พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกทรัพย์สินสินสมรสเกินส่วนที่ตนมีสิทธิ พินัยกรรมไม่ตกเป็นโมฆะ แต่ข้อกำหนดนั้นไม่มีผล
พินัยกรรมหรือข้อกำหนดพินัยกรรมย่อมตกเป็นโมฆะ ถ้าได้ทำขึ้นขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1652, 1653, 1656, 1657, 1658, 1660, 1661 หรือ 1663 ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1705 ที่ดินพิพาทส่วนที่เหลือเนื้อที่ 11 ไร่ 87 ตารางวา เป็นสินสมรสส่วนของโจทก์เพียง 8 ไร่ 2 งาน 7,0625 ตารางวา โจทก์จึงมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินส่วนดังกล่าวหลังจากที่จดทะเบียนหย่า การที่ ส. ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินพิพาทส่วนที่เหลือดังกล่าวให้แก่จำเลย จึงไม่ใช่กรณีตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ตรวจแก้ไขชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 1481 ที่บัญญัติ "สามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินสมรสเกินกว่าส่วนของตนให้แก่บุคคลใดได้" เพราะขณะทำพินัยกรรมโจทก์และ ส. ไม่ได้เป็นสามีภริยากันแล้ว ทั้งบทบัญญัติดังกล่าวก็ไม่ใช่บทมาตราที่จะตกเป็นโมฆะตามที่มาตรา 1705 บัญญัติ แต่เป็นการทำพินัยกรรมกำหนด การเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของผู้อื่นไม่ใช่ในเรื่องทรัพย์สินของตนเองตามมาตรา 1646 ก็มีผลเพียงว่า ข้อกำหนดที่ยกที่ดินพิพาทส่วนของผู้อื่นไม่มีผลบังคับเท่านั้น ส่วนข้อกำหนดอื่น เช่น การตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกคงมีผลบังคับได้ ดังนี้ หาทำให้พินัยกรรมตกเป็นโมฆะไม่เนื่องจากไม่ต้องด้วยกรณีตามมาตรา 1705 เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8917/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสก่อนและหลังใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 และสิทธิในมรดกของคู่สมรส
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถานว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่าง ส. และ จ. หรือไม่ และหากเป็นสินสมรสแล้วโจทก์ทั้งสองและจำเลยมีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงใด ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นสินสมรสและบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 ส่วนแบ่งในสินสมรสว่าต้องแบ่งตามกฎหมายฉบับใดและควรจะเป็นเท่าใดตามกฎหมายเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหานี้ได้
ส. และ จ. อยู่กินเป็นสามีภริยาก่อนปี 2478 จึงเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ไม่จดทะเบียนสมรสเพราะอยู่กินกันก่อนใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 พ.ศ.2477 ซึ่งตาม พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติ มาตรา 4 และมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2477 การแบ่งสินสมรสของ ส. และ จ. จึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 แม้ ส. จะได้ที่ดินพิพาทมาหลังจากใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 แล้ว คือ ส. ได้ 2 ใน 3 ส่วน จ. ได้ 1 ใน 3 ส่วน โดยทรัพย์ส่วนของ จ. เป็นมรดกตกได้แก่ทายาทของ จ. ซึ่งรวมโจทก์ทั้งสองด้วย
