คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1401

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 380 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3493/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ทางร่วมของญาติพี่น้องกันในชนบท ไม่ถือเป็นภารจำยอมหรือการครอบครองปรปักษ์
โจทก์และจำเลยทั้งสี่เป็นญาติพี่น้องกัน โจทก์ใช้ทางพิพาทตั้งแต่มีสภาพเป็นคันนา ต่อมาเมื่อมีการขุดบ่อเลี้ยงกุ้ง ทางพิพาทก็เปลี่ยนสภาพมาใช้เป็นคันบ่อเมื่อถึงฤดูทำนาก็จะเดินบนคันนา แต่ถ้านอกฤดูทำนาก็อาจเดินลัดที่นาได้ จึงเป็นการไม่แน่นอนว่าจะเดินทางใดสุดแล้วแต่จะสะดวก โดยเฉพาะแต่ละคนสามารถเดินผ่านที่นาซึ่งกันและกันในลักษณะพึ่งพาอาศัยและถ้อยทีถ้อยอาศัยกันอันเป็นการสะท้อนถึงสภาพวิถีชีวิตที่แท้จริงของการอยู่ร่วมกันของคนชนบทว่าตามปกติแล้วจะใช้ที่ดินข้างเคียงเป็นทางผ่านได้ โดยการถือวิสาสะอาศัยความเกี่ยวพันในทางเครือญาติหรือความคุ้นเคยเป็นประการสำคัญซึ่งเป็นการเอื้อเฟื้อเอื้ออาทรต่อกันถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทในลักษณะปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสี่มากว่า 10 ปี ทางพิพาทก็ไม่ตกเป็นภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3059/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความ: การใช้ประโยชน์ที่ดินโดยสงบและเปิดเผยเกิน 10 ปี ทำให้ได้สิทธิภารจำยอม แม้เข้าใจผิดว่าเป็นทางสาธารณะ
การได้ภารจำยอมโดยอายุความนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1401 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความได้สิทธิดังกล่าวไว้ในลักษณะ 3 แห่งบรรพ 4 มาใช้บังคับโดยอนุโลมกล่าวคือ จะต้องเป็นกรณีที่เจ้าของสามยทรัพย์ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินภารยทรัพย์นั้นโดยความสงบและโดยเปิดเผย และด้วยเจตนาจะได้สิทธิภารจำยอมในที่ดินดังกล่าวตามมาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382ซึ่งกฎหมายมุ่งประสงค์ให้ถือเอาการใช้ประโยชน์ของเจ้าของสามยทรัพย์เป็นสำคัญโดยไม่ได้คำนึงว่าภารยทรัพย์นั้นจะเป็นของผู้ใดหรือเจ้าของสามยทรัพย์จะต้องรู้ตัวว่าใครเป็นเจ้าของภารยทรัพย์นั้น
โจทก์ใช้ประโยชน์ในทางพิพาทกว้าง 2 เมตร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมีโฉนดของจำเลยรวมไปกับทางสาธารณะกว้าง 2 เมตร โดยเข้าใจว่าเป็นทางสาธารณะทั้งหมดต้องถือว่าโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทในลักษณะจะให้ได้สิทธิภารจำยอมในที่ดินดังกล่าวแล้วเมื่อใช้ติดต่อกันเกินกว่า 10 ปี โดยความสงบและโดยเปิดเผยโจทก์จึงได้ภารจำยอมในทางพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3059/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ประโยชน์ที่ดินโดยสงบและเปิดเผย แม้เข้าใจผิดว่าเป็นทางสาธารณะ ก็มีผลทำให้ได้สิทธิ
การได้สิทธิภาระจำยอมโดยอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382 นั้น กฎหมายมุ่งประสงค์ให้ถือเอาการใช้ประโยชน์ของเจ้าของสามยทรัพย์เป็นสำคัญ โดยไม่ได้คำนึงว่าภารยทรัพย์นั้นจะเป็นของผู้ใดหรือเจ้าของสามยทรัพย์จะต้องรู้ตัวว่าใครเป็นเจ้าของภารยทรัพย์นั้น ดังนั้น แม้โจทก์จะใช้ประโยชน์ในทางพิพาทกว้าง 2 เมตร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมีโฉนดของจำเลยรวมไปกับทางสาธารณะกว้าง 2 เมตร โดยเข้าใจว่าเป็นทางสาธารณะทั้งหมด ก็ต้องถือว่าโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทในลักษณะจะให้ได้สิทธิภาระจำยอมในที่ดินดังกล่าวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7344/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางเท้าและกันสาดในโครงการจัดสรรต่อเนื่องเกิน 10 ปี ทำให้เกิดภาระจำยอม
