พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7292/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดสิทธิบัตร: ผลิตภัณฑ์ต้องมีองค์ประกอบตามสิทธิบัตร และการออกแบบต้องแตกต่างชัดเจน
การพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสี่จะเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่ ในส่วนของสิทธิบัตรการประดิษฐ์จะต้องพิจารณาจากรายละเอียดขอบเขตการประดิษฐ์ในข้อถือสิทธิและรูปเขียนทั้งหมดที่ทำให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ตามความมุ่งหมายของการประดิษฐ์นั้น เมื่อผลิตภัณฑ์ของฝ่ายจำเลย มิใช่ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นโดยใช้ข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์อุปกรณ์และวิธีการปล่อยสารกระตุ้นต้นไม้ให้ผลิตน้ำยาง เลขที่ 22925 ของโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นความผิดฐานละเมิดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 85 ประกอบมาตรา 36 (1)
เมื่อพิจารณารูปร่างของผลิตภัณฑ์ในข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของโจทก์ กับผลิตภัณฑ์ของฝ่ายจำเลยแล้ว เห็นได้ว่าแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของโจทก์แตกต่างจากแบบผลิตภัณฑ์ของฝ่ายจำเลยอย่างชัดเจน จึงฟังไม่ได้ว่าผลิตภัณฑ์ของฝ่ายจำเลยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นโดยใช้แบบผลิตภัณฑ์ในข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นความผิดฐานละเมิดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 85 ประกอบมาตรา 63 ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่าแม้แบบผลิตภัณฑ์ของฝ่ายจำเลยจะแตกต่างจากแบบผลิตภัณฑ์ของโจทก์ แต่ความแตกต่างดังกล่าวไม่ใช่สาระสำคัญและยังมีคุณสมบัติในการใช้สอยทำให้เกิดผลในทำนองเดียวกันนั้น เป็นหลักการตีความโดยทฤษฎีความเท่าเทียมกัน (Doctrine of Equivalents) ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 36 ทวิ วรรคสอง ประกอบมาตรา 36 ซึ่งเป็นเรื่องการละเมิดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ซึ่งมาตรา 65 มิได้บัญญัติให้นำมาตรา 36 ทวิ วรรคสอง มาใช้กับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์โดยอนุโลม
เมื่อพิจารณารูปร่างของผลิตภัณฑ์ในข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของโจทก์ กับผลิตภัณฑ์ของฝ่ายจำเลยแล้ว เห็นได้ว่าแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของโจทก์แตกต่างจากแบบผลิตภัณฑ์ของฝ่ายจำเลยอย่างชัดเจน จึงฟังไม่ได้ว่าผลิตภัณฑ์ของฝ่ายจำเลยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นโดยใช้แบบผลิตภัณฑ์ในข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นความผิดฐานละเมิดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 85 ประกอบมาตรา 63 ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่าแม้แบบผลิตภัณฑ์ของฝ่ายจำเลยจะแตกต่างจากแบบผลิตภัณฑ์ของโจทก์ แต่ความแตกต่างดังกล่าวไม่ใช่สาระสำคัญและยังมีคุณสมบัติในการใช้สอยทำให้เกิดผลในทำนองเดียวกันนั้น เป็นหลักการตีความโดยทฤษฎีความเท่าเทียมกัน (Doctrine of Equivalents) ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 36 ทวิ วรรคสอง ประกอบมาตรา 36 ซึ่งเป็นเรื่องการละเมิดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ซึ่งมาตรา 65 มิได้บัญญัติให้นำมาตรา 36 ทวิ วรรคสอง มาใช้กับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์โดยอนุโลม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9213/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อนุสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์หากมีการประดิษฐ์ที่ใช้แพร่หลายก่อนวันขอรับสิทธิบัตร การนำเข้าสินค้าที่เหมือนกับอนุสิทธิบัตรไม่ถือเป็นการละเมิด
ถุงห่อผลไม้ตามวัตถุพยานหมาย ว.จ.2 ที่บริษัท ก. และบริษัท ซ. นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยก่อนที่จำเลยยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้ และ ว.จ.3 กับถุงห่อผลไม้ของจำเลยตามวัตถุพยานหมาย ว.ล.3 มีลักษณะเหมือนกัน กล่าวคือ เป็นถุง 2 ชั้น มีถุงห่อหุ้มชั้นนอกและถุงห่อหุ้มชั้นในถุงห่อหุ้มชั้นนอกมีการเคลือบสีดำอยู่ด้านในเพื่อกรองแสงไม่ให้แสงสว่างเข้าไปในถุงและถุงห่อหุ้มชั้นในเคลือบด้วยคาร์บอนอยู่อีกชั้นหนึ่ง ถุงห่อหุ้มชั้นนอกและชั้นในมีปลายเปิดด้านบนสำหรับรองรับการสอดเข้าของผลไม้ที่ต้องการห่อ ด้านล่างของถุงห่อหุ้มชั้นนอกมีรูเจาะทะลุถึงด้านล่างของถุงห่อหุ้มชั้นใน และด้านล่างของถุงห่อหุ้มชั้นนอกจะเป็นช่องเว้าออกด้านข้างมีรูเจาะทะลุถึงด้านในของถุงห่อหุ้มชั้นในบริเวณก้นถุงมีรูระบายน้ำและระบายอากาศมีปีกที่มีลวดเหล็กอยู่ข้างในยื่นออกมาเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ปีกที่ลวดเหล็กอยู่คนละด้านกันซึ่งปีกที่ยื่นออกมาจะใช้ในการรัดกิ่งไม้หรือใช้มัดปากถุงไม่ให้ถุงห่อผลไม้หลุดออกจากผลไม้ถุงห่อผลไม้ตามวัตถุพยานหมาย ว.