พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกกรณีสมรสตามกฎหมายอิสลามและประมวลกฎหมายแพ่ง โดยพินัยกรรมผูกพันเฉพาะส่วนของเจ้ามรดก
เจ้ามรดกได้รับที่พิพาทจากบิดาในระหว่างที่สมรสกับมารดาโจทก์ตามกฎหมายอิสลามก่อนวันที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ใช้บังคับ ตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกไม่มีบัญญัติว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นสินสมรสหรือไม่ ต้องใช้กฎหมายลักษณะผัวเมียอันเป็นกฎหมายในขณะนั้นบังคับ ที่พิพาทจึงเป็นสินสมรส ต่อมามารดาโจทก์ถึงแก่กรรม เมื่อไม่ปรากฏว่าทั้งเจ้ามรดกและมารดาโจทก์มีสินเดิมหรือไม่ ที่พิพาทจึงตกเป็นของมารดาโจทก์ 1 ส่วนและตกเป็นของเจ้ามรดกเอง 2 ส่วน เฉพาะทรัพย์ส่วนที่เป็นของมารดาโจทก์นั้นต้องแบ่งแก่ทายาทตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก ข้อความในพินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงผูกพันที่พิพาทเฉพาะส่วนของเจ้ามรดก ไม่มีผลผูกพันส่วนของมารดาโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิจะได้รับทั้งส่วนที่เป็นมรดกของมารดาโจทก์และส่วนของเจ้ามรดกที่ระบุไว้ในพินัยกรรม
ปัญหาว่าส่วนของมารดาโจทก์จะต้องแบ่งกันตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก และโจทก์ซึ่งเป็นทายาทจะได้รับส่วนของมารดาโจทก์เท่าใด เป็นข้อกฎหมายอิสลามที่ดะโต๊ะยุติธรรมต้องเป็นผู้ชี้ขาด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลาม ฯ พ.ศ.2489มาตรา 3, 4 จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย
ปัญหาว่าส่วนของมารดาโจทก์จะต้องแบ่งกันตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก และโจทก์ซึ่งเป็นทายาทจะได้รับส่วนของมารดาโจทก์เท่าใด เป็นข้อกฎหมายอิสลามที่ดะโต๊ะยุติธรรมต้องเป็นผู้ชี้ขาด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลาม ฯ พ.ศ.2489มาตรา 3, 4 จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5186/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกกรณีมีพินัยกรรมและข้อพิพาทเกี่ยวกับส่วนแบ่งทรัพย์สินระหว่างทายาท
ร้อยเอก ค.กับนางง. อยู่กินเป็นสามีภริยากันมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม สินสมรสระหว่างร้อยเอกค.กับนางง.จึงต้องแบ่งกันตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย แม้ต่อมาจะได้มีการจดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี พ.ศ. 2513 ก็ไม่กระทบกระเทือนการสมรสและความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแต่การสมรสซึ่งมีอยู่ตามกฎหมายเดิม ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4 ทรัพย์มรดกที่เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินซึ่งมีชื่อร้อยเอก ค.กับนางง. ร่วมกันในโฉนด บางรายการได้มาและลงชื่อร่วมกันตั้งแต่ยังใช้กฎหมายลักษณะผัวเมียบังคับและบางรายการได้มาเมื่อมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมแล้วซึ่งไม่ว่าจะเป็นทรัพย์ที่ได้มาเมื่อใดในช่วงระยะเวลาดังกล่าว เมื่อเป็นทรัพย์ที่ได้มาระหว่างเป็นสามีภริยากันและในโฉนดที่ดินมีชื่อร้อยเอกค.และนางง.ร่วมกัน มิได้แยกออกไว้เป็นสินส่วนตัวของนางง. แต่อย่างใด ทรัพย์ทั้งหมดที่ได้มาดังกล่าวจึงถือว่าเป็นสินสมรสตามกฎหมาย ต้องแบ่งกันตามส่วนที่บัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 เมื่อปรากฏว่านาง ง. ได้อยู่กินเป็นสามีภริยากับร้อยเอก ค.