คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ.2485 ม. 8

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5213/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินจากความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรและ พ.ร.บ.ป้องกันฟอกเงิน ต้องพิเคราะห์ว่าเงินนั้นเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดหรือไม่
การที่ผู้คัดค้านนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยเกินกว่า 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยไม่แจ้งรายการเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร อันเป็นการฝ่าฝืนหรือละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง ประกาศหรือคำสั่งที่ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ. 2485 ถือเป็นความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรตามกฎหมายศุลกากรอันเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (7) แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าเงินตราต่างประเทศของกลางเป็นเงินตราที่ได้มาโดยมิชอบ เงินตราต่างประเทศของกลางจึงมิใช่เครื่องมือหรือทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากร จึงไม่อาจริบเงินของกลางให้ตกเป็นของแผ่นดินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยขยายเวลาอุทธรณ์: การติดต่อทนายความและการเปิดทำการศาลเป็นปัจจัยที่สามารถดำเนินการได้
ผู้ร้องทั้งสองทราบกำหนดนัดและผลคดีรวมทั้งสามารถติดต่อสื่อสารกับทนายของผู้ร้องทั้งสองได้โดยตลอด แม้ผู้ร้องทั้งสองอยู่ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แต่ผู้ร้องทั้งสองมีทนายความในประเทศไทยที่มีอำนาจดำเนินคดีแทน และผู้ร้องทั้งสองสามารถติดต่อกับทนายความได้ ประกอบกับศาลชั้นต้นก็ยังคงเปิดทำการอยู่ เช่นนี้ ทนายความของผู้ร้องทั้งสองย่อมสามารถดำเนินการขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ การที่ผู้ร้องทั้งสองมิได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ภายในกำหนดจึงถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5118/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งออกเงินตราต่างประเทศหลังกฎหมายยกเลิกข้อจำกัด ไม่เป็นความผิดมูลฐานฟอกเงิน
กฎกระทรวง ฉบับที่ 20 (พ.ศ.2534) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ.2485 ข้อ 5 ได้ยกเลิกข้อ 11 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2497) เป็นผลให้ผู้เดินทางไปต่างประเทศสามารถนำเงินตราต่างประเทศออกนอกประเทศไทยได้โดยเสรี ไม่ถือเป็นการส่งหรือนำของต้องจำกัดออกไปนอกประเทศ อันจะเป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรตาม พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ.2485 มาตรา 8 ทวิ ส่วนการซื้อเงินตราต่างประเทศและการไม่ขายเงินตราต่างประเทศให้แก่ผู้ได้รับอนุญาต แล้วนำเงินตราต่างประเทศออกไปนอกประเทศไทยนั้น เป็นปัญหาการฝ่าฝืนหรือละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ.2485 ซึ่งมีความผิดและต้องรับโทษตามมาตรา 8 ไม่ใช่ความผิดเกี่ยวกับการส่งหรือนำของต้องจำกัดออกไปนอกหรือเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งหมายถึงของที่มีกฎหมายกำหนดว่า การส่งหรือนำของนั้นออกไปหรือเข้ามาในประเทศไทยจะต้องได้รับอนุญาตหรือปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายนั้นกำหนดไว้ โดยผู้ฝ่าฝืนจะมีความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร อันจะเป็นความผิดมูลฐานตามบทนิยามของ "ความผิดมูลฐาน" ในมาตรา 3 วรรคหนึ่ง (7) แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 จึงต้องคืนเงินตราต่างประเทศดังกล่าวแก่เจ้าของ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11814/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติตามหน้าที่ขายเงินตราต่างประเทศภายใน 7 วัน ไม่ถือเป็นความผิด หากได้ดำเนินการตามกำหนด
กฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ.2485 ข้อ 20 แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 23 (พ.ศ.2541) บัญญัติว่า "บุคคลใดได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศ... ต้องขายเงินตราระหว่างประเทศนั้นให้แก่ธนาคารรับอนุญาต หรือบริษัทรับอนุญาต หรือบุคคลรับอนุญาตที่ตั้งอยู่ในประเทศ...ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้มาหรือนำเข้าแล้วแต่กรณี..." ซึ่งมีความหมายแต่เพียงว่าหากการได้เงินตราต่างประเทศแล้วมิได้มีการขายให้แก่ธนาคารหรือบุคคลผู้รับอนุญาตภายใน 7 วัน จึงจะมีความผิดตามกฎหมาย ซึ่งเป็นการกำหนดหน้าที่ปฏิบัติ หากฝ่าฝืนด้วยการงดเว้นไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดจึงจะมีความผิด การที่จำเลยที่ 2 ได้รับเงินตราต่างประเทศแล้วทำการขายให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้เงินตราต่างประเทศ จึงถือว่าได้มีการปฏิบัติครบตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ไม่ปรากฏว่ามีกรณีงดเว้นไม่กระทำการที่กฎหมายได้กำหนดหน้าที่ไว้ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4380/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบธุรกิจซื้อขายเงินตราต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต และการรอการลงโทษสำหรับลูกจ้าง
เมื่อศาลชั้นต้นอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยไม่ต้องการทนายความและให้การรับสารภาพ อีกทั้งโจทก์จำเลยไม่ติดใจสืบพยาน ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังตามคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยทั้งหกร่วมกันประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินตราต่างประเทศซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยรับซื้อขายเงินตราต่างประเทศและเป็นตัวแทนซื้อเงินสกุลปอนด์เยนมาร์กและดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ให้แก่ประชาชน ดังนั้น ฎีกาของจำเลยทั้งหกที่ว่า การกระทำของจำเลยมีลักษณะเป็นการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอันมีลักษณะเดียวกับการเล่นหุ้นของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยผลกำไรขาดทุนถือเอาการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมิได้ถือครองเงินตราต่างประเทศ ไม่ได้เป็นการซื้อขายเงินตราต่างประเทศและมิใช่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศแต่อย่างใด ทั้งการที่บริษัท อ. ประกาศรับสมัครพนักงานจำเลยที่ 3 เชื่อโดยสุจริตว่าบริษัทดังกล่าวประกอบกิจการโดยชอบด้วยกฎหมายจึงไปสมัครงาน และบริษัทได้อบรมจำเลยที่ 3 ก่อน จำเลยที่ 3 ทำงานเพียง 2 เดือนก็ถูกจับกุมโดยไม่ทราบว่าการกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นความผิด และอ้างว่าพนักงานสอบสวนจูงใจให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับสารภาพโดยบอกว่าเมื่อรับสารภาพแล้วศาลจะลงโทษปรับเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยทั้งหกเป็นเพียงลูกจ้างของบริษัท อ. ในตำแหน่งพนักงานการตลาดทำหน้าที่เกี่ยวกับการหาลูกค้าเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าได้มีการดำเนินคดีแก่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทดังกล่าวหรือจำเลยทั้งหกได้ร่วมกับผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทดังกล่าวกระทำความผิดแต่ประการใด ประกอบกับจำเลยทั้งหกไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน จึงสมควรให้โอกาสจำเลยทั้งหกกลับตัวเป็นพลเมืองดี โดยรอการลงโทษและคุมความประพฤติของจำเลยทั้งหกไว้ ซึ่งน่าจะเป็นผลดีแก่สังคมส่วนรวมยิ่งกว่าลงโทษจำคุกไปเสียที่เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพยายามลักลอบนำเงินตราออกนอกประเทศ: การกระทำถึงขั้นลงมือแล้วหรือไม่