จ.2 และ ว.จ.3 มีลักษณะเหมือนกับถุงห่อผลไม้ตามวัตถุพยานหมาย ว.ล.3 ของจำเลย และการประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้วัตถุพยานหมาย ว.จ.2 และ ว.จ.3 เหมือนกับข้อถือสิทธิสำหรับการประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้ตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 4343 ของจำเลยซึ่งระบุข้อถือสิทธิไว้ว่า ถุงห่อผลไม้ประกอบด้วยถุงห่อหุ้มชั้นนอกที่เป็นถุงชั้นนอกที่มีปลายเปิดด้านบนชั้นนอกและพื้นผิวด้านนอกของถุงห่อหุ้มชั้นนอกจะมีชั้นสารเคลือบกันน้ำเคลือบอยู่อย่างน้อยหนึ่งชั้น สำหรับป้องกันน้ำจากภายนอกเข้าสู่ด้านในถุงห่อหุ้มชั้นนอกและพื้นผิวด้านในของถุงห่อหุ้มชั้นนอกจะเป็นสีทึบแสงอย่างน้อยหนึ่งชั้นสำหรับป้องกันแสงจากภายนอกเข้าสู่ด้านในถุงห่อหุ้มชั้นในซึ่งถุงห่อหุ้มชั้นในจะเป็นถุงชั้นในที่อยู่ด้านในถุงห้อหุ้มชั้นนอกและมีปลายเปิดด้านบนชั้นในสำหรับเป็นช่องทางสวมเข้าทางด้านบนของผลไม้ที่ต้องการห่อหุ้มชั้นใน และพื้นผิวด้านนอกของถุงห่อหุ้มชั้นในอย่างน้อยหนึ่งด้านจะเป็นสีทึบแสงอย่างน้อยหนึ่งชั้น สำหรับป้องกันแสงจากภายนอกเข้าสู่ด้านในถุงห่อหุ้มชั้นใน และพื้นผิวด้านนอกของสีทึบแสงอย่างน้อยหนึ่งด้านของถุงห้อหุ้มชั้นในจะมีชั้นสารเคลือบกันน้ำเคลือบอยู่อย่างน้อยหนึ่งชั้น สำหรับป้องกันน้ำจากภายนอกเข้าสู่ด้านในถุงห่อหุ้มชั้นในอีกชั้นหนึ่ง แม้การประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้ตามวัตถุพยานหมาย ว.จ.2 และ ว.จ.3 จะมิใช่การประดิษฐ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันที่จำเลยขอรับอนุสิทธิบัตรเลขที่ 4343 ก็ตาม แต่ถุงห่อผลไม้ตามวัตถุพยาน ว.จ.2 และ ว.จ.3 เป็นการประดิษฐ์ที่ปรากฏอยู่แล้วนอกและในราชอาณาจักรก่อนวันที่จำเลยขอรับอนุสิทธิบัตรเลขที่ 4343 เมื่อการประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้วัตถุพยานหมาย ว.ล.3 ตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 4343 เหมือนกับการประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้วัตถุพยานหมาย ว.จ.2 และ ว.จ.3 การประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้วัตถุพยานหมาย ว.ล.3 จึงเป็นการประดิษฐ์ที่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้วอันมิใช่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 ทศ ประกอบมาตรา 6 วรรคหนึ่ง การออกอนุสิทธิบัตรเลขที่ 4343 ย่อมไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 ทวิ ต้องถือว่าอนุสิทธิบัตรเลขที่ 4343 ไม่สมบูรณ์ ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 65 นว วรรคหนึ่ง โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียชอบที่จะขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรนั้นได้ ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 65 นว วรรคสอง แม้การประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้ตามวัตถุพยานหมาย ว.จ.1 ที่โจทก์นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเหมือนกับการประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้ในข้อถือสิทธิตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 4343 ของจำเลยก็ตาม แต่เมื่ออนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้เลขที่ 4343 ที่อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาออกให้แก่จำเลยเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2551 เป็นอนุสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์ การประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้ดังกล่าวจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 สัตต การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่อาจเป็นการละเมิดอนุสิทธิบัตรเลขที่ 4343 ของจำเลยตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 ทศ ประกอบมาตรา 35 ทวิ และมาตรา 36 วรรคหนึ่ง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองชั่วคราวในคดีละเมิดสิทธิบัตร: ขอบเขตการห้ามดำเนินคดีอาญาและการวางเงื่อนไขเพื่อป้องกันความเสียหาย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์วัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มที่เจ้าพนักงานออกให้แก่จำเลย