โดยนางง.ไม่มีสินเดิมนางง.ย่อมไม่มีส่วนได้ในสินสมรส สินสมรสทั้งหมดจึงเป็นของร้อยเอก ค.แต่ผู้เดียว อย่างไรก็ดีก่อนร้อยเอก ค. ถึงแก่กรรมได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้นาง ง.โจทก์และจำเลยทั้งสองนางง.จึงยังมีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรมดังกล่าว 1 ใน 4 ส่วน ของทรัพย์มรดกทั้งหมด ร้อยเอก ค.กับนางง. เป็นสามีภริยากันตามกฎหมายลักษณะผัวเมียอยู่ก่อนแล้วการที่ร้อยเอก ค.กับนางง.จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี พ.ศ. 2513 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิม ซึ่งประกาศใช้ภายหลัง หากมีเจตนาจะให้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างเป็นสามีภริยา เป็นกรรมสิทธิ์รวมคนละส่วนเท่ากันก็น่าจะระบุไว้ในทะเบียนสมรสให้ชัดแจ้ง เพราะเท่ากับเป็นข้อตกลงเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัวสำหรับผู้ที่เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5เดิม นอกจากนั้นร้อยเอก ค.ยังให้เจ้าพนักงานบันทึกไว้หลังทะเบียนสมรสด้วยว่า เรื่องทรัพย์สินไม่ประสงค์ให้บันทึก ย่อมไม่อาจรับฟังว่าร้อยเอก ค.จดทะเบียนสมรสโดยเจตนาจะให้นางง.มีกรรมสิทธิ์ในสินสมรสคนละส่วนเท่ากัน นางง.มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของร้อยเอกค.1 ใน 4 ส่วนของทรัพย์มรดกทั้งหมด ย่อมมีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกเฉพาะส่วนที่ตกได้แก่ตนนั้นให้แก่ผู้อื่นได้ และจะเป็นโมฆะเฉพาะการยกทรัพย์ส่วนที่เกินไปกว่าทรัพย์มรดกส่วนที่ตนมีสิทธิจะได้รับเท่านั้น นางง.ทำพินัยกรรมยกที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของร้อยเอกค.ซึ่งตนมีสิทธิ 1 ใน 4 ส่วน ให้แก่โจทก์ เมื่อรวมกับส่วนของโจทก์เองอีก 1 ใน 4 ส่วน รวมเป็นส่วนของโจทก์ 1 ใน 2 ส่วน แต่เนื่องจากโจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกของร้อยเอก ค. โดยอ้างว่ามีสิทธิ 1 ใน 3 ส่วน เห็นควรให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์ส่วนนี้เพียง 1 ใน 3 ส่วน ตามที่ขอ สำหรับผลประโยชน์อื่นอันเกิดแต่ที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของร้อยเอก ค. แม้โจทก์จะมิได้ฎีกาเกี่ยวกับทรัพย์เหล่านี้โดยชัดแจ้งแต่ทรัพย์ดังกล่าวเป็นผลประโยชน์อันเกิดจากอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์ฎีกาขึ้นมา และคำขอท้ายฎีกาโจทก์ขอให้แบ่งทรัพย์มรดกทั้งหมดตามส่วนที่ควรจะได้ เมื่อปรากฏว่าส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกที่โจทก์มีสิทธิได้รับเปลี่ยนแปลงไป ปัญหาเกี่ยวกับส่วนแบ่งผลประโยชน์ดังกล่าวจึงเกี่ยวพันอยู่ในประเด็นที่โจทก์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัย ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ได้ส่วนแบ่งทรัพย์ประเภทสังหาริมทรัพย์ชนิดเครื่องลายครามและชนิดเครื่องมุก ของโบราณบางรายการ รายการละ 1 ใน 2 ส่วน แต่โจทก์ขอแบ่งโดยอ้างว่ามีสิทธิเพียง 1 ใน 3 ส่วน คำพิพากษาศาลล่างในส่วนนี้จึงเกินคำขอปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2584/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส การทำพินัยกรรมยกทรัพย์สิน และผลกระทบของกฎหมายที่แก้ไขใหม่