จำเลยจะเดินทางไปต่างประเทศ เครื่องบินขึ้นเวลา 8.40 นาฬิกาจำเลยไปถึงท่าอากาศยานรับบัตรที่นั่งผู้โดยสารและบัตรรับกระเป๋าเดินทางแล้ว เวลา 8.15 นาฬิกา ขณะจำเลยเดินเข้าช่องทางเดินเพื่อไปยังเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่ตรวจพบเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ9,100ดอลลาร์ ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้นำออกนอกราชอาณาจักรที่จำเลย การกระทำของจำเลยเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเดินทางออกไปจากประเทศไทย และใกล้ชิดต่อความผิดสำเร็จโดยพ้นขั้นตระเตรียมการแล้ว ดังนี้ จำเลยมีเจตนานำเงินตราที่ต้องจำกัด หรือต้องห้ามออกไปนอกประเทศ จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามกระทำความผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 758/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนบัตรไม่ใช่ 'ของ' ตามกฎหมายศุลกากร การนำเข้า-ส่งออกเงินตราจึงไม่ผิด
ธนบัตรของกลางเป็นธนบัตรรัฐบาลไทย และเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายในประเทศไทย มิใช่สิ่งของอันอาจนำไปจำหน่ายเป็นสินค้าอย่างธรรมดาทั่ว ๆ ไปได้ ธนบัตรของกลางจึงมิใช่ "ของ" ตามความหมายในมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ฉะนั้นการกระทำของจำเลยที่นำธนบัตรของกลางออกไปและเข้ามาในราชอาณาจักรจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27
ธนบัตรและเรือเพลายาวของกลางมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยมีไว้เป็นความผิดได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิด หรือได้มาโดยการกระทำผิด หรือได้มาโดยการกระทำผิด และการกระทำของจำเลยก็มิได้เป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 จึงริบธนบัตรและเรือของกลางไม่ได้ทั้งจ่ายรางวัลให้เจ้าพนักงานก็ไม่ได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 758/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนบัตรไม่ใช่ 'ของ' ตามศุลกากร การนำเข้า-ออก ไม่เป็นความผิด ริบไม่ได้ จ่ายรางวัลไม่ได้
ธนบัตรของกลางเป็นธนบัตรรัฐบาลไทย และเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายในประเทศไทย มิใช่สิ่งของอันอาจนำไปจำหน่ายเป็นสินค้าอย่างธรรมดาทั่ว ๆ ไปได้ธนบัตรของกลางจึงมิใช่ "ของ" ตามความหมายในมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469 ฉะนั้น การกระทำของจำเลยที่นำธนบัตรของกลางออกไปและเข้ามาในราชอาณาจักรจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 27
ธนบัตรและเรือเพลายาวของกลางมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยมีไว้เป็นความผิดได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิดหรือได้มาโดยการกระทำผิดและการกระทำของจำเลยก็มิได้เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469 จึงริบธนบัตรและเรือของกลางไม่ได้ทั้งจ่ายรางวัลให้เจ้าพนักงานก็ไม่ได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเงินตราเข้าประเทศเกิน 500 บาทโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ใช่ความผิดฐานมีทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิด จึงไม่ริบได้
การที่จำเลยนำเงินตราซึ่งเป็นธนบัตรไทยจำนวนหกพันบาทเข้ามาในประเทศเป็นความผิดเพราะมีจำนวนเกินกว่าห้าร้อยบาทนั้น ความผิดอยู่ที่การไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานหาใช่เงินตราดังกล่าวเป็นของผิดกฎหมายที่ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดไม่จึงริบเงินตราไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเงินตราเข้าประเทศเกิน 500 บาทโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ใช่ความผิดฐานมีทรัพย์สินผิดกฎหมาย จึงไม่ริบได้
การที่จำเลยนำเงินตราซึ่งเป็นธนบัตรไทยจำนวนหกพันบาทเข้ามาในประเทศเป็นความผิด เพราะมีจำนวนเกินกว่าห้าร้อยบาทนั้น ความผิดอยู่ที่การไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน หาใช่เงินตราดังกล่าวเป็นของผิดกฎหมายที่ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดไม่ จึงริบเงินตราไม่ได้
of 2