คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 88

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10192/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สหภาพแรงงาน: คุณสมบัติสมาชิกต้องเป็นลูกจ้างในกิจการประเภทเดียวกัน การแก้ไขข้อบังคับต้องไม่ขัดกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 88, 89 วรรคหนึ่ง และ 95 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้โดยแจ้งชัดแล้วว่า สหภาพแรงงานมี 2 ประเภท คือ 1. สหภาพแรงงานประเภทที่ผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานหรือผู้เริ่มก่อการเป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกัน โดยสมาชิกของสหภาพแรงงานประเภทนี้ก็จะต้องเป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกันกับผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงาน และ 2. สหภาพแรงงานประเภทที่ผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานหรือผู้เริ่มก่อการเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกันโดยไม่คำนึงว่าจะมีนายจ้างกี่คน โดยสมาชิกของสหภาพแรงงานประเภทนี้ก็จะต้องเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกันกับผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานโดยไม่คำนึงว่าจะมีนายจ้างกี่คน เมื่อโจทก์เป็นสหภาพแรงงานประเภทที่ผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานหรือผู้เริ่มก่อการเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกัน ดังนั้นคุณสมบัติของสมาชิกโจทก์ก็ต้องเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกันกับผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงาน และเมื่อโจทก์ยอมรับว่ากิจการที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมนั้นเป็นกิจการคนละประเภทกับที่ผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานโจทก์ขอจดทะเบียนไว้ การที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ ข้อ 6 ซึ่งกำหนดว่า "สมาชิกของสหภาพแรงงานต้องมีคุณสมบัติเป็นลูกจ้างของนายจ้างที่ประกอบกิจการผลิตและ/หรือประกอบชิ้นส่วนยานยนต์" เป็นว่า "สมาชิกของสหภาพแรงงานต้องมีคุณสมบัติเป็นลูกจ้างของนายจ้างที่ประกอบกิจการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์หรือชิ้นส่วนโลหะ" จึงขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10192/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สหภาพแรงงาน: คุณสมบัติสมาชิกต้องเป็นลูกจ้างในกิจการประเภทเดียวกัน การแก้ไขข้อบังคับต้องไม่ขัดกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 88 มาตรา 89 วรรคหนึ่ง และมาตรา 95 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าสหภาพแรงงานมี 2 ประเภท คือ 1. สหภาพแรงงานประเภทที่ผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานหรือผู้เริ่มก่อการเป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกัน โดยสมาชิกของสหภาพแรงงานประเภทนี้ต้องเป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกันกับผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงาน 2. สหภาพแรงงานประเภทที่ผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานหรือผู้เริ่มก่อการเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกันโดยไม่คำนึงว่าจะมีนายจ้างกี่คน โดยสมาชิกของสหภาพแรงงานประเภทนี้ต้องเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกันกับผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานโดยไม่คำนึงว่าจะมีนายจ้างกี่คน โจทก์เป็นสหภาพแรงงานประเภทที่ผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานหรือผู้เริ่มก่อการเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกัน ดังนั้นคุณสมบัติของสมาชิกโจทก์ต้องเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกันกับผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงาน เมื่อโจทก์ยอมรับว่ากิจการที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมนั้นเป็นกิจการคนละประเภทกับที่ผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานโจทก์ขอจดทะเบียนไว้ โจทก์ไม่อาจขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวได้ การที่จำเลยทั้งสองไม่รับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7983/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนสหภาพแรงงานชอบด้วยกฎหมายเมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าผู้ยื่นคำขอเป็นลูกจ้าง
จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ได้รับจดทะเบียนจัดตั้งสหภาพแรงงานกรีนไลน์ ซึ่งมี ส. กับพวก รวม 11 คน เป็นผู้ยื่นคำขอ โดยมีเอกสารประกอบคำขอครบถ้วน ทั้งผู้เริ่มก่อการยืนยันว่าเป็นลูกจ้างโจทก์โดยมีหนังสือสัญญาจ้างขนส่งน้ำมันระหว่างผู้เริ่มก่อการกับโจทก์ ต่อมาสหภาพแรงงานกรีนไลน์ได้จัดประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกและยื่นขอจดทะเบียนกรรมการสหภาพและข้อบังคับสหภาพต่อสำนักงาน สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ จำเลยมีหนังสือสอบถามโจทก์ว่า ผู้ขอจดทะเบียนเป็นลูกจ้างของโจทก์จริงหรือไม่ โจทก์มีหนังสือตอบปฏิเสธ สหภาพแรงงานกรีนไลน์ได้ยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างแต่มิได้เจรจา เกิดเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 23 คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยว่า ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับพนักงานขับรถขนส่งน้ำมันมีฐานะเป็นนายจ้าง ลูกจ้าง อันมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ดังนี้ เมื่อเกิดข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ และคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้มีคำวินิจฉัยแล้ว โจทก์และสหภาพแรงงานกรีนไลน์ต่างมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อรัฐมนตรีภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำวินิจฉัย กรณีที่มิได้อุทธรณ์ภายในกำหนด คำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกล่าวย่อมเป็นที่สุด ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องและฝ่ายรับข้อเรียกร้องต้องปฏิบัติตาม ตามนัย พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 23 ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด คำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ย่อมเป็นที่สุด ข้อเท็จจริงย่อมฟังเป็นยุติว่า นายสังเวียนกับพวกรวม 11 คน ที่ยื่นคำขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานกรีนไลน์นั้นเป็นลูกจ้างโจทก์ การรับจดทะเบียนจัดตั้งสหภาพแรงงานกรีนไลน์ของจำเลยทั้งสี่จึงชอบด้วยกฎหมายแรงงานสัมพันธ์แล้ว