ส. และ จ. อยู่กินเป็นสามีภริยาก่อนปี 2478 จึงเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ไม่จดทะเบียนสมรสเพราะอยู่กินกันก่อนใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 พ.ศ.2477 ซึ่งตาม พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติ มาตรา 4 และมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2477 การแบ่งสินสมรสของ ส. และ จ. จึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 แม้ ส. จะได้ที่ดินพิพาทมาหลังจากใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 แล้ว คือ ส. ได้ 2 ใน 3 ส่วน จ. ได้ 1 ใน 3 ส่วน โดยทรัพย์ส่วนของ จ. เป็นมรดกตกได้แก่ทายาทของ จ. ซึ่งรวมโจทก์ทั้งสองด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3921/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินส่วนตัวในกรรมสิทธิ์รวมโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมรายอื่น
ปัญหาว่า ข้อกำหนดในพินัยกรรมเป็นอันไร้ผลหรือไม่นั้น เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 คู่ความก็หยิบยกขึ้นอ้างได้
การทำพินัยกรรมเป็นการจำหน่ายทรัพย์สินที่จะมีผลเมื่อตายและเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ทำพินัยกรรมซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646 บัญญัติว่า "บุคคลใดจะแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง? เมื่อตนตายก็ได้" นอกจากนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง ก็บัญญัติว่า "เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ จะจำหน่ายส่วนของตนหรือ? ก็ได้" แม้ผู้ตายและผู้ร้องจะมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 8372 ก็ตาม ผู้ตายย่อมมีอำนาจทำพินัยกรรมยกที่ดินส่วนของผู้ตายให้แก่ผู้คัดค้านได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ร้อง ข้อกำหนดแห่งพินัยกรรมในส่วนนี้จึงมีผลบังคับได้
การทำพินัยกรรมเป็นการจำหน่ายทรัพย์สินที่จะมีผลเมื่อตายและเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ทำพินัยกรรมซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646 บัญญัติว่า "บุคคลใดจะแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง? เมื่อตนตายก็ได้" นอกจากนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง ก็บัญญัติว่า "เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ จะจำหน่ายส่วนของตนหรือ? ก็ได้" แม้ผู้ตายและผู้ร้องจะมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 8372 ก็ตาม ผู้ตายย่อมมีอำนาจทำพินัยกรรมยกที่ดินส่วนของผู้ตายให้แก่ผู้คัดค้านได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ร้อง ข้อกำหนดแห่งพินัยกรรมในส่วนนี้จึงมีผลบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7200/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองมรดกตามพินัยกรรม, อายุความ, และสถานะทายาทที่ถูกตัดสิทธิ
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับจำเลย ซึ่งตามกฎหมายเจ้ามรดกและจำเลยต่างมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมกันคนละครึ่ง เมื่อเจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้ จ.สามีของโจทก์ที่ 1 เพียงหนึ่งในสี่ส่วนของเนื้อที่ทั้งหมดไม่เกินไปจากส่วนที่เจ้ามรดกเป็นเจ้าของ จึงอยู่ในอำนาจของเจ้ามรดกที่จะทำพินัยกรรมได้ ข้อกำหนดแห่งพินัยกรรมในส่วนนี้จึงมีผลบังคับตามกฎหมาย ขณะทำพินัยกรรมไม่ปรากฏว่าเจ้ามรดกทราบว่า จ.สามีของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นคนต่างด้าว ไม่มีทางได้มาซึ่งที่ดินในประเทศไทย เนื่องจากเจ้ามรดกซึ่งเป็นคนต่างด้าวเช่นเดียวกันเคยได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ซื้อที่ดินในประเทศไทยมาก่อน จึงเข้าใจว่า จ. คงขออนุญาตรับมรดกในส่วนของที่ดินพิพาทได้เช่นเดียวกันทั้งตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 46 ก็บัญญัติให้คนต่างด้าวมีสิทธิถือครองที่ดินในประเทศไทยได้ตามสนธิสัญญาต่าง ๆ และได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งแม้ จ.จะไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ถือครองที่ดินได้ จ. ก็ยังมีสิทธินำที่ดินพิพาทซึ่งรับมรดกมาจำหน่ายจ่ายโอนได้ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 94 ดังนี้พินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงมิได้มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ไม่เป็นโมฆะ แม้จำเลยจะเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก แต่เมื่อเจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้ผู้อื่นทั้งหมดโดยจำเลยไม่ได้รับมรดกเลย จำเลยจึงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1608 วรรคท้ายไม่อยู่ในฐานะเป็นทายาทของเจ้ามรดกที่ยกอายุความ 10 ปีตามมาตรา 1755 มาใช้ยันต่อ จ. ผู้รับพินัยกรรมและโจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ จ. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำพินัยกรรมถูกต้องตามกฎหมาย แม้ไม่มีลายมือชื่อผู้เขียน และการยกสินสมรส
ส.ผู้ทำพินัยกรรมฉบับพิพาทลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยาน 3 คนซึ่งพยานทั้งสามคนลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของ ส.ไว้ เป็นการทำพินัยกรรมถูกต้องตามแบบตาม ป.พ.พ.มาตรา 1656 แล้ว แม้จะไม่มีลายมือชื่อผู้เขียนตามป.พ.พ.มาตรา 1671 แต่ ป.พ.พ.มาตรา 1705 ก็มิได้กำหนดให้ตกเป็นโมฆะฉะนั้น พินัยกรรมฉบับพิพาทจึงสมบูรณ์ตามกฎหมาย
กรณีไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าหากผู้รับประโยชน์อยู่ด้วยในขณะทำพินัยกรรมจะมีผลให้พินัยกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ
สินสมรสเป็นทรัพย์ที่ ส.มีอยู่ขณะถึงแก่ความตาย ส.จึงมีอำนาจยกสินสมรสส่วนของตนให้แก่บุคคลใดก็ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1481
กรณีไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าหากผู้รับประโยชน์อยู่ด้วยในขณะทำพินัยกรรมจะมีผลให้พินัยกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ
สินสมรสเป็นทรัพย์ที่ ส.มีอยู่ขณะถึงแก่ความตาย ส.จึงมีอำนาจยกสินสมรสส่วนของตนให้แก่บุคคลใดก็ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1481
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมสมบูรณ์แม้ไม่มีผู้เขียน และผู้รับประโยชน์อยู่ด้วยขณะทำพินัยกรรม สิทธิยกสินสมรส
ส. ผู้ทำพินัยกรรมฉบับพิพาทลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยาน3 คน ซึ่งพยานทั้งสามคนลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของส.ไว้เป็นการทำพินัยกรรมถูกต้องตามแบบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 แล้ว แม้จะไม่มีลายมือชื่อผู้เขียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1671แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1705 ก็มิได้กำหนดให้ตกเป็นโมฆะ ฉะนั้น พินัยกรรมฉบับพิพาทจึงสมบูรณ์ตามกฎหมาย กรณีไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าหากผู้รับประโยชน์อยู่ด้วยในขณะทำพินัยกรรมจะมีผลให้พินัยกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ สินสมรสเป็นทรัพย์ที่ ส.มีอยู่ขณะถึงแก่ความตายส.จึงมีอำนาจยกสินสมรสส่วนของตนให้แก่บุคคลใดก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1481
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมสมบูรณ์ แม้ไม่มีผู้เขียนและผู้รับผลประโยชน์อยู่ด้วยขณะทำพินัยกรรม
