คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 122

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 65 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5623/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาซื้อขายแม้ลูกหนี้ล้มละลาย ผู้ซื้อมีสิทธิยึดหน่วงและบังคับชำระหนี้ได้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 2 จะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่มีต่อบุคคลอื่นตามความในมาตรา 122 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483นั้น หมายถึงสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับ หาใช่สิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นจะพึงได้รับไม่
ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ชำระค่าที่ดินให้แก่ลูกหนี้ครบถ้วนตามสัญญา แต่ลูกหนี้ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 เนื่องจากที่ดินติดจำนองไว้แก่ผู้ร้อง เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 2 ปฏิบัติตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายโดยยินยอมชำระหนี้ตามสัญญาจำนองพร้อมดอกเบี้ยเพื่อไถ่ถอนจำนอง ผู้คัดค้านที่ 1จึงมีสิทธิเรียกร้องให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้โดยปลอดจำนอง ลูกหนี้หามีสิทธิตามสัญญาที่จะเรียกร้องต่อผู้คัดค้านที่ 1 กรณีจึงเป็นสิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นจะพึงได้รับ หาใช่สิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับไม่ จึงไม่อยู่ในดุลพินิจของผู้คัดค้านที่ 2ที่จะพิจารณาว่าสิทธิตามสัญญาที่ผู้คัดค้านที่ 1 จะพึงได้รับมีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้หรือไม่ เพราะประโยชน์ที่จะพึงได้ในการที่ผู้คัดค้านที่ 1 ใช้สิทธิเรียกร้องให้ปฏิบัติตามสัญญาตกได้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 หาตกได้แก่ลูกหนี้ไม่ผู้คัดค้านที่ 2 จึงไม่อาจปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายรายนี้การที่ผู้คัดค้านที่ 2 มีคำสั่งสั่งให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 โดยปลอดจำนองและให้ผู้คัดค้านที่ 1 ชำระหนี้จำนองพร้อมดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จึงชอบแล้ว
ผู้คัดค้านที่ 1 ทำสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายที่ดินกับลูกหนี้โดยในวันทำสัญญาผู้คัดค้านที่ 1 วางมัดจำเป็นเงิน 250,000 บาท ต่อมาผู้คัดค้านที่ 1 ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลืออีก 200,000 บาท ให้แก่ลูกหนี้ แต่ลูกหนี้ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 เพราะที่ดินติดจำนองไว้แก่ผู้ร้อง ลูกหนี้จึงได้ส่งมอบที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ครอบครองโดยถือว่าที่ดินเป็นของผู้คัดค้านที่ 1 ลูกหนี้จะดำเนินการไถ่ถอนจำนองและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 โดยเร็ว เมื่อการเข้าครอบครองที่ดินของผู้คัดค้านที่ 1 เป็นไปตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายซึ่งมีผลผูกพันลูกหนี้ เมื่อผู้คัดค้านที่ 1เป็นผู้ครอบครองที่ดินของลูกหนี้ในฐานะผู้ซื้อและมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ผู้คัดค้านที่ 1 เกี่ยวด้วยที่ดินซึ่งครอบครองนั้น ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงที่ดินนั้นไว้จนกว่าลูกหนี้จะได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 241 แม้นับแต่วันที่ผู้คัดค้านที่ 1 ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือ จนถึงวันที่ผู้คัดค้านที่ 1 ร้องขอให้ผู้คัดค้านที่ 2 ปฏิบัติตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายเป็นเวลา 17ปีเศษ ผู้คัดค้านที่ 1 ในฐานะผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงก็มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากที่ดินที่ยึดถือไว้โดยร้องขอให้ผู้คัดค้านที่ 2 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/27 สิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านที่ 1 ที่จะขอให้ผู้คัดค้านที่ 2 ปฏิบัติตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5623/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงและอายุความของสัญญาวางมัดจำซื้อขาย: ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้องให้โอนกรรมสิทธิ์ได้แม้เวลาผ่านไป
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่มีต่อบุคคลอื่นตามความในมาตรา 122 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 นั้น หมายถึงสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับ หาใช่สิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นจะพึงได้รับไม่เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ได้ชำระค่าที่ดินให้แก่ลูกหนี้ครบถ้วนตามสัญญา แต่ลูกหนี้ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 เนื่องจากที่ดินติดจำนองไว้แก่ผู้ร้อง และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ปฏิบัติตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายโดยยินยอมชำระหนี้ตามสัญญาจำนองพร้อมดอกเบี้ยเพื่อไถ่ถอนจำนอง ผู้คัดค้านที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกร้องให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้โดยปลอดจำนองลูกหนี้ไม่มีสิทธิตามสัญญาที่จะเรียกร้องต่อผู้คัดค้านที่ 