จำเลยเป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของ ส. ในระหว่างสมรสเมื่อพ.ศ. 2508 มารดาจำเลยยกที่ดินซึ่งเป็นส่วนของตนตามโฉนดที่พิพาทให้แก่จำเลยโดยไม่ระบุว่าให้เป็นสินส่วนตัว ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิม มาตรา 1464 และมาตรา 1466 แม้ต่อมาบทบัญญัติบรรพ 5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1471 และมาตรา 1474 จะบัญญัติแตกต่างจากบทบัญญัติบรรพ 5 เดิม ก็ไม่ทำให้ที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสอยู่แต่เดิมเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวของจำเลย เพราะกฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่ได้บัญญัติให้เปลี่ยนแปลงไปดังกรณีสินเดิม ส.จึงมีอำนาจทำพินัยกรรมยกที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1481
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2584/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสจากการยกที่ดินโดยไม่ระบุเป็นสินส่วนตัว แม้กฎหมายแก้ไข ก็ไม่ทำให้สินสมรสเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัว
จำเลยเป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของ ส. ในระหว่างสมรสเมื่อ พ.ศ. 2508 มารดาจำเลยยกที่ดินซึ่งเป็นส่วนของตนตามโฉนดที่พิพาท ให้แก่จำเลยโดยไม่ระบุว่าให้เป็นสินส่วนตัว ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับส. ตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มาตรา 1464 และมาตรา 1466 แม้ต่อมาบทบัญญัติบรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1471 และมาตรา1474 จะบัญญัติแตกต่างจากบทบัญญัติบรรพ 5 เดิม ก็ไม่ ทำให้ที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสอยู่แต่เดิมเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวของจำเลย เพราะกฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่ได้บัญญัติให้เปลี่ยนแปลงไปดังกรณีสินเดิม ส. จึงมีอำนาจทำพินัยกรรมยกที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ทั้งสองได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1481.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดียึดทรัพย์สินสมรส: สิทธิของผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมและหน้าที่ของศาลในการไต่สวน
โจทก์ได้นำเจ้าพนักงานกองหมายยึดที่ดินมีชื่อจำเลยและภรรยาเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และทำการขายทอดตลาดได้เงินมา และกองหมายได้กันเงินส่วนของภรรยาไว้ โจทก์ยื่นคำร้องว่าทรัพย์รายนี้เป็นสินสมรสขอให้ศาลสั่งกองหมายแก้บัญชีโดยไม่ต้องหักเงินเป็นส่วนของภรรยาศาลชั้นต้นสอบโจทก์และเจ้าพนักงานกองหมายและมีคำสั่งว่า ที่ดินที่ขายเป็นสินบริคณห์ ให้กองหมายจ่ายเงินค่าขายที่ทั้งหมดชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา นั้นหาเป็นการชอบไม่เพราะภรรยามีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับสามีถือได้ว่าภรรยาเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280(2) แต่ศาลชั้นต้นไม่เคยไต่สวนหรือสอบผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แต่ประการใดจึงสมควรให้โอกาสแก่ภรรยาของจำเลยจะโต้แย้งประการใดหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดียึดทรัพย์สินสมรส: ศาลต้องให้คู่ความผู้มีส่วนได้เสีย (ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วม) โต้แย้งก่อนมีคำสั่ง