พินัยกรรมที่ลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไว้ต่อหน้าพยาน 3 คน ซึ่งลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 แม้จะไม่มีลายมือชื่อผู้เขียนตามมาตรา 1671 แต่มาตรา 1705 มิได้กำหนดให้ตกเป็นโมฆะ พินัยกรรมจึงสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ผู้รับพินัยกรรมอยู่ด้วยในขณะทำพินัยกรรมก็ไม่มีผลให้พินัยกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ
คู่สมรสมีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินสมรสส่วนของตนให้แก่บุคคลใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148
ผู้รับพินัยกรรมอยู่ด้วยในขณะทำพินัยกรรมก็ไม่มีผลให้พินัยกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ
คู่สมรสมีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินสมรสส่วนของตนให้แก่บุคคลใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสและการทำพินัยกรรมที่ขัดต่อกฎหมาย โดยการยินยอมให้แบ่งสินสมรสก่อนถึงเวลาไม่สมบูรณ์
โจทก์และช.ซึ่่งสมรสกันก่อนปี2476ต่างตกลงยินยอมให้แต่่ละฝ่ายทำนิติกรรมยกที่ดินสินสมรสส่วนของตนให้บุคคลอื่นในการทำพินัยกรรมที่เกี่ยวกับสินสมรสระหว่างโจทก์และช. นี้ต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1481แม้โจทก์ตกลงยินยอมให้ช.ทำพินัยกรรมดังกล่าวข้อตกลงยินยอมนั้นย่อมฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายข้างต้นและยังขัดต่อความมุ่งหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1646ที่กำหนดให้บุคคลใดๆมีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่นได้ก็แต่เฉพาะทรัพย์สินที่เป็นของตนเท่านั้นเหตุนี้ข้อตกลงยินยอมดังกล่าวจึงไม่ทำให้พินัยกรรมที่ช. จัดทำมีผลผูกพันไปถึงที่ดินสินสมรสที่เป็นส่วนของโจทก์ด้วยโจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าพินัยกรรมไม่มีผลผูกพันสินสมรสที่เป็นส่วนส่วนของโจทก์ได้ ที่ดินโฉนดเลขที่4837ในส่วนที่พ.ยกให้ช. ตามสารบาญแก้ทะเบียนท้ายโฉนดดังกล่าวพ. ยกที่ดินส่วนนี้ให้ช. เมื่อวันที่9ตุลาคม2476ก่อนที่่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5พ.ศ.2477ว่าด้วยเรื่องครอบครัวประกาศใช้จึงต้องนำกฎหมายลักษณะผัวเมียมาใช้บังคับซึ่งในกฎหมายดังกล่าวบทที่72ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างผัวเมียบัญญัติว่า"ทรัพย์ที่บิดามารดาหรือญาติฝ่ายหญิงหรือชายให้ในวันที่แขก(วันแต่งงาน)ให้เป็นสินเดิมถ้าให้เมื่ออยู่กินเป็นผัวเมียกันแล้วให้เป็นสินสมรส"ซึ่งไม่ได้บัญญัติว่าให้เป็นสินส่วนตัวเลยพ.ได้ยกที่ดินส่วนดังกล่าวให้ช.ภายหลังการแต่งงานที่ดินส่วนนี้จึงเป็นสินสมรสระหว่างช.กับโจทก์เมื่อไม่ปรากฎว่าช.และโจทก์มีสินเดิมการแบ่งสินสมรสจึงเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่68คือชายหาบหญิงคอนช.จึงมีส่วนเป็นเจ้าของ2ส่วนและโจทก์มี1ส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำพินัยกรรมยกที่ดินสินสมรสขัดต่อกฎหมาย และการแบ่งสินสมรสระหว่างคู่สมรส
โจทก์และ ช.ซึ่งสมรสกันก่อนปี 2476 ต่างตกลงยินยอมให้แต่ละฝ่ายทำพินัยกรรมยกที่ดินสินสมรสส่วนของตนให้บุคคลอื่น ในการทำพินัยกรรมที่เกี่ยวกับสินสมรสระหว่างโจทก์และ ช.นี้ ต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1481 แม้โจทก์ตกลงยินยอมให้ ช.ทำพินัยกรรมดังกล่าว ข้อตกลงยินยอมนั้นย่อมฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายข้างต้น และยังขัดต่อความมุ่งหมายของ ป.พ.พ.มาตรา 1646 ที่กำหนดให้บุคคลใด ๆ มีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่นได้ก็แต่เฉพาะทรัพย์สินที่เป็นของตนเท่านั้น เหตุนี้ ข้อตกลงยินยอมดังกล่าว จึงไม่ทำให้พินัยกรรมที่ ช.จัดทำมีผลผูกพันไปถึงที่ดินสินสมรสที่เป็นส่วนของโจทก์ด้วยโจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าพินัยกรรมไม่มีผลผูกพันสินสมรสที่เป็นส่วนของโจทก์ได้
