พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการมีทนายความและการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานมีฝิ่นอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2หนัก 0.57 กรัม ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 17 วรรคหนึ่ง, 69 วรรคหนึ่ง มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท ฉะนั้นก่อนเริ่มพิจารณาศาลชั้นต้นต้องสอบถามจำเลยถึงเรื่องทนายความก่อนตาม ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคสอง แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามจำเลย จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความแล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดีชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบถามจำเลยเรื่องทนายความก่อนพิจารณาคดีสำคัญตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานมีฝิ่นอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หนัก 0.57 กรัมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 17 วรรคหนึ่ง,69 วรรคหนึ่ง มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท ฉะนั้นก่อนเริ่มพิจารณาศาลชั้นต้นต้องสอบถามจำเลยถึงเรื่องทนายความก่อนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสอง แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามจำเลย จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความแล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดีชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6522/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบถามจำเลยเรื่องทนายความก่อนเริ่มพิจารณาคดีในศาลแขวง แม้ไม่มีบทบัญญัติโดยตรง แต่ต้องใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
แม้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 กับพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2499 ได้ตราขึ้นก็โดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีรวดเร็วยิ่งขึ้นและเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนก็ตามแต่เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173วรรคสอง บัญญัติในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้อันเป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองแก่จำเลยในการพิจารณาคดีของศาลซึ่งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงดังกล่าวจะไม่มีบทบัญญัติดังเช่นมาตรา 173วรรคสอง ก็ดี แต่ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯก็บัญญัติให้นำกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับการที่ศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายความก่อนเริ่มพิจารณาคดี จึงเป็นการมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา กรณีเป็นการจำเป็นที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณา และพิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6522/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการได้รับการสอบถามเรื่องทนายความก่อนเริ่มพิจารณาคดี และผลของการไม่ปฏิบัติตามกระบวนการ
แม้ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499 กับ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2499 ได้ตราขึ้นก็โดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีรวดเร็วยิ่งขึ้นและเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนก็ตาม แต่เมื่อ ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคสอง บัญญัติในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้อันเป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองแก่จำเลยในการพิจารณาคดีของศาลซึ่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงดังกล่าวจะไม่มีบทบัญญัติดังเช่นมาตรา 173 วรรคสอง ก็ดี แต่ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯก็บัญญัติให้นำกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับ การที่ศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายความก่อนเริ่มพิจารณาคดี จึงเป็นการมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา กรณีเป็นการจำเป็นที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณา และพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5421/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการได้รับการช่วยเหลือทางกฎหมาย – การสอบถามทนายความก่อนพิจารณาคดีในศาลแขวง
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2539ที่บัญญัติว่า "ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก หรือในคดีที่จำเลย มีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล ก่อนเริ่มพิจารณา ให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการ ทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้" เป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่กำหนด อำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องสอบถามจำเลยในเรื่องการมีทนายความเสียก่อนในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องว่ากระทำความผิด ที่มีอัตราโทษจำคุกทุกกรณี และต้องนำมาใช้ในการพิจารณา คดีอาญาทุกคดี ส่วนบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง และวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 20 กับพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 ประกอบด้วยมาตรา 22 แม้จะเป็นบทบัญญัติที่ใช้ในศาลแขวงโดยเฉพาะแต่บทบัญญัติดังกล่าว ก็เป็นเพียงบทบัญญัติเกี่ยวกับการดำเนินการของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ และวิธีพิจารณาคดีของศาลในกรณีที่จำเลย ให้การรับสารภาพเพื่อให้การพิจารณาคดีเสร็จสิ้นโดยเร็ว เท่านั้น มิใช่เป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ของจำเลยในการดำเนินคดี การต่อสู้คดี และการได้รับความ ช่วยเหลือทางกฎหมายแต่อย่างใด ดังนี้ เมื่อพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงไม่มีบทบัญญัติ ที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของจำเลยในกรณีที่ให้จำเลยมีโอกาส ได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายจากทนายความในการดำเนินคดี กรณีจึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสอง มาใช้บังคับตามนัยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ดังนี้เมื่อคดีนี้มีอัตราโทษจำคุก แต่ก่อนเริ่มพิจารณาศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ และถ้าไม่มี จำเลยต้องการทนายความหรือไม่ จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5421/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการมีทนายความ: ศาลต้องสอบถามก่อนเริ่มพิจารณาคดีอาญาที่มีโทษจำคุก
บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.อ.(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2539 ที่บัญญัติว่า "ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก หรือในคดีที่จำเลยมีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้" เป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่กำหนดอำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องสอบถามจำเลยในเรื่องการมีทนายความเสียก่อนในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องว่ากระทำความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกทุกกรณี และต้องนำมาใช้ในการพิจารณาคดีอาญาทุกคดี ส่วนบทบัญญัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 20 กับพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 15 ประกอบด้วยมาตรา 22 แม้จะเป็นบทบัญญัติที่ใช้ในศาลแขวงโดยเฉพาะแต่บทบัญญัติดังกล่าวก็เป็นเพียงบทบัญญัติเกี่ยวกับการดำเนินการของพนักงานสอบสวนพนักงานอัยการ และวิธีพิจารณาคดีของศาลในกรณีที่จำเลยให้การรับสารภาพเพื่อให้การพิจารณาคดีเสร็จสิ้นโดยเร็วเท่านั้น มิใช่เป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของจำเลยในการดำเนินคดี การต่อสู้คดี และการได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายแต่อย่างใด ดังนี้ เมื่อ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงไม่มีบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของจำเลยในกรณีที่ให้จำเลยมีโอกาสได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายจากทนายความในการดำเนินคดี กรณีจึงต้องนำ ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคสอง มาใช้บังคับตามนัยมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ดังนี้ เมื่อคดีนี้มีอัตราโทษจำคุก แต่ก่อนเริ่มพิจารณาศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ และถ้าไม่มีจำเลยต้องการทนายความหรือไม่ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5208/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการมีทนายความ: ศาลต้องสอบถามก่อนเริ่มพิจารณา หากจำเลยต้องการแต่ไม่มีทนายความ ศาลต้องจัดให้
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 วรรคสอง ที่บัญญัติให้คดีที่มีอัตราโทษจำคุกก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้า ไม่มีและจำเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ เป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองสิทธิจำเลย จึงเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องสอบถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณาว่ามี และต้องการทนายความหรือไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้ มีการดำเนินการดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่างทั้งสองก็ตามจำเลยก็ยกขึ้นอ้างให้ศาลฎีกาวินิจฉัยได้และกรณีเช่นว่านี้จำต้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2) ประกอบด้วย มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2069/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาเมื่อจำเลยมีทนายความแล้ว การดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่มีทนายความไม่ถือว่าผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ซึ่งคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินกว่าที่รัฐมนตรีกำหนดไว้ในครอบครองเพื่อขายอันเป็นคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สิบปีขึ้นไปแต่ไม่ถึงประหารชีวิต ในวันเริ่มพิจารณาศาลชั้นต้นได้สอบจำเลยเรื่องทนายความแล้ว จำเลยแถลงว่า จะหาทนายความเองศาลชั้นต้นจึงสั่งให้นัดสืบพยานโจทก์ ต่อมาเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยตั้ง ช.เป็นทนายความและช.ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีศาลชั้นต้นอนุญาต จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 วรรคสอง แล้ว และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ที่เลื่อนไป จำเลยยื่นคำร้องว่าจำเลยขอให้การรับสารภาพและขอให้ศาลลงโทษจำเลยสถานเบา ศาลชั้นต้นสอบจำเลยแล้วยืนยันให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพไปในวันนั้น แม้ในวันดังกล่าวทนายจำเลยจะไม่มาศาลก็ไม่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นในวันดังกล่าวเสียไปเพราะจำเลยมีทนายความแล้วและการที่จำเลยให้การรับสารภาพและขอให้ศาลลงโทษจำเลยสถานเบา โดยไม่ได้ขอให้ศาลเลื่อนคดีไปเพราะทนายความไม่มาศาล แสดงว่าจำเลยไม่ติดใจที่จะให้ทนายความจำเลยซักค้าน พยานโจทก์แก้ต่างในการพิจารณาคดีวันดังกล่าวแต่อย่างใดการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2069/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอาญาโดยจำเลยมีทนายความแล้ว การให้การรับสารภาพและไม่ติดใจซักค้านพยาน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ซึ่งคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินกว่าที่รัฐมนตรีกำหนดไว้ในครอบครองเพื่อขาย อันเป็นคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สิบปีขึ้นไปแต่ไม่ถึงประหารชีวิต ในวันเริ่มพิจารณาศาลชั้นต้นได้สอบจำเลยเรื่องทนายความแล้ว จำเลยแถลงว่า จะหาทนายความเอง ศาลชั้นต้นจึงสั่งให้นัดสืบพยานโจทก์ ต่อมาเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยตั้ง ช.เป็นทนายความ และ ช.ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีศาลชั้นต้นสั่งอนุญาต จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินการตาม ป.วิ.อ.มาตรา 173วรรคสอง แล้ว และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ที่เลื่อนไป จำเลยยื่นคำร้องว่าจำเลยขอให้การรับสารภาพและขอให้ศาลลงโทษจำเลยสถานเบา ศาลชั้นต้นสอบจำเลยแล้วยืนยันให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพไปในวันนั้น แม้ในวันดังกล่าวทนายจำเลยจะไม่มาศาลก็ไม่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นในวันดังกล่าวเสียไปเพราะจำเลยมีทนายความแล้ว และการที่จำเลยให้การรับสารภาพและขอให้ศาลลงโทษจำเลยสถานเบา โดยไม่ได้ขอให้ศาลเลื่อนคดีไปเพราะทนายความไม่มาศาล แสดงว่าจำเลยไม่ติดใจที่จะให้ทนายความจำเลยซักค้านพยานโจทก์แก้ต่างในการพิจารณาคดีวันดังกล่าวแต่อย่างใด การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9732/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการมีทนาย – การสอบถามก่อนเริ่มพิจารณาคดี – กระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้อง
คดีที่มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่2ปีถึง15ปีเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องสอบถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณาว่ามีและต้องการทนายหรือไม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา173วรรคสองเมื่อตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นมิได้ปรากฏว่าได้มีการดำเนินการดังกล่าวแล้วการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงไม่ถูกต้องจริงศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองและย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการใหม่ให้ถูกต้องแล้วดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาคดีใหม่ตามรูปคดี