1กรณีจึงเป็นสิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นจะพึงได้รับ หาใช่สิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับไม่ จึงไม่อยู่ในดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จะพิจารณาว่าสิทธิตามสัญญาที่ผู้คัดค้านที่ 1 จะพึงได้รับมีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้หรือไม่ เพราะประโยชน์จะพึงได้ในการที่ผู้คัดค้านที่ 1 ใช้สิทธิเรียกร้องให้ปฏิบัติตามสัญญาตกได้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 หาตกได้แก่ลูกหนี้ไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่อาจปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายรายนี้ได้ การที่ผู้คัดค้านที่ 1 เข้าครอบครองที่ดินของลูกหนี้นั้นเป็นไปตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายซึ่งมีผลผูกพันลูกหนี้เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ครอบครองที่ดินของลูกหนี้ในฐานะผู้ซื้อและมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ผู้คัดค้านที่ 1เกี่ยวด้วยที่ดินซึ่งครอบครองนั้น ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมสิทธิยึดหน่วงที่ดินนั้นไว้จนกว่าลูกหนี้จะได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241 แม้นับแต่วันที่ผู้คัดค้านที่ 1 ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือจนถึงวันที่ผู้คัดค้านที่ 1 ร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายเป็นเวลา 17 ปีเศษ ผู้คัดค้านที่ 1 ในฐานะผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงก็มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากที่ดินที่ยึดถือไว้โดยร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/27 สิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านที่ 1 ที่จะขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8220/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายระหว่างบุคคลล้มละลายเป็นโมฆะ, สิทธิเรียกร้องสูญเสียเมื่อไม่แจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์, การมอบอำนาจต้องทำเป็นหนังสือ
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดิน โจทก์และจำเลยที่ 1ตกลงจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทภายในกำหนด 3 ปี นับจากวันทำสัญญาคือ ภายในวันที่ 16 มกราคม 2519 แต่ในวันที่2 สิงหาคม 2517 ศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1ชั่วคราว และต่อมาวันที่ 19 มีนาคม 2519 ศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาด เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวของจำเลยที่ 1 แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของจำเลยที่ 1 ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไปตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 22(1) เมื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะให้จำเลยที่ 1 ปฎิบัติ ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ซึ่งอยู่ในช่วงที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์จะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อขอให้ปฎิบัติ ตามสัญญาดังกล่าว เพราะหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาโจทก์ก็มีสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้สำหรับค่าเสียหายของโจทก์ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 122ประกอบมาตรา 92 เมื่อโจทก์ไม่ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อขอให้ปฎิบัติตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดิน และล่วงพ้นกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้แล้ว ถือว่าโจทก์ได้ละเสียซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้ว แม้ต่อมาศาลมีคำสั่งยกเลิก การล้มละลายของจำเลยที่ 1 ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งได้ละเสียซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้วกลับมีสิทธิฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฎิบัติ ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินได้อีก ขณะทำสัญญาเพิ่มราคาที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งอยู่ในระหว่างที่ศาลพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1เด็ดขาด สัญญาดังกล่าวย่อมเป็นนิติกรรมอันฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 22,24 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 1ปฎิบัติ ตามหนังสือสัญญาเพิ่มราคาที่ดินพิพาทดังกล่าว จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 ในการทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท และการมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินแทนตน ผู้มอบอำนาจจะต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือมอบอำนาจไว้ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 วรรคสอง เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8220/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลายของจำเลยมีผลต่อสิทธิเรียกร้องตามสัญญาซื้อขาย การแจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และการทำนิติกรรม
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดิน โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทภายในกำหนด 3 ปี นับจากวันทำสัญญาคือ ภายในวันที่16 มกราคม 2519 แต่ในวันที่ 2 สิงหาคม 2517 ศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ชั่วคราว และต่อมาวันที่ 19 มีนาคม 2519 ศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาด เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวของจำเลยที่ 1 แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของจำเลยที่ 1 ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (1) เมื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ซึ่งอยู่ในช่วงที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์จะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อขอให้ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว เพราะหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาโจทก์ก็มีสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้สำหรับค่าเสียหายของโจทก์ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 122 ประกอบมาตรา 92 เมื่อโจทก์ไม่ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อขอให้ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดิน และล่วงพ้นกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้แล้ว ถือว่าโจทก์ได้ละเสียซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้ว แม้ต่อมาศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยที่ 1 ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งได้ละเสียซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้วกลับมีสิทธิฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินได้อีก
ขณะทำสัญญาเพิ่มราคาที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งอยู่ในระหว่างที่ศาลพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาด สัญญาดังกล่าวย่อมเป็นนิติกรรมอันฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 22, 24 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483ตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาเพิ่มราคาที่ดินพิพาทดังกล่าว
จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 ในการทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท และการมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินแทนตน ผู้มอบอำนาจจะต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือมอบอำนาจไว้ด้วย ตามป.พ.พ.มาตรา 798 วรรคสอง เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5474/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจของผู้คัดค้านในคดีล้มละลายเหนือทรัพย์สินที่ถูกยึดก่อนล้มละลาย และผลของการทำสัญญาหลังการยึด
ขณะศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของลูกหนี้ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ในคดีแพ่งแต่การบังคับคดียังไม่สำเร็จบริบูรณ์กำลังประกาศขายทอดตลาดจึงไม่อาจใช้ยันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านได้ที่ดินพิพาทจึงตกอยู่ในอำนาจจัดการของผู้คัดค้านตามมาตรา 22(1) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เมื่อสิทธิตามสัญญาที่ ส.ขอให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามโดยโอนที่ดินพิพาทให้แก่ ส.นั้น เป็นผลแห่งสัญญาที่ลูกหนี้กระทำขึ้นภายหลังที่ผู้ร้องนำยึดที่ดินพิพาทของลูกหนี้ไว้ในคดีแพ่งแล้ว ซึ่งการก่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดดังกล่าวไม่อาจใช้ยันแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 305(1) แล้วผลแห่งการนั้นก็ย่อมไม่อาจใช้ยันต่อผู้คัดค้านได้เช่นกันผู้คัดค้านจึงไม่ชอบที่โอนที่ดินพิพาทให้แก่ ส.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5474/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ก่อนล้มละลาย: สิทธิของเจ้าหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ขณะศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ในคดีแพ่ง แต่ก็ปรากฏว่าการบังคับคดียังไม่สำเร็จบริบูรณ์เนื่องจากยังอยู่ในขั้นตอนของการประกาศขายทอดตลาด การยึดทรัพย์ของลูกหนี้ในคดีแพ่งดังกล่าวจึงไม่อาจใช้ยันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ในคดีล้มละลายได้ ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ลูกหนี้มีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายซึ่งตามกฎหมายให้ถือว่าเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ และทรัพย์สินของลูกหนี้ดังกล่าวย่อมตกอยู่ในอำนาจจัดการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านตามมาตรา 22 (1)แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เว้นเสียแต่ว่าจะมีกฎหมายจำกัดอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้าน เมื่อสิทธิตามสัญญาที่ ส.ขอให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามโดยโอนที่ดินพิพาทให้แก่ ส.นั้น เป็นผลแห่งสัญญาที่ลูกหนี้กระทำขึ้นภายหลังที่ผู้ร้องนำยึดที่ดินพิพาทของลูกหนี้ไว้ในคดีแพ่งแล้ว ซึ่งการก่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดดังกล่าวไม่อาจใช้ยันแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 305 (1) แล้ว ผลแห่งการนั้นก็ย่อมไม่อาจใช้ยันต่อผู้คัดค้านในคดีล้มละลายได้เช่นกัน เหตุนี้ผู้คัดค้านจึงไม่ชอบที่โอนที่ดินพิพาทให้แก่ ส.ตามสัญญาระหว่างลูกหนี้กับ ส. คำสั่งของผู้คัดค้านที่ให้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ ส.จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4323/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอถอนการยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย พิจารณาจากสัญญาเช่าและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกยึดจริง
เมื่อสิ่งปลูกสร้างที่ได้ถูกยึดไว้ในคดีล้มละลายไม่มีสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่72/1ตามที่ผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยได้ใช้สิทธิตามสัญญาต่างตอบแทนการเช่าที่ดินปลูกสร้างตึกแถวและอาคารระหว่างผู้ร้องกับจำเลยปลูกสร้างขึ้นถูกยึดไว้ด้วยผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ถอนการยึดสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่72/1ได้ แม้ผู้ร้องอ้างว่ามีสัญญาต่างตอบแทนการเช่าที่ดินของจำเลยเพื่อปลูกสร้างตึกแถวและอาคารลงในที่ดินของจำเลยแล้วยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยเมื่อครบอายุสัญญาเช่าซึ่งขณะนี้ยังไม่ครบกำหนดอายุสัญญาก็ตามก็เป็นแต่เพียงสิทธิตามสัญญาเช่าอันมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนเท่านั้นการยึดที่ดินหาได้กระทบต่อสิทธิของผู้ร้องไม่ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ถอนการยึดที่ดินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4323/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสิ่งปลูกสร้างจากการเช่าที่ดิน: การยึดที่ดินไม่กระทบสิทธิผู้เช่า
เมื่อสิ่งปลูกสร้างที่ได้ถูกยึดไว้ในคดีล้มละลาย ไม่มีสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 72/1 ตามที่ผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยได้ใช้สิทธิตามสัญญาต่างตอบแทนการเช่าที่ดินปลูกสร้างตึกแถวและอาคารระหว่างผู้ร้องกับจำเลยปลูกสร้างขึ้นถูกยึดไว้ด้วย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้อง ขอให้ถอนการยึดสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 72/1 ได้
แม้ผู้ร้องอ้างว่ามีสัญญาต่างตอบแทนการเช่าที่ดินของจำเลยเพื่อปลูกสร้างตึกแถวและอาคารลงในที่ดินของจำเลย แล้วยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยเมื่อครบอายุสัญญาเช่าซึ่งขณะนี้ยังไม่ครบกำหนดอายุสัญญาก็ตามก็เป็นแต่เพียงสิทธิตามสัญญาเช่าอันมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนเท่านั้น การยึดที่ดินหาได้กระทบต่อสิทธิของผู้ร้องไม่ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ถอนการยึดที่ดินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8751/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาจ้างทำของในคดีล้มละลาย หากภาระเกินประโยชน์
สัญญาระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเป็นสัญญาจ้างทำของที่ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่แก่คู่สัญญาที่จะต้องพึงปฏิบัติตอบแทนซึ่งกันและกันทั้งสองฝ่ายกล่าวคือถ้าพิจารณาในด้านของผู้ว่าจ้างผู้ว่าจ้างย่อมมีสิทธิที่จะได้รับผลงานตามสัญญาแต่ในขณะเดียวกันผู้ว่าจ้างก็มีหน้าที่ต้องจ่ายสินจ้างให้แก่ผู้รับจ้างเป็นการตอบแทนด้วยในทำนองเดียวกันหากพิจารณาในด้านของผู้รับจ้างผู้รับจ้างย่อมมีสิทธิที่จะได้รับเงินสินจ้างและในขณะเดียวกันผู้รับจ้างก็ต้องทำงานให้แก่ผู้ว่าจ้างให้แล้วเสร็จตามสัญญาด้วยดังนั้นสิทธิที่จะได้รับเงินค่าจ้างของจำเลยจึงขึ้นอยู่กับผลงานที่จำเลยได้กระทำไปตามสัญญาจ้างทำของอันมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนและสัญญาดังกล่าวนี้ย่อมตกอยู่ในบังคับมาตรา122แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483กล่าวคือหากผู้คัดค้านเห็นว่าสิทธิตามสัญญามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้ผู้คัดค้านย่อมมีอำนาจไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8751/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของต่างตอบแทนกับผลกระทบต่อการล้มละลาย: สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา
สัญญาระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเป็นสัญญาจ้างทำของที่ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่แก่คู่สัญญาที่จะต้องพึงปฏิบัติตอบแทนซึ่งกันและกันทั้งสองฝ่าย กล่าวคือถ้าพิจารณาในด้านของผู้ว่าจ้าง ผู้ว่าจ้างย่อมมีสิทธิที่จะได้รับผลงานตามสัญญา แต่ในขณะเดียวกันผู้ว่าจ้างก็มีหน้าที่ต้องจ่ายสินจ้างให้แก่ผู้รับจ้างเป็นการตอบแทนด้วยในทำนองเดียวกันหากพิจารณาในด้านของผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างย่อมมีสิทธิที่จะได้รับเงินสินจ้างและในขณะเดียวกันผู้รับจ้างก็ต้องทำงานให้แก่ผู้ว่าจ้างให้แล้วเสร็จตามสัญญาด้วย ดังนั้น สิทธิที่จะได้รับเงินค่าจ้างของจำเลยจึงขึ้นอยู่กับผลงานที่จำเลยได้กระทำไปตามสัญญาจ้างทำของอันมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน และสัญญาดังกล่าวนี้ย่อมตกอยู่ในบังคับมาตรา 122 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 กล่าวคือ หากผู้คัดค้านเห็นว่าสิทธิตามสัญญามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้ ผู้คัดค้านย่อมมีอำนาจไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาได้
of 7