ที่ดินโฉนดเลขที่ 4837 ในส่วนที่ พ.ยกให้ ช.ตามสารบาญแก้ทะเบียนท้ายโฉนดดังกล่าว พ.ยกที่ดินส่วนนี้ให้ ช.เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2476ก่อนที่ ป.พ.พ.บรรพ 5 พ.ศ.2477 ว่าด้วยเรื่องครอบครัวประกาศใช้ จึงต้องนำกฎหมายลักษณะผัวเมียมาใช้บังคับ ซึ่งในกฎหมายดังกล่าว บทที่ 72 ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างผัวเมีย บัญญัติว่า "ทรัพย์ที่บิดามารดาหรือญาติฝ่ายหญิงหรือชายให้ในวันมีแขก (วันแต่งงาน) ให้เป็นสินเดิม ถ้าให้เมื่ออยู่กินเป็นผัวเมียกันแล้วให้เป็นสินสมรส" ซึ่งไม่ได้บัญญัติว่าให้เป็นสินส่วนตัวเลย พ.ได้ยกที่ดินส่วนดังกล่าวให้ ช.ภายหลังการแต่งงาน ที่ดินส่วนนี้จึงเป็นสินสมรสระหว่าง ช.กับโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่า ช.และโจทก์มีสินเดิม การแบ่งสินสมรสจึงเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 คือชายหาบ หญิงคอน ช.จึงมีส่วนเป็นเจ้าของ 2 ส่วน และโจทก์มี 1 ส่วน
ที่ดินโฉนดเลขที่ 4837 ในส่วนที่ พ.ยกให้ ช.ตามสารบาญแก้ทะเบียนท้ายโฉนดดังกล่าว พ.ยกที่ดินส่วนนี้ให้ ช.เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2476ก่อนที่ ป.พ.พ.บรรพ 5 พ.ศ.2477 ว่าด้วยเรื่องครอบครัวประกาศใช้ จึงต้องนำกฎหมายลักษณะผัวเมียมาใช้บังคับ ซึ่งในกฎหมายดังกล่าว บทที่ 72 ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างผัวเมีย บัญญัติว่า "ทรัพย์ที่บิดามารดาหรือญาติฝ่ายหญิงหรือชายให้ในวันมีแขก (วันแต่งงาน) ให้เป็นสินเดิม ถ้าให้เมื่ออยู่กินเป็นผัวเมียกันแล้วให้เป็นสินสมรส" ซึ่งไม่ได้บัญญัติว่าให้เป็นสินส่วนตัวเลย พ.ได้ยกที่ดินส่วนดังกล่าวให้ ช.ภายหลังการแต่งงาน ที่ดินส่วนนี้จึงเป็นสินสมรสระหว่าง ช.กับโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่า ช.และโจทก์มีสินเดิม การแบ่งสินสมรสจึงเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 คือชายหาบ หญิงคอน ช.จึงมีส่วนเป็นเจ้าของ 2 ส่วน และโจทก์มี 1 ส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสตามกฎหมายอิสลามและลักษณะผัวเมีย การแบ่งมรดกและผลของพินัยกรรม
เจ้ามรดกได้รับที่พิพาทจากบิดาในระหว่างที่สมรสกับมารดาโจทก์ตามกฎหมายอิสลามก่อนวันที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ใช้บังคับ ตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกไม่มีบัญญัติว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นสินสมรสหรือไม่ ต้องใช้กฎหมายลักษณะผัวเมียอันเป็นกฎหมายในขณะนั้นบังคับ ที่พิพาทจึงเป็นสินสมรส ต่อมามารดาโจทก์ถึงแก่กรรม เมื่อไม่ปรากฏว่าทั้งเจ้ามรดกและมารดาโจทก์มีสินเดิมหรือไม่ ที่พิพาทจึงตกเป็นของมารดาโจทก์1 ส่วนและตกเป็นของเจ้ามรดกเอง 2 ส่วน เฉพาะทรัพย์ส่วนที่เป็นของมารดาโจทก์นั้นต้องแบ่งแก่ทายาทตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก ข้อความในพินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงผูกพันที่พิพาทเฉพาะส่วนของเจ้ามรดก ไม่มีผลผูกพันส่วนของมารดาโจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิจะได้รับทั้งส่วนที่เป็นมรดกของมารดาโจทก์และส่วนของเจ้ามรดกที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ปัญหาว่าส่วนของมารดาโจทก์จะต้องแบ่งกันตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก และโจทก์ซึ่งเป็นทายาทจะได้รับส่วนของมารดาโจทก์เท่าใด เป็นข้อกฎหมายอิสลามที่ดะโต๊ะยุติธรรมต้องเป็นผู้ชี้ขาด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามฯพ.ศ. 2489 มาตรา 3,4 จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย.