โจทก์จะใช้เป็นทางผ่านเข้าออก โจทก์เริ่มใช้ทางพิพาทเข้าออกขณะพี่ชายโจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินนั้นแทนคณะพ่อค้า และโจทก์เป็นคณะกรรมการดูแลที่ดินคนหนึ่ง จึงเป็นการใช้ทางโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดิน ทั้งตามพฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยการถือวิสาสะมิใช่เป็นการใช้สิทธิปรปักษ์ แม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยที่ 1 ติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบปี ทางพิพาทก็ไม่ตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ.
of 38