โจทก์ได้นำเจ้าพนักงานกองหมายยึดที่ดินมีชื่อจำเลยและภรรยาเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ และทำการขาดทอดตลาดได้เงินมา และกองหมายได้กันเงินส่วนของภรรยาไว้ โจทก์ยื่นคำร้องว่าทรัพย์รายนี้เป็นสินสมรส ขอให้ศาลสั่งกองหมายแก้บัญชีโดยไม่ต้องหักเงินเป็นส่วนของภรรยาศาลชั้นต้นสอบโจทก์และเจ้าพนักงานกองหมายและมีคำสั่งว่า ที่ดินที่ขายเป็นสินบริคณห์ ให้กองหมายจ่ายเงินค่าขายที่ทั้งหมดชำระหนี้ โจทก์ตามคำพิพากษา นั้นหาเป็นการชอบไม่ เพราะภรรยามีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับสามี ถือได้ว่าภรรยาเป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 280 (2) แต่ศาลชั้นต้นไม่เคยไต่สวนหรือสอบผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แต่ประการใด จึงสมควรให้โอกาสแก่ภรรยาของจำเลยจะโต้แย้งประการใดหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 907/2486
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกสินบริคณห์เพื่อใช้หนี้: สิทธิเจ้าหนี้และการต่อสู้ของจำเลย
เจ้าหนี้ยึดสินบริคณห์ระหว่างจำเลยกับสามี สามีร้องขัดทรัพย์อ้างว่านิติกรรมที่ภรรยาทำเป็นโมฆียะ ไม่ผูกพันสินบริคณห์ ศาลสั่งถอนการยึดไปตามคำร้องขัดทรัพย์เจ้าหนี้มาฟ้องขอแยกสินบริคณห์ระหว่างสามีภรรยานั้นใหม่ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เจ้าหนี้ซึ่งขอแยกสินบริคณห์ของลูกหนี้ตาม มาตรา 1483นั้นไม่จำต้องขอขณะยึดทรัพย์ของลูกหนี้ แม้ศาลให้ถอนการยึดแล้วก็ขอได้ ในกรณีที่ขอแยกสินบริคณห์ระหว่างสามีภรรยาเพื่อใช้หนี้ถ้าจำเลยต่อสู้ว่าขายให้บุคคลภายนอกไปแล้ว ก็ต้องพิจารณาว่าจริงหรือไม่ เพราะถ้าจริงก็ไม่ใช่สินบริคณห์จะขอแยกไม่ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2486)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 907/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกสินบริคนห์เพื่อใช้หนี้และการฟ้องซ้ำ สิทธิเจ้าหนี้ในการยึดทรัพย์สินบริคนห์
เจ้าหนี้ยึดสินบริคนห์ระหว่างจำเลยกับสามีสามีร้องขัดทรัพย์อ้างว่านิติกัมที่ภรรยาทำเปนโมคียะ ไม่ผูกพันสินบริคนห์สาลสั่งถอนการยึดไปตามคำร้องขัดทรัพย์ เจ้าหนี้มาฟ้องขอแยกสินบริคนห์ระหว่างสามีภรรยานั้นไหม่ได้ ไม่เปนฟ้องซ้ำ
เจ้าหนี้ซึ่งขอแยกสินบริคนห์ของลูกหนี้ตาม ม. 1483 นั้นไม่จำต้องขอขนะยึดทรัพย์ของลูกหนี้ แม้สาลไห้ถอนการยึดแล้วก็ขอได้
ไนกรนีที่ขอแยกสินบริคนห์ระหว่างสามีภรรยาเพื่อไช้หนี้ ถ้าจำเลยต่อสู้ว่าขายไห้คนพายนอกไปแล้ว ก็ต้องพิจารนาว่าจิงหรือไม่ เพราะถ้าจิงก็ไม่ไช่สินบริคนห์จะขอแยกไม่ได้.
เจ้าหนี้ซึ่งขอแยกสินบริคนห์ของลูกหนี้ตาม ม. 1483 นั้นไม่จำต้องขอขนะยึดทรัพย์ของลูกหนี้ แม้สาลไห้ถอนการยึดแล้วก็ขอได้
ไนกรนีที่ขอแยกสินบริคนห์ระหว่างสามีภรรยาเพื่อไช้หนี้ ถ้าจำเลยต่อสู้ว่าขายไห้คนพายนอกไปแล้ว ก็ต้องพิจารนาว่าจิงหรือไม่ เพราะถ้าจิงก็ไม่ไช่สินบริคนห์จะขอแยกไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการยึดสินบริคณห์ของเจ้าหนี้เมื่อสามีภริยาทำหนี้ร่วมกัน หรือแยกกัน
บุตร์ชนะความมารดาเลี้ยงแล้วยึดสินบริคณห์ส่วนของมารดาเลี้ยงแล้ว บิดาร้องขัดทรัพย์นั้นไม่เป็นคดีอุทลุม หนี้ที่ภริยาทำนิติกรรมในระหว่างเป็นภริยาแล้วโดยสามีรู้เห็นยินยอม เจ้าหนี้ก็มีสิทธิ์ยึดสินบริคณห์ส่วนของภริยาได้เช่นเดียวกันทั้งสองกรณี โจทก์ยื่นคำร้องยึดทรัพย์และยื่นคำร้องขอแยกสินบริคณห์ส่วนของภริยาสามีร้องขัดทรัพย์ว่าโจทก์ไม่มีสิทธิ์ยึดสินบริคณห์ ศาลสั่งให้ดำเนินคดีเรื่องขัดทรัพย์ก่อนเรื่องแยกสินบริคณห์ได้.