ที่ดินโฉนดที่โจทก์ซื้อมามีสภาพเป็นถนนในโครงการจัดสรรของเจ้าของที่ดินเดิมเพื่อใช้เข้าออกสู่ทางสาธารณะทั้งหมดและในขณะที่โจทก์ซื้อที่ดินมาอาคารของจำเลยมีทางเท้าและกันสาดอยู่ก่อนแล้ว โดยเจ้าของที่ดินเดิมประสงค์ให้ที่ดินที่โจทก์ซื้อมาเป็นแนวถนนของที่ดินที่แบ่งจัดสรรทุกแปลงรวมทั้งที่ดินของจำเลยด้วย และให้ทางเท้าและกันสาดด้านหน้าอาคารพาณิชย์ทุกหลังเป็นสาธารณูปโภคสำหรับผู้ซื้ออาคารพาณิชย์ในโครงการได้ใช้ร่วมกัน การที่จำเลยได้กระทำโดยสุจริตเพื่อการใช้ทางเท้าและกันสาดดังกล่าวมาก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินของโจทก์ถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ ทั้งตามพฤติการณ์ของผู้ซื้ออาคารพาณิชย์ไม่อาจถือได้ว่าการใช้ที่ดินของจำเลยเป็นการใช้ที่ดินของโจทก์ส่วนที่พิพาทซึ่งมีสภาพเป็นพื้นที่ใช้สอยร่วมกันภายในโครงการจัดสรรที่มีมาแต่เดิมโดยการถือวิสาสะ จึงนับได้ว่ามีลักษณะเป็นการใช้สิทธิเป็นปรปักษ์ต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน เมื่อจำเลยใช้มาเกินกว่า 10 ปีที่ดินของโจทก์จึงตกอยู่ในภาระจำยอมแก่ที่ดินของจำเลยเกี่ยวกับการใช้ทางเท้าและกันสาดนั้นโดยอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6270-6271/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางภารจำยอม-ทางจำเป็น: การใช้ที่ดินของผู้อื่นเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะเกิน 10 ปี และการเสียหายจากการถูกปิดกั้น
ที่ดินของโจทก์ทั้งสองและจำเลยเป็นที่ดินแปลงเดียวกันมาก่อน ต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ทั้งสองไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะส่วนที่ดินของจำเลยอยู่ติดถนนและอยู่ด้านหน้าที่ดินของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงเรียกร้องที่ดินของจำเลยให้เป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 แม้โจทก์ทั้งสองจะไม่เคยยกข้อต่อสู้เรื่องทางจำเป็นในคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ทั้งสองปลูกโรงเรือนรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของจำเลยก็ตาม ก็หาทำให้ทางจำเป็นซึ่งเป็นผลโดยกฎหมายเสียไปไม่
การสร้างอาคารพาณิชย์หรือตึกแถวต้องเว้นที่ว่างด้านหน้าอาคารพาณิชย์หรือตึกแถวไม่น้อยกว่า 6 เมตรตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295(ว่าด้วยกฎหมายเกี่ยวกับทางหลวง) แสดงว่าผู้ซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์ดังกล่าวจาก ว. และ ช. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเดิมสามารถใช้ที่ดินของจำเลยที่เหลือจากการแบ่งแยก ซึ่งเป็นที่ดินที่เว้นไว้ห่างหน้าอาคารพาณิชย์ 6 เมตร ตามกฎหมาย โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้ใดและไม่ใช่เป็นการใช้ที่ดินดังกล่าวออกสู่ทางสาธารณะโดยถือวิสาสะด้วย เมื่อโจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์ดังกล่าวจึงสามารถใช้ที่ดินออกสู่ทางสาธารณะ เมื่อโจทก์ที่ 1 ได้รับโอนที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์มาเมื่อกลางปี 2525 ส่วนจำเลยได้รับโอนที่ดินมาเมื่อปลายปี 2535 จึงฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี ก่อนที่จำเลยจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวแล้ว ที่ดินของจำเลยจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 สำหรับโจทก์ที่ 2 รับโอนที่ดินมาในปี 2526 และ2527 แม้คำนวณระยะเวลาถึงวันที่จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินยังไม่ถึง 10 ปี แต่เมื่อนับถึงปี 2538 ที่จำเลยปิดกั้นไม่ให้ใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะแล้วเป็นระยะเวลาเกิน 10 ปี ที่ดินของจำเลยจึงตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 2 ด้วย
การที่จำเลยปิดกั้นที่ดินมิให้โจทก์ที่ 2 ใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะย่อมทำให้โจทก์ที่ 2 เสียหายเพราะโจทก์ที่ 2 ค้าขายวัสดุก่อสร้าง จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายส่วนนี้เดือนละ 10,000 บาท โดยคำนึงถึงการใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะด้วย จึงนับว่าเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1934/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิในทางพิพาท: การพิสูจน์เจตนาใช้ทางเพื่อครอบครองเป็นภารจำยอม และขอบเขตค่าทดแทน
โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยเข้าใจว่าทางดังกล่าวเป็นทางสาธารณะยังถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิผ่านทางพิพาทโดยการครอบครองดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382 แม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทเกินกว่า 10 ปีทางพิพาทก็ไม่เป็นภารจำยอมเพื่อที่ดินของโจทก์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ แต่ได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ยอมรับว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็น ปัญหาในประเด็นว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ จึงยุติไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นฎีกาข้อนี้ของจำเลยเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนแก่จำเลย 400,000 บาท จำเลยพอใจไม่อุทธรณ์ จำเลยจะฎีกาขอให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนเกินกว่าจำนวนที่ศาลชั้นต้นกำหนดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800-801/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็นและภารจำยอม: การใช้ทางผ่านที่ดินของผู้อื่นเมื่อไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ
คลองบางไผ่น้อยบริเวณพิพาท แม้ใช้เรือสัญจรเข้าออกได้ แต่ก็ ขาดความสะดวกที่จะใช้สอยเป็นทางสาธารณะได้ตามปกติ จึงยังไม่พอ ที่จะถือได้ว่าเป็นทางสาธารณะตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1349 โจทก์จึงมีความจำเป็นที่จะต้องผ่านที่ดินของจำเลยซึ่งล้อมอยู่ ไปสู่ทางสาธารณะโดยใช้ทางเดินพิพาทผ่านเข้าออกเป็นทางจำเป็นได้
โจทก์ได้ใช้ทางเดินพิพาทเข้าออกสู่ทางสาธารณะสืบทอดมาตั้งแต่ ครั้งบรรพบุรุษของโจทก์และจำเลยที่เป็นญาติใกล้ชิดมาแต่เดิม จนกระทั่ง ปลายปี 2528 น้ำท่วมทางพิพาท ทางฝ่ายโจทก์จึงได้จัดสรรสร้างสะพานไม้ ข้ามคูน้ำในทางเดินพิพาท โดยบิดาจำเลยยินยอมให้ดำเนินการในลักษณะ ของความอะลุ่มอล่วยฉันเครือญาติ จึงเป็นการแสดงออกโดยแจ้งชัดว่า โจทก์ได้ใช้ทางเดินพิพาทด้วยความสนิทสนมคุ้นเคย โดยถือว่าเป็นกันเอง อย่างเช่น เครือญาติที่ผูกพันกันมานานสืบเนื่องมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ อันเป็นการใช้ทางเดินพิพาทโดยถือวิสาสะและเอื้อเฟื้อต่อกัน ทางเดินพิพาท จึงไม่ตกเป็นภารจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605-606/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยการใช้ต่อเนื่องเกิน 10 ปี แม้เริ่มจากสิทธิสัญญาที่ไม่สมบูรณ์ และการย้ายแนวทางภารจำยอม
บิดาจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินให้โจทก์โดยรับรองว่าจะจัดให้มีทางเดินออกสู่ถนนสาธารณะได้ ซึ่งเป็นข้อตกลงตามสัญญาจะซื้อจะขายที่มีลักษณะคล้ายภารจำยอมอันเป็นทรัพยสิทธิเมื่อโจทก์ไม่จดทะเบียนการได้มาจึงไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรก แต่ใช้ได้ในระหว่างคู่สัญญา ในฐานะบุคคลสิทธิ การที่โจทก์ใช้ทางพิพาทเดินผ่านที่ดินที่จำเลยรับมรดกจากบิดาเกิน 10 ปี แม้เดิมโจทก์จะเข้าใจว่าเดินโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาดังกล่าว แต่เมื่อโจทก์มีเจตนาถือเอาทางพิพาทเป็นทางเดินผ่าน ถือได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาใช้เป็นทางเข้าออกของโจทก์ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภารจำยอม
ทางพิพาทหากอยู่ตรงกลางที่ดินของจำเลย จะทำให้เสียที่ดินซึ่งเป็นการเพิ่มภาระแก่จำเลย และใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนที่เหลือไม่ได้เท่าที่ควร การย้ายทางพิพาทจากที่เดิมไปอยู่ตรงสุดแนวที่ดินของจำเลย ย่อมไม่ทำให้ความสะดวกในการใช้ทางเดินของโจทก์ต้องลดน้อยลง จำเลยจึงสามารถทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ทางภารจำยอมโดยอายุความและการยินยอมใช้ทางของเจ้าของที่ดิน
เมื่อนับตั้งแต่ปีที่โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินจนถึงปี 2533ซึ่งจำเลยปิดทางพิพาทแล้วยังไม่ถึง 10 ปี ทางพิพาทจึงยังไม่ตกเป็นทางภารจำยอมโดยอายุความในส่วนนี้
เดิมที่ดินของโจทก์เป็นของ อ. อยู่คนละฝั่งคลองกับที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ซื้อมาจาก ส. บุตรของ ย. อ. ขออนุญาต ย. ทำสะพานข้ามคลองเดินผ่านที่ดินพิพาทออกสู่ถนนสาธารณะทำให้ทุกคนสามารถเดินข้ามสะพานผ่านที่ดินของ ย. การใช้ทางดังกล่าวของโจทก์จึงมิได้ใช้โดยปรปักษ์ ไม่เป็นทางภารจำยอม แม้โฉนดที่ดินของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจะไม่มีชื่อ ย. ถือกรรมสิทธิ์ แต่ก็ระบุว่า ย. เป็นบิดาของ ส. เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เมื่อ ย. อนุญาตให้ใช้ทางเดินทุกคนก็ใช้ทางเดินได้โดยไม่มีเหตุขัดข้อง จึงต้องถือว่าเป็นการที่บิดาของเจ้าของที่ดินอนุญาตแทนโดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 404/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางต่อเนื่องเกิน 10 ปี แม้กรรมสิทธิ์ยังไม่จดทะเบียนก็มีผล
แม้โจทก์ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินเมื่อคำนวณถึงวันที่จำเลยปิดกั้นทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกยังไม่ครบ 10 ปีก็ตาม แต่เมื่อโจทก์อาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์มานาน 20 ปีแล้ว แสดงว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกตั้งแต่อาศัยอยู่ในที่ดินดังกล่าวจนได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน เมื่อนับระยะเวลาทั้งสองตอนติดต่อกันแล้วเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทจึงตกเป็นภารจำยอมโดยอายุความแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401
of 38