โดยอ้างว่าสิทธิบัตรนั้นได้ออกไปโดยไม่ชอบ การที่จำเลยนำเจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปยึดวัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มที่โจทก์ใช้งานอยู่ในระหว่างพิจารณา ทั้ง ๆ ที่ก่อนฟ้องได้นำเจ้าพนักงานตำรวจยึดวัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มอันอื่นไปเป็นพยานหลักฐานบ้างแล้ว ถือได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้ โจทก์จึงขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยนำเจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปตรวจค้นและยึดวัสดุรองรับกระแทกบนหัวเสาเข็มของโจทก์ในสถานที่ก่อสร้างที่โจทก์รับเหมาตอกเสาเข็มก่อนพิพากษาได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 255 (2)
การที่ศาลจะมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยห้ามจำเลยดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรของจำเลยเพื่อนำชี้ให้เจ้าพนักงานตำรวจเข้าทำการตรวจค้นและยึดวัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มของโจทก์ อาจทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนไปได้ว่าศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยไม่ให้ดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรของจำเลยได้ ทั้ง ๆ ที่สิทธิบัตรของจำเลยยังไม่ถูกเพิกถอน และสิทธิในการดำเนินคดียังคงเป็นของจำเลยตราบเท่าที่สิทธิบัตรยังไม่ถูกเพิกถอน และศาลไม่อาจห้ามการกระทำใด ๆ ในการดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ที่จำเลยได้ดำเนินการไปแล้วได้ ศาลจึงชอบ ที่จะมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยนำเจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปทำการตรวจค้นและยึดวัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มของโจทก์ในสถานที่ก่อสร้างก่อนพิพากษาเท่านั้น แต่ไม่ห้ามจำเลยดำเนินคดีอาญาในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรของจำเลย
เมื่อจำเลยอาจได้รับความเสียหายในอนาคตจากการใช้วิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาของโจทก์ด้วยเหตุที่โจทก์เป็นฝ่ายละเมิดสิทธิตามสิทธิบัตรของจำเลย ศาลจึงกำหนดเงื่อนไขในคำสั่งโดยให้โจทก์ทำบัญชีการใช้วัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มของโจทก์เสนอศาลทุกเดือนนับแต่เดือนที่มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวและให้โจทก์วางเงินประกันต่อศาลเพื่อประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่จำเลยในกรณีที่ปรากฏต่อมาภายหลังว่าสิทธิบัตรของจำเลยเป็นสิทธิบัตรที่สมบูรณ์
การที่ศาลจะมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยห้ามจำเลยดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรของจำเลยเพื่อนำชี้ให้เจ้าพนักงานตำรวจเข้าทำการตรวจค้นและยึดวัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มของโจทก์ อาจทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนไปได้ว่าศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยไม่ให้ดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรของจำเลยได้ ทั้ง ๆ ที่สิทธิบัตรของจำเลยยังไม่ถูกเพิกถอน และสิทธิในการดำเนินคดียังคงเป็นของจำเลยตราบเท่าที่สิทธิบัตรยังไม่ถูกเพิกถอน และศาลไม่อาจห้ามการกระทำใด ๆ ในการดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ที่จำเลยได้ดำเนินการไปแล้วได้ ศาลจึงชอบ ที่จะมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยนำเจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปทำการตรวจค้นและยึดวัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มของโจทก์ในสถานที่ก่อสร้างก่อนพิพากษาเท่านั้น แต่ไม่ห้ามจำเลยดำเนินคดีอาญาในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรของจำเลย
เมื่อจำเลยอาจได้รับความเสียหายในอนาคตจากการใช้วิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาของโจทก์ด้วยเหตุที่โจทก์เป็นฝ่ายละเมิดสิทธิตามสิทธิบัตรของจำเลย ศาลจึงกำหนดเงื่อนไขในคำสั่งโดยให้โจทก์ทำบัญชีการใช้วัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มของโจทก์เสนอศาลทุกเดือนนับแต่เดือนที่มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวและให้โจทก์วางเงินประกันต่อศาลเพื่อประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่จำเลยในกรณีที่ปรากฏต่อมาภายหลังว่าสิทธิบัตรของจำเลยเป็นสิทธิบัตรที่